รถตัดอ้อยขนาดเล็ก ฝีมือไทยทำนำกำไรสู่ชาวไร่อ้อย

กว่าจะได้อ้อยแต่ละตันทำเอาชาวไร่อ้อยลมจับ ครั้นจะให้ตัดอ้อยไฟไหม้ก็ถูกหักกำไร แต่จะให้ตันอ้อยสดแรงงานก็ขาด แบบนี้แย่แน่..

แต่วันนี้ Thai-A มองเห็นถึงความจำเป็นในการตัดอ้อยของชาวไร่อ้อยทุกคนจึงได้ออกแบบและผลิตรถตัดอ้อยคันเล็กแต่คุณภาพไม่เล็ก ฝีมือไทยประดิษฐ์ที่มองเห็นโครงสร้างไร่อ้อยไทย และออกแบบรถตัดอ้อยเพื่อการตัดอ้อยพื้นที่ดินของไทยได้อย่างตรงจุด หมดกังวลเรื่องดินไม่เรียบ รถโคลงเคลงขนะตัดอ้อย ลดปัญหาตัวถังเบี้ยว แตกร้าว ยากต่อการซ่อมแซมและหาอะไหล่ให้ตรงรุ่น


ข้อดีของการใช้รถตัดอ้อย

  • การใช้รถตัดอ้อยช่วยลดปัญหาด้านแรงงานคน
  • การใช้รถตัดอ้อยนั้นปริมาณน้ำตาลในอ้อย มากกว่าการตัดอ้อยโดยการเผา
  • ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ
  • ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

พวกเรา Thai-A เราจึงอยากให้ชาวไร่อ้อยทุกท่านได้ตะหนักถึงการตัดอ้อยสดไม่ว่าจะใช้ทรัพยากรณ์คนหรือเลือกใช้รถตัดอ้อยก็เห็นสมควรทั้งสิ้น การเลือกใช้รถตัดอ้อยฝีมือคนไทยทำแน่นอนว่าราคาถูกลงแต่คุณภาพจัดเต็มเพราะเราฟังเสียงจากชาวไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดอ้อยให้ดียิ่งขึ้น


รถตัดอ้อยรุ่น Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า

รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งใช้ในช่วงฤดูกาล เก็บเกี่ยวอ้อย เข้าสู่โรงงานน้ำตาล ซึ่งรถตัดอ้อยคุณภาพดีของเรามาพร้อมชุดอุปกรณ์รวมสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อยให้กับชาวไร่และผู้รับเหมางาน

Max Cane Harvester1



เครื่องยนต์รถตัดอ้อย MAX MH360

  • กำลังแรงม้า : 264 KW (360 HP) 360 แรงม้า
  • รอบทำงานสูงสุด : 2200 rpm 2200 รอบต่อนาที
  • น้ำมันเชื้อเพลิง :  ดีเซล
  • ระบบเผาไหม้เชื้อเพลิง : แบบ INLINE PUMP ควบคุมหัวฉีดด้วยเพลาราวลิ้น
  • ระบบอัดอากาศ : เทอร์โบชาร์จ

การทำงานของเครื่องยนต์

รถตัดอ้อย MAX MH360 จาก Thai-A จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งมากับเครื่องยนต์ ซึ่งจะมีระบบการใช้งานดังต่อไปนี้

  • ป้อนและตัดอ้อยเป็นท่อนได้ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
  • สายพานฟันเฟืองที่ออกแบบมารองรับการตัดอ้อยลดการสูญเสียอ้อยล่วงอ้อยหล่นตามพื้นไร่ได้
  • ตัวรถตัดอ้อยจะลดการสูญเสียจากการตัดตอสั้นและยาวจากการใช้คนตัด
  • ความคล่องตัวของรถตัดอ้อยในการตัดอ้อยที่รวดเร็วเทียบกับการใช้แรงงานคนหลายเท่าตัว
  • รถตัดอ้อยสามารถตัดต้นอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแม่นยำ ตอไม่เสียหาย


มาตรฐานของรถตัดอ้อยสำหรับการตัดอ้อย

กำลังขับเคลื่อน

  • ปั๊มขับเคลื่อนคู่
  • ความเร็วที่ใช้วิ่งบนเส้นทางเดินรถ 1 ถึง 20 กม./ช.ม.

ชุดตัดยอดอ้อย

  • ควบคุมการยกระดับความสูง-ต่ำได้
  • ควบคุมการปั่นยอดใบอ้อยออกข้าง ซ้าย-ขวาได้

ชุดเกลียวเก็บอ้อย

  • ชุดเกลียวเก็บอ้อยซ้าย-ขวาข้างละ 2 ชุด
  • ควบคุมการยกระดับความสูง-ต่ำได้

ระบบไฟฟ้า

  • ระบบไฟฟ้าแบตเตอรี่ 24 โวล์ท
  • ระบบควบคุมการทำงานเดินเครื่องรอบเบาแบบอัตโนมัติ
  • ระบบควบคุมการทำงานด้วยสวิตซ์ควบคุม
  • ชุดไฟหน้าแอลอีดีให้ความสว่างมากและประหยัดพลังงาน และทนทาน
  • แผงฟิวส์และเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ลดอุบัติเหตุไฟไหม้ตัวรถ
  • ชุดไฟสปอตไลท์แอลอีดีเสริมข้าง ส่องสว่างรอบตัวรถและประหยัดพลังงาน

1.ก่อนการตัดอ้อย

ตรวจเช็กสภาพความพร้อมของตัวเครื่องรถตัดอ้อยทุกครั้งก่อนใช้งาน
ควรทำการตรวจเช็กหม้อน้ำก่อนเพื่อให้ตัวเครื่องสร้างแรงดันน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องยนต์ และพาความร้อนออกจากตัวเครื่องยนต์รถตัดอ้อยได้ ต่อมาคือการตรวจเช็กน้ำมันเครื่องซึ่งจะอยู่ระหว่างเครื่องยนต์และห้องคนขับ หลังจากนั้น ควรเช็กในส่วนของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์โดยสามารถสังเกตได้จากเครื่องวัดน้ำที่ติดอยู่ด้านข้างรถตัดอ้อยได้ค่ะ

2.ภายในห้องควบคุม


ภายในห้องควบคุมรถตัดอ้อยนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 6 แกนโยกคอนโทรล และ 11 ปุ่มควบคุมด้วยกันค่ะ เน้นระบบควบคุมแบบมือโยก (Manauld) เพื่อง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาในอนาคต

  • แกนโยกคอนโทรลที่ 1 สำหรับยกตัว
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 2 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 3 สำหรับหน้ารถทางด้านซ้าย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 4 สำหรับการตัดยอดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 5 สำหรับยกหางรถตัดอ้อย
  • แกนโยกคอนโทรลที่ 6 สำหรับใบโบกอ้อย หรือตัดแต่งอ้อย


11 ปุ่มควบคุมทำหน้าที่ดังนี้

  • ปุ่มที่ 1 สำหรับสับท่อนอ้อย
  • ปุ่มที่ 2 สำหรับตัดโคนอ้อย
  • ปุ่มที่ 3 ปุ่มควบคุมปุ่ม 2 ปุ่มแรก
  • ปุ่มที่ 4 สำหรับควบคุมสายพาน
  • ปุ่มที่ 5 สำหรับพัดลมตัวที่ 1
  • ปุ่มที่ 6 สำหรับพัดลมตัวที่ 2
  • ปุ่มที่ 7 สำหรับควบคุมใบมีดตัดยอด
  • ปุ่มที่ 8 และ 9 สำหรับควบคุมไฟชุดหน้า
  • ปุ่มที่ 10 และ 11 สำหรับควบคุมไฟชุดหลัง


นอกจากนั้นจะเป็นในส่วนของปุ่มสตาร์ท ปุ่มตัดดับ ปุ่มสำหรับระบบไฟ และปุ่ม Saver พร้อมชุดเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ได้ค่ะ ส่วนด้านข้างแถบคอนโทรลจะมีอีก 1 แกนคอนโทรล สำหรับเร่งพัดลมใหญ่ เป็นต้นค่ะ

มีหน้าปัดให้ตรวจสอบด้วยกัน 6 ตัวค่ะ ตรวจสอบรอบเครื่องยนต์ แรงดันน้ำมัน อุณหภูมิไฮดรอลิค อุณภูมิเครื่องยนต์ ตรวจสอบน้ำมันและการชาร์จไฟชาร์จ ตามลำดับ พร้อมระบบแอร์และกล้องวงจรปิดภายในห้องควบคุมด้วยค่ะ



3.ตัวเปิด-ปิดสะพานและการเดินเครื่อง


ในส่วนของการเดินเครื่องนั้นจะขึ้นอยู่กับคันโยกตัวใหญ่ข้างพวงมาลัย ซึ่งสามารถควบคุมให้ตัวรถตัดอ้อยเดินหน้าและถอยหลังได้ พร้อมกับปุ่มเปิด-ปิดสะพานของตัวเครื่องที่จะอยู่บริเวณหัวเกียร์

จากคำแนะนำของผู้ใช้งานรถตัดอ้อย ผู้ใช้งานควรเดินตรวจสภาพโดยรอบของรถตัดอ้อยทุกครั้ง และควรบีบแตรกันไว้ทุกครั้งก่อนการขับในช่วงหรือบริเวณที่มีผู้คนอยู่โดยรอบ เพื่อให้ชาวเกษตรกรโดยรอบสามารถหลบทางการทำงานของรถตัดอ้อยได้ทันนั้นเองค่ะ

5.ช่วงสตาร์ทรถ

ควรเปิดระบบต่าง ๆ ไว้ทั้งคัน เพื่อให้ตัวน้ำมันสามารถวิ่งและทำงานได้ดีทั่วทั้งคัน ซึ่งจะเป็นผลดีในการเร่งรอบของรถตัดอ้อยค่ะ โดยผู้ใช้งานควรเปิดระบบต่าง ๆ ทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 5 นาที อยู่ที่ 1,500 ต่อรอบ แต่ในส่วนของการทำงานจริงนั้น ผู้ขับควรเร่งรอบไว้ที่อยู่ที่ 1800-2000 รอบต่อนาที

6.การวางระดับใบมีดตัดโคนอ้อย


7.การใช้งานรถตัดอ้อยแบบประหยัดน้ำมัน

ช่วงการเลี้ยวและการกลับหัวแปรง ควรเปลี่ยนความเร็วต่อรอบจาก การใช้งานปกติให้เหลือเพียงแค่ 1,500 เพื่อการประหยัดนำมันค่ะ

8.ช่วงการวิ่งข้ามร่องอ้อยและการปีนเนิน


ควรตีโค้งให้กว้างเพื่อให้ตัวล้อพ้นจากหว่างของร่องอ้อย

9.หลังการใช้งานรถตัดอ้อย

ก่อนดับตัวเครื่องผู้ขับควรตรวจเช็กอุณหภูมิของตัวเครื่องยนต์ ควรทำการผ่อนรอบเครื่องให้อยู่ที่ 700 – 1,000 และควรรอเวลาเพื่อให้ตัวอุณหภูมิเครื่องยนต์เย็นลงอยู่ที่ 80-90 ถึงจะทำการดับเครื่องได้ค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง


การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ

ปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้

  1. สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยและรถบรรทุกอ้อยเกิดพลิกคว่ำหรือติดหล่มในขณะทำงาน และการที่มีก้อนหิน ตอไม้ ต้นไม้ในแปลงอ้อยจะทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยหรือชุดใบมีดสับท่อนของรถตัดอ้อยเกิดการเสียหายได้
  2. ขนาดแปลงอ้อย ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องกลับรถเพื่อขึ้นแถวใหม่บ่อย ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันมากขึ้น
  3. ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อยควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้ เนื่องจากต้องข้ามแถวอ้อยที่มีความสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลและอาจพลิกคว่ำได้
  4. ถนนข้างแปลงอ้อย เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย จากนั้นรถตัดอ้อยจะต้องถอยกลับมาเพื่อลำเลียงอ้อยใส่รถบรรทุกที่จอดอยู่บริเวณนอกแปลง ส่งผลให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมัน
  5. ระยะห่างระหว่างแถวที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตรจะ ส่งผลให้สูญเสียพื้นที่ในการปลูกอ้อยโดยเปล่าประโยชน์
  6. สันร่องหรือสันแถวอ้อยที่เหมาะสมในการใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า พื้นดินใบมีดตัดโคนของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้ถึงโคนอ้อย เป็นผลให้ตออ้อยเหลือยาวเกินไป




Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย ช่วยท่านลดต้นทุนการผลิต มีกำไรเพิ่มมากขึ้น และยังมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


ภาพรีวิวรถตัดอ้อย Max Cane Harvester 360 (MH360) ขนาด 360 แรงม้า



Thai-A-banner-ติดต่อ