Basic hydraulic system
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน
ไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค
ส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)
- ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
- ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
- อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
- วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
- วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
- วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
- อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
- ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)
ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
ปั๊มไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า
ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน
อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)
อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค
วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม
วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ
วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ
อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
อุปกรณ์ทํางานในระบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกลซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่ เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม
ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)
ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ
ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค
ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค
- ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
- ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
- ระบบมีความคงตัวไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
- ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
- อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง
ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค
- ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
- การทำงานของระบบไฮดรอลิคจะทำงานช้ากว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
- ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
- การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
- เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้
หากท่านใดกำลังมองหามอเตอร์ไฮดรอลิคแรงบิดสูงความเร็วต่ำ มอเตอร์ไฮดรอลิค Eaton โรงงานผลิตมอเตอร์ไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายมอเตอร์ไฮดรอลิคทุกชนิด หรือหากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเราก็มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาทำการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ
- ชุดต้นกำลัง (POWER UNIT) ในระบบไฮดรอลิกสำคัญยังไง
- มอเตอร์ไฮดรอลิคคืออะไร สำคัญอย่างไรกับไฮดรอลิค
- ปั๊มไฮดรอลิคมีกี่แบบ ?
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
Line ID : @thaiagency
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency