วิธีการตรวจสอบระบบรถตัดอ้อยให้พร้อมใช้งาน
ก่อนเริ่มต้นใช้งานรถตัดอ้อยควรตรวจเช็คระบบการทำงานของรถตัดอ้อยเสียก่อน ผู้ใช้งานจะได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพื่อความสบายใจของผู้ใช้งาน หากผู้ใช้งานรถตัดอ้อยไม่ทำการตรวจเช็ครายละเอียดต่าง ๆ มักจะส่งผลให้ระบบอุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ซึ่งจะนำในเรื่องการเสียเงินและเสียเวลาในภายหลัง
ขั้นตอนการตรวจสอบ
1. ตรวจสอบดูระดับน้ำมันว่าอยู่ในระดับที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หลอดแก้ววัดระดับน้ำมันไฮดรอลิคที่ใช้ในตัวรถตัดอ้อย จะดุูว่าระดับของน้ำมันไฮดรอลิคอยู่ในรถดับที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งจะมีเส้นแบ่งเขตให้ได้ดูและตรวจสอบ
2. ตรวจสอบจุดหมุนต่างว่าติดขัดตรงใหนบ้าง ดูลูกปืนว่ามีการแตกจุดใหนบ้าง
3. ตรวจสอบ ลมยาง รถว่าอ่อนเกินไปหรือไม
4. ตรวจสอบความสกปรกภายในระบบกรอง อากาศของเครื่องยนต์ และระบบน้ำมันไฮดรอลิค
5. ตรวจสอบชุดโซ่ลำเลียงว่ามีการสึกหรหรือไม่ ชุดใบมีดสับ และโคนสับท่อนในรถตัดอ้อย
6. ระบบเครื่องยนต์ ไม้วัดระดับน้ำมันเครื่อง ว่าระดับน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เหมาะกับการทำงานหรือไม่ ซึ่งจะมีจุดสังเกตได้ว่าไม้วัดจะมีขีดระดับให้ได้ดูกัน ว่าระดับน้ำมันอยู่ในระดับใด
7. ระดับน้ำในหม้อน้ำที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เบื้องต้นให้ตรวจสอบระดับน้ำว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ระดับน้ำจะต้องอยู่สูงกว่าเซนเซอร์ ประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งตัวถังจะมีเซนเซอร์แจ้งเตือนระดับน้ำ
8. เมื่อตรวจสอบทั้ง 7 จุดแล้ว ลำดับที่ 8 ต้องทำการเปิดสวิสซ์รถตัดก่อน เพื่อตรวจสอบจุดที่ 8
ในการตรวจสอบจุดที่ 8 จะทำการตรวจสอบหน้าจอการทำงานในห้องขับขี่ ทำการเปิดสวิสซ์เครื่องยนต์หน้าจอจะทำการโหลดข้อมูลของเครื่องรถตัดอ้อยต่าง ๆ
- ตรวจสอบระดับน้ำมันเชื้อเพลิงว่าเหลือกี่เปอร์เซ็น
- ตรวจสอบแรงดันของแบตเตอรี่ว่าเหลือเท่าใด
- ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ดูอุณหภูมิน้ำมันไฮดรอลิคว่าอยู่ที่เท่าใด ถ้าอุณหภูมิไม่ถึง 45 องศา ระบบการทำงานจะทำงานแค่ระบบขับเคลื่อน แต่ถ้าอุณหภูมิถึง 45 องศาแล้ว จะสามารถเปิดระบบการทำงานต่าง ๆ ได้
- หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์รถตัดอ้อยให้ดูแรงดันน้ำมันเครื่องว่าแรงดันขึ้นหรือไม่
- ดูรอบความเร็วของเครื่องยนต์ ซึ่งจะตั้งที่ 800 รอบต่อนาที
- แรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่ หากไดร์ชาร์จทำงานปกติ แรงดันไฟฟ้าจะขึ้นอยู่ที่ 13.7 โวล
9. ฟังก์ชั่นที่ทดสอบระบบเคลื่อนไหว
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของเกลียวอ้อยด้านซ้าย ด้านขวา
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการการทำงานขึ้นลงสะพาน
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการยกตัวรถตัดอ้อย
- โยกคอนโทรล ตัวการทำงานของการเบนหาง
- โยกคอนโทรล ตัวการตัดยอดอ้อย
- หมุนพวงมาลัย ตัวการทำงานของการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานสะพาน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานสับท่อน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานตัดโคน
- กดสวิทช์ไฟ ตัวการทำงานของการทำงานระบบไฟฟ้า
การตรวจเช็คระบบรถตัดอ้อยก่อนใช้งานเป็นผลดีกับรถตัดอ้อยและเป็นผลดีต่อตัวผู้ใช้งานเสมอ เพราะจะไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและผลเสียต่อการใช้งาน หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตรถตัดอ้อย ผลิตรถตัดอ้อยรายใหญ่ โรงงานชิ้นส่วนรถตัดอ้อย Thai-A เราพร้อมให้บริการและพร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องรถตัดอ้อยแบบครบวงจร
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ชิ้นส่วนใดของรถตัดอ้อย MAX MH360 ที่ใช้ระบบไฟฟ้าและระบบไฮดรอลิค
- การรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือการเกษตรที่ใช้กับรถตัดอ้อย
- ปรับเขตแปลงอ้อยก่อนใช้รถตัดอ้อยดียังไง ?
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency