นโยบายความเป็นส่วนตัว

1. หลักการและเหตุผล

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การเข้าถึง

การเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล สามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว อันอาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูล ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจาณุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 แล้วนั้น

บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ซึ่งบุคคลใดจะถูกแทรกแซงตามอำเภอใจ ในความเป็นส่วนตัว ครอบครัว ที่อยู่อาศัย หรือการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่เกียรติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อการแทรกแซงสิทธิหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น รวมถึงเพื่อสนับสนุนและเคารพการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามที่ประกาศใช้ในระดับสากล ตามหลักการของข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) รวมถึงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทจึงได้ประกาศนโยบายเพื่อเป็นหลักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ดังนี้

 

2. วัตถุประสงค์

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

2.1 เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งทำธุรกรรม ใช้บริการ มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่แต่ไม่จำกัดเพียงบุคคลดังต่อไปนี้

    • ลูกค้า
    • พนักงาน
    • ผู้ถือหุ้น
    • นักลงทุน เจ้าหนี้ ลูกหนี้
    • คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ
    • บุคคลที่บริษัทได้ว่าจ้างให้ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัท เช่น ที่ปรึกษาด้านวิชาชีพ ผู้ให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
    • บุคคลที่เข้าชมเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของบริษัท
    • บุคคลที่เข้ามาติดต่อหรือใช้บริการสำนักงาน อาคารหรือสถานที่ของบริษัท
    • ครอบครัวพนักงาน ผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ประกันวินาศภัยที่บริษัทได้จัดทำให้
    • บุคคลที่ถูกอ้างอิง เช่น บุคคลที่ถูกอ้างอิงในการสมัครงาน การเสนอขายสินค้าและบริการกับบริษัท เป็นต้น

2.2 เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ ของหน่วยงาน ผู้บริหาร พนักงาน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

2.3 เพื่อกำหนดขั้นตอนหรือมาตรการรักษาความปลอดภัยในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2.4 เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

2.5 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

 

3. ขอบเขตการใช้

ให้ประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับกับคณะกรรมการ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และบริษัทย่อย รวมถึงคู่ค้า ผู้ให้บริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท โดยใช้บังคับกับทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

 

4. คำนิยาม

  • “บริษัท”   หมายความว่า บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และ บริษัทในเครือ
  • “บริษัทในเครือ”   หมายความว่า บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด โดยมีลักษณะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
  • “ข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซี่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม
  • “ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว”   หมายความว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงอาจถูกนำไปสู่การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม (Sensitive Data) ในที่นี้หมายถึง เชื้อชาติ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรืออื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล  เป็นต้นว่า ลูกค้า คู่ค้า ผู้ใช้บริการ และพนักงาน
  • “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้หมายถึง บริษัท หน่วยงาน พนักงานที่รับผิดชอบในข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  • “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ในที่นี้หมายถึง คู่ค้า บุคคลหรือบริษัทภายนอกที่บริษัทได้ว่าจ้าง
  • “บุคคล”   หมายความว่า บุคคลธรรมดา
  • “บุคคลผู้หย่อนความสามารถ”   หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า บุคคลซึ่งบริษัทแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  • “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”   หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกกำหนดหรือได้รับมอบหมายตามนโยบายฉบับนี้

 

5. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

5.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้กระทำได้ภายใต้วัตถุประสงค์และเท่าที่จำเป็นตามกรอบวัตถุประสงค์หรือเพื่อประโยชน์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรือในขณะเก็บรวบรวม ถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม

2) ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้

3) ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งอาจมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

4) ข้อมูลหรือช่องทางการติดต่อกับบริษัท

5) สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

6) แจ้งผลกระทบจากการไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด หรือเพื่อเข้าทำหรือปฏิบัติตามสัญญา

ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ก) เพื่อประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจัย การสถิติ หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย

ข) เป็นการดำเนินการเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ค) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเข้าทำสัญญานั้น

ง) เป็นการจำเป็นตามหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากภาครัฐ หรือเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีความสำคัญมากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

5.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้หย่อนความความสามารถ

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ใด ๆ ซึ่งผู้เยาว์ไม่อาจดำเนินการเองได้โดยลำพังตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ทำการแทนผู้เยาว์ด้วย เว้นแต่กรณีผู้เยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้การแทนผู้เยาว์เท่านั้น

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือจากผู้พิทักษ์ หรือบุคคลผู้ทำการแทนเท่านั้น

5.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data)

บริษัทจะไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เว้นแต่มีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมโดยต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ยกเว้นในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้สามารถเก็บรวบรวมได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

5.4 การใช้และ/หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

การใช้และ/หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือในขณะทำการเก็บรวบรวม หรือเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตกลงยินยอมให้เปิดเผย หรือเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตกลงยินยอมให้ไว้กับบริษัทและตามที่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นได้แจ้งไว้กับบริษัทเท่านั้น

 

6. คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เก็บรวบรวมไว้นั้น ต้องถูกต้องเป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และต้อง

ดำเนินการจัดให้มีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถร้องขอหรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเองได้

 

7. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

บริษัทกำหนดให้พนักงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ต้องให้ความสำคัญและรับผิดชอบใน

การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้บุคคลหรือหน่วยงานดังต่อไปนี้ ทำหน้าที่กำกับและตรวจสอบให้การดำเนินงานของบริษัทนั้นถูกต้องและเป็นไปตามนโยบายและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด

7.1 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

7.1.1 จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม และทบทวนมาตรการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

7.1.2 กำหนดขอบเขตการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้เปิดเผยต่อบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น

7.1.3 จัดให้มีระบบตรวจสอบการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

7.1.4 บันทึกรายการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด

7.1.5 จัดทำข้อตกลงกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นิติบุคคลหรือบุคคลภายนอกอื่นใด หากมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ว่าจ้าง นิติบุคคลหรือบุคคลภายนอกอื่นใด โดยผู้ประมวลผลข้อมูล นิติบุคคล หรือบุคคลภายนอกดังกล่าว ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามนโยบายฉบับนี้ และตามพระราชบัญญัติคุมครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

7.2 ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

7.2.1 ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งที่ได้รับจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

7.2.2 จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7.2.3 จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายการของกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้

7.3 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer)

7.3.1 จัดทำและทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

7.3.2 ให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้บริหาร พนักงาน และคู่ค้าของบริษัท

7.3.3 ตรวจตราการดำเนินงานของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

7.3.4 กำกับดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทในเครือ และคู่ค้าของบริษัทให้ดำเนินงานตามนโยบายและแนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

7.3.5 รายงานการปฏิบัติหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทในเครือ และคู่ค้าของบริษัทต่อคณะเจ้าหน้าที่บริหาร

7.3.6 ประสานจัดการเรื่องร้องเรียนหรือการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการติดต่อหรือร้องขอจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

7.3.7 ประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท บริษัทในเครือ และคู่ค้าของบริษัท

7.3.8 แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถทำได้

7.4 สำนักกฎหมาย กลุ่มธุรกิจฯ

7.4.1 ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

7.4.2 ตรวจสอบจัดทำเอกสาร สัญญาที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

7.5 หน่วยงาน Risk Management

7.5.1 ค้นหาและระบุความเสี่ยงในกิจกรรมหรือการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

7.5.2 ประเมินความเสี่ยงโดยการกำหนดระดับความเสี่ยงของแต่ละกิจกรรมหรือการดำเนินงาน และระบุความเสี่ยงคงเหลือที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)

7.5.3 ติดตามให้แต่ละหน่วยงานดำเนินงานให้อยู่ในความเสี่ยงคงเหลือที่ยอมรับได้

7.5.4 ทบทวนระดับความเสี่ยงของกิจกรรมหรือการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานทุกไตรมาส

7.5.5 จัดทำรายงานและมีการรายงานความเสี่ยงต่อคณะเจ้าหน้าที่บริหาร

7.6 หน่วยงานตรวจสอบภายใน / ผู้ตรวจสอบภายนอก

7.6.1 ตรวจสอบการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

7.6.2 หน่วยงานตรวจสอบภายในสอบทานเอกสาร กระบวนการ และประเมินประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

7.6.3 จัดให้มีการสอบทานเอกสาร กระบวนการ และประเมินประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ตรวจสอบภายนอกเป็นประจำทุกปี

7.6.4 รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท

7.7 บริษัทในเครือ หน่วยงานระดับสำนักหรือเทียบเท่า

7.7.1 ให้ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทในเครือ หรือผู้บริหารสูงสุดของสำนักในระดับสำนักหรือเทียบเท่า มีหน้าที่ สั่งการ ควบคุม กำกับดูแลให้พนักงานภายในสังกัดของตนปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และนโยบายฉบับนี้โดยเคร่งครัด โดยให้มีหน้าที่เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Coordinator: DPC) รวมถึงแจ้งเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเกิดขึ้นในบริษัทหรือหน่วยงานของตนต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO)

7.7.2 บริษัทในเครือ หน่วยงานระดับสายงาน ระดับสำนักหรือเทียบเท่า สามารถออกข้อกำหนดหรือระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้บังคับภายในหน่วยงานของตนได้ ทั้งนี้ ข้อกำหนดหรือระเบียบปฏิบัติดังกล่าวนั้น ต้องเป็นไปตามนโยบายฉบับนี้ และตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และต้องแจ้งให้กับสำนักกฎหมาย กลุ่มธุรกิจฯ ทราบ

 

8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัย

เพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทได้มีมาตรการ ดังนี้

8.1 กำหนดสิทธิในการเข้าถึง การใช้ การเปิดเผย การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการแสดงหรือยืนยันตัวบุคคล ผู้เข้าถึงหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงกระบวนการทบทวนและประเมินประสิทธิภาพของมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Security Policy) ของบริษัทอย่างเคร่งครัด

8.2 ในการส่ง การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ รวมถึงการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเก็บบนฐานข้อมูลในระบบอื่นใด ซึ่งผู้ให้บริการรับโอนข้อมูลหรือบริการเก็บรักษาข้อมูลอยู่ต่างประเทศ ประเทศปลายทางที่เก็บรักษาข้อมูลต้องมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรการตามนโยบายนี้

8.3 ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของบริษัท จนเป็นเหตุให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการตามนโยบายการละเมิดและข้อมูลรั่วไหล (Data Breach Handling Policy) และตามที่กฎหมายกำหนด หากการละเมิดนั้นมีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการแจ้งเหตุการละเมิดพร้อมทั้งแนวทางการเยียวยาให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ บริษัทจะไม่รับผิดชอบในกรณีความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือบุคคลอื่นใดซึ่งได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือเพิกเฉยต่อมาตรการรักษาความปลอดภัย จนเป็นเหตุให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกใช้หรือเปิดเผยต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลอื่นใด

 

9. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตน ขอรับสำเนา ขอถอนความยินยอม คัดค้านการเก็บ การใช้ การเปิดเผย ขอให้ลบทำลายหรือพักการใช้ ขอแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ร้องเรียน หรือขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคลของตนไปยังผู้ควบคุมข้อมูลอื่น เว้นแต่เป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือตามกฎหมาย หรือเพื่อการศึกษาวิจัย ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

10. การร้องเรียน การแจ้งเบาะแส

กรณีพบเหตุอันควรสงสัยหรือเชื่อว่ามีการละเมิดการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์ที่จะร้องเรียนหรือใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายฉบับนี้ หรือตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทตามข้อมูลติดต่อด้านล่างนี้

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด

เลขที่ 9 อาคารวรสิน ชั้น 2-3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

Email Address: webmaster@taecgroup.com

เบอร์โทรศัพท์: 02-6915900 ต่อ 131

 

11. การฝึกอบรม

บริษัทจัดให้มีการฝึกอบรมและประเมินผลเกี่ยวกับการตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ในการนี้ ผู้ประสานงานข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Coordinator: DPC) ต้องเข้าร่วมฝึกอบรมและกำหนดให้พนักงานในสังกัดของตนซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลต้องเข้าร่วมฝึกอบรมอย่างเคร่งครัด

 

12. การทบทวนนโยบาย

บริษัทจะทำการทบทวนนโยบายนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือกรณีที่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

 

13. การฝ่าฝืน

บริษัทจะไม่ยอมประนีประนอมในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูล หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหน้าที่ของตน ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ละเลยหรือละเว้นไม่สั่งการ หรือไม่ดำเนินการ หรือสั่งการ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ของตน จนทำให้เกิดการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผิดวัตถุประสงค์ การละเมิดต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการฝ่าฝืนนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด พนักงานผู้นั้นต้องรับโทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัท และหากการกระทำผิดดังกล่าวของพนักงานและ/หรือบุคคลใดก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและ/หรือบุคคลอื่นใด บริษัทอาจพิจารณาดำเนินคดีตามกฎหมายเพิ่มเติมต่อไป

1. บทนำ

บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และ บริษัทในเครือ (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัท”)  ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลอื่นอันเกี่ยวกับท่าน (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) เพื่อให้ท่านสามารถเชื่อมั่นได้ว่า บริษัท มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) นี้จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงแก่ท่านถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (รวมเรียกว่า “ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการโดย บริษัท รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ดำเนินการแทนหรือในนามของ บริษัท โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

 

2. ขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย

นโยบายนี้ใช้บังคับกับ  ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริษัท ในปัจจุบันและที่อาจมีในอนาคต ซึ่งถูกประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท เจ้าหน้าที่ พนักงานตามสัญญา หน่วยธุรกิจหรือหน่วยงานรูปแบบอื่นที่ดำเนินการโดยบริษัทและรวมถึงคู่สัญญาหรือบุคคลภายนอกที่ประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคลแทนหรือในนามของ บริษัท (“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล”) ภายใต้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ ระบบ แอปพลิเคชัน เอกสาร หรือบริการในรูปแบบอื่นที่ควบคุมดูแลโดยบริษัท (รวมเรียกว่า “บริการ”)

บุคคลมีความสัมพันธ์กับ บริษัท ตามความในวรรคแรก รวมถึง

  • ลูกค้าบุคคลธรรมดา
  • เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้าง
  • คู่ค้าและผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
  • กรรมการ ผู้รับมอบอำนาจ ผู้แทน ตัวแทน ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ในรูปแบบเดียวกันของนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ บริษัท
  • บุคคลที่บริษัทได้ว่าจ้างให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท เช่นที่ปรึกษาด้านวิชาชีพ ผู้ให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
  • ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท
  • ผู้เข้าชมหรือใช้งานเว็บไซต์ www.thaia.net รวมทั้งระบบ แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นซึ่งควบคุมดูแลโดยบริษัท
  • บุคคลอื่นที่บริษัทเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ผู้สมัครงาน ครอบครัวของเจ้าหน้าที่ ผู้ค้ำประกัน ผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น

ข้อ 1) ถึง 6) เรียกรวมกันว่า “ท่าน

นอกจากนโยบายฉบับนี้แล้ว บริษัทอาจกำหนดให้มีคำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (“ประกาศ”) สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท เพื่อชี้แจงให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้บริการได้ทราบถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกประมวลผล วัตถุประสงค์และเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายในการประมวลผล ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลพึงมีในผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นเป็นการเฉพาะเจาะจง

ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันในสาระสำคัญระหว่างความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและนโยบายนี้ ให้ถือตามความในประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของบริการนั้น

 

3. คำนิยาม

  • บริษัท หมายถึง บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และบริษัทในเครือ
  • บริษัทในเครือ หมายถึง บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด โดยมีลักษณะเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ
  • ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้
    ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
  • ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทาง
    การเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
  • การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บรวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ บริษัท เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  • เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลซึ่งบริษัทแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

4. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

บริษัท เก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่ บริษัทเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่าง ๆเช่น ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ บริการ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดยบริษัท หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับ บริษัท ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดยบริษัท เป็นต้น
  • ข้อมูลที่บริษัท เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอื่น ๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัท เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่บริษัท และบริษัทมีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการ รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้

นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่ บริษัท ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่บริษัท

ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของบริษัทอาจเป็นผลให้บริษัทไม่สามารถให้บริการนั้นแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

 

5. ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

      บริษัทพิจารณากำหนดฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามความเหมาะสมและตามบริบทของการให้บริการ ทั้งนี้ ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทใช้ ประกอบด้วย

ฐานกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด
เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามที่กฎหมายที่ควบคุมบริษัท เช่น
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
– พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพ.ศ.2560
– กฎหมายว่าด้วยภาษีอากร รวมถึง การดำเนินการตามคำสั่งศาล เป็นต้น
เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทและของบุคคลอื่น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เพื่อการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของบริษัท หรือการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกิจการภายในของบริษัท เป็นต้น
เพื่อการปฏิบัติตามสัญญาเพื่อให้ บริษัท สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือดำเนินการอันเป็นความจำเป็นต่อการเข้าทำสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับ บริษัท เช่น การจ้างงาน จ้างทำของ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือสัญญาในรูปแบบอื่น เป็นต้น
ความยินยอมของท่านเพื่อการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่ บริษัท จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากท่าน โดยได้มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก่อนการขอความยินยอมแล้ว เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา 24 หรือ 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือการนำเสนอ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่สัญญาหรือพันธมิตรทางธุรกิจแก่ท่าน เป็นต้น

6. ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่ บริษัท เก็บรวบรวม

บริษัทอาจเก็บรวบรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการที่ท่านใช้หรือบริบทความสัมพันธ์ที่ท่านมีกับบริษัทรวมถึงข้อพิจารณาอื่นที่มีผลกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยประเภทของข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของ บริษัท เป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้

ประเภทข้อมูลส่วนบุคคลรายละเอียดและตัวอย่าง
ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคลข้อมูลระบุชื่อเรียกของท่านหรือข้อมูลจากเอกสารราชการที่ระบุข้อมูลเฉพาะตัวของท่าน เช่น คำนำหน้าชื่อ ชื่อ นามสกุล ชื่อกลาง ชื่อเล่น ลายมือชื่อ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน สัญชาติ เลขที่ใบขับขี่ เลขที่หนังสือเดินทาง ข้อมูลทะเบียนบ้าน หมายเลขใบประกอบการ หมายเลขใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ (สำหรับแต่ละอาชีพ) หมายเลขประจำตัวผู้ประกันตน หมายเลขประกันสังคม เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคลข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น วันเดือนปีเกิด เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก อายุ สถานภาพการสมรส สถานภาพการเกณฑ์ทหาร รูปถ่าย ภาษาพูด ข้อมูลพฤติกรรม ความชื่นชอบ ข้อมูลการเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อมูลการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น
ข้อมูลสำหรับการติดต่อข้อมูลเพื่อการติดต่อท่าน เช่น เบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์เคลื่อนที่ หมายเลขโทรสาร อีเมล ที่อยู่ทางไปรษณีย์บ้าน ชื่อผู้ใช้งานในสังคมออนไลน์ (Line ID, MS Teams) แผนที่ตั้งของที่พัก เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานและการศึกษารายละเอียดการจ้างงาน รวมถึงประวัติการทำงานและประวัติการศึกษา เช่น ประเภทการจ้างงาน อาชีพ ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ ความเชี่ยวชาญ สถานภาพใบอนุญาตทำงาน ข้อมูลบุคคลอ้างอิง หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ประวัติการดำรงตำแหน่ง ประวัติการทำงาน ข้อมูลเงินเดือน วันเริ่มงาน วันออกจากงาน ผลการประเมิน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ พัสดุในครอบครองของผู้ปฏิบัติงาน ผลงาน หมายเลขบัญชีธนาคาร สถาบันการศึกษา วุฒิการศึกษา ผลการศึกษา วันที่สำเร็จการศึกษา เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยรายละเอียดเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยผู้ปฏิบัติงาน เช่น ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หมายเลขกรมธรรม์ ประเภทกรมธรรม์ วงเงินคุ้มครอง ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลม เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมข้อมูลความสัมพันธ์ทางสังคมของท่าน เช่น สถานภาพทางการเมือง การดำรงตำแหน่งทางการเมือง การดำรงตำแหน่งกรรมการ ความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานของบริษัท ข้อมูลการเป็นผู้มีสัญญาจ้างกับบริษัท ข้อมูลการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่ทำกับบริษัท เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของบริษัทรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน ข้อมูลระบุพิกัด ภาพถ่าย วีดีโอ บันทึกเสียง ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน (เว็บไซต์ที่อยู่ในความดูแลของ บริษัท เช่น www.thaia.net หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ) ประวัติการสืบค้น คุกกี้หรือเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน หมายเลขอุปกรณ์ (Device ID) ประเภทอุปกรณ์ รายละเอียดการเชื่อมต่อ ข้อมูล Browser ภาษาที่ใช้งาน ระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน เป็นต้น
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของท่าน เช่น เชื้อชาติ ข้อมูลศาสนา ข้อมูลความพิการ ข้อมูลความเห็นทางการเมือง ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลชีวภาพ (ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า) ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น

7. คุกกี้

บริษัทเก็บรวบรวมและใช้คุกกี้รวมถึงเทคโนโลยีอื่นในลักษณะเดียวกันในเว็บไซต์ที่อยู่ภายใต้ความดูแลของ บริษัท เช่น www.thaia.net หรือบนอุปกรณ์ของท่านตามแต่บริการที่ท่านใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการให้บริการของบริษัท และเพื่อให้ท่านซึ่งเป็นผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน

บริการของบริษัท และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ของ บริษัท ให้ตรงกับความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น โดยท่านสามารถตั้งค่าหรือลบการใช้งานคุกกี้ได้ด้วยตนเองจากการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ของท่าน

8. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถและคนเสมือนไร้ความสามารถ

กรณีที่ บริษัททราบว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมในการเก็บรวบรวม เป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ บริษัทจะไม่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

กรณีที่ บริษัทไม่ทราบมาก่อนว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และมาพบในภายหลังว่า บริษัทได้เก็บรวบรวมข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวโดยยังมิได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์ หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ตามแต่กรณี ดังนี้ บริษัท จะดำเนินการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนั้นโดยเร็วหาก บริษัทไม่มีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายประการอื่นนอกเหนือจากความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว

 

9. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการหรือกิจกรรมที่ท่านใช้บริการ ตลอดจนลักษณะความสัมพันธ์ของท่านกับบริษัท หรือข้อพิจารณาในแต่ละบริบทเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ เฉพาะวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลของท่าน

  1. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการดำเนินประโยชน์สาธารณะที่ บริษัทได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วง หรือเป็นการจำเป็นเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมายที่ บริษัท มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามพันธกิจดังปรากฏในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561 และกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง
  2. เพื่อให้บริการและบริหารจัดการบริการของ บริษัท ทั้งบริการภายใต้สัญญาที่มีต่อท่าน หรือตามพันธกิจของ บริษัท
  3. เพื่อการดำเนินการทางธุรกรรมของ บริษัท
  4. ควบคุมดูแล ใช้งาน ติดตาม ตรวจสอบและบริหารจัดการบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของท่าน
  5. เพื่อเก็บรักษาและปรับปรุงข้อมูลอันเกี่ยวกับท่าน รวมทั้งเอกสารที่มีการกล่าวอ้างถึงท่าน
  6. จัดทำบันทึกรายการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
  7. วิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับบริการของบริษัท
  8. เพื่อดำเนินการตามที่จำเป็นในการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการรับสมัครงาน การสรรหากรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ การประเมินคุณสมบัติ
  9. ป้องกัน ตรวจจับ หลีกเลี่ยง และตรวจสอบการฉ้อโกง การละเมิดความปลอดภัย หรือการกระทำที่ต้องห้าม หรือผิดกฎหมาย และอาจเกิดความเสียหายต่อทั้งบริษัท และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  10. การยืนยันตัวตน พิสูจน์ตัวตนและตรวจสอบข้อมูลเมื่อท่านสมัครใช้บริการของบริษัท หรือติดต่อใช้บริการ หรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
  11. ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันสมัย
  12. การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง
  13. ส่งการแจ้งเตือน การยืนยันการทำคำสั่ง ติดต่อสื่อสารและแจ้งข่าวสารไปยังท่าน
  14. เพื่อจัดทำและส่งมอบเอกสารหรือข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องและจำเป็น
  15. ยืนยันตัวตน ป้องกันการสแปม หรือการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือผิดกฎหมาย
  16. ตรวจสอบว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าถึงและใช้บริการของบริษัท อย่างไร ทั้งในภาพรวมและรายบุคคล และเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการค้นคว้า และการวิเคราะห์
  17. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ที่บริษัทมีต่อหน่วยงานที่มีอำนาจควบคุม หน่วยงานด้านภาษี การบังคับใช้กฎหมาย หรือภาระผูกพันตามกฎหมายของบริษัท
  18. ดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของบริษัท หรือของบุคคลอื่น หรือของนิติบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินการของบริษัท ป้องกัน หรือหยุดยั้งอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งรวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด
  19. จัดเตรียมเอกสารทางประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การค้นคว้า หรือจัดทำสถิติที่บริษัท ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ
  20. เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่งที่มีผลบังคับใช้ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับคดีความ การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลตามหมายศาล รวมถึงการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

 

10. ประเภทบุคคลที่บริษัทเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 7 ข้างต้น บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ ประเภทของบุคคลผู้รับข้อมูลที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้เป็นเพียงกรอบการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท เป็นการทั่วไป เฉพาะบุคคลผู้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ท่านใช้งานหรือมีความสัมพันธ์ด้วยเท่านั้นที่จะมีผลบังคับใช้

ประเภทบุคคลผู้รับข้อมูลรายละเอียด
หน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอำนาจที่บริษัท ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการตามกฎหมายหรือวัตถุประสงค์สำคัญอื่น (เช่น การดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ)หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือมีอำนาจควบคุมกำกับดูแลหรือมีวัตถุประสงค์อื่นที่มีความสำคัญ เช่น คณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีผู้รักษาการ กรมการปกครอง กรมสรรพากร สำนักงานตำรวจ ศาล สำนักงานอัยการ กรมควบคุมโรค กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานปลัดสำนักนายก กรมการกงสุล กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น
คณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎหมายของ บริษัทบริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลของท่านแก่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะต่าง ๆ
คู่สัญญาซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานของบริษัทบุคคลภายนอกที่ บริษัท จัดซื้อจัดจ้างให้ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการ เช่น บริษัทประกันภัย โรงพยาบาล บริษัทผู้จัดทำ Payroll ธนาคาร ผู้ให้บริการโทรศัพท์ เป็นต้น
พันธมิตรทางธุรกิจบริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลของท่านแก่บุคคลที่ร่วมงานกับบริษัทเพื่อประโยชน์ในการให้บริการแก่ท่าน เช่น หน่วยงานผู้ให้บริการที่ท่านติดต่อผ่านบริการของบริษัทผู้ให้บริการด้านการตลาด สื่อโฆษณา สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ผู้ให้บริการโทรคมนาคม เป็นต้น
ผู้ให้บริการบริษัท อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นผู้ให้บริการแทน หรือสนับสนุนการดำเนินการของบริษัท เช่น ผู้ให้บริการด้านการจัดเก็บข้อมูล (เช่น คลาวด์) ผู้พัฒนาระบบ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ผู้ให้บริการจัดส่งเอกสาร ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ผู้ให้บริการด้านการบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาภายนอก ผู้ให้บริการขนส่ง เป็นต้น
ผู้รับข้อมูลประเภทอื่นบริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลของท่านให้แก่บุคคลผู้รับข้อมูลประเภทอื่น เช่น ผู้ติดต่อบริษัท สมาชิกในครอบครัว มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร วัด โรงพยาบาล สถานศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับบริการของบริษัท การฝึกอบรม การรับรางวัล การร่วมทำบุญ บริจาค เป็นต้น
การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะบริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลของท่านต่อสาธารณะในกรณีที่จำเป็น เช่น การดำเนินการที่กำหนดให้ บริษัทต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น

11. การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

ในบางกรณี บริษัทอาจจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ท่าน เช่น เพื่อส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปยังระบบคลาวด์ (Cloud) ที่มีแพลตฟอร์มหรือเครื่องแม่ข่าย (Server) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริการของบริษัท ที่ท่านใช้งานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นรายกิจกรรม

ในขณะที่จัดทำนโยบายฉบับนี้ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังมิได้มีประกาศกำหนดรายการประเทศปลายทางที่มีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ ดังนี้ เมื่อบริษัทมีความจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังประเทศปลายทาง บริษัทจะดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งหรือโอนไปมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอตามมาตรฐานสากล หรือดำเนินการตามเงื่อนไขเพื่อให้สามารถส่งหรือโอนข้อมูลนั้นได้ตามกฎหมาย ได้แก่

  1. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้ บริษัทต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ
  2. ได้แจ้งให้ท่านทราบและได้รับความยินยอมจากท่านในกรณีที่ประเทศปลายทางมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ตามประกาศรายชื่อประเทศที่คณะกรรมการคุ้มครองส่วนบุคคลประกาศกำหนด
  3. เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัทหรือเป็นการทำตามคำขอของท่านก่อนการเข้าทำสัญญานั้น
  4. เป็นการกระทำตามสัญญาของบริษัทกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของท่าน
  5. เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่านหรือของบุคคลอื่น เมื่อท่านไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้
  6. เป็นการจำเป็นเพื่อดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ

 

12. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้ในระยะเวลาเท่าที่ข้อมูลนั้นยังมีความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเท่านั้น ตามรายละเอียดที่ได้กำหนดไว้ในนโยบาย ประกาศหรือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เมื่อพ้นระยะเวลาและข้อมูลส่วนบุคคลของท่านสิ้นความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว บริษัทจะทำการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่สามารถระบุตัวตนได้ต่อไป ตามรูปแบบและมาตรฐานการลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่คณะกรรมการหรือกฎหมายจะได้ประกาศกำหนดหรือตามมาตรฐานสากล อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีข้อพิพาท การใช้สิทธิหรือคดีความอันเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทขอสงวนสิทธิในการเก็บรักษาข้อมูลนั้นต่อไปจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุด

 

13. การให้บริการโดยบุคคลที่สามหรือผู้ให้บริการช่วง

บริษัทอาจมีการมอบหมายหรือจัดซื้อจัดจ้างบุคคลที่สาม (ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ให้ทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของบริษัท ซึ่งบุคคลที่สามดังกล่าวอาจเสนอบริการในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเป็นผู้ดูแล (Hosting) รับงานบริการช่วง (Outsourcing) หรือเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ (Cloud computing service/provider) หรือเป็นงานในลักษณะการจ้างทำของในรูปแบบอื่น

การมอบหมายให้บุคคลที่สามทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลนั้น บริษัทจะจัดให้มีข้อตกลงระบุสิทธิและหน้าที่ของบริษัท ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและของบุคคลที่ บริษัท มอบหมายในฐานะผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงกำหนดรายละเอียดประเภทข้อมูลส่วนบุคคลที่ บริษัท มอบหมายให้ประมวลผล รวมถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและข้อตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามขอบเขตที่ระบุในข้อตกลงและตามคำสั่งของ บริษัท เท่านั้นโดยไม่สามารถประมวลผลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นได้

ในกรณีที่ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลมีการมอบหมายผู้ให้บริการช่วง (ผู้ประมวลผลช่วง) เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลแทนหรือในนามของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้ บริษัทจะกำกับให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจัดให้มีเอกสารข้อตกลงระหว่างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ประมวลผลช่วง ในรูปแบบและมาตรฐานที่ไม่ต่ำกว่าข้อตกลงระหว่าง บริษัทกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

 

14. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล โดยการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลให้สามารถเข้าถึงได้โดยเจ้าหน้าที่เฉพาะรายหรือบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท อย่างเคร่งครัด ตลอดจนมีหน้าที่รักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนเองรับรู้จากการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ โดยบริษัท มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทั้งในเชิงองค์กรหรือเชิงเทคนิคที่ได้มาตรฐานสากล และเป็นไปตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

นอกจากนี้ เมื่อบริษัทมีการส่ง โอนหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลที่สาม ไม่ว่าเพื่อการให้บริการตาม
พันธกิจ ตามสัญญา หรือข้อตกลงในรูปแบบอื่น บริษัทจะกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความลับที่เหมาะสมและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยืนยันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวมจะมีความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ

 

15. การเชื่อมต่อเว็บไซต์หรือบริการภายนอก

บริการของบริษัทอาจมีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์หรือบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งเว็บไซต์หรือบริการดังกล่าวอาจมีการประกาศนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเนื้อหาสาระแตกต่างจากนโยบายนี้ บริษัทขอแนะนำให้ท่านศึกษานโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์หรือบริการนั้น ๆ เพื่อทราบในรายละเอียดก่อนการเข้าใช้งาน ทั้งนี้ บริษัทไม่มีความเกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจควบคุมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์หรือบริการดังกล่าวและไม่สามารถรับผิดชอบต่อเนื้อหา นโยบาย ความเสียหาย หรือการกระทำอันเกิดจากเว็บไซต์หรือบริการของบุคคลที่สาม

 

16. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับและให้คำแนะนำในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

 

17. สิทธิของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้หลายประการ ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อกฎหมายในส่วนของสิทธินี้มีผลใช้บังคับ โดยรายละเอียดของสิทธิ
ต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอเข้าถึง รับสำเนาและขอให้เปิดเผยที่มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ บริษัทเก็บรวบรวมไว้โดยปราศจากความยินยอมของท่าน เว้นแต่กรณีที่ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธคำขอของท่านด้วยเหตุตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือกรณีที่การใช้สิทธิของท่านจะมีผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
  2. สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน หากท่านพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนหรือไม่เป็นปัจจุบัน ท่านมีสิทธิขอให้แก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้อง
    เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  3. สิทธิในการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้ต่อไป ทั้งนี้ การใช้สิทธิลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด
  4. สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    1. เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่ บริษัททำการตรวจสอบตามคำร้องขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
    2. ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
    3. เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ที่ บริษัทได้แจ้งในการเก็บรวบรวม แต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประสงค์ให้บริษัทเก็บรักษาข้อมูลนั้นต่อไปเพื่อประกอบการใช้สิทธิตามกฎหมาย
    4. เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่บริษัทกำลังพิสูจน์ถึงเหตุอันชอบด้วยกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือตรวจสอบความจำเป็นในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์สาธารณะ อันเนื่องมาจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
    5. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับท่าน เว้นแต่กรณีที่บริษัทมีเหตุในการปฏิเสธคำขอโดยชอบด้วยกฎหมาย (เช่น บริษัทสามารถแสดงให้เห็นว่าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายยิ่งกว่า หรือเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะของบริษัท)
    6. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมแก่บริษัทในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ไม่ว่าความยินยอมนั้นจะได้ให้ไว้ก่อนหรือหลังพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ) ท่านมีสิทธิถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ตลอดระยะเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกเก็บรักษาโดยบริษัทเว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายให้ บริษัทจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลต่อไปหรือยังคงมีสัญญาระหว่างท่านกับบริษัทที่ให้ประโยชน์แก่ท่านอยู่
    7. สิทธิในการขอรับ ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิในการขอรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจาก บริษัทในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยวิธีการอัตโนมัติ รวมถึงอาจขอให้ บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่น ทั้งนี้ การใช้สิทธินี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด

 

18. โทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

การไม่ปฏิบัติตามนโยบายอาจมีผลเป็นความผิดและถูกลงโทษทางวินัยตามกฎเกณฑ์ของบริษัท (สำหรับเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของบริษัท) หรือตามข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (สำหรับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล) ทั้งนี้ ตามแต่กรณีและความสัมพันธ์ที่ท่านมีต่อบริษัท และอาจได้รับโทษตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมทั้งกฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง

 

19. การร้องเรียนต่อหน่วยงานผู้มีอำนาจกำกับดูแล

ในกรณีที่ท่านพบว่าบริษัทมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิร้องเรียนไปยังคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือตามกฎหมาย ทั้งนี้ ก่อนการร้องเรียนดังกล่าว บริษัทขอให้ท่านโปรดติดต่อมายังบริษัท เพื่อให้บริษัทมีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริงและได้ชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงจัดการแก้ไขข้อกังวลของท่านก่อนในโอกาสแรก

 

20. การปรับปรุงแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจพิจารณาปรับปรุง แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ตามที่เห็นสมควร และจะทำการแจ้งให้ท่านทราบผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.thaia.net  โดยมีวันที่มีผลบังคับใช้ของแต่ละฉบับแก้ไขกำกับอยู่บริษัท ขอแนะนำให้ท่านโปรดตรวจสอบเพื่อรับทราบนโยบายฉบับใหม่อย่างสม่ำเสมอ ผ่านแอปพลิเคชัน หรือช่องทางเฉพาะกิจกรรมที่บริษัท ดำเนินการ โดยเฉพาะก่อนที่ท่านจะทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่ บริษัท

การเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ภายหลังการบังคับใช้นโยบายใหม่ ถือเป็นการรับทราบตามข้อตกลงในนโยบายใหม่แล้ว ทั้งนี้ โปรดหยุดการเข้าใช้งานหากท่านไม่เห็นด้วยกับรายละเอียดในนโยบายฉบับนี้และโปรดติดต่อมายังบริษัท เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป

 

21. การติดต่อสอบถามหรือใช้สิทธิ

หากท่านมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท หรือเกี่ยวกับนโยบายนี้ หรือท่านต้องการใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่