
ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์คืออะไร ?
ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์คืออะไร ?
ลักษณะการทำงานของไดโอด คือจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ทางเดียว ไฟฟ้ากระแสตรงจะมีขั้วบวกและขั้วลบ ถ้านำไฟกระแสตรงขั้วบวกไปต่อขั้วลบของไดโอดกระแสไฟฟ้าก็จะไม่ไหลในวงจร แต่ถ้านำไฟกระแสตรงขั้วบวกไปต่อกับไดโอดขั้วบวก กระแสไฟฟ้าก็สามารถไหลผ่านไดโอดไปได้

การนำไดโอดมาใช้กับแผงโซล่าเซลล์นั้นมีการประยุกต์การใช้งานอยู่สองอย่างด้วยกัน
1.) บล็อกกิงไดโอด (Blocking Diode) ทำหน้าที่ป้องกันการคลายประจุออกมาจากแบตเตอรี่ในตอนกลางคืนหรือไม่มีแสงแดดส่องให้กับแผงโซล่าเซลล์แล้ว เนื่องจากถ้ามืดสนิทโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนเป็นมีค่าความต่างศักย์ที่ต่ำกว่าตัวแบตเตอรี่จะทำให้กระแสไหลจากแบตเตอรี่ไปสู่แผงได้ โดยการต่อบล็อกกิงไดโอดจะต่อขั้วบวกของไดโอดเข้ากับขั้วบวกของแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลออกจากตัวแผงเพียงทางเดียว โดยทั่วไปแล้วแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตมาจากโรงงานจะต่อบล็อกกิงไดโอดไว้ภายในแผงด้วย
2.) บายพาสไดโอด (Bypass-Diode) ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้กระแสไฟฟ้าในวงจรไหลผ่านได้ในกรณีที่มีแผงโซล่าเซลล์บางแผงที่ต่ออนุกรมภายในระบบกันอยู่โดนบดบังโดยเงาแดด อย่างที่กล่าวมาในบทที่ผ่านมา ถ้าแผงโซล่าเซลล์ถูกบดบังโดยเงาจะทำให้เกิดความต้านทานในแผงที่สูงขึ้นมาก จึงทำให้ไปหยุดการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าภายในระบบได้ การต่อบายพาสไดโอดต่อโดยขนานกับแผงโซล่าเซลล์ เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วโรงงานผู้ผลิตจะต่อบายพาสไดโอดมาพร้อมกับแผงโซล่าเซลล์เลย บางผู้ผลิตจะแบ่งเซลล์ออกเป็นอย่างละครึ่งภายในหนึ่งแผง แล้วต่อบายพาสไดโอดมาขนานเซลล์ที่แบ่งไว้ ดังนั้นในหนึ่งแผงอาจมีบายพาสไดโอดอยู่สองตัว การทำอย่างนี้ถ้าเกิดมีเงามาบดบังแสงเพียงครึ่งแผงโซล่าเซลล์ จะทำให้แผงก็ยังคงสามารถผลิตไฟฟ้าต่อไปได้ถึงแม้จะได้พลังงานเพียงครึ่งหนึ่งก็ยังดี
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

หัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคคืออะไร?
หัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคคืออะไร?
ไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล โดยระบบไฮดรอลิคนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ซึ่งใช้น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้จึงทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพมาก จึงถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไฮดรอลิคและเป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิค

ในระบบไฮดรอลิคน้ำมันไฮดรอลิคมีหน้าอย่างไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญต่อระบบไฮดรอลิคมากไปดูกันค่ะ
1. ส่งผ่านกำลังงาน น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการถ่ายทอดกำลังงานจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งในระบบไฮดรอลิค เพื่อเปลี่ยนแปลงกำลังงานของของไหลให้เป็นกำลังงานกล
2. หล่อลื่น น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการหล่อลื่น และลดแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ที่สัมผัสกัน ฟิล์มของน้ำมันไฮดรอลิคช่วยหล่อลื่นและลดการเสียดสีของผิวสัมผัสระหว่างแกนวาล์วกับผนังภายในตัววาล์ว เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฮดรอลิคนั้นสามารถเคลื่อนไปได้อย่างคล่องตัว
3. ซีล น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วซึมภายในระบบไฮดรอลิคให้เกิดน้อยที่สุด เมื่อมีความดันเกิดขึ้นในระบบ เพราะว่าในระบบไฮดรอลิคอุปกรณ์ส่วนมากจะถูกออกแบบให้มีการ ซีลแบบโลหะต่อโลหะ และการทำหน้าที่เป็นตัวซีลนี้จะขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิคแต่ละชนิดด้วย
4. ระบายความร้อน ในขณะที่ระบบไฮดรอลิคทำงาน จะเกิดความร้อนขึ้นซึ่งน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลเวียนในระบบจะช่วยระบายความร้อนของระบบได้ ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากสูญเสียกำลังงานในระบบเข้าสู่ตัวมัน และถ่ายเทความร้อนนั้นผ่านผนังของถังพักเมื่อไหลลงสู่ถังพัก
และนี่ก็คือหน้าที่ของส่วนประกอบที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคที่แอดมินนำมาฝากในวันนี้ แอดมินหวังว่าข้อมูลที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะมีประโยชน์กับหลายๆ คนที่กำลังสนใจเกี่ยวกับไฮดรอลิคไม่มากก็น้อย และถ้าหากใครที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจเกี่ยวกับไฮดรอลิคก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ thaia.net เพราะเราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

การพัฒนาระบบไฮดรอลิค
การพัฒนาระบบไฮดรอลิค
ในสมัยนี้ระบบไฮดรอลิคมีอยู่ในหลาย ๆ ส่วนของอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนานำเอาระบบไฮดรอลิคมาใช้งานโดยแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ

1. ไฮดรอลิคพลังงานน้ำ (water hydraulics)
เป็นวิชาที่ได้กำเนิดมาหลายปี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานน้ำ การส่งน้ำ การควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติ ตัวอย่างงานได้แก่ การผลิต กระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานน้ำจากเขื่อนเก็บน้ำต่าง ๆ การชลประทาน เช่น การขุดคูคลองส่งน้ำไปตามไร่นา เป็นต้น
2. ไฮดรอลิคน้ำมัน (oil hydraulics)
เป็นวิชาการที่ถูกนำมาใช้ประมาณปี พ.ศ 2449 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแรงที่ได้จากการนำเอาน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบเบรกในรถยนต์ แม่แรงไฮดรอลิค เครื่องกดอัด รถขุดตักดิน เป็นต้น ระบบไฮดรอลิคน้ำมัน (oil hydraulics system) แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันอุตสาหกรรม (industrial hydraulics system) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบไฮดรอลิคในเครื่องไส เครื่องกลึง เครื่องกดอัด ปั๊มขึ้นรูปชิ้นงาน เครื่องฉีดพลาสติก
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันสำหรับยานพาหนะ (mobile hydraulics system) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบเบรกรถยนต์ ระบบบังคับเลี้ยวของรถยนต์
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันสำหรับงานขนส่งและงานโยธาธิการ (oil hydraulics system for handing and civli) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบไฮดรอลิคของรถดัมพ์ รถยก รถขุด รถไถ
จะเห็นได้ว่าระบบไฮดรอลิคได้พัฒนาและประยุกต์มาใช้งานอย่างมาก และเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเหลือในด้านทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร :02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

6 อุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานของไฮดรอลิค
6 อุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานของไฮดรอลิค
มีอุปกรณ์อะไรบ้างวันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “ไฮดรอลิค” กันก่อนดีกว่า ไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของของเหลวทุกชนิดที่ใช้ในระบบเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงานในการเปลี่ยนแปลงพลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล กล่าวคือ ทำให้กระบอกสูบไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิคทำงานนั่นเอง เช่น การทำงานของระบบเบรกในรถยนต์ เครน และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเหล่านี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานดังนี้

1. อุปกรณ์ต้นกำลังไฮดรอลิคทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนปั๊มไฮดรอลิค ประกอบด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
2. อุปกรณ์เก็บและปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไฮดรอลิคทำหน้าที่เป็นที่พักของน้ำมัน ขจัดสิ่งสกปรกฟองอากาศ และระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค ประกอบไปด้วย ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ไส้กรองน้ำมันไฮดรอลิค และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้กับถังพักน้ำมัน
3. อุปกรณ์สร้างการไหล ทำหน้าที่สร้างอัตราการไหล ประกอบไปด้วยปั๊มไฮดรอลิคชนิดต่างๆ
4. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน หรือวาล์วควบคุมชนิดต่างๆ ในระบบไฮดรอลิค เช่น วาล์วควบคุมทิศทางการไหลใช้ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของก้านสูบ เป็นต้น
5. อุปกรณ์ทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของไหลให้เป็นพลังงานกล เช่น กระบอกลูกสูบไฮดรอลิคหรือมอเตอร์ไฮดรอลิค
6. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง ทำหน้าที่เป็นท่อทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคในระบบประกอบด้วยแป๊ป ท่อ สายน้ำมันไฮดรอลิค ข้องอ และข้อต่อชนิดต่างๆ
และทั้ง 6 อุปกรณ์ที่กล่าวมานั้นก็คืออุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานของไฮดรอลิค หวังว่าความรู้ที่นำมาฝากทุกคนในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคนที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับไฮดรอลิค และถ้าหากใครที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจเกี่ยวกับไฮดรอลิคก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ thaia.net เพราะที่นี่เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

โซล่ารูฟท็อปมีระบบอะไรบ้างและแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
โซล่ารูฟท็อปมีระบบอะไรบ้างและแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
ในปัจจุบันนี้โซล่ารูฟท็อปถือเป็นพลังงานสะอาดที่น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียวเพราะนอกจากจะช่วยสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองโดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซล่ารูฟท็อป ซึ่งโซล่ารูฟท็อปเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงและไม่มีการปล่อยมลพิษใดๆ สู่สิ่งแวดล้อม หากใครที่กำลังสนใจอยากติดตั้งโซล่ารูฟท็อปแต่ยังไม่มีข้อมูลอะไร วันนี้ทางเราก็มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับระบบของโซล่ารูฟท็อปทั้ง 3 ระบบ ไม่ว่าจะเป็น on grid, off grid และ hybrid มาบอกเล่าพร้อมกับบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบอีกด้วย มาเริ่มที่ระบบแรกกันเลย
1. On grid system หรือแบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า

เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อป แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งระบบนี้สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับการไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า
1.1 ผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฯ ซึ่งการติดตั้งแบบนี้ต้องมีการติดตั้งมิเตอร์แยกจากมิเตอร์ที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ ทั้งนี้การรับซื้อไฟต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนจำหน่ายไฟเมื่อไหร่และมีค่าสมทบค่าไฟฟ้าอีกเท่าใด (เรียกว่าค่าแอดเดอร์)
1.2 ผลิตเพื่อใช้เอง การติดตั้งแบบนี้ก็เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยเมื่อมีการใช้ไฟมากกว่าที่ผลิตเองจากโซล่ารูฟท็อป ตัวอุปกรณ์ Grid Tie Inverter ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าก็จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะทำให้ลดค่าไฟฟ้าลงได้และไม่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังไฟไม่พอ เพราะดึงจากการไฟฟ้ามาชดเชย แต่การติดตั้งแบบนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากการไฟฟ้าก่อน
ข้อดีของระบบ on grid คือ
1. ประหยัดค่าไฟฟ้า
2. มีไฟใช้ตลอดแม้ในช่วงที่มีเมฆมาก เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าจะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจากโซล่ารูฟท็อปที่หายไปตลอดเวลา
3. ถ้าผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ สามารถขายไฟคืนเข้าระบบได้ (ต้องทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าก่อน)
4. ค่าซ่อมบำรุงต่ำเพราะมีอุปกรณ์ในระบบน้อย
ข้อเสียของระบบ on grid คือ
ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปก็จะดับด้วย
2. Off grid system หรือแบบอิสระ

เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อป แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึงไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆ เข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง โดยสามารถจำแนกประเภทจากการใช้งานได้ดังนี้
2.1 ต่อใช้งานแบบไม่ใช้แบตเตอรี่ เมื่อได้กระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่ารูฟท็อปแล้วก็ต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อใช้งานเลย ดังนั้นก็จะใช้ได้เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น และไม่มีการเก็บประจุไฟฟ้ามาใช้งาน
2.2 ต่อใช้งานแบบใช้แบตเตอรี่ วิธีนี้คือการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่ารูฟท็อปมาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน ซึ่งก็สามารถเลือกว่าจะนำจ่ายไฟ ให้กับอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟ AC หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ไฟ DC ทั้งนี้ข้อดีของการที่มีแบตเตอรี่คือสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ใช้งานได้กรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้
ข้อดีของระบบ off grid คือ
1. ประหยัดกว่าหากเทียบกับการที่ต้องขยายเขตการไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ
2. ในกรณีอยู่พื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าอาจจะตกหรือดับอยู่บ่อยครั้ง การใช้ระบบ off grid จะช่วยให้ระบบไฟฟ้า ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่ไฟฟ้าตก ไฟดับ ที่เกิดขึ้น
ข้อเสียของระบบ off grid คือ
1. อุปกรณ์มีมากกว่าระบบ on grid ทำให้ใช้เงินลงทุนระบบแพงกว่า
2. หากไม่มีแดดหรือฝนตกติดต่อกันหลายวัน พลังงานที่สะสมไว้อาจจะหมด
3. hybrid system หรือแบบผสม

เป็นระบบที่นำเอา ระบบ on grid และ off grid มารวมกันคือจะมีระบบแบตเตอรี่มาสำรองพลังงานใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และสำหรับกรณีที่เมื่อมีแสงอาทิตย์แล้วผลิตกระแสไฟฟ้าได้หากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากกว่าที่นำมาใช้งาน ระบบก็นำกระแสไฟฟ้านั้นชาร์จเข้าแบตเตอรี่เพื่อนำมาใช้งานได้ต่อไป พอถึงเวลากลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปไม่ได้ ระบบก็จะไปนำเอากระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อนหากยังไม่เพียงพอ ระบบก็จะไปดึงไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายมาชดเชยอีกทีหนึ่ง
ข้อดีของระบบ hybrid คือ
1. ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรมาก เนื่องจากเหมือนมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง (โซล่ารูฟท็อป + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า)
2. สามารถบริหารแหล่งจ่ายไฟ เพื่อให้ระบบใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุด
3. แม้ไฟดับแต่ก็ยังมีไฟฟ้าใช้ เพราะเป็นระบบไฟฟ้าสำรอง
ข้อดีของระบบ hybrid คือ
1. ระบบมีความซับซ้อนใช้เงินลงทุนและค่าซ่อมบำรุงที่สูง
2. Inverter ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการไฟฟ้ายังมีน้อยและราคาค่อนข้างสูง
เป็นยังไงบ้างเอ่ยกับความรู้ดีๆ เกี่ยวกับระบบของโซล่ารูฟท็อปทั้ง 3 ระบบ ที่นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าหลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความนี้แล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับโซล่ารูฟท็อปเพิ่มมากขึ้น หรือทำให้การตัดสินใจเลือกว่าระบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานที่ตนเองต้องการหรืออยากจะติดตั้งระบบไหนมากกว่ากันระหว่าง on grid, off grid หรือ hybrid แต่ยังไงก่อนติดตั้งก็อย่าลืมศึกษาข้อกำหนดของการติดตั้งเพิ่มเติมด้วยนะคะ
เมื่อเข้าใจในหลักการทำงานของโซล่ารูฟท็อปในลักษณะต่างๆ แล้วนั้น เราก็จะสามารถติดตั้งโซล่ารูฟท็อปได้อย่างสบายใจ โดยถ้ามีความสนใจเกี่ยวกับโซล่ารูฟท็อป Thai-A เป็นผู้นำด้านการบริการ และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- โซล่ารูฟท็อป (SOLAR ROOFTOP) คืออะไร ติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไงให้คุ้มค่า
- การติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาทรงจั่ว
- การนำ Solar Rooftop ไปประยุกต์ใช้
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

ท่อและสายไฮดรอลิคเสียหายทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
ท่อและสายไฮดรอลิคเสียหายทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
ไม่มีอะไรที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบไฮดรอลิคและต่อผู้ปฏิบัติงานในระบบได้มากกว่าท่อไฮดรอลิคที่เสียหายหรือแตก สายและท่อไฮดรอลิคเปรียบเสมือนหลอดเลือดแดงของระบบไฮดรอลิค ที่ลำเลียงของไหลจากปั๊มไปยังกระบอกสูบไฮดรอลิค เช่นเดียวกับร่างกายของคนเรา เมื่อหลอดเลือดแดงมีปัญหา เลือดจะไม่สามารถไหลไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ทำให้หลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี หรือแย่ที่สุดคือไม่ทำงานเลย ซึ่งท่อและสายไฮดรอลิคก็เหมือนกันค่ะ หากน้ำมันไฮดรอลิคไม่สามารถไหลไปยังกระบอกสูบได้ กระบอกสูบไฮดรอลิคจะไม่สามารถทำงานได้ แต่ที่แย่กว่านั้นคือปั๊มไฮดรอลิคสามารถสร้างแรงดันที่สูงสุดถึง 10,000 psi หรือสูงกว่านั้น ต่างจากค่าความดันของหัวใจที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ซึ่งแรงดันที่มากมายขนาดนี้จะทำให้ท่อที่แตกร้าวกลายเป็นอาวุธที่ร้ายแรง เพราะเมื่อท่อไฮดรอลิคแตก มันสามารถยิงของเหลวไฮดรอลิคที่สามารถเจาะผิวหนังของคุณทำให้เกิดแผลไหม้และติดเชื้อได้ และในบางกรณีก็ถึงขั้นสามารถทำให้แขนขาขาดและถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อตรวจสอบและทดสอบท่ออ่อนก่อนนำไปใช้งานค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
- 5 ความเชื่อผิด ๆ ที่ส่งผลต่อระบบไฮดรอลิค
- การทำงานของไฮดรอลิกในเครื่องขุดร่องลึก ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แนวทางปฏิบัติต่อสายท่อไฮดรอลิค
- ตรวจสอบสายยางทั้งหมดก่อนเริ่มงาน
สายท่อที่ชำรุดจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ฉะนั้นก่อนลงมือปฏิบัติงานให้ตรวจหาสิ่งต่อไปนี้ทุกครั้ง
- – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีข้องอในท่อ โดยให้ใส่ใจบริเวณปลายท่อเป็นพิเศษ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอกป้องกันยังคงอยู่ เพราะปลอกหุ้มจะป้องกันการโค้งงอที่คมใกล้กับจุดต่อไฮดรอลิค
- ระวังค่าเผื่อการโค้งงอขั้นต่ำสำหรับท่อของคุณ – เมื่อท่อไฮดรอลิคได้รับแรงดัน มันจะแข็งตัวและทำให้ระบบตึงมากขึ้น โดยเฉพาะที่ส่วนปลาย ฉะนั้นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนไหวนี้
- ตรวจสอบข้อบกพร่องของท่ออย่างใกล้ชิด – ตรวจสอบรูเข็ม รอยถลอก รอยแตก หรือรอยตัด หากมีสิ่งเหล่านี้ให้เปลี่ยนท่อทันที
- ปกป้องท่อไฮดรอลิคเสมอ
อย่าให้ความร้อน ประกายไฟ สารเคมีที่อาจสร้างความเสียหายมาโดนสายท่อ ห้ามลากท่อบนพื้น ห้ามเหยียบสายท่อหรืออนุญาตให้ใครก็ตามใช้สายท่อเป็นที่จับเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายกระบอกสูบไฮดรอลิค
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่อได้รับการจัดอันดับอย่างถูกต้อง
ท่อไฮดรอลิคต้องได้รับการจัดอันดับสำหรับแรงดันสูงสุดในระบบ ในกรณีส่วนใหญ่ ท่อต้องได้รับการจัดอันดับให้เทียบเท่าหรือสูงกว่าพิกัดแรงดันสำหรับปั๊ม ท่อไฮดรอลิคของคุณจะมีสองระดับ หนึ่งคือแรงดันใช้งาน นั่นคือแรงดันปกติ (ควรเท่ากับปั๊ม) และอีกอันคือแรงดัน “ระเบิด” นั่นคือแรงดันที่ท่ออาจแตก ค่านี้ควรเป็นอย่างน้อยสองเท่าของแรงดันใช้งาน ตัวอย่างเช่น ท่อขนาด 10,000 psi ควรมีแรงดันระเบิดที่ 20,000 psi หรือมากกว่า บางครั้ง ท่ออาจมีแรงดันระเบิดถึง 4 เท่าของแรงดันใช้งาน ตัวอย่างเช่น ท่อ 3,000 psi ที่มีระดับการแตก 4X จะมีระดับการแตกที่ 12,000 psi แม้ว่าแรงดันระเบิดจะอยู่ที่ 12,000 psi แต่ไม่ควรใช้ในระบบ 10,000 psi เพราะมันจะไม่ปลอดภัยค่ะ

บทสรุป
สายท่อไฮดรอลิคเปรียบเสมือนหลอดเลือดแดงในร่างกายคนเรา โดยสายท่อนี้จะลำเลียงของไหลจากปั๊มไปยังกระบอกไฮดรอลิค เพื่อให้กระบอกสูบสามารถทำงานได้ เช่นเดียวกับหลอดเลือดแดงที่ลำเลียงน้ำและเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ปั๊มไฮดรอลิคมีความดันที่สูงกว่าหัวใจของเรามาก ทำให้หากสายท่อมีการแตกร้าวหรือรั่ว อาจเกิดแรงดันระเบิดและทำให้ผู้ปฏิบัติใกล้เคียงได้รับอันตรายได้ ฉะนั้นทุกครั้งก่อนใช้งานระบบไฮดรอลิค ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าสายยางท่อนั้นไม่มีจุดใดที่เสียหายเลย อย่างไรก็ตามผู้อ่านควรซื้อหรือสั่งทำกระบอกไฮดรอลิคจากผู้เชี่ยวชาญ และให้เขาตรวจสอบสายท่อเมื่อทำการประกอบกระบอกไฮดรอลิคเข้ากับส่วนต่าง ๆ ในระบบค่ะ
บริษัท Thai-A เป็นทั้งผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฮดรอลิค และผู้รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค สามารถสั่งทำกระบอกไฮดรอลิคตามวัตถุประสงค์และตามความเหมาะสมกับงาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกไฮดรอลิคคุณภาพดีกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ในระบบนิวเมติกส์จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชนิดที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในงานนิวเมติกส์

1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)
อุปกรณ์ต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการสร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
- เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
- เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
- ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
- ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้

2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed Air Treatment Component)
ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- กรองลม (Air filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างเช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือสารต่าง ๆ ที่ล่องลอยในบริเวณเครื่องอัดอากาศ
- วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator) ทำหน้าที่ปรับ หรือควบคุมความดันจ่ายที่ออกมาให้มีค่าคงที่
- อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันหล่อลื่นให้กับลมอัด เพื่อหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน และป้องกันอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่สัมผัสกันโดยตรง


3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component)
หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่ม และหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมการทำงานของกระบอกลม หัวขับลม มอเตอร์ลมให้หมุนซ้ายหรือขวา ควบคุมการเปิดหรือปิดลม โดยสามารถเลือกการคอนโทรล ได้ทั้งแบบ Manual หรือระบบไฟฟ้า (Electric)


4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)
ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล อย่างเช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (single-acting cylinders), กระบอกสูบสองทิศทาง (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน
5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system)
เป็นท่อทางไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก ซึ่งการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อการใช้งานต่าง ๆ โดยการเลือกการใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน ของเหลวในการลำเลียง ลม น้ำ หรือของเหลวอื่น สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งเลยคือ ความสามารถของวาล์ว โดยมีแรงดันให้เลือกตั้งแต่ 0-5 Bar, 0.1-20 Bar, 0.1-40 Bar, 0.1-50 Bar, 0.1-70 Bar เป็นต้น วาล์วไฟฟ้าสามารถเลือกได้ทั้งแบบคอยล์ทั่วไป หรือแบบคอยล์กันระเบิด (explosion proof)
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์
เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์
ในปัจจุบัน ระบบนิวเมติกส์ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย และมักจะพบกันอยู่เป็นประจำว่า มีการใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย
การบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์
ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น เราสามารถดำเนินการได้เบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายมักหรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์เหล่านั้นจะจัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย
ในบทนี้จะกล่าวถึงภาพรวมในการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมของระบบนิวเมติกส์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น ปั้มลม (Air Compressor) ชุดปรับคุณภาพลม (Air Service Unit) ระบบท่อทาง (Pipe Lines) อุปกรณ์ทำงาน เช่น กระบอกลม (Air cylinder) วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valves) และอื่น ๆ เป็นต้น
ข้อควรจำเพื่อความปลอดภัย (Always Remember Safety First)
ระบบลมอัดเป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้
- ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
- ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
- ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
- ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
- อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
- อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป
ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
1.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
2.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
3.การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์
ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์
โดยทั่วไปแล้วในงานอุตสาหกรรมที่เราเห็นมักจะมีระบบต่าง ๆ ประกอบขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ติดตั้งง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่าย ถ้าหากอุปกรณ์มีการชำรุดหรือเสียหายสามารถสั่งซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนได้ และยังสามารถดูและรักษาได้ง่าย ที่สำคัญคือสะอาดไม่มีคราบสิ่งสกปรกให้เห็น เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่นำมาใช้งานคือ ระบบอัตโนมัติ หรือเครื่องจักรกลที่มีความทันสมัย ซึ่งเครื่องจักรสามารถทำงานแทนคนได้ และในวงการอุตสาหกรรมบ้านเรานั้นมีการนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่าง ๆ
- อุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา เช่น แพล้นผสมคอนกรีต แพล้นแอสฟัลส์
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์ เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกเคมี
- อุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องบรรจุอาหาร นมผง และอื่นๆ
- อุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในรถยนต์ รถไฟ อุตสาหกรรมของเล่น อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมการกีฬา เป็นต้น
ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์
- ด้านความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่มีการระเบิดหรือติดไฟ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัย จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบป้องกันการเกิดเพลิงไหม้
- ด้านความแม่นยำ และรวดเร็วในการทำงาน โดยปกติความเร็วในการทำงานของระบบนิวเมติกส์อยู่ที่ 1-2 เมตรต่อวินาที [m/s] แต่ในบางระบบที่ต้องการความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่า ซึ่งสามารถใช้กระบอกสูบนิวเมติกส์ชนิดพิเศษที่สามารถทำความเร็วได้สูงถึง 10 เมตรต่อวินาที และเพิ่มรอบการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วได้สูงถึง 800 รอบต่อนาที [rpm]
- ด้านความสะอาด เนื่องจากลมที่เป็นตัวกลางในการทำงานของระบบนิวเมติกส์เป็นสิ่งที่สะอาด ทำให้สิ่งที่เหลือหรือถูกระบายออกจากระบบที่เกินจากความจำเป็นของระบบ เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
- ความง่ายในการนำมาประยุกต์ใช้กับงาน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มหรือลด และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบได้ง่าย เช่น ปรับระยะก้านสูบ ขนาดกระบอกสูบนิวเมติกส์ เพิ่มหรือลดความดันลม เป็นต้น
- ความเหมาะสมในการทำงาน ระบบนิวเมติกส์นั้นเป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถทำงานได้ในสภาวะที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นิยมนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้ในส่วนของการประกอบของสายการผลิต
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand


ข้อคำนึงในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์
ข้อคำนึงในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์
การเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนในเรื่องของข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์มีอยู่หลายชนิด และหลายประเภทด้วยกัน ดังนั้น เราควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาพูดถึงข้อคำนึงในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการนำไปใช้งาน


การเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์
ในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- น้ำหนักของวัตถุที่จะยกหรือดึง (Load) หรือที่มักเรียกกันว่า “น้ำหนักโหลด” โดยปกติน้ำหนักโหลดจะต้องบวกเผื่อค่าความปลอดภัย (safety factor) ไว้อย่างน้อย 35% ตัวอย่างเช่น น้ำหนักจริงของวัตถุที่จะยก 100 กิโลกรัม เราจะต้องใช้การคำนวณที่ 100 x 35% = 135 กิโลกรัม เป็นค่าที่ใช้ในการเลือกกระบอกลม
- แรงดันที่ใช้งาน (Pressure) เพื่อจะได้คำนวณขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์ ได้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งโดยปกติในการคำนวณ จะใช้แรงดันที่ 5 bar เป็นมาตรฐาน
สูตรคำนวณ แรงดันอากาศ =

P = Pressure แรงดันอากาศ
F = Force น้ำหนักโหลด
A = Area พื้นที่กระบอกลม
ถ้าแรงดันมากกว่าค่ามาตรฐานอาจส่งผลต่อระบบ ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบภายในของวาล์วนิวเมติกส์ที่อยู่ภายในกระบอกลมนิวเมติกส์
- ความเร็วในการเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ (Speed) เพื่อจะได้เลือกขนาดของกระบอกลม (size) และความยาว (stroke) ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการยกกระบอกลมนิวเมติกส์ จะคำนวณจากจุดหนึ่งไปหาอีกจุดหนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาในการเคลื่อนที่มากน้อย เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการคำนวณหาขนาดกระบอกลม
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อคำนึงในการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือ การเลือกโรงงานที่จำหน่าย หรือผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ได้มาตรฐาน และคุณภาพ หากเราเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะทำให้การทำงานของเครื่องจักรไม่ราบรื่น และต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ดังนั้นการเลือกโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand