การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?

การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?

ปัจจุบันนิวเมติกส์ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงได้มีชุดควบคุมระบบนิวเมติกส์เพื่อให้การทำงานถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแบ่งวงจรควบคุมออกเป็น 2 ชนิดคือ วงจรกำลัง (Power Circuit) และวงจรควบคุม (Control Circuit )โดยวงจรกําลังจะอาศัยลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกําลังเพื่อควบคุมวงจรการทํางาน ส่วนวงจรควบคุมจะใช้ตัวควบคุมได้หลายอย่าง เช่น ระบบไฟฟ้า พีแอลซีและไมโครคอนโทรลเลอร์ เป็นต้น

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้

  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลม
  • การควบคุมระบบนิวนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้า
  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยโปรแกรมเมเบิล ลอจิก คอนโทรเลอร์หรือ พีแอลซี (PLC)
  • การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller)

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลม

ระบบนิวเมติกส์ ทุกระบบจะต้องใช้ลมอัดเป็นตัวกลางในการส่งกําลัง การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมระบบนี้ก็เช่นกัน การทำงานจะประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม อุปกรณ์ให้สัญญาณ อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และอุปกรณ์ทำงาน แต่การทำงานในระบบนิวเมติกส์เมื่อใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ 2 กระบอกขึ้นไป การทำงานของวงจรอาจเกิดสัญญาณลมต้านจากการออกแบบระบบการทำงาน การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยลมที่เกิดสัญญาณลมต้าน สามารถแก้ไขได้ดังนี้

  • ใช้วาล์วลูกกลิ้งทางเดียว (Roller on way valve)
  • ใช้วาล์วให้สัญญาณลมผ่านชั่วขณะ (One Short Valve)
  • ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบเเคสเคด (Cascade Control)
  • ใช้วิธีแบ่งกลุ่มลมแบบชิฟต์รีจีสเตอร์ (Shift Register Control)
การควบคุมระบบนิวเมติกส์แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร


การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้า

การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าจะแบ่งวงจรการควบคุมออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. วงจรกาลัง (Power Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทํางานของระบบนิวเมติกส์ประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายลม (control unit) ชุดควบคุมคุณภาพลมอัด (Air Service Unit) โซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) ลูกสูบ (Air Cylinder) เป็นต้น
  2. วงจรควบคุม (Control Circuit) เป็นวงจรควบคุมการทํางานของระบบนิวเมติกส์ด้วยไฟฟ้าประกอบไปด้วย สวิตช์ปุ่มกด (Pushbuttom Switch) รีเลย์ (Relay) ตัวตั้งเวลา (Timer) ตัวนับเวลา (Counter) เซ็นเซอร์ (Sensor) เป็นต้น


การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยพีแอลซี

การใช้พีแอลซีควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีความสะดวกมากในปัจจุบัน เพราะในตัวของพีแอลซีนั้น จะมี Input/Output Ports ตลอดจนอุปกรณ์ควบคุมภายใน เช่น Relay, Timer และ Counter จะเป็นอุปกรณ์ซึ่งอยู่ในซอฟต์แวร์ ทําให้การเรียกใช้หรือแก้ไขสะดวกรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย ปัจจุบันภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมพีแอลซีสามารถแบ่งออกเป็น 3 ภาษา ดังนี้

  1. ภาษาบูลีน (STL ; Instruction List Boolean Logic Element)
  2. ภาษาแลดเดอร์ (Ladder Diagram)
  3. ภาษาบล็อค (Function Chart)


การควบคุมระบบนิวเมติกส์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์

การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบนิวเมติกส์ในปัจจุบันยังไม่นิยมมากนัก แต่นิยมใช้ควบคุมเครื่องจักรและระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเพราะจะต้องศึกษาหลายอย่าง และรู้เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทํางานอย่างแท้จริง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐ

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน

อากาศรอบตัวเรานั้นประกอบไปด้วยไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน และก๊าซอื่น ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน เป็นต้น ซึ่งในอากาศบางพื้นที่อาจมีกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ ความชื้น และสิ่งสกปรกปนเปื้อนอยู่ด้วย ทำให้เมื่อผลิตลมอัด โดยการบีบอัดอากาศจากบริเวณแวดล้อมนั้น อาจมีสิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดเข้ามาระบบนิวเมติกส์ได้ ฉะนั้นเราจึงต้องมีวิธีการที่มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐานในการผลิตลมอัดเพื่อนำไปใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกวิธีการเตรียมลมอัดอย่างไรให้มีคุณภาพกันค่ะ

ระดับความบริสุทธิ์สำหรับอากาศอัดตามมาตรฐาน ISO 8573-1

อากาศอัดประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ อนุภาค (Particles) น้ำ (Water) และน้ำมัน (Oil) โดยสามารถจำแนกตามระดับความเข้มข้นในอากาศได้ดังนี้

ISO 8573-1:2010 [A: B: C]

  • A – particles | 0 … 8, X
  • B – water | 0 … 9, X
  • C – oil  | 0 … 4, X

แต่ในกรณีที่องค์ประกอบแสดงเป็นคลาส X (องค์ประกอบที่มีความเข้มข้นสูง) ปริมาณหรือระดับความเข้มข้นจะต้องใส่ในวงเล็บเสมอ เหมือนตัวอย่างต่อไปนี้ ISO 8573-1:2010 [4:X(15):3] สมการนี้แสดงถึงความเข้มข้นของน้ำอยู่ที่ Cw 15 g/m3 นั่นเองค่ะ

การเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐาน
ขอบคุณรูปภาพจาก Hafner-Pneumatik


ในการใช้งานลมในอุตสาหกรรมตามปกติทั่วไป คุณภาพอากาศตาม ISO 8573-1:2010 [7:4:4] ก็เพียงพอแล้วในระบบนิวเมติกส์ แต่ถ้าต้องการนำอากาศอัดไปใช้กับงานเฉพาะด้าน หรือในสภาพแวดล้อมที่แรงกว่าปกติ เช่น ใช้ในงานรถไฟในอุณหภูมิที่เย็นจัด มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ความบริสุทธิ์ของอากาศสูงขึ้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างและการเตรียมลมอัด

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างลมอัด คือการทำให้แน่ใจว่าลมนั้นไม่มีน้ำมัน (Oil-free) ให้ได้มากที่สุด ในต้นทุนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการเตรียมลมอัดก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการสร้างลมอัด โดยในโรงงานผลิตต่าง ๆ สามารถมีปริมาณน้ำมันในอากาศเกินกว่า 10 มก. / ลบ.ม. ได้ ซึ่งน้ำมันเหล่านี้มาจากน้ำหล่อเย็นและของเหลวหล่อลื่นในเครื่องจักร เพราะฉะนั้นคุณภาพของอากาศและลมอัดจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ณ บริเวณนั้นด้วยนั่นเองค่ะ ซึ่งตามหลักมาตรฐาน ISO 8573-1 ลมอัด หรือ oil free จะต้องมีปริมาณน้ำมัน และ oil dust ให้ได้น้อยกว่า 0.01 มก./ลบ.ม.

วิธีการเป่าแห้งลมเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์

ความชื้นมีอยู่ในอากาศเสมอ แต่จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ ยิ่งอุณหภูมิในอากาศสูงขึ้นเท่าใด ความสามารถในการกักเก็บน้ำก็จะสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้มีความชื้นอยู่ในอากาศมากนั่นเองค่ะ ซึ่งวิธีในการเป่าแห้งลมอัดทางอุตสาหกรรมนั้น มีด้วยกันดังนี้

  • Deliquescent dryer ประกอบด้วยภาชนะที่บรรจุวัสดุดูดความชื้น ที่สามารถดูดซับน้ำได้ดี ข้อดี: ไม่ต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม ข้อเสีย: ต้องเปลี่ยนวัสดุดูดความชื้นเป็นประจำ
  • Desiccant dryer ทำงานโดยให้อากาศไหลผ่านสารดูดความชื้น เช่น ซิลิกาเจล (silica gel) ข้อดี: ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานเพิ่มเติม และสามารถรีเซ็ตง่าย ๆ โดยการเป่าน้ำออก หรือการล้างเจล ข้อเสีย: ความสามารถในการกักเก็บน้ำของเจลมีจำกัด ทำให้ต้องล้างเจลออกเป็นประจำ
  • Membrane dryer โดยต้องมีการกรองอากาศด้วยตัวกรองอากาศที่มีคุณภาพสูงก่อน ก่อนที่จะปล่อยให้ลมไหลผ่านไปยังเส้นใยในเมมเบรน เพื่อดูดความชื้นออกไป ข้อเสีย: การไหลของลมถูกจำกัดไว้ที่ 1,000 ลิตร / นาที
  • Refrigerated dryer เป็นไปตามหลักการที่ว่า อากาศที่เย็นกว่าจะสามารถอุ้มน้ำได้น้อยกว่า อากาศคลายความร้อนออก ทำให้ลมเย็นลงไปถึง 3 องศา และเมื่ออากาศเย็นลง จะสูญเสียน้ำและน้ำมันมันออกไป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมลมอัดในระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ ตอนที่ 3

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ และแล้วเราก็ได้เดินทางมาสู่ตอนสุดท้ายของซีรีส์ เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ค่ะ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะพูดถึงเรื่องการตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมด้วยแม่เหล็ก การควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ และมาตรฐานของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมนิวเมติกส์ด้วยแม่เหล็ก

ตัวเซ็นเซอร์ (Sensors) เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เนื่องจากเซ็นเซอร์จะเป็นตัวสร้างข้อมูลและควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมด ทำให้คนนำเซ็นเซอร์มาใช้ในระบบนิวเมติกส์ เพื่อตรวจจับตำแหน่งของลูกสูบ โดยเซ็นเซอร์ที่ถูกกระตุ้นโดยสนามแม่เหล็กจะถูกประกอบเข้ากับกระบอกลมนิวเมติกส์ และตรงลูกสูบก็จะมีการติดตั้งแม่เหล็กไว้ เพื่อให้เซ็นเซอร์รับสัญญาณได้นั่นเองค่ะ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของเซ็นเซอร์หรือสวิตช์ได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

  • REED switch ประกอบด้วยสายเหล็กนิกเกิล (Nickel-iron wire) สองเส้น และหลอด LEDเพื่อแสดงสถานะการทำงาน
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า
  • Inductive, PNP switch โดยทั่วไปมี 3 สาย ทำงานภายในช่วงแรงดันไฟฟ้า 5 V DC ถึง 30 V DC เมื่อแม่เหล็กที่ติดตั้งอยู่ในลูกสูบเข้าใกล้สวิตช์ เซ็นเซอร์จะให้สัญญาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถใช้สวิตช์ “เปิดตามปกติ” และ “ปิดตามปกติ” ได้ โดยจะมีไฟ LED แสดงสถานะของสวิตช์ โดยการทำงานจะใช้สายสัญญาณ – ไปพ่วงกับ LOAD ซึ่งข้อดีของสวิตช์ประเภทนี้คือ มีความทนทานกว่า มีความถี่สูงกว่า REED switch นั่นเองค่ะ
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า PNP
  • Inductive, NPN switch โดยทั่วไปมี 3 สาย ทำงานภายในช่วงแรงดันไฟฟ้า 5 V DC ถึง 30 V DC เมื่อแม่เหล็กที่ติดตั้งอยู่ในลูกสูบเข้าใกล้สวิตช์ เซ็นเซอร์จะให้สัญญาณที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน สามารถใช้สวิตช์ “เปิดตามปกติ” และ “ปิดตามปกติ” ได้ โดยจะมีไฟ LED แสดงสถานะของสวิตช์ โดยการทำงานจะใช้สายสัญญาณ + ไปพ่วงกับ LOAD ซึ่งข้อดีของสวิตช์ประเภทนี้คือ มีความทนทานกว่า มีความถี่สูงกว่า REED switch นั่นเองค่ะ
รูป REED SWITCH และวงจรไฟฟ้า NPN

การควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

ในการควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ตลอดช่วงชักนั้น เราสามารถใช้ตัวควบคุมการไหล (flow control) เพื่อควบคุมการไหลออกของอากาศช่วงระบายออกในห้องกระบอกสูบ เพื่อให้มีการเคลื่อนที่ได้อย่างคงที่และสม่ำเสมอ

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ
รูปแบบ FLOW CONTROL

มาตรฐานกระบอกลมนิวเมติกส์

มาตรฐานกระบอกลมนิวเมติกส์ที่พบมากที่สุด มีดังนี้

  • ISO 15552 / VDMA 24562 / DIN ISO 6431
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ
  • DIN ISO 6432 กระบอกลมแบบกลม
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ
  • ISO 21287 กระบอกลมแบบ Compact
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกพร้อมแท่งลูกสูบ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบในตอนจบนี้ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับอะไรอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 2

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ

ตอนที่ 2 แอดมินได้พูดถึง Design, Diameter and stroke, และ movement  ของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods) ไปแล้วในตอนที่ 1 และในบทความนี้แอดมินจะอธิบายต่อจากครั้งก่อนเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งของกระบอกลม สัญลักษณ์ ISO และระบบกันกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งสูบกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจาะลึก! กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกนลูกสูบ ตอนที่ 1

การแบ่งชนิดของกระบอกลมแบบมีแกน สามารถแงได้ดังต่อไปนี้

1.กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting

การทำงานของกระบอกลมแบบ single จะเป็นไปในทิศทางเดียวโดยใช้อากาศอัดเท่านั้น ระยะการชัก (stroke) จะถูกจำกัดด้วยความยาวของสปริง โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมแบบ single จะให้จังหวะที่ค่อนข้างสั้น โดยกระบอกลมนิวเมติกส์แบบ single-acting สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • กระบอกลมแบบสปริงหน้า (สปริงอยู่ระหว่างฝาหน้าและลูกสุบ)
  • กระบอกลมแบบสปริงหลัง (สปริงอยู่ระหว่างฝาหลังและลูกสูบ)
จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์

2.กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ double-acting

เป็นกระบอกลมที่ขับเคลื่อนได้ทั้ง 2 ทิศทางด้วยอากาศอัด นิยมใช้กับงานที่ต้องการให้ความยาวของจังหวะ (stroke) ยาวกว่าสปริงที่มีอยู่ในกระบอกลม โดยกระบอกลมสองทิศทางสามารถแบ่งประเภทได้หลากหลาย ดังนี้

  • Double-acting cylinders แบบมาตรฐาน
จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Double-acting cylinders พร้อมก้านสูบ 2 ด้าน (แบบ PUSH PULL )
จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Double-acting cylinders แบบไม่มีแกนหมุน
กระบอกลมนิวเมติกส์ 2
  • Multi cylinders (กระบอกลมหลายตำแหน่ง)
  • Tandem cylinders (กระบอกลมแบบควบ)
จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์

สัญลักษณ์ ISO

สัญลักษณ์ ISO ถูกคิดขึ้นเพื่อให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ และการทำงานของแต่ละประเภทได้ ซึ่งสัญลักษณ์ ISO นี้ ไม่ได้บอกถึงขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง และมาตรฐาน ISO นะคะ

จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์



ระบบการกันการกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์

อากาศอัดสามารถเข้าสู่กระบอกลมด้วยความเร็วสูงได้ และหากลูกสูบไปชนฝา หรือหัวกระบอกด้วยความเร็วแล้ว อาจทำให้กระบอกเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา กระบอกลมนิวเมติกส์ส่วนใหญ่จะติดตั้งโช้คอัพ หรือตัวกันกระแทก เพื่อลดความเร็วของลูกสูบ

การลดแรงกระแทกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  • การใช้โช้คอัพแบบยืดหยุ่น (shock absorbers) ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดในการหลีกเลี่ยงการกระแทกอย่างหนัก โดยประกอบวัสดุที่อ่อนนุ่มระหว่างลูกสูบกับฝาปิด ในรูปแบบของวงแหวนซึ่งมักทำจากโพลียูรีเทน จึงมีการดูดซับแรงกระแทกได้ดี แต่วิธีนี้ต้องใช้กับกระบอกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างเล็ก และห้ามนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่า  โช้คอัพแบบยืดหยุ่นจะเน้นด้วยลูกศรสีแดงตามรูปภาพด้านล่าง
กระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบที่ติดกับ shock absorbers

ระบบกันกระแทกแบบปรับได้ (adjustable cushion)  จะใช้ในกรณีที่มีการรับแรงมากขึ้นเนื่องจากความเร็วที่สูงขึ้นหรือกระบอกลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยระดับการกันกระแทก หรือการลดความเร็วนั้น สามารถปรับได้ที่ปลายกระบอกลมทั้งสองข้าง ตามรูปภาพข้างล่าง

จำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์
แบบกระบอกลมแบบที่มี cushion

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบในตอนที่ 2 หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในตอนต่อไป ซึ่งจะเป็นตอนสุดท้ายของซีรีย์นี้ แอดมินจะพูดถึงการตรวจจับตำแหน่งกระบอกลมด้วยแม่เหล็ก การควบคุมความเร็ว และมาตรฐานสากลของกระบอกลมนิวเมติกส์ อย่าลืมติดตามกันด้วยนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1

กระบอกลมนิวเมติกส์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบนิวเมติกส์ เพราะกระบอกลมนิวเมติกส์จะเป็นตัวถ่ายโอนพลังงานลมเป็นพลังงานกล โดยที่ถูกอัดไว้ หรือ compressed air ไปสู่การเคลื่อนไหว ของกระบอกลมต่อไป
โดยกระบอกลมนิวเมติกส์สามารถแบ่งประเภทได้ตาม:

  1. Design – การออกแบบ
    • กระบอกลมพร้อมแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods)
    • กระบอกลมแบบไม่มีก้าน (Rodless cylinders)
    • กระบอกลมไดอะแฟรม (Diaphragm cylinders)
    • กระบอกลมโรตารี (Rotary cylinders)
  2. Movement – การเคลื่อนที่
    • เชิงเส้น (Linear)
    • แบบหมุน (Rotary)
  3. Function – การทำงาน
    • Single-acting
    • Double-acting
    • 3- or 4-positions
  4. Cushioning – การกันการกระแทก
    • ปรับแรงกระแทกด้วยลม (Adjustable, pneumatic cushioning)
    • การกันกระแทกที่ยืดหยุ่น (Flexible cushioning)
    • ไม่มีการกันกระแทก (Without cushioning)
    เราจะเห็นได้ว่ากระบอกลมนิวเมติกส์สามารถแบ่งออกได้หลากหลายมาก แต่ในบทความนี้ แอดมินจะขอโฟกัสกับกระบอกลมที่พบบ่อยมากที่สุด นั่นก็คือกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแกนลูกสูบ (Cylinders with piston rods)

Design ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแกนลูกสูบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีก้านลูกสูบส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนดังนี้

  • ท่อ (Tube) ที่ปิดทั้งสองด้านด้วยฝาปิดและส่วนหัว
  • ภายในท่อที่เห็นด้านล่างแกนลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยลูกสูบของกระบอก (Drive piston)

การเคลื่อนที่ของลูกสูบจะถูกกระตุ้นโดยอากาศอัดซึ่งควบคุมโดยวาล์วปรับทิศทาง ซึ่งทิศทางจะถูกกำหนดโดยห้องที่อนุญาตให้อากาศอัดไหลภายในกระบอกลม และแรงจะถูกถ่ายเทด้วยแกนลูกสูบ ตามรูปภาพข้างล่าง

รูปภาพ กระบอกลมที่มีระบบ คูชชั่น

เส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นโครง (Diameter and stroke) ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ

Diameter คือเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ ซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกลมนิวเมติกส์จะเป็นตัวกำหนดแรงที่สัมพันธ์กับความดันอากาศ

Stroke คือจังหวะ จะเป็นตัวบอกเราว่าลูกสูบยาวกี่มิลลิเมตร เพื่อให้แกนลูกสูบเคลื่อนที่ได้ตามระยะความยาวของลูกสูบ

ซึ่ง 2 ตัวนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยเราสามารถอ่านค่า Diameter ,Rod และ Stroke ได้ดังนี้ เช่น กระบอกลม DIP: 40/16×250

  • DIP คือประเภทของกระบอกลม / การออกแบบ (DIP = มาตรฐาน ISO 15552 – กระบอกสูบสองชั้น – ตัวกันกระแทกแบบปรับได้ – ลูกสูบแม่เหล็ก)
  • 40 คือเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบ [มม.]
  • 16 คือ ขนาดแกนของกระบอกลม(มม.)
  • 250 คือระยะชักของกระบอกลม [มม.]

การเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ

เราเรียกตำแหน่งปลายทั้งสองของกระบอกลมนิวเมติกส์ว่า ตำแหน่งบวก (positive / plus) และตำแหน่งลบ (negative / minus) โดยตำแหน่งที่แกนลูกสูบอยู่นอกกระบอกลมนิวเมติกส์มากที่สุดจะเรียกว่าตำแหน่งปลายบวก และเมื่อแกนลูกสูบอยู่ข้างในกระบอกลมนิวเมติกส์มากที่สุดจะเรียกว่าตำแหน่งปลายลบ ตามรูปภาพข้างล่างนี้

เจาะลึกกระบอกลมนิวเมติกส์ ตอนที่ 1
รูปการทำงานของกระบอกลม

ในตอนที่ 1 นี้แอดมินจะขอพูดถึงแค่การเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งลูกสูบ และในตอนต่อไปแอดมินจะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนตำแหน่งของกระบอกลม สัญลักษณ์ ISO และการกันกระแทกของกระบอกลมนิวเมติกส์พร้อมแท่งสูบกันค่ะ อย่าลืมติดตามตอนต่อไปกันด้วยนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Line oa : @pneumaxthailand

Read More
4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

กระบอกลม 4 ประเภทที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

กระบอกลม จะมีลักษณะรูปร่าง ขนาด และหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะอยู่ใน 4 หมวดหมู่หลัก ๆ ที่แอดมินจะบอกในบทความนี้ต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อกระบอกนิวเมติกส์ตอบสนองการทำงานเฉพาะทางค่ะ แต่ในบทความนี้แอดมินจะขอพูดถึง 4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์กันค่ะ

กระบอกลม นิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Single-acting Cylinders

1.กระบอกลม นิวเมติกส์แบบทางเดียว หรือ Single–acting Cylinders

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบชั้นเดียว เป็นกระบอกสูบที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์

2. กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง หรือ Double-acting Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง เป็นกระบอกลมที่ใช้แรงของอากาศในการเคลื่อนที่ 2 ทาง ทั้งในการยืดและการหด stroke  ซึ่งข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง คือความยาวระยะชักในการออกแบบนี้จะมีไม่จำกัดค่ะ เพียงแต่แกนลูกสูบ หรือ piston rod จะมีความเสี่ยงในการโก่งและงอมากกว่ากระบอกลมประเภทอื่น ๆ เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานควรทำการคำนวณเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย

กระบอกลม


3. Multi-stage, Telescopic Cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบเหลื่อม หรือที่เรียกกันว่ากระบอกแบบยืดสไลด์ สามารถเป็นได้ทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบสองชั้น ซึ่งประกอบด้วยแกนลูกสูบที่ซ้อนกันอยู่ภายในจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งสามารถทำระยะชักได้หลากหลายในตัวเดียวกัน โดยประโยชน์หลักของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบนี้ คือ ประหยัดเรื่องพื้นที่ในการจัดเก็บของตัวกระบอกลมและความยาวได้มากกว่ากระบอกทั้งแบบทางเดียวและกระบอกแบบ 2 ทาง ซึ่งเหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปตัวอย่าง กระบอกแบบ Telescopic

4. กระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทอื่น ๆ

แม้ว่ากระบอกลมแบบทางเดียว และ กระบอกลมแบบสองทาง จะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่ก็ยังมีกระบอกลมประเภทต่อไปนี้ ซึ่งเป็นกระบอกลมแบบเฉพาะทางค่ะ

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน 2 ด้าน หรือกระบอกแบบ PUSH PULL ก้านลูกสูบยื่นผ่านทั้งสองด้านของกระบอกลมทำให้แรงและความเร็วเท่ากันทั้งสองข้าง

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปกระบอกแบบ PUSH PULL

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีคูชชั่น: กระบอกที่มีการควบคุมไอเสียเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกระหว่างก้านลูกสูบและฝาปิดกระบอกสูบ

4 ประเภทหลักของกระบอกลมนิวเมติกส์
แบบมีคูชชั่น

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบหมุนองศาหรือแอร์มอเตอร์ (AIR MOTOR) ตัวกระตุ้นที่ใช้อากาศเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน

กระบอกลม
รูปแบบ AIR MOTOR

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ RODLESS CYLINDER : ไม่มีแกนลูกสูบ ใช้การเชื่อมต่อแบบกลไกหรือแม่เหล็กเพื่อส่งแรงไปยังอุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวอื่น ๆ

กระบอกลม
รูปกระบอกแบบ RODLESS CYLINDER

กระบอกลมนิวเมติกส์แบบกระแทก (HAMMER) : กระบอกลมความเร็วสูงพร้อมฝาปิดท้ายที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนทานต่อแรงกระแทกจากการยืดหดของก้านลูกสูบ

กระบอกลม
รูปกระบอกแบบ HAMMER


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลม และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : @pneumaxthailand

Line ID@thaiagency

Read More
เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

เมื่อคุณต้องการเลือกประเภทของกระบอกลมนิวเมติกส์มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากคุณต้องการที่จะเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์สักชุดมาใช้ ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อการใช้งานกันค่ะ

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


ตรวจสอบแรงดันของอากาศภายในกระบอกลม

แรงดันอากาศที่จ่ายให้กับกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากที่แรงดันอากาศถูกบีบอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์เองต้องเหมาะสมกับขนาดกระบอกลม เพื่อทำงานเชิงกลที่สร้างขึ้นโดยโครงสร้างกระบอกสูบเอง ดังนั้นเวลาคุณเลือกซื้อกระบอกลมนิวเมติกส์ คุณควรตรวจสอบแรงดันอากาศของแต่ละรุ่นด้วยว่า เหมาะสมกับการใช้งานของคุณหรือไม่

ตรวจดูท่อในกระบอกนิวเมติกส์

เมื่อมีแรงดันไหลผ่านเข้ากระบอกลมนิวเมติกส์ จะทำให้กระบอกมีการเคลื่อนที่ จึงทำให้อายุการใช้งานของเสื้อสูบกระบอกลมนิวเมติกส์นั้นน้อยลงไปเรื่อยๆ และก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ดังนั้นการลดการสูญเสียแรงดันในกระบอกลมนิวเมติกส์ มีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพลมอัดที่ดี ต้องลดการสูญเสียแรงดันและตรวจท่อต้องเชื่อมต่อกันอย่างรอบคอบ และภายในจะต้องสะอาดด้วย

เทคนิคการเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน


เลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

1. แรงดันอากาศ ต้องตรวจสอบขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะกระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กหรือกระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน และแรงดันอากาศภายในให้เหมาะสม หากแรงดันไม่สม่ำเสมออาจส่งผลต่อระบบและอาจเกิดความผิดพลาดเสียหายได้ อีกทั้งการมีแรงดันที่สูงเกินไปก็อาจจะทำให้ซีลยางชำรุดเสียหายได้

2.คุณภาพอาศต้องดี คือ ลมต้องแห้งไม่มีน้ำและเศษอื่นๆ มาเจือปนในระบบ ยกเว้นสารหล่อลื่นในระบบเท่านั้น

3. น้ำหนักของโหลด ควรมีกระบอกนิวเมติกส์ที่ให้แรงได้มากกว่าโหลด จึงจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

4. เลือกจากความเร็วของงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ความเร็วต่ำ 4 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่า 25% ของโหลด
  • ความเร็วปานกลาง 4-6 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่า 50% ของโหลด
  • ความเร็วต่ำ 16 นิ้ว/วินาที ควรเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ผลิตแรงดันมากกว่าของโหลด 2 เท่า


ตารางคำนวณหากระบอกลม

ขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A. ประเทศอิตาลี


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ลม คือปัจจัยหลักที่ทำให้ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic System) ทำงาน ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างแรงดันลมให้ได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ก็คือปั๊มลมนิวเมติกส์ และเมื่อปั๊มลมนิวเมติกส์ได้อัดอากาศจนมีแรงดันที่มากพอ ก็จะทำการส่งแรงดันลมนี้ไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ ซึ่งกระบวนการนี้ เรียกอีกอย่างว่า การจ่ายลมหรือการกระจายแรงดัน (Pressure Distribution) ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาอธิบายถึง หลักการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม



3 หลักการเดินท่อจ่ายลม

  1. การเดินท่อลมนิวเมติกส์จะต้องเป็นตามแบบการใช้งานที่เหมาะสม ไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
  2. การต่อหรือแยกท่อลมนิวเมติกส์เพื่อใช้งาน จะต้องต่อจากด้านบนของท่อ Main หรือท่อแยก
  3. จุดปลายสุดของท่อลมนิวเมติกส์ควรจะมีตัวกรองปลายท่อ เพื่อระบายน้ำออกจากท่อ และป้องกันไม่ให้เกิดความชื้น

2 ลักษณะการเดินท่อจ่ายลมนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

1.การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบแยกสาขา (Branch Line)

การเดินท่อจ่ายลมแบบแยกสาขา เป็นวิธีที่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดเล็ก และมีอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ไม่มาก เพราะการเดินท่อลักษณะนี้จะไม่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปในระบบนิวเมติกส์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลมตั้งแต่แรกที่มีการติดตั้งระบบนิวเมติกส์ ทำให้อุปกรณ์นิวเมติกส์ตัวสุดท้ายในระบบไม่สามารถทำงานได้นั่นเองค่ะ

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม



2. การเดินท่อลมนิวเมติกส์แบบวงแหวน (Ring Circuit)

การเดินท่อจ่ายลมแบบวงแหวน เป็นการวางท่อลมรอบโรงงานอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการต่อแบบแยก และการต่อแบบวงแหวน ซึ่งการจ่ายลมด้วยวิธีแบบนี้สามารถแก้ปัญหาเรื่องความดันตกได้ อีกทั้งยังทำให้ความดันลมในท่อมีความสม่ำเสมอกันในทุกจุด แม้จะมีการใช้ปริมาณลมอัดที่มากก็ตาม

หลักการทำงานของท่อลมนิวเมติกส์ ในโรงงานอุตสาหกรรม


ลักษณะการจ่ายลมด้วยท่ออ่อน

เป็นการจ่ายลมโดยต่ออุปกรณ์นิวเมติกส์ ระหว่างอุปกรณ์ เช่น วาล์วนิวเมติกส์ ชุดกรองลม กับ fitting เพื่อความสะดวกในการทำงานของระบบนิวเมติกส์ค่ะ ซึ่งวัสดุที่นำมาผลิตเป็นท่ออ่อนนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • ท่ออ่อนที่ทำจากวัสดุประเภท Polyurethane (PU) เพื่อสะดวกในการทำงานในพื้นที่จำกัด สามารถโค้งงอได้ดี
  • ท่ออ่อนที่ทำมาจากวัสดุพลาสติก เช่น Nylon และ Soft Nylon เป็นต้น ซึ่งสามารถทนแรง pressure ได้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องการทำงานในพื้นที่แคบ



บทความที่เกี่ยวข้อง


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องหลักการและลักษณะการจ่ายลมของท่อลมนิวเมติกส์ หวังว่าทุกท่านจะนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

ข้อดี – ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นมีอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้เพื่อความเหมาะสมของงาน เบื้องต้นบทความนี้ Thai-A ได้ยกเนื้อหาเกี่ยวกับกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียวที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาให้ความรู้กันว่า เป็นอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร

ข้อดี - ข้อเสีย ของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว
กระบอกลมนิวเมติกส์ ขายกระบอกนิวเมติกส์ นิวเมติกราคา

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว เป็นอย่างไร ?

กระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว (Single Acting Cylinders) คือ กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว และมีสปริงอยู่ภายใน เพื่อดันลูกสูบกลับเข้าที่ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์ประเภทนี้เหมาะกับการโหลดงานที่ไม่มากนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน

ข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. ลดการใช้อากาศจากภายนอก
  2. มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้แรงดันอากาศจึงทำให้ไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ
  3. สามารถนำไปใช้งานร่วมกับวาล์วลมแบบ 3/2 ทาง(โซลินอยด์วาล์ว) ได้อย่างสะดวก ไม่ยุ่งยาก
  4. เหมาะกับงานประเภทโหลดไม่หนัก
  5. สามารถทำเป็นระบบ Safety ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

ข้อเสียของกระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว

  1. จำกัดความยาวของระยะชักกระบอกลม
  2. ควบคุมความเร็วของกระบอกลมได้ยาก
  3. ใช้แรงดันมากกว่าตัวรุ่นลมเข้า2ทาง
  4. ไม่เหมาะสมกระบอกลมที่ต้องการความเร็งสูง
  5. สปริงมีอายุในการใช้งานที่ต่ำ
  6. ไม่เหมาะกับโหลดหนักๆ หรืองานที่ต้องการใช้แรงดันมากๆ

ดังนั้นกระบอกลมนิวเมติกส์จึงมีส่วนสำคัญในงานระบบอัตโนมัติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้มีกระบอกลมนิวเมติกส์ มีให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม มีหลากหลายรุ่น หลากหลายรูปแบบ เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดเล็ก กระบอกลมนิวเมติกส์มาตรฐาน การเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ไปใช้งานจึงควรคำนึงถึงแรงที่กระบอกลมนิวเมติกส์ต้องรองรับน้ำหนัก และลักษณะของการติดตั้งด้วย

ตัวอย่างกระบอกลม

ขอขอบคุณภาพจาก Pneumax S.p.A, Italy

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

แน่นอนว่าโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องบรรจุ หรือเครื่องจักร ได้มีการนำเอาระบบนิวเมติกส์เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตทั้งสิ้น เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายของระบบนิวเมติกส์ เช่น

  • (1) ความปลอดภัยที่สูงกว่าระบบอื่น ๆ เพราะระบบนิวเมติกส์ใช้ลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่เกิดการระเบิดหรือการติดไฟ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องอัคคีภัย
  • (2) เป็นระบบที่มีความสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • (3) อีกทั้งยังมีความแม่นยำและความรวดเร็วในการทำงานสูง และหากใช้กระบอกลมนิวเมติกส์แบบพิเศษ ก็จะสามารถเร่งความเร็วสูงสุดได้ถึง 10 เมตรต่อวินาที เทียบกับกระบอกลมนิวเมติกส์ธรรมดา ที่มีความเร็วในการทำงาน 1-2 เมตรต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม การเอาระบบนิวเมติกส์เข้ามาใช้ก็มีข้อควรระวังที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึง ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมกันค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

ข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรม

  • แม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะสามารถทำงานได้ในสภาวะอุณหภูมิที่ต่างกัน แต่อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปจะส่งผลต่อระดับความดันในระบบ นั่นก็คือเมื่ออุณหภูมิในพื้นที่สูง ความดันในระบบก็จะสูง และเมื่ออุณหภูมิในพื้นที่ลดต่ำลง ความดันในระบบก็จะลดลงตามไปด้วยนั่นเอง ซึ่งการลดต่ำลงของความดัน จะทำให้ระบบเกิดหยดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นในระบบนิวเมติกส์
  • ความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ หากมีการเพิ่มอุปกณ์นิวเมติกส์เข้าไปในระบบ เพื่อทำการขยายพื้นที่ในการผลิต ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างปริมาณลมของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ว่ามีกำลังพอหรือไม่ ไม่อย่างนั้นความแม่นยำในการควบคุมจะลดลง และทำให้การทำงานของระบบคลาดเคลื่อนได้
  • ข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ แม้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมจะสามารถนำอุปกรณ์นิวเมติกส์มาปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานต่าง ๆ ได้ง่าย แต่อุปกรณ์บางชนิด เช่น กระบอกลมนิวเมติกส์ หากต้องการใช้แรงส่งจากอุปกรณ์มาก กระบอกลมนิวเมติกส์ก็ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งในบางกรณี ไม่สามารถที่จะติดตั้งในโรงงานที่มีพื้นที่จำกัดได้
  • เสียงดังรบกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เนื่องจากจะต้องมีการระบายลมบางส่วนที่เกินความจำเป็นของอุปกรณ์ และระบบออกตลอดเวลา ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน และบริเวณใกล้เคียง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรรู้ก่อนนำเอาระบบนิวเมติกส์มาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมข้างต้นที่กล่าวมา หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More