3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

หากผู้อ่านต้องการให้ระบบนิวเมติกส์มีการทำงานที่ปลอดภัยและทนทาน คุณจะเลือกใช้ท่อลมพลาสติกแบบถูก ๆ หรือไม่? คำตอบคงเป็น ไม่ เพราะไม่อย่างนั้นก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบนิวเมติกส์อื่น ๆ ตามไปด้วย ฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการเลือกท่อลมที่ดี และเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อนำมาใช้กับระบบนิวเมติกส์ของคุณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 3 ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเลือกท่อลมอัดตามที่คุณต้องการ 

1.ปริมาณแรงดันที่ท่อลมต้องใช้งาน

ผู้ผลิตท่อลมแต่ละรายจะบอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าความดันที่ท่อลมสามารถทนได้ ในจำนวนระยะเวลาหนึ่ง รวมไปถึงอุณหภูมิที่ไม่ทำให้ท่อลมเกิดความเสียหาย

โดยบริษัท MEBRA ประเทศอิตาลี ให้ค่าสัมประสิทธิ์สำหรับพลาสติกทุกชนิดที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ ดังนี้

  • โพลียูรีเทน (Polyurethane) – วัสดุสำหรับท่อลมทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ – 20°C ถึง +60°C
  • โพลิเอททีลีน (Polyethylene) – วัสดุท่อลมทำงานที่อุณหภูมิ -20°C ถึง +70 °C
  • เทฟลอน (PTFE) – วัสดุสำหรับท่อลมที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงมากตั้งแต่ – 60°C ถึง +200°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์
  • POLYAMAID  PA11 ( RILSAN PA11)– วัสดุสำหรับสายลมที่ทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -40°C ถึง +80°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์
  • POLYAMAID  PA12– วัสดุสำหรับท่อลมที่ทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -40°C ถึง +80°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

เมื่อทราบอุณหภูมิที่จุดใช้งานของท่อลมแล้ว เราสามารถกำหนดได้ว่าแรงดันใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดและจะใช้งานได้นานเท่าใด ฉะนั้นก่อนที่ผู้อ่านจะเลือกซื้อท่อลม แอดมินแนะนำให้ผู้อ่านตรวจสอบถึงข้อมูลเหล่านี้ก่อนนะคะ เพื่อเลือกท่อลมให้เหมาะสมกับการใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

1.สภาพแวดล้อมในการทำงานของระบบนิวเมติกส์

ตัวอย่างประเภทของวัสดุที่ใช้ในการผลิตท่อลมสำหรับต้านทานอิทธิพลภายนอก ได้แก่

  • โพลียูรีเทน (Polyurethane) – เป็นสายลมมีลักษณะอ่อน ความยืดหยุ่นสูงมากกว่าพลาสติกชนิดอื่น สายหักงอแล้วสามารถกลับคืนสภาพเดิมได้  การเข้าโค้งในพื้นที่แคบได้ดี
  • โพลิเอทิลีน (Polyethylene)  – เป็นสายที่มีความสามารถ ทนทานต่อสารกัดกร่อนและทนต่อจุลินทรีย์และเชื้อรา รวมทั้งเคมีบางชนิดได้ดี และราคาค่อนข้างถูก
  • เทฟลอน (PTFE) – เป็นสายชนิดที่ทนต่อสารเคมีได้หลากหลาย  และใช้ในส่วนอุตสาหกรรมอาหารได้ เพราะเป็นสายชนิด Food grade และทนความร้อนได้สูงถึง 200 °C
  • Polyamide  PA11( RILSAN PA11) – สามารถทนทานต่อสารเคมีได้บางชนิด มีความยืดหยุ่น ทนแรงดันได้ค่อนข้างสูง ความพิเศษของสายชนิดนี้คือ ผลิตจากสารสกัดน้ำมันละหุ่ง (Ricinus communis ) ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ
  • Polyamide PA12 – สามารถทนทานต่อสารเคมีได้บางชนิด มีความยืดหยุ่น ทนแรงดันได้ค่อนข้างสูง แต่ยังน้อยกว่า PA11 โดยสายชนิดนี้จะผลิตมาจากระบบปิโตรเลียม

สายยังมีความหลากหลายแบบ หลายชนิด แยกย่อยและผสมกันหลายรูปแบบ เช่น สายทนสะเก็ดไฟ ซึ่งมีทั้งแบบ 2 ชั้นหรือแบบสามชั้น สายแบบอลูมิเนียม สายแบบมัลติทั้งหลาย

  • การไหลของอากาศในท่อลม

หากผู้อ่านเลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อลมสำหรับการไหลไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบนิวเมติกส์ไม่ถูกต้อง ต้นทุนที่ไม่จำเป็นอาจเกิดขึ้นได้

การเลือกใช้ชนิดสายลม จะต้องคำนึงถึง แรงดันที่ใช้งาน ขนาดของสายลม การเข้าในพื้นที่คับแคบมากน้อยแค่ไหน พื้นที่ ที่ผ่านมีสารเคมีชนิดไหน มีความร้อนมากน้อยแค่ไหน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand