ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม

ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม

ข้อควรรู้ ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม ระบบนิวเมติกส์พูดได้ว่าเป็นระบบที่หลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรมเกือบจะทุกที่ต้องใช้ แต่หากติดตั้งไม่ถูกต้องก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน ทีนี้ตามมาดูกันค่ะว่าหลัก ๆ ปัญหาจะเกิดจากอะไรบ้าง

ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม

1. การตอบสนองของกระบอกนิวเมติกส์ผิดปกติ (ล่าช้าหรือทำงานผิดพลาด)

  • ความฝืดของชิ้นส่วนสไลด์ภายในเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากทำให้การเคลื่อนที่ติดขัด (เห็นผลชัดเจนในช่วงรอบกำลังต่ำ)
  • มีสิ่งสกปรกกีดขวางเส้นทางไหลของอากาศภายในโซลินอยด์วาล์ว ทำให้ตอบสนองการทำงานไม่ได้
  • อุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าไหลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนสไลด์เกิดการแห้งและยึดจับแน่นจนการทำงานผิดปกติ

แก้ไขอย่างไร ?

ควรติดตั้งโดยหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับหยดน้ำหรือไอน้ำ หยดน้ำมัน เศษตัด ฯลฯ โดยติดตั้งกรองอากาศและหมั่นตรวจสอบเรื่องการระบายความร้อนให้เหมาะสม

2. ปัญหาของวาล์วควบคุมความเร็ว ควบคุมความเร็วของแอคชูเอเตอร์ไม่ได้

  • พบเจอหรือมีสิ่งแปลกปลอม (เช่น เศษซีล สนิม) ติดที่ส่วนขับวาล์วภายในบีบให้วาล์วเคลื่อนที่ไม่เสถียร

แก้ไขอย่างไร ?

ก่อนการติดตั้งหรือเชื่อมต่อควรทำการฟลัชชิ่งเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในด้วยลมและตัวท่อ

3. ปัญหาของวาล์วควบคุมความเร็ว ความเร็วของแอคชูเอเตอร์เกิดการล่าช้าชั่วขณะ

  • เข็มของวาล์วควบคุมความเร็วมีเดรน หรือน้ำมันติดเข้ามาชั่วขณะทำให้ความต้านทานสูงขึ้นจนเกิดสภาพล็อค

แก้ไขอย่างไร ?

หมั่นกำจัดคราบเดนหรือน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตั้งวาล์วควบคุมความเร็วในที่สูงเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม

4. แรงดันตกหรือปริมาณอากาศไม่เพียงพอ เนื่องจากกรองอากาศอุดตัน

  • ตัวกรองอากาศสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ เช่น หยดน้ำ หยดน้ำมัน สนิม ฯลฯ แต่ไม่สามารถกรองไอน้ำหรือละอองน้ำมันได้ เมื่อสิ่งเหล่านี้ผ่านเข้าไปจะทำปฏิกิริยากับอากาศกลายเป็นคาร์บอนหรือทาร์
  • การสะสมของสารปนเปื้อนทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้อัตราการไหลของอากาศลดลง

แก้ไขอย่างไร ?

ควรติดตั้งกรองอากาศใกล้กับกระบอกลมเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในท่อหลังจุดเชื่อมต่อ เพราะหากปล่อยให้อุณหภูมิลดลงจะทำให้เกิดไอน้ำจากความชื้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด

การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด

ในปัจจุบัน รถตัดอ้อยราคา เท่าไรขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และแบรนด์ แต่การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ มีปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้

รถตัดอ้อยราคา

สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม

  • ในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยรถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3%

ขนาดแปลงอ้อย

  • ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อย

  • ควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้

ถนนข้างแปลงอ้อย

  • เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย

ระยะห่างระหว่างแถว

  • การใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตร

สันร่องหรือสันแถวอ้อย

  • การใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า


Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More