โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค



โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิคการทำงานหลักๆ ของไฮดรอลิคนั้นคือส่วนที่เรียกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รับแรงหน่วงได้ดี โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น กระบอกสูบไฮดรอลิคนั้นสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทตามทิศทางของแรงที่กระทำบนลูกสูบคือ Single Acting Cylinder และ Double Acting Cylinder

โครงสร้างพื้นฐานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

โครงสร้างโดยทั่วไปของกระบอกสูบไฮดรอลิคมีอะไรบ้าง

Rod Hard Chrome : ก้านกระบอกสูบไฮดรอลิค

Front cover : ฝาหัว

Barrel : เสื้อกระบอกสูบไอดรอลิค

Tri rod : เสารั้งกระบอกสูบไฮดรอลิค

Back cover : ฝาท้าย

Wiper Seal : ซีลกันฝุ่น

Bushing : บูช

U-Ring Seal : ซีลกันก้านสูบ

Piston Seal : ซีลลูกสูบ

Back up ring : ซีลกันสึก

O-ring : ซีลฝา หัว-ท้าย

การทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค

1. 1. กระบอกสูบทางเดียว (Single acting cylinder) กระบอกสูบไฮดรอลิคทางเดียว ทำงานโดยการรับน้ำมันจากกระบอกสูบทางด้านหัวเพียงทางเดียว เพื่อผลักดันให้ลูกสูบและก้านสูบเคลื่อนที่ไปดันชิ้นงาน โดยจะใช้แรงดันจากสปริงหรือลงด้วยโหลด เป็นตัวผลักดันให้ลูกสูบค่อยๆ เคลื่อนที่กลับอย่างช้า

2. กระบอกสูบสองทาง(Double acting cylinder) กระบอกสูบสองทาง ทำงานโดยรับน้ำมันจากกระบอกสูบได้ทั้งด้านหัวและด้านก้านสูบ โดยจะแบ่งการทำงานเป็น 2 ลักษณะคือ

  • ลูกสูบเคลื่อนที่ออกเพื่อผลักดันชิ้นงาน โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านหัวลูกสูบและให้น้ำมันออกทางด้านก้านสูบ
  • ลูกสูบเคลื่อนที่เข้าเพื่อดึงชิ้นงานกลับเข้ามา โดยให้น้ำมันเข้าทางด้านก้านสูบและให้น้ำมันออกทางด้านหัวลูกสูบ

ระบบไฮดรอลิคจะต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานในการทำงาน ดังนี้

1. ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

 2. ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ำมันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆ และไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

 3. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

4. วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

5. วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

6. วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

7. อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)

อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่

8. ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency