กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

กระบอกไฮดรอลิคมีกี่แบบ

รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค


กระบอกไฮดรอลิค มีกี่แบบ

กระบอกไฮดรอลิค อยู่ในการทำงานของระบบไฮดรอลิค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.กระบอกไฮดรอลิค ทำงานด้านเดียว Single Acting Cylinder

เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่ออกแรงดันด้านเดียวไม่มี Port น้ำมันเพื่อดันแกนกระบอกกลับ

และมักออกแบบให้ใช้งานแนวดิ่งส่วนมากใช้ถอยแกนกระบอกกลับ 2 แบบคือ Load Return หรือ Spring return
และมักออกแบบให้ใช้งานแนวดิ่งส่วนมากใช้ถอยแกนกระบอกกลับ 2 แบบคือ Load Return หรือ Spring return

กระบอกไฮดรอลิค

2.กระบอกไฮดรอลิค ทำงานสองทาง Double Acting Cylinder

เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่นิยมใช้มากที่สุด ทำงานได้หลายรูปแบบ ออกแบบได้ทั้งแรงดัน แรงดึง

มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 รูปแบบโครงสร้างคือ

  • 2.1 กระบอกสูบไฮดรอลิค Round type
กระบอกไฮดรอลิค
  • 2.2 กระบอกสูบไฮดรอลิค Square type
กระบอกไฮดรอลิค


3. กระบอกไฮดรอลิค หลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่สามารถยืดออกได้มากกว่าขนาดของเสื้อกระบอกหลายเท่า นิยมใช้ในงานที่มีระยะติดตั้งไม่มาก แต่ต้องการ Stroke การใช้งานที่ยาว

กระบอกไฮดรอลิค


บทความที่เกี่ยวข้อง


ปัญหากระบอกไฮดรอลิค ที่มักจะพบ

1. ซีลคอกระบอกไฮดรอลิครั่วซึม

ปัญหา

  • Alignment การติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข
  • แกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นรอยจากฝุ่น

การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกไฮดรอลิคใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอกสูบไฮดรอลิค

2. กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

ปัญหา

  • ซีลลูกสูบภายในกระบอกไฮดรอลิคเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกสูบไฮดรอลิคใหม่

  • Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมกระบอกไฮดรอลิคดังกล่าวสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

3. กระบอกไฮดรอลิคมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

ปัญหา

  • เลือกขนาดของกระบอกไฮดรอลิคเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

  • ความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

การแก้ไข ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve


การดูแลกระบอกไฮดรอลิค

การดูแลรักษากระบอกไฮดรอลิค (hydraulic cylinder) เป็นส่วนสำคัญของการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานไฮดรอลิค

กระบอกไฮดรอลิก


วิธีการดูแลกระบอกสูบไฮดรอลิค

  1. ตรวจสอบการรั่วไหล : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลที่พื้นผิวกระบอกหรือที่ต่อท่อไฮดรอลิค
  2. ตรวจสอบสภาพภายนอก : ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค
  3. ทำความสะอาด : ทำความสะอาดพื้นผิวกระบอกไฮดรอลิคและส่วนรอบๆ การทำความสะอาดจะช่วยลดการสะสมของสิ่งสกปรกและฝุ่น
  4. ตรวจสอบและเปลี่ยนซีล : ตรวจสอบซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคว่ามีสภาพดีหรือไม่ หากมีการรั่วไหลหรือซีลเสีย ควรทำการเปลี่ยนซีลทันที
  5. ตรวจสอบการทำงานของวาล์ว : ตรวจสอบว่าวาล์วในระบบไฮดรอลิคทำงานถูกต้องหรือไม่ การทำงานของวาล์วที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้กระบอกไฮดรอลิคทำงานผิดปกติ
  6. ตรวจสอบการยึดเกาะ : ตรวจสอบการยึดเกาะหรือการติดตั้งกระบอกไฮดรอลิคร่วมกับเครื่องหรือโครงสร้างอื่น ๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  7. ตรวจสอบความตึง : ตรวจสอบว่ากกระบอกไฮดรอลิคมีการตึงหรือไม่ การตรวจสอบความตึงนี้จะช่วยลดการสึกหรอ และป้องกันการทำงานของกระบอกที่ไม่เสถียร

การดูแลรักษากระบอกไฮดรอลิคนี้เป็นการป้องกันและรักษาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิค การดูแลรักษาเป็นประจำจะช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน



บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด รับผลิตกระบอกไฮดรอลิคทุกขนาดตามมาตรฐานสากล

กระบอกไฮดรอลิค


กระบอกไฮดรอลิก



ผลิตกระบอกไฮดรอลิคกับ Thai-A ดีอย่างไร ?

  • เราเลือกใช้ชุดประกอบคุณภาพดีเยี่ยมนำเข้าจากต่างประเทศ
  • พร้อมให้คำปรึกษาด้านกระบอกสูบไฮดรอลิคโดยวิศวกรประสบการณ์กว่า 50 ปี
  • ออกแบบและผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกโดยช่างผู้ชำนาญการ
  • บริการหลังการขาย และการอบรมผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาและแนะนำด้วยทีมงานคุณภาพ
  • มีระบบตรวจสอบคุณภาพ และประสิทธิภาพสินค้าทุกชิ้นก่อนส่ง
  • บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐาน IEC

ใช้กระบอกไฮดรอลิคอย่างไรให้ปลอดภัย

เลือกกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะกับงาน

  • สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือน้ำหนักที่กระบอกไฮดรอลิคสามารถยกได้ คุณสามารถหาจำนวนปอนด์ที่ต้องยกได้โดยการคูณพื้นที่ประสิทธิผลของแรม (EAR) ด้วยแรงดันของเหลว (FP) EAR (เป็นตารางนิ้ว) x FP (psi) = แรง (ปอนด์)
  • ต่อไป ให้หาน้ำหนักของสิ่งที่คุณตั้งใจจะยกและเลือกแรมที่มีความจุมากกว่าอย่างน้อย 20% ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการยกวัตถุ 8 ตัน คุณต้องใช้กระบอกสูบ 10 ตัน

ความมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญ

  • กระบอกไฮดรอลิคทุกอันต้องมีฐานรองที่มั่นคง ไม่ว่าจะใช้ทีละตัวหรือทั้งระบบ แรมแต่ละตัวควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่บนฐานที่แข็งแรง มั่นคง และไม่เคลื่อนที่
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวโหลดอยู่กึ่งกลางที่จุดยกของแรม
  • เมื่อใช้แรมหลายตัว ให้กระจายตัวโหลดอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในการทำเช่นนี้ คุณจะต้องสามารถระบุตำแหน่งและจำนวนจุดยกที่จะยอมให้โหลดกระจายไปยังแรมทั้งหมดเท่า ๆ กัน

รู้วิธีจัดเก็บกระบอกไฮดรอลิคอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายและการบาดเจ็บ

  • เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีปริมาณน้ำมันไฮดรอลิคที่เหมาะสมสำหรับแรม หากไม่มีของเหลวเพียงพอ ความดันสามารถสร้างขึ้นและเส้นสามารถระเบิดได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระบอกไฮดรอลิคและปั๊มมีความพอดี

  • เลือกปั๊มแรงดันสูงที่เหมาะสำหรับกระบอกสูบไฮดรอลิคที่คุณใช้เพื่อให้แน่ใจว่ามีความจุน้ำมัน การไหล และกำลังที่เหมาะสม


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค มาตรฐาน มอก. สำหรับงานการเกษตรต่างๆ หรืองานอุตสาหกรรมในโรงงาน วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


กระบอกไฮดรอลิค มาตรฐาน มอก.

กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
Read More
ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิคการทำงานหลัก ๆ ของไฮดรอลิคนั้นคือส่วนที่เรียกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รับแรงหน่วงได้ดี แต่เมื่อเราใช้งานกระบอกสูบไฮดรอลิคไปสักระยะแล้วเกิดการทำงานไม่ได้ และมีเสียงดังขณะใช้งาน หรือหนักไปกว่านั้นคือ กระบอกสูบไฮดรอลิครั่ว ปัญหานี้เกิดได้ทั่วไปในการใช้งานของไฮดรอลิค แต่วันนี้เรามีแนวทางแก้ไขค่ะ

1.ซีลคอกระบอกรั่วซึม

1.1 ปัญหา Alignment การติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน

ทำให้ซีลคอถูกแกนกระบอกเบียดหรืองัดจนกระทั่งสึกหรอหรือซีลคอปลิ้นออกจากร่องซีลเป็นรอย

การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค

1.2  ปัญหาแกนกระบอกเป็นรอยจากฝุ่น

       การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกสูบไฮดรอลิคใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอก

กระบอกไฮดรอลิค

2.กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

2.1  ปัญหาซีลลูกสูบภายในกระบอกสูบไฮดรอลิคเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข

เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกใหม่

กระบอกไฮดรอลิค


2.2  ปัญหา Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกระบอกสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข

ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

3.กระบอกสูบไฮดรอลิคมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

3.1 ปัญหาเลือกขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิคเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

              การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไขใหม่

3.2  ปัญหาความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

               การแก้ไข

ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

วาล์วไฮดรอลิค แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

วาล์วไฮดรอลิค แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไร หากพูดถึงอุปกรณ์ไฮดรอลิคคงหนีไม่พ้นวาล์วไฮดรอลิคที่เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต้องมี แต่วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง Thai-A จะพามาทำความเข้าใจมากขึ้นของระบบไฮดรอลิคในหมวดวาล์วไฮดรอลิคกัน

วาล์วไฮดรอลิค


วาล์วไฮดรอลิค มีกี่ชนิดแบ่งออกได้ดังนี้

1. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางที่ต้องการ เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามการควบคุม

  • 1.1 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางด้วยไฟฟ้าแบบตรงหรือโซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Pilot operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์ว ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงก้านวาล์วให้เคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนทิศทางของน้ำมัน โดยการเลือกขนาดของวาล์วควบคุมทิศทางจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของปั๊มเป็นหลัก โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์วชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับระบบที่มีแรงดันและอัตราการไหลที่สูง

  • 1.2 วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้การโยกมือโยกเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของก้านวาล์วเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกจะมีทั้งแบบล๊อคตำแหน่ง (Ball locking) และ แบบดันกลับด้วยสปริง (Spring return) โดยวาล์วลักษณะนี้มักจะพบในระบบที่เคลื่อนที่ เช่น ในรถเพื่อการเกษตร (Mobile Equipment) หรือเรือ เนื่องจากมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และสะดวกในการควบคุมการทำงาน

  • 1.3 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไก (CAM-Operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไกที่ใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้กลไกภายในเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำมัน โดยจะมีทั้งแบบปกติเปิด (NO) และ ปกติปิด (NC)

  • 1.4 วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม และปรับความดันในวงจรต่าง ๆ ให้มีกำลังอัดเพิ่มขึ้น หรือลดลง ได้ตามต้องการ

  • วาล์วระบาย แบบสัญญาณควบคุม ( Remote Control Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบควบคุมโดยตรง ( Direct Type Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต ( Pilot Operated Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Pilot Operated Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย ( Solenoid Controlled Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Solenoid Controlled Relief Valves )
  • วาล์วควบคุมแรงดัน รุ่น H/ HC ( H/ HC Type Pressure Control Valves )
  • วาล์วลดแรงดัน / วาล์วลดแรงดันและกันกลับ  ( Pressure Reducing Valves / Pressure Reducing and Check Valves )
  • วาล์ลดแรงดันและวาล์วระบาย  ( Pressure Reducing Valves and Relief Valves )
  • วาล์วระบายสำหรับสภาวะไม่มีโหลด ( Unloading Relief Valves )
  • วาล์วสำหรับเบรกมอเตอร์ไฮดรอลิค ( Brake Valves )
  • สวิทช์แรงดัน ( Pressure Switch )
  • 1.5 วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล จะใช้ควบคุมความเร็วของลูกสูบโดยการปรับเปลี่ยนขนาดของช่องทางของวาล์วที่ให้น้ำมันไหลผ่าน เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้มีแรงดันที่เหมาะสมกับระบบ

  • 1.6 วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียว (One way flow control valve)

วาลว์ไฮดรอลิคชนิดนี้สามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันได้เพียงทิศทางเดียว ดังนั้นจึงเป็นวาล์วที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหรือออกได้อย่างอิสระ

2. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค
  • 2.1 แบบวิ่งทิศทางเดียว (One-way check valve)

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว เช่น การติดวาล์วหน้าปั๊มไฮดรอลิค กันน้ำมันไหลย้อนกลับ ในกรณีต้องใช้ร่วมกันหลายปั๊มไฮดรอลิค

  • 2.2 แบบวิ่งกลับได้ (Pilot operated check valve)

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว แต่ยินยอมให้น้ำมันไหลย้อนกลับได้โดยใช้สัญญาณ pilot pressure เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้ที่รูน้ำมันท้ายกระบอกไฮดรอลิค




3. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยก (Hydraulic Manual Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิคที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports), แบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) และแบบห้ารูน้ำมัน (five-ports)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานโมบาย (mobile equipment) งานเรือ (marine equipment)

4. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports) และแบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) หรือที่มักเรียกว่า Port P,T,A,B มีไฟฟ้าควบคุม 220 V-AC, 12 V-DC และ 24 V-DC ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวสั่งงาน เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าพลาสติก เครื่อง Die Casting เครื่องฉีดอลูมิเนียม และงานโมบาย (mobile equipment) เช่น รถตัดอ้อย รถยกสินค้า รถขนส่งสินค้าในสนามบิน เป็นต้น

5. วาล์วไฮดรอลิคจำกัดความดัน/รีลีฟวาล์ว (Hydraulic Pressure Relief Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุม จำกัดความดันของน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้เกินค่าที่ตั้งไว้ โดยต้องอยู่ในค่าของสปริงที่กำหนดตามความเหมาะสมกับการใช้งาน วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ต้องมีติดตั้งไว้หน้าปั๊มไฮดรอลิคเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวปั๊มไฮดรอลิคใช้งานเกินกำลัง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสึกหรอภายในของปั๊มไฮดรอลิค หรืออุปกรณ์ไฮดรอลิค ส่วนอื่น ๆ วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ยังแบ่งย่อยประเภท ตามลักษณะการทำงาน คือ

  • 5.1 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบทำงานโดยตรงผ่านสปริง (direct acting type)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งโดยตรงเมื่อรับความดันเกินค่าที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวรีโมทตั้งค่าความดัน ให้กับวาล์วแบบไพล็อตอีกด้วย

วาล์วไฮดรอลิค
  • 5.2 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบไพล็อต (pilot operated, balance piston type)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งแต่ทำงานแบบนิ่มนวลกว่าและได้ค่าที่คงที่กว่า

วาล์วไฮดรอลิค
  • 5.3 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Relief Valve)
วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ตั้งค่าและปรับค่าความดันของน้ำมันไฮดรอลิคได้แบบหลายค่า อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับค่าความดันของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่าในวงจรไฮดรอลิคเดียวกันตามลักษณะของงาน

6. วาล์วไฮดรอลิค ลดความดัน (Hydraulic Reducing Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ลดความดันลงจากความดันหลักที่ใช้ในระบบไฮดรอลิค เช่น การยึดให้ชิ้นงานคงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนออก มักใช้ในงานที่วงจรไฮดรอลิคต้องการค่าความดันหลายค่าในระบบ

7. วาล์วไฮดรอลิค ตัดภาระโหลด (Hydraulic Unloading Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ตัดภาระโหลดของปั๊มไฮดรอลิคในวงจรไฮดรอลิคที่มีปั๊มไฮดรอลิคหลายตัวทำงานร่วมกัน มักพบในงานที่ต้องการอัตราการไหลสูง โดยใช้ปั๊มไฮดรอลิคร่วมกันหลายตัว


8. วาล์วไฮดรอลิค หยุดการเคลื่อนที่ (Hydraulic Counter Balance Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่หยุดหรือเบรคภาระโหลดที่กำลังเคลื่อนที่ของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค

9. วาล์วไฮดรอลิค ควบคุมลำดับการทำงาน (Hydraulic Sequence Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมให้การทำงานของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิคทำงานแบบต่อเนื่องเป็นลำดับ มักใช้ในงานโลหะขึ้นรูป

10. วาล์วไฮดรอลิค ควบคุมอัตราการไหลแบบปิด-เปิด (Hydraulic Shut-off Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมการไหล โดยปิด-เปิดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคทั้งขาไปและขากลับในอัตราที่เท่ากัน เช่น การปิด-เปิด หรือการแบ่งน้ำมันไปใช้ในระบบไฮดรอลิคที่ไม่เน้นค่าความละเอียดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคมากนัก

11. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบแบบหรี่น้ำมัน (Hydraulic Flow Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

12. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบชดเชยความดัน (Hydraulic Flow Control Valve: Compensated Type)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้ค่อนข้างคงที่ แม้ในขณะที่ความดันและอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น งานเครื่องฉีดพลาสติก งาน Machine Tools มีลักษณะการติดตั้ง 2 แบบ คือ 

13. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคด้วยระบบไฟฟ้า สามารถปรับค่าอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคได้รวดเร็ว หลายค่า โดยใช้ไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับอัตราการไหลของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง


และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องของวาล์วไฮดรอลิค หรือเรื่องอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น นิวเมติกส์ ไฮดรอลิค แผงโซล่าเซลล์ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี



ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


วาล์วไฮดรอลิคแบรนด์ชั้นนำ

วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค


Read More
วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานคุณที่ควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้ วาล์วไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของน้ำมัน เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์ไฮดรอลิคสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทางทำหน้าที่เลือกทิศทางการไหลของน้ำมันให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ โครงสร้างของวาล์วควบคุมทิศทางโดยวาล์วควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะตามการควบคุม วาล์วควบคุมทิศทางชนิดใช้ไฟฟ้าควบคุม(Solenoid control valves) , วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้



วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้



วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง


หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ในระบบไฮดรอลิค

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ในระบบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค


ส่วนประกอบของ ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)

  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)


  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

ปั๊มไฮดรอลิ ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)

อุปกรณ์ทํางานในะบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิ ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม

  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ

บทความที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency


Read More
ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

ข้อดี ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค


ข้อดี ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิคสามารถรับแรง (Load) ได้สูงมาก ทั้งในแนวเส้นตรงและแนวหมุน โดยให้แรงที่คงที่ทุกความเร็ว เหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตหนัก
  2. ระบบไฮดรอลิคสามารถส่งถ่ายพลังงานไปได้ไกล โดยผ่านทางท่อไฮดรอลิค
  3. ระบบมีความคงตัวไม่ไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
  4. ระบบไฮดรอลิคมีความแม่นยำสูงกว่าระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากน้ำมันมีการยุบตัวที่น้อย
  5. อุปกรณ์ในระบบไฮดรอลิค มีอายุการใช้งานสูง

ข้อเสีย ของระบบไฮดรอลิค

  1. ระบบไฮดรอลิค มีอุปกรณ์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ ที่จำกัด
  2. การทำงานของระบบไฮดรอลิคจะทำงานช้ากว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  3. ระบบไฮดรอลิคสามารถเกิดการรั่วซึมของน้ำมันได้
  4. การบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยากกว่าระบบนิวเมติกส์ และระบบไฟฟ้า
  5. เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระบบไฮดรอลิคจะมีความอันตรายมากกว่าระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้า เพราะมีน้ำมันและสามารถติดไฟได้

หากท่านใดกำลังมองหามอเตอร์ไฮดรอลิคแรงบิดสูงความเร็วต่ำ มอเตอร์ไฮดรอลิค Eaton โรงงานผลิตมอเตอร์ไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตและจำหน่ายมอเตอร์ไฮดรอลิคทุกชนิด หรือหากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเราก็มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาทำการ

บทความที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Read More