หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ลม คือปัจจัยหลักที่ทำให้ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic System) ทำงาน ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างแรงดันลมให้ได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็คือปั๊มลมนิวเมติกส์ และเมื่อปั๊มลมนิวเมติกส์ได้อัดอากาศจนมีแรงดันที่มากพอ ก็จะทำการส่งแรงดันลมนี้ไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ ซึ่งกระบวนการนี้ เรียกอีกอย่างว่า การจ่ายลมหรือการกระจายแรงดัน (Pressure Distribution) ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึง หลักการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม



3 หลักการเดินท่อจ่ายลม

  1. การเดินท่อลมนิวเมติกส์จะต้องเป็นตามแบบการใช้งานที่เหมาะสม ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
  2. การต่อหรือแยกท่อลมนิวเมติกส์เพื่อใช้งาน จะต้องต่อจากด้านบนของท่อ Main หรือท่อแยก
  3. จุดปลายสุดของท่อลมนิวเมติกส์ควรจะมีตัวกรองปลายท่อ เพื่อระบายน้ำออกจากท่อ และป้องกันไม่ให้เกิดความชื้น

2 ลักษณะการเดินท่อจ่ายลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

1.การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบแยกสาขา (Branch Line)

การเดินท่อจ่ายลมแบบแยกสาขา เป็นวิธีที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก และมีอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ไม่มาก เพราะการเดินท่อลักษณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในระบบนิวเมติกส์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลมตั้งแต่แรกที่มีการติดตั้งระบบนิวเมติกส์ ทำให้อุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวสุดท้ายในระบบไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม



2. การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบวงแหวน (Ring Circuit)

การเดินท่อจ่ายลมแบบวงแหวน เป็นการวางท่อลมรอบโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการต่อแบบแยก และการต่อแบบวงแหวน ซึ่งการจ่ายลมด้วยวิธีแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องความดันตกได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันลมในท่อมีความสม่ำเสมอกันในทุกจุด แม้จะมีการใช้ปริมาณลมอัดที่มากก็ตาม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม


ลักษณะการจ่ายลมด้วยท่ออ่อน

เป็นการจ่ายลมโดยต่ออุปกรณ์นิวเมติกส์ ระหว่างอุปกรณ์ เช่น วาล์วนิวเมติกส์ ชุดกรองลม กับ fitting เพื่อความสะดวกในการทำงานของระบบนิวเมติกส์ค่ะ ซึ่งวัสดุที่นำมาผลิตเป็นท่ออ่อนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ท่ออ่อนที่ทำจากวัสดุประเภท Polyurethane (PU) เพื่อสะดวกในการทำงานในพื้นที่จำกัด สามารถโค้งงอได้ดี
  • ท่ออ่อนที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก เช่น Nylon และ Soft Nylon เป็นต้น ซึ่งสามารถทนแรง pressure ได้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องการทำงานในพื้นที่แคบ



บทความที่เกี่ยวข้อง


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องหลักการและลักษณะการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand