ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุดในระบบไฮดรอลิค คือ กระบอกสูบไฮดรอลิก ที่ยืดออกและหดกลับด้วยแรงดันของของเหลว ทำให้สามารถยก ดึง และผลักของหนักได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ บาร์เรล (Barrel) ลูกสูบ (Piston) และก้านลูกสูบ (Piston rod) เป็นส่วนประกอบหลักของกระบอกสูบไฮดรอลิก ลูกสูบที่ติดอยู่กับก้านลูกสูบจะเคลื่อนไปมาผ่านกระบอกสูบด้วยการกระทำของการรับและการกำจัดของเหลว ระหว่างการรับของเหลว ก้านลูกสูบจะยืดออก และเมื่อของเหลวไหลออก ก้านลูกสูบจะหดกลับ การทำงานแต่ละครั้งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนไหวของก้านลูกสูบผ่านกระบอกสูบ การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงดันสูงนี้ อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของกระบอกสูบไฮดรอลิกได้ เนื่องจากการสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทกที่เกิดจากกระบวนการที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงความสำคัญของตัวกันกระแทกในกระบอกสูบไฮดรอลิก ที่สามารถลดความเสียหาย และยืดอายุให้กับกระบอกสูบได้กันค่ะ

ตัวกันกระแทก (CUSHIONING) ของกระบอกสูบไฮดรอลิกคืออะไร

การกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อถึงจุดสิ้นสุดของจังหวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับทั้งกระบอกลมนิวเมติกส์และไฮดรอลิกเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากคลื่นกระแทกจากแรงดันลม

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก
ขอบคุณรูปภาพจาก WHYPS

ลูกสูบกันกระแทกส่วนมากจะติดอยู่กับแกนลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สูบจ่ายที่ชะลอความเร็วของกระบอกสูบก่อนที่จะกระทบที่ฝาท้าย การชะลอตัวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการจำกัดการไหลของของไหลที่เกิดจากลูกสูบ ซึ่งข้อดีของการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก ก็คือ

  • ยืดอายุการใช้งานของกระบอกสูบ
  • ลดเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์
  • กระบวนการลดความเร็วส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ ปรับได้ และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามากนัก
  • นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายของหนักที่ต้องใช้ความเร็วสูง

ตัวที่กำหนดว่าเราจำเป็นต้องมีตัวกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิกหรือไม่นั้น คือค่าพลังงานจลน์ พลังงานจลน์นี้จะขึ้นอยู่กับสองพารามิเตอร์ นั่นก็คือ มวลเคลื่อนที่ (Moving mass) และความเร็ว (Speed) โดยสมการในการคำนวณพลังงานจลน์ คือ

E = ½*m*v 2

เมื่อก้านลูกสูบกระบอกสูบเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของจังหวะการกระแทก พลังงานจลน์จะถูกแปลงเป็น

E = Fa*ΔL

โดยที่ Fa คือแรงกันกระแทกที่เกิดจากระยะยุบตัวของ ΔL นั่นเองค่ะ

โดยทั่วไปแล้ว การกันกระแทกของกระบอกสูบจะถูกใช้กับกระบอกสูบแบบ double-act ที่ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น เครนขนถ่ายสินค้า หรือเครนเคลื่อนที่สำหรับจอดเรือ เป็นต้นค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับความรู้เรื่องการกันกระแทกกระบอกสูบไฮดรอลิก หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะสามารถนำความรู้ในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้นะคะ และบทความหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิก วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิก และรับผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency