กระบอกลม 4 ประเภทที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
กระบอกลม จะมีลักษณะรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะอยู่ใน 4 หมวดหมู่หลัก ๆ ที่แอดมินจะบอกในบทความนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อกระบอกนิวเมติกส์ตอบสนองการทำงานเฉพาะทางค่ะ แต่ในบทความนี้แอดมินจะขอพูดถึง 4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ
กระบอกลม นิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Single-acting Cylinders
1.กระบอกลม นิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Single–acting Cylinders
กระบอกลมนิวเมติกส์แบบชั้นเดียว เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน
2. กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง หรือ Double-acting Cylinder
กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง เป็นกระบอกลมที่ใช้แรงของอากาศในการเคลื่อนที่ 2 ทาง ทั้งในการยืดและการหด stroke ซึ่งข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง คือความยาวระยะชักในการออกแบบนี้จะมีไม่จำกัดค่ะ เพียงแต่แกนลูกสูบ หรือ piston rod จะมีความเสี่ยงในการโก่งและงอมากกว่ากระบอกลมประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรทำการคำนวณเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
3. Multi-stage, Telescopic Cylinder
กระบอกลมนิวเมติกส์แบบเหลื่อม หรือที่เรียกกันว่ากระบอกแบบยืดสไลด์ สามารถเป็นได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบสองชั้น ซึ่งประกอบด้วยแกนลูกสูบที่ซ้อนกันอยู่ภายในจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งสามารถทำระยะชักได้หลากหลายในตัวเดียวกัน โดยประโยชน์หลักของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบนี้ คือ ประหยัดเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บของตัวกระบอกลมและความยาวได้มากกว่ากระบอกทั้งแบบทางเดียวและกระบอกแบบ 2 ทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด
4. กระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ
แม้ว่ากระบอกลมแบบทางเดียว และ กระบอกลมแบบสองทาง จะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ก็ยังมีกระบอกลมประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเป็นกระบอกลมแบบเฉพาะทางค่ะ
• กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน 2 ด้าน หรือกระบอกแบบ PUSH PULL ก้านลูกสูบยื่นผ่านทั้งสองด้านของกระบอกลมทำให้แรงและความเร็วเท่ากันทั้งสองข้าง
• กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีคูชชั่น: กระบอกที่มีการควบคุมไอเสียเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างก้านลูกสูบและฝาปิดกระบอกสูบ
• กระบอกลมนิวเมติกส์แบบหมุนองศาหรือแอร์มอเตอร์ (AIR MOTOR) ตัวกระตุ้นที่ใช้อากาศเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน
• กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ RODLESS CYLINDER : ไม่มีแกนลูกสูบ ใช้การเชื่อมต่อแบบกลไกหรือแม่เหล็กเพื่อส่งแรงไปยังอุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวอื่น ๆ
• กระบอกลมนิวเมติกส์แบบกระแทก (HAMMER) : กระบอกลมความเร็วสูงพร้อมฝาปิดท้ายที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกจากการยืดหดของก้านลูกสูบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม
- ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลม และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : @pneumaxthailand
Line ID : @thaiagency