รีวิวการใช้รถตัดอ้อยไทยทำรุ่น MAXCANE HARVESTER 360 จาก Thai-A การเก็บเกี่ยวนับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการเกษตรชาวไร่อ้อย เพราะขั้นตอนที่ต้องอาศัยแรงงานคนจำนวนมาก กาลเวลาผ่านไปค่านิยมการทำงานเริ่มลดน้อยลงทำให้ชาวไร่อ้อยส่วยใหญ่หันมามองเห็นประโยชน์ของรถตัดอ้อยมากขึ้น

รถตัดอ้อยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัย ได้ใจเถ้าแก่ไร่อ้อยไปแบบเต็ม ๆ ด้วยความคุ้มค่า น่าลงทุนประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวอ้อยได้รวดเร็ว ทันใจ ลดการใช้แรงงานและลดเวลาทำงานในไร่ได้อีกด้วย วันนี้แอดมินเลยจะพามาดูรถตัดอ้อยไทยทำ ไทยประดิษฐ์ จาก Thai-A พร้อมวิธีการใช้รถตัดอ้อย MAX CANE HARVESTER กันค่ะ

สาธิตวิธีใช้รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

1. ก่อนการตัดอ้อย

ตรวจเช็กสภาพความพร้อมของตัวเครื่องรถตัดอ้อยทุกครั้งก่อนใช้งาน

ควรทำการตรวจเช็กหม้อน้ำก่อนเพื่อให้ตัวเครื่องสร้างแรงดันน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องยนต์ และพาความร้อนออกจากตัวเครื่องยนต์รถตัดอ้อยได้ ต่อมาคือการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องซึ่งจะอยู่ระหว่างเครื่องยนต์และห้องคนขับ หลังจากนั้น ควรเช็กในส่วนของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์โดยสามารถสังเกตได้จากเครื่องวัดน้ำที่ติดอยู่ด้านข้างรถตัดอ้อยได้ค่ะ

2. ภายในห้องควบคุม

ภายในห้องควบคุมรถตัดอ้อยนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 6 แกนโยกคอนโทรล และ 11 ปุ่มควบคุมด้วยกันค่ะ เน้นระบบควบคุมแบบมือโยก (Manual) เพื่อง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอนาคต

  • แกนโยกคอนโทรลที่ 1 สำหรับยกตัว
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 2 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 3 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 4 สำหรับการตัดยอดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 5 สำหรับยกหางรถตัดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 6 สำหรับใบโบกอ้อย หรือตัดแต่งอ้อย

11 ปุ่มควบคุมทำหน้าที่ดังนี้

  • ปุ่มที่ 1 สำหรับสับท่อนอ้อย
  • ปุ่มที่ 2 สำหรับตัดโคนอ้อย
  • ปุ่มที่ 3 ปุ่มควบคุมปุ่ม 2 ปุ่มแรก
  • ปุ่มที่ 4 สำหรับควบคุมสายพาน
  • ปุ่มที่ 5 สำหรับพัดลมตัวที่ 1
  • ปุ่มที่ 6 สำหรับพัดลมตัวที่ 2
  • ปุ่มที่ 7 สำหรับควบคุมใบมีดตัดยอด
  • ปุ่มที่ 8 และ 9 สำหรับควบคุมไฟชุดหน้า
  • ปุ่มที่ 10 และ 11 สำหรับควบคุมไฟชุดหลัง

นอกจากนั้นจะเป็นในส่วนของปุ่มสตาร์ท ปุ่มตัดดับ ปุ่มสำหรับระบบไฟ และปุ่ม Saver พร้อมชุดเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ได้ค่ะ ส่วนด้านข้างแถบคอนโทรลจะมีอีก 1 แกนคอนโทรล สำหรับเร่งพัดลมใหญ่ เป็นต้นค่ะ

มีหน้าปัดให้ตรวจสอบด้วยกัน 6 ตัวค่ะ ตรวจสอบรอบเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมัน อุณหภูมิไฮดรอลิค อุณภูมิเครื่องยนต์ ตรวจสอบน้ำมันและการชาร์จไฟชาร์จ ตามลำดับ พร้อมระบบแอร์และกล้องวงจรปิดภายในห้องควบคุมด้วยค่ะ

3. ตัวเปิด-ปิดสะพานและการเดินเครื่อง

ในส่วนของการเดินเครื่องนั้นจะขึ้นอยู่กับคันโยกตัวใหญ่ข้างพวงมาลัย ซึ่งสามารถควบคุมให้ตัวรถตัดอ้อยเดินหน้าและถอยหลังได้ พร้อมกับปุ่มเปิด-ปิดสะพานของตัวเครื่องที่จะอยู่บริเวณหัวคันโยกเดินหน้าถอยหลัง

จากคำแนะนำของผู้ใช้งานรถตัดอ้อย ผู้ใช้งานควรเดินตรวจสภาพโดยรอบของรถตัดอ้อยทุกครั้ง และควรบีบแตรกันไว้ทุกครั้งก่อนการขับในช่วงหรือบริเวณที่มีผู้คนอยู่โดยรอบ เพื่อให้ชาวเกษตรกรโดยรอบสามารถหลบทางการทำงานของรถตัดอ้อยได้ทันนั้นเองค่ะ

4. ช่วงสตาร์ทรถ

ควรเปิดระบบต่าง ๆ ไว้ทั้งคัน เพื่อให้ตัวน้ำมันสามารถวิ่งและทำงานได้ดีทั่วทั้งคัน ซึ่งจะเป็นผลดีในการเร่งรอบของรถตัดอ้อยค่ะ โดยผู้ใช้งานควรเปิดระบบต่าง ๆ ทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 5 นาที อยู่ที่ 1,500 ต่อรอบ แต่ในส่วนของการทำงานจริงนั้น ผู้ขับควรเร่งรอบไว้ที่อยู่ที่ 1800-2000 รอบต่อนาที

5. การวางระดับใบมีดตัดโคนอ้อย

การวางระดับของใบมีดตัดโคนอ้อยนั้น ควรวางให้อยู่ในระดับราบและเสมอกับพื้นดินเพื่อป้องกันการเกิดตออ้อย

6. การใช้งานรถตัดอ้อยแบบประหยัดน้ำมัน

ช่วงการเลี้ยวและการกลับหัวแปรง ควรเปลี่ยนความเร็วต่อรอบจาก การใช้งานปกติให้เหลือเพียงแค่ 1,500 เพื่อการประหยัดนำมันค่ะ

7. ช่วงการวิ่งข้ามร่องอ้อยและการปีนเนิน

ควรตีโค้งให้กว้างเพื่อให้ตัวล้อพ้นจากหว่างของร่องอ้อย

8. หลังการใช้งานรถตัดอ้อย

ก่อนดับตัวเครื่องผู้ขับควรตรวจเช็กอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ ควรทำการผ่อนรอบเครื่องให้อยู่ที่ 700 – 1,000 และควรรอเวลาเพื่อให้ตัวอุณหภูมิเครื่องยนต์เย็นลงอยู่ที่ 80-90 ถึงจะทำการดับเครื่องได้ค่ะ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถตัดอ้อยไทยประดิษฐ์ ผีมือคนไทย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ

บทความที่เกี่ยวข้อง