ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
ข้อควรคำนึงในการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิค (Hydraulic) เป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิค เป็นต้น
เกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
ในกระบวนการออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิคนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง หากทำการละเลยรายละเอียดเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญไป โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการออกแบบนั้นก็จะสูงไปด้วย ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกไฮดรอลิคนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแง่ของวัสดุที่ใช้ ตามการใช้งานของแต่ละตัว เช่น กระบอกสูบที่ใช้ในเครื่องจักรก่อสร้าง เทียบกับงานป่าไม้ ก็จะมีการออกแบบต่างกัน เป็นต้น ซึ่งเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค มีด้วยกันดังนี้
1.สภาพการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิค (Working conditions)
สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาก่อนการออกแบบกระบอกสูบ คือการพิจารณาสภาพการใช้งาน กล่าวคือ กระบอกไฮดรอลิคตัวนี้จะเอาไปใช้ทำอะไร ที่ไหน และต้องรับน้ำหนักแบบใด เช่น เอาไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูง ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ หรือการทำงานใต้น้ำ เป็นต้น สภาพการทำงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงเมื่อต้องออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค
2.ระยะการลาก (Stroking distance requirements)
การคำนึงถึง ช่วงชักขอกการใช้งาน โดยจะสามารถกำหนดระยะตามความต้องการในการใช้งานได้กับงานที่เราต้องการ แต่ถ้าใช้ช่วงชักที่ยาว เกินไปก็อาจมาผลเสียได้ เพราะอาจต้องคิดค่า Bucking ให้เหมาะต่อการใช้งานที่ถูกต้อง และ การ Design จุดติดตั้ง ก็ต้องเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ (Temperature)
เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอุณหภูมิที่กระบอกสูบจะถูกนำไปใช้งานด้วย เพราะการออกแบบกระบอกไฮดรอลิคที่จะใช้ในอุณหภูมิสูง เช่น สภาพทะเลทราย กับการใช้งานในสภาพอากาศหนาวเย็น -30 องศานั้น จำเป็นต้องใช้ส่วนประกอบที่ต่างกัน เพื่อให้กระบอกสูบสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดในอุณหภูมิที่ต้องการ
3.ความเร็ว (Speed)
เมื่อผู้ออกแบบเลือกชิ้นส่วนกระบอกสูบที่เหมาะสมเขาจำเป็นต้องพิจารณาความเร็วในการเลื่อนของระบบ คำจำกัดความของ “ความเร็วที่มากเกินไป” อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวิศวกรออกแบบ โดยทั่วไปแล้วซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคแบบมาตรฐานสามารถรองรับความเร็วสูงสุด 0.5 เมตรต่อวินาทีได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ต้องคำนึงด้วยว่า ยิ่งความเร็วในของของไหลเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคทั้งหมดก็สูงขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการลดอุณหภูมิของระบบไฮดรอลิคด้วยนะคะ
4.รูปแบบการติดตั้ง (Mounting styles)
การติดตั้งทุกประเภทมาพร้อมกับประโยชน์และข้อจำกัด โดยรูปแบบการติดตั้งมีสามประเภทด้วยกัน คือ
• รูปแบบคงที่ (Fixed style)
• แบบเดือย (Pivot style) โดย 2 รูปแบบนี้สามารถดูดซับแรงบนเส้นกึ่งกลางของกระบอกสูบไฮดรอลิคได้ เหมาะสำหรับการใช้งานขนาดกลางและงานหนักเพื่อรองรับแรงขับหรือแรงดึง
• รูปแบบที่สาม สามารถรองรับกระบอกสูบไฮดรอลิคทั้งหมดได้โดยพื้นผิวยึดด้านล่างเส้นกึ่งกลางกระบอกสูบแทนที่จะดูดซับแรงตามแนวกึ่งกลางเพียงอย่างเดียว
5.ขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore size)
ขนาดของกระบอกไฮดรอลิคจะสัมพันธ์กับแรงดันในการใช้งาน เพราะจำนวนแรงผลักและแรงดึงที่ต้องการ เป็นตัวแปรที่กำหนดขนาดกระบอกสูบไฮดรอลิคที่ต้องการนั่นเองค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องเกณฑ์การออกแบบกระบอกสูบไฮดรอลิค หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และอย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency