รู้ก่อนใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย ต้องบอกว่าในช่วงเวลานี้การใช้แรงงานคนได้ถูกลดทอนลงไป เมื่อคนไทยสามารถผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ทดแทนแรงงานคนได้ แถมยังประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการผลิตอีกด้วย ยกตัวอย่างการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรอย่างรถตัดอ้อย ที่สมรรถนะสูงแสดงฝีไม้ลายมือตะลุยตัดอ้อยแทนการใช้แรงงานคนได้มากที่สุดจากสถิติของบริษัทน้ำตาลชื่อดังที่เคยบันทึกไว้คือ 825 ตันต่อคันต่อวัน
โดยรถตัดอ้อยคันหนึ่งมีความสามารถในการทำงานตัดอ้อยเฉลี่ย 100-300 ตันต่อวัน ช่วยทดแทนแรงงานคนที่นับวันจะหายากขึ้นเรื่อย ๆ และลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการแรงงานคนได้อีกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคนแล้ว พื้นที่ 100 ไร่ อาจจะใช้รถตัดอ้อยตัดเพียง 2 วัน คนร่วมด้วยเพียง 1-2 คน แต่หากใช้แรงงานคนต้องใช้มากถึง 30 คน กินเวลานานถึง 1 สัปดาห์ เลยทีเดียว
ขั้นตอนการทำงานของรถตัดอ้อยจะต้องทำงานควบคู่ไปกับรถตะกร้าหรือที่เรียกอีกอย่างว่ารถบิน รถชนิดนี้จะคอยทำหน้าที่รับท่อนอ้อยที่ผ่านการตัดท่อนอ้อยจากรถตัดอ้อยและขนถ่ายโดยรถเทรลเลอร์เพื่อส่งตรงยังโรงงานน้ำตาล เป็นระบบการเก็บเกี่ยวอ้อยที่ให้กำไรมากกว่าการเก็บอ้อยไฟไหม้ แต่ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวอ้อยที่ดียังมีปัจจัยอีกมากมายจากการใช้รถตัดอ้อย หากอยากได้อ้อยที่มีคุณภาพช่วยสร้างกำไรเราตามมาดูปัจจัยเหล่านี้กันค่ะ
- แปลงอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีความยาวของแถวอ้อยมากกว่า 250 เมตร เพราะหากมีแปลงอ้อยที่เล็กเกินไปจะทำให้รถตัดอ้อยทำงานได้ไม่สะดวก เสียเวลาย้ายแปลง จากการกลับรถตัดอ้อยบ่อยครั้ง อีกทั้งเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง
- ถนนหัวแปลงและท้านแปลงอ้อยควรมีความราบเรียบ สม่ำเสมอ และมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ในความสูงที่เท่ากันกับแปลงอ้อย เพื่อความสะดวกในการกลับรถตัดอ้อย และลดการเหยียบย่ำอ้อยในแปลง โดยระยะระหว่างแถวอ้อยที่ดีทุดคือ 1.85 เมตร หากเป็นร่องอ้อยที่แคบกว่านี้ รถตัดอ้อยสามารถตัดอ้อยได้แต่จะเกิดความเสียหายจากยางหลังที่เหยียบย่ำอ้อยในแถวถัดไปที่ยังไม่ได้ตัด ทำให้อ้อยแตกหักเสียหายไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้หรือเก็บเกี่ยวได้แต่ก็มีการสูญเสียเรื่องน้ำหนักอ้อย
- ความเหมาะสมของรูปร่างเบด เพื่อให้สามารถตัดอ้อยได้ชิดติดดิน และให้หน่อของอ้อยตอเกิดจากใต้ดิน รูปร่างของเบดควรจะต้องมีลักษณะโค้งมนหรือสันเหลี่ยมก็ได้ มีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร ไม่มีหลุมบ่อที่จะทำให้อ้อยตกค้างในแปลงแต่ละร่อง จะทำให้เก็บเกี่ยวอ้อยได้ดีที่สุด ควรมีการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้มีการระบายน้ำในแปลงได้ดี ป้องกันปัญหาอ้อยงอกไม่สม่ำเสมอและลดความเสี่ยงของรถตัดอ้อยติดหล่ม
- การจัดโซนนิ่งรถตัดอ้อย โดยปรับให้แปลงอ้อยที่อยู่ติดกัน มีระยะร่องรองรับรถตัด เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้รถตัดอ้อยได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : MITR PHOL ModernFarm
เราจึงอยากให้ชาวไร่อ้อยได้ตะหนักถึงการดูแลแปลงอ้อยก่อนการใช้รถตัดอ้อยให้คงสภาพดีอยู่เสมอ และได้ใช้รถตัดอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย Max รถตัดอ้อยไทยประดิษฐ์ รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยทลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
บทความที่เกี่ยวข้อง