อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน

อากาศไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงไว้หายใจแต่อากาศหรือก๊าซยังมีพลังงานที่เต็มไปด้วยศักยภาพอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ได้เมื่อมีการบีบอัดด้วยแรงดันสูง อากาศหรือก๊าซอัดที่มีการขยายตัวจะสามารถบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนที่ด้วยแรงมหาศาลได้ยกตัวอย่างใน กระบอกลมนิวเมติกส์ แรงดันของก๊าซความดันสูงหรือเรียกง่าย ๆ ว่า แรงกดดันสูงนี้เป็นพื้นฐานของการทำงานของเครื่องมือที่เกี่ยวกับลม ซึ่งถ้าจะเห็นภาพอุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ทำงานในลักษณะนี้ก็คือพวกกระบอกลมนิวเมติกส์นั่นเอง

แล้วอุปกรณ์นิวเมติกส์ใดบ้างที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน ?

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้แรงดันสูงในการทำงาน
ข้อคำนึงในการเลือกใช้กระบอกลมนิวเมติกส์

กระบอกลมนิวเมติกส์

จะมีด้วยกันหลายประเภทหลายขนาด อย่างเช่น กระบอกลมนิวเมติกส์แบบทางเดียว (single-acting cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบสองทาง (double acting cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบโรตารี่(rotary air cylinder) กระบอกลมนิวเมติกส์แบบไม่มีแกน (Rodless Air Cylinder) เป็นต้น ข้อดีหลัก ๆ ของกระบอกลมไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ๆ ก็คือ กระบอกลมนิวเมติกส์นั้นจะมีเสียงรบกวนน้อยกว่าระบบไฮดรอลิกอยู่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันในการกระตุ้นให้ทำงาน เพียงแค่เรามีอากาศและปั๊มลมนิวเมติกส์ก็สามารถใช้งานกระบอกลมนิวเมติกส์ได้แล้ว อีกทั้งกระบอกลมนี้ยังใช้เชื้อเพลิงที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการรั่วไหลของสารเคมีหรือของเสียใด ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลม

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

เนื่องจากว่ากระบอกลมนิวเมติกส์มีความได้เปรียบทางความเร็วและกำลังแรง ทำให้ระบบนิวเมติกส์เป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมหลาย ๆ ด้าน แต่ภายในกระบอกลมนิวเมติกส์จำเป็นต้องมีการควบคุมตำแหน่งและความเร็ว เพื่อให้มีแรงและความเร็วที่เหมาะสมในแต่ละงานและไม่ให้กระบอกลมนิวเมติกส์เกิดการกระแทกเพราะความเร็วที่มากเกินไปได้นั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ได้ด้วยไดรฟ์และมอเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถควบคุมได้ดีกว่า แต่ข้อเสียคือมักจะมีความซับซ้อนและราคาสูงค่ะ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบอื่นกันค่ะ

 สารบัญ

  • ตัวกันกระแทกของกระบอกลม (Cushion Cylinders)
  • กระบอกแบบมีแม่เหล็ก (Magnetic Cylinder Pistons)
  • วาล์วควบคุมการไหล( Flow control)
  • วาล์วเร่งระบาย (Quick Exhaust Valves)
  • วาล์วกันตก (Blocking valve)
  • บทสรุป

ตัวกันกระแทกของกระบอกลม (Cushion Cylinders)

ตัวกันกระแทกนี้ช่วยให้กระบอกลมนิวเมติกส์ทำงานช้าลงเมื่อสิ้นสุดจังหวะ มีประโยชน์ในการลดการกระแทกและเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากการ break ระหว่างโลหะกับโลหะอย่างกะทันหัน ซึ่งส่วนใหญ่กระบอกลมนิวเมติกส์จะมีตัวกันกระแทกภายใน และสามารถปรังตั้งค่าได้ด้วย

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปภาพแสดงการทำงานของ Cushion ในกระบอกลม



กระบอกแบบมีแม่เหล็ก (Magnetic Cylinder Pistons)

ก้านลูกสูบกระบอกแม่เหล็กมีความสามารถในการตรวจจับตำแหน่งจังหวะด้วยรีดสวิตช์(Reed switch) โดยภายในลูกสูบจะมีแม่เหล็กเพื่อในการตรวจจับ เพื่อจะได้รู้ตำแหน่งของกระบอกลมนิวเมติกส์ ว่าเลื่อนอยู่ในตำแหน่งใดแล้ว และช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมทางของกระบอกลมได้อย่างต่อเนื่องและแม่นยำ

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
รูปแบบการติดตั้ง Reed Switch



วาล์วควบคุมการไหล (Flow control valve )

วาล์วควบคุมการไหลช่วยให้สามารถปรับความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ได้ โดยสามารถแบ่งได้ 3 แบบ ตามลักษณะของการทำงาน

  • Flow control meter in ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมเข้ากระบอก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Flow control meter out ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมออกจากกระบอก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์
  • Direction flow control ลักษณะการทำงานคือ สามารถปรับได้ทั้งเข้าและออก
การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

   โดยปกติทั้วไปที่ใช้เยอะมากที่สุดที่ใช้คือ Flow control meter out คือ ปรับลมขณะขาออก โดยวิธีการปรับขณะที่กระบอกเลื่อนออกให้ปรับด้านหน้า และหากกระบอกลมถอยกลับให้ปรับด้านหลัง

วาล์วเร่งระบาย (Quick Exhaust Valves)

       หน้าที่หลักของวาล์วเร่งระบาย คือ การเพิ่มความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์  โดยการทำงานคือการเร่งระบายให้ออกจากกระบอกให้เร็วที่สุด

การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์

วาล์วกันตก (Blocking valve)

       วาล์วกันตก (Blocking valve) มีหน้าที่เป็นวาล์ว Safety โดยการทำงานจะใช้สายลมอีกเส้นมาเพื่อยิงปลดล๊อค ลักษณะการทำงานมี 2 แบบ คือ แบบ One way และ แบบ Directional

รูปการทำงานแบบ One way
รูปแบบการทำงานแบบ Directional

บทสรุป

อุปกรณ์เหล่านี้ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น ตัวกันกระแทกของกระบอกลม กระบอกสูบแบบแม่เหล็ก วาล์วควบคุมการไหล วาล์วเร่งระบาย และวาล์วกันตก เป็นตัวช่วยควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางและการไหลของลม และความเร็วในการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่อง การควบคุมตำแหน่งและความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
วิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์

วิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์

วิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์

ผู้อ่านเคยติดแหงกกับการวัดค่าบนไดอะแกรมที่บอกถึงวิธีการติดตั้งระบบนิวเมติกส์ไหมคะ? เพราะระบบนิวเมติกส์แต่ละระบบมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานของแต่ละโรงงาน และหลายปีทีผ่านมานั้น ผู้ผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ ต่างใช้วิธีการและมาตรฐานต่าง ๆ ที่หลากหลาย ทำให้การวัดค่ากระบอกลมนิวเมติกส์ไม่ตรงกันและเกิดความสับสน แต่ในปัจจุบันปัญหาความหลากหลายนี้ก็ลดลงค่ะ เพราะส่วนประกอบนิวเมติกส์สมัยใหม่ทั้งหมดจะถูกวัดค่าด้วยระบบสากลที่ได้รับมาตรฐานนั้นเอง

Series 1321 กระบอกลม กระบอกนิวเมติกส์
Series 1321 กระบอกลม กระบอกนิวเมติกส์



และสำหรับผู้อ่านท่านใดที่ยังสับสนในการอ่านค่าวัดกระบอกลมนิวเมติกส์อยู่หล่ะก็ ในบทความนี้แอดมินจะมาบอกวิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์แบบง่าย ๆ กันค่ะ

สารบัญ

  • วิธีการหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์
  • บทสรุป

วิธีการหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์

แน่นอนว่าในแต่ละวัตถุประสงค์การใช้งานของกระบอกลมนั้น ย่อมมีความต้องการขนาด และกำลังของกระบอกลมนิวเมติกส์ที่แตกต่างกันออกไป แต่คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างานแต่ละงานควรใช้ขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์เท่าไหร่

แอดมินจะอธิบายง่าย ๆ เลยนะคะ ก็คือผู้อ่านสามารถกำหนดพื้นที่ภายในลูกสูบนิวเมติกส์ได้ง่าย ๆ โดยใช้สูตร F=PA โดยที่ P คือความดัน และ A คือพื้นที่ และค่า F เท่ากับแรงทั้งหมด ดังนั้นเราจึงสามารถแก้สมการหาพื้นที่โดยใช้ A=F/P ได้โดยใช้ตัวเลขทั้ง 2 ตัวที่เรามีอยู่แล้ว เนื่องจากเราต้องรู้อยู่แล้วว่าเราต้องใช้แรงมากแค่ไหนในการทำงานประเภทที่เราสนใจ

และเมื่อรู้พื้นที่ทั้งหมดที่เราต้องการ เราสามารถนำมาคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกลมนิวเมติกส์ได้ โดยส่วนใหญ่ผู้อ่านจะได้ยินวิศวกรพูดถึงพื้นที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ว่าเป็นรู หรือ Bore ของกระบอกลม นี่เป็นการอ้างอิงถึงความจริงที่ว่ากระบอกลมนั้นต้องมีขนาดรูเท่านี้ เพื่อสร้างพื้นที่ (space) นี้

ในการหาขนาดรู ให้ใช้ square root ของพื้นที่แล้วคูณด้วย 1.1284  เพื่อหาเส้นผ่านศูนย์กลาง ฟังดูแล้วเหมือนยุ่งยากใช่ไหมคะ? แต่จริง ๆ แล้วใช้เวลาไม่กี่วินาทีด้วยเครื่องคิดเลขนะคะ แต่ถ้าไม่อยากคิดเลขให้วุ่นวาย ผู้อ่านก็สามารถใช้ตัวช่วย หรือเครื่องคำนวณขนาดวาล์ว (air valve sizing calculator) ที่สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก ซึ่งจะบอกค่าแรงดันอากาศ ระยะกระบอกสูบ ระยะชัก และเวลาที่แต่ละจังหวะใช้ด้วย

แต่ในบางครั้ง ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ด้วยซ้ำ เพราะโดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเจาะที่เฉพาะเท่านั้น พิจารณา NCQ2 ซึ่งมีขนาดรูเจาะตั้งแต่ 12 มม. ถึง 100 มม. ตามรายละเอียดต่อไปนี้:

  • 12mm
  • 16mm
  • 20mm
  • 25mm
  • 32mm
  • 40mm
  • 50mm
  • 63mm
  • 80mm
  • 100mm
วิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์

บทสรุป

ขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์จะแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ฉะนั้นการคำนวณค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าความแรง ความดัน และพื้นที่ที่ต้องใช้งาน จึงมีความสำคัญเพื่อกำหนดขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์ที่ถูกต้อง ซึ่งสูตรสมการที่เราใช้ในการหาขนาดของกระบอกลมนิวเมติกส์ก็คือ A=F/P โดย P คือความดัน และ A คือพื้นที่ และค่า F เท่ากับแรงทั้งหมด แล้วนำไปหาขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งถ้าผู้อ่านคิดว่ากระบวนการคิดแบบ Manual นี้ใช้เวลานานเกินไป ผู้อ่านสามารถหาเครื่องมือช่วยในการวัดขนาดกระบอกลม ที่สะดวกสบายและสามารถวัดขนาดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งตัวช่วยนี้มีชื่อว่า bore sizing calculator โดยที่คุณสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีข้อมูลใด ๆ เลยค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่องวิธีการวัดหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง :

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1500-1600 Series

กระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1500-1600 Series

กระบอกลมนิวเมติกส์ Thai-A รุ่น 1500-1600 Series

บริษัท Thai-A เป็นตัวแทนจำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์และอุปกรณ์นิวเมติกส์ของประเทศไทยที่มีคุณภาพและได้รับความเชื่อถือจากบริษัทแม่อย่าง Pneumax จากอิตาลี อย่างเป็นทางการมากว่า 40 ปี ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมารีวิวกระบอกลมนิวเมติกส์ของ Pneumax รุ่น 1500-1600 Series กันค่ะ

สารบัญ

  • 1500 SERIES
  • 1540-1550 EUROPE  COMPACT SERIES
  • 1560-1580 EUROPE COMPACT CYLINDERS SERIES
  • 1605 SERIES
  • บทสรุป

1500 SERIES

1500 SERIES

เป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ขนาดกะทัดรัดพร้อม Stroke ระยะสั้น ที่เหมาะกับการทำงานที่มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เพราะลักษณะเด่นของกระบอกลม Series นี้คือ ระยะรวมสั้นมาก ๆ เมื่อเทียบกับกระบอกลมนิวเมติกส์ทั่วไป Speed กระบอกที่เร็วกว่า จึงสามารถ Lock หรือเคลื่อนที่ในระยะสั้น ๆ ได้แม้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เหมาะสำหรับงานประเภท Jig and Fixture ,งาน Clamp lock,งาน Stopper

1540-1550 EUROPE COMPACT SERIES

1540-1550 EUROPE COMPACT SERIES

เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กระบอกลมนิวเมติกส์ใน Series EUROPE COMPACT แบบใหม่ที่ผลิตขึ้นตามมาตรฐาน ISO 21287 เป็นตัวแทนของกระบอกลมขนาดกะทัดรัดรุ่นล่าสุดของ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด ด้วยกระบวนการผลิตที่สะอาดและถูกต้องตามมาตรฐาน ซึ่งเครื่องจักรปัจจุบันมีความนิยมมาอีกรุ่นหนึ่ง โดยเครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ จะอย่ในกลุ่ม บรรจุภัณฑ์ประเภทอาหาร ขนมคบเคี้ยวทั่วไป อาหารประเภทแบบใส่ซอง เครื่องดื่มประเภทบรรจุขวด โดยมีขนาดตั้ง Bore 20-100 mm. เป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ใน Series ECOMPACT ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางและแกนศูนย์กลางตามมาตรฐาน ISO 15552

1560-1580 EUROPE COMPACT CYLINDERS SERIES

1560-1580 EUROPE COMPACT CYLINDERS SERIES

กระบอกลมนิวเมติกส์ Series Europe นี้มีให้เลือกสองรุ่น แตกต่างกันตรงรูยึดโดยมีมาตรฐาน แบบ ISO และ แบบ UNITOP  ขนาด ISO มีขนาดเริ่มต้นที่ Bore 32-100 mm. ส่วน สเปค UNITOP มีขนาดเริ่มต้นที่ 12-100 mm. โดยเครื่องจักรที่ใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ จะอยู่ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ประเภทอาหาร ขนมขบเคี้ยวทั่วไป อาหารประเภทแบบใส่ซอง เครื่องดื่มประเภทบรรจุขวด

1605 SERIES

กระบอกลมนิวเมติกส์ THAI-A รุ่น 1500-1600 SERIES
1605 SERIES

เป็นกระบอกลมนิวเมติกส์แบบไร้แกน หรือ Rodless Cylinder วัตถุประสงค์ของการผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์แบบไม่ใช้ก้านสูบคือ เพื่อให้ทางเลือกในการประหยัดพื้นที่มากกว่ากระบอกลมแบบเดิม การทำงานของกระบอกชนิดนี้จะทำงานเชิง Linear เป็นกระบอกลมนิวเมติกส์แบบไม่มีแกน ที่ใช้เทคโนโลยีการปิดผนึกแถบสแตนเลสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และสามารถทำงานหลากหลายรูปแบบ โดยจะทำงานในระบบการแบบเชิงเส้น (linear translation systems) มีขนาดกะทัดรัดมาก และสามารถใช้แทนกระบอกลมนิวเมติกส์ธรรมดาที่มีแกนสูบได้ ลักษณะสำคัญของกระบอกลมแบบมีสายคือไม่มีแกนลูกสูบ ซึ่งจะช่วยประหยัดพื้นที่ในการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์นั่นเองค่ะ

บทสรุป

      กระบอกลมนิวเมติกส์รุ่นข้างต้นที่กล่าวมานั้น อยู่ใน Series 1500 และ Series 1600 โดยเป็นกระบอกลมที่ถูกออกแบบตามมาตรฐาน ISO ทุกตัว และมีรูปแบบหลากหลายให้เลือกตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีแกน แบบไม่มีแกนสูบ หรือแบบมีสาย อุปกรณ์เหล่านี้ถูกผลิตโดยบริษัทชั้นนำ Pneumax จากอิตาลี และมี Thai-A เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับความน่าเชื่อถือเป็นเวลานาน  

     สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
สายการผลิตยานยนต์ กับระบบนิวเมติกส์

สายการผลิตยานยนต์กับระบบนิวเมติกส์

สายการผลิตยานยนต์กับระบบนิวเมติกส์

การผลิตรถยนต์เชิงพานิชย์ในประเทศไทยมีเกือบทุกแบรนด์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีทั้งฐานการผลิต  ฐานการประกอบ รวมทั้งฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ฐานการผลิต เช่น Toyota, Isuzu, Mitsubishi, Honda เป็นต้น  ส่วนฐานการประกอบ เช่น BMW, Triumph Ducati,  Harley-Davidson ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ฐานในประเทศไทยผลิตและประกอบทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยมีการจ้างงานในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก โดยผลพวงเช่นนี้ทำให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนพ่วงมาอีก 1 ระบบ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการใช้ระบบนิวเมติกส์เป็นส่วนการผลิตเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น สายการประกอบรถยนต์ สายการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งรถยนต์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนเป็นจำนวนหลายหมื่นชิ้น

รูปสายงานประกอบเชื่อมตัวถัง
รูปสายงานประกอบเชื่อมตัวถัง



ซึ่งในระบบส่วนนี้ใช้ระบบนิวเมติกส์ค่อนข้างมากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นกระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์ว สายลม ข้อต่อ ในสเปคที่ค่อนข้างพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น กันสะเก็ดไฟเชื่อม ทนต่อความร้อน และการเคลื่อนที่ต้องมีความคล่องตัวสูง

รูปสายงานประกอบเชื่อมตัวถัง
รูปสายงานประกอบเชื่อมตัวถัง

ชิ้นส่วนระบบนิวเมติกส์

ส่วนนี้จะพิเศษ ตัวอย่างชิ้นส่วนนิวเมติกส์ เช่น

รูปกระบอกลมสำหรับกลุ่มยานยนต์
รูปกระบอกลมสำหรับกลุ่มยานยนต์
สายการผลิตยานยนต์กับระบบนิวเมติกส์
รูปแบบการประกอบชิ้นส่วนกระบอกลมนิวเมติกส์
สายการผลิตยานยนต์กับระบบนิวเมติกส์
รูปแบบการประกอบชิ้นส่วนกระบอกลมนิวเมติกส์
สายการผลิตยานยนต์กับระบบนิวเมติกส์
รูปแบบสายลมและข้อต่อ



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
แนวทางการบำรุงรักษา ระบบนิวเมติกส์

แนวทางการบำรุงรักษานิวเมติกส์

แนวทางการบำรุงรักษานิวเมติกส์

ในระบบนิวเมติกส์ การบำรุงรักษาส่วนประกอบทั้งหมดมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าระบบนิวเมติกส์จะทำงานเต็มศักยภาพ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ความเสียหายมักจะเกิดขึ้น ทำให้การใช้งานของอุปกรณ์มีอายุสั้นลง และเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของระบบ

สารบัญ

  • การออกแบบระบบนิวเมติกส์
  • ความสำคัญของการบำรุงรักษาประจำวัน
  • บทสรุป

การบำรุงรักษาเป็นประจำ จะช่วยให้คุณสามารถตรวจหาชิ้นส่วนที่เสียหายหรือทำงานผิดปกติได้ ซึ่งทำให้คุณสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทันท่วงที ดังนั้นอุตสาหกรรมต่าง ๆ ควรหมั่นตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีทีมงานที่เพียงพอในการตรวจรักษาระบบนิวเมติกส์ และดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ล่าสุดเพื่อให้แน่ใจว่ามีการบำรุงรักษาที่เพียงพอด้วยความรู้ที่ดีที่สุด

การออกแบบระบบนิวเมติกส์

แนวทางการบำรุงรักษานิวเมติกส์

เพื่อให้แน่ใจว่าความพยายามในการบำรุงรักษาจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เป็นสิ่งสำคัญมากที่ระบบนิวเมติกส์ของคุณได้รับการออกแบบด้วยความรู้ที่เพียงพอโดยนักออกแบบมืออาชีพที่มีประสบการณ์

ปัญหาหลักของระบบนิวเมติกส์ คือรูปแบบการวางท่อและการไหลของอากาศ ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรให้ความสำคัญเพียงพอกับการวางเครือข่ายท่อส่งและการไหลของอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการทำงานผิดพลาดน้อยที่สุด

สิ่งสำคัญอีกข้อหนึ่งในการออกแบบระบบนิวเมติกส์ คือการออกแบบระบบให้มีความเรียบง่ายมากที่สุด เพื่อง่ายต่อการบำรุง ซ่อมแซม และง่ายต่อการหาจุดเสียหายนั่นเองค่ะ

ในระหว่างการซ่อมบำรุง คุณควรทำการตรวจสอบท่อทางไหลของอากาศและตัวกรอง เพื่อลดเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย และควรตรวจสอบเป็นประจำเพื่อสามารถแก้ไขได้ทันเวลา และตรงจุดที่สุดค่ะ

ความสำคัญของการบำรุงรักษาประจำวัน

เมื่อเทียบกับระบบกลไกอื่น ๆ ระบบนิวเมติกส์สามารถทำงานได้ดีกว่ามาก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะละเลยไม่บำรุงรักษานะคะ หากระบบนิวเมติกส์ได้รับการบำรุงในทุก ๆ วัน ปัญหาจุกจิกก็จะลดลง ฉะนั้นการบำรุงรักษารายวันจึงมีความสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบนิวเมติกส์สามารถทำงานได้ในสถานะที่ดีและพร้อมที่สุด

แนวทางในการบำรุงรักษาระบบนิวเมติกส์ประจำวัน

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีวงจรที่ถูกต้อง ตลอดจนแผนภาพการทำงานของระบบนิวเมติกส์ และหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หลังการติดตั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว
  • ระวังไม่ให้วาล์วอิมพัลส์ของระบบนิวเมติกส์ได้รับสิ่งสกปรก แรงกระแทกทางกล และน้ำหล่อเย็นที่มากเกินไป
  • ควรใช้ช่องเปิดวาล์วที่ผู้ผลิตกำหนดเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการเจาะหรือติดตั้งองค์ประกอบเพิ่มเติม เมื่อต้องการเปิดระบบใหม่
  • หากคุณต้องการช่องเปิดเพิ่มเติม ให้ปรึกษากับผู้ผลิต และให้พวกเขาออกแบบระบบให้สำหรับคุณโดยเฉพาะ
  • หน่วยบริการ (Service unit) ของระบบควรมองเห็นได้ชัดเจนและง่ายต่อการบำรุงรักษา ถ้าเป็นไปได้ก็ควรวางให้สูงกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ
  • อย่าเพิ่มคันเร่งเกิน กว่าผู้ผลิตกำหนดไว้
  • หากคุณกำลังถอดกระบอกสูบหรือวาล์ว ให้ดูแลวัสดุปิดผนึกด้วย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้วางตำแหน่งไว้อย่างเหมาะสมแม้ในขณะที่ประกอบอีกครั้ง
  • วาล์วกระตุ้นแม้จะดูเหมือนใช้งานง่าย แต่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง ดังนั้นจึงเป็นการดีที่จะควบคุมทิศทางที่ถูกต้องและด้วยความเร็วที่ต้องการเท่านั้น

บทสรุป

แม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะไม่ค่อยมีปัญหาเกิดขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องบำรุงรักษาเป็นประจำทุกวัน หากมีเหตุขัดข้องครั้งใหญ่ บุคคลที่รับผิดชอบในการบำรุงรักษาควรตรวจหาข้อผิดพลาดและพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของปัญหา ถ้าปัญหาเหล่านั้นสามารถซ่อมได้ก็ควรทำตามแนวทางทั้งหมด หรือถ้าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าที่จะซ่อมแซมก็ควรเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ทั้งหมดค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่อง แนวทางการบำรุงรักษานิวเมติกส์ประจำวัน หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์

คุณอาจจะไม่ได้สังเกตสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่คุณรู้หรือไม่คะว่า นิวเมติกส์อยู่รอบ ๆ ตัวเราด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่บนรถบัส รถกระบะ หรือเครื่องบิน ระบบนิวเมติกส์หรือแรงดันลมล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เครื่องจักร และเครื่องยนต์เหล่านั้นทำงานได้ค่ะ

  • นิวเมติกส์หรือแรงดันลมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง?
  • ประตูรถโดยสารสาธารณะ
  • ระบบเบรก ในรถที่มีน้ำหนักมาก
  • ปั๊มจักรยาน
  • ปั๊มสุญญากาศ
  • อุปกรณ์ออกกำลังกาย
  • ระบบท่อ
  • สรุป

นิวเมติกส์หรือแรงดันลมไม่ได้ถูกใช้แค่กับวัตถุเชิงกลที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นนะคะ แต่ยังใช้กับสิ่งที่มีการพองตัวได้หรือสามารถเติมลมเข้าไปได้ เช่น ยางรถยนต์ เซ็นเซอร์แรงดันและตัวควบคุม และทุก ๆ อย่างที่มีการอัดอากาศเข้าไป

นิวเมติกส์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ทำงาน เนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดีและยังใช้งานได้ยาวนาน ด้วยการบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้นิวเมติกส์ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของพวกเรา แต่เรากลับมองข้ามมันด้วยค่ะ

ในบทความนี้แอดมินจะยกตัวอย่างนิวเมติกส์ที่เรานำเอามาใช้ และคุณก็เจอกับมันอยู่เป็นประจำกันค่ะ

นิวเมติกส์หรือแรงดันลมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง?

แอดมินเชื่อว่าผู้อ่านคงไม่คิดมาก่อนว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้นำเอาพื้นฐานของนิวเมติกส์มาใช้ มีอะไรกันบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ!

ประตูรถโดยสารสาธารณะ

ผู้อ่านคงเคยได้ยินเสียงเปิด ปิดประตูของรถเมล์มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่เคยคิดมาก่อนว่า ประตูนั้นใช้นิวเมติกส์เข้ามาช่วย ใช่ไหมคะ? หลังจากนี้ผู้อ่านจะดูประตูรถโดยสารเปลี่ยนไป เพราะมันมีการใช้แรงดันลมเพื่อสร้างการทำงานของการเปิดและปิดซึ่งส่งผลให้มีการปล่อยอากาศ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์
รูปแบบกระบอกลมในรถบัสโดยสาร

ระบบเบรก หรือ ระบบโช๊คลม

ด้วยความที่น้ำหนักตัวรถมีมากกว่ารถปกติธรรมดาทั่วไป ตัวเบรกที่อยู่ในรถเล็ก ๆ ที่เราขับกับประจำ ย่อมไม่ช่วยให้รถหนัก ๆ เหล่านั้นช้าลง จึงต้องมีการนำระบบเบรกที่เอาแรงดันลมเข้ามาช่วย เพื่อใช้แรงมากขึ้นในการเบรกนั้นเองค่ะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์
รูปแบบการติดตั้งระบบถุงลมในรถยนต์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์

ปั๊มสุญญากาศ(Pump Vacuum)

ส่วนใหญ่ที่คุ้นเคยมักเคยเห็นแต่ปั้มแบบใช้เป็นมีแรงดันเป็นบวก แต่ปั้มสุญญากาศจะตรงกันข้ามคือจะเป็นลบ ที่สังเหตุเห็นบ่อยๆก็จะเป็นงานยกกล่องทั่วไป

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเมติกส์
VACUUM PUMP

อุปกรณ์ออกกำลังกาย

 คุณรู้หรือไม่คะว่า เครื่องปั่นจักรยานและลู่วิ่งแบบอยู่กับที่บางรุ่นใช้นิวเมติกส์? เครื่องจักรเหล่านี้ใช้แรงดันอากาศเพื่อให้คุณมีแรงต้าน ดังนั้นครั้งต่อไปที่คุณอยู่บนลู่วิ่งและกำหนดค่าการตั้งค่าเพื่อเพิ่มความลาดเอียง เครื่องนั้นจะใช้แรงดันลมเพื่อสร้างเอฟเฟกต์นี้นั่นเองค่ะ

ระบบท่อ

ขอบคุณรูปภาพจาก e-pneumatic

สมัยก่อน การขนส่งสิ่งของขนาดเล็กด้วยระบบท่อเป็นที่แพร่หลายมาก ซึ่งคุณอาจเคยเห็นสิ่งเหล่านี้ในภาพยนตร์หรือในธนาคาร เพราะเขาจะใช้ท่อส่งลำเลียงที่ใช้แรงดันลม เพื่อส่งจดหมายภายในอาคารขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันพวกเราก็ใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารกัน ทำให้เราไม่เคยเจอระบบท่อนี้เลย


สรุป

ตอนนี้คุณได้รู้มากขึ้นเกี่ยวกับนิวเมติกส์ และวิธีการใช้ในหลาย ๆ สิ่งที่คุณพบตลอดในชีวิตประจำวัน และคุณจะไม่สามารถมองปั๊มจักรยาน เครื่องชงกาแฟเอสเพรสโซ หรือประตูขึ้นรถบัสในลักษณะเดิมอีกต่อไป ซึ่งตัวอย่างที่แอดมินได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงแค่ส่วนน้อย ๆ ของสิ่งที่ใช้นิวเมติกส์เท่านั้นนะคะ แต่คุณสามารถลองสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัวเองได้ และลองเดาว่าสิ่งนี้ใช้กฎพื้นฐานของนิวเมติกส์หรือไม่

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์
ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
5 ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบนิวเมติกส์

5 ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบนิวเมติกส์

5 ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบนิวเมติกส์

หากคุณสังเกตสิ่งรอบตัวให้ดี ในชีวิตประจำวันของพวกเรานั้น ล้วนแล้วแต่มีการใช้นิวเมติกส์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น สว่านลม เครื่องพ่นสีรถยนต์ และเครื่องดูดฝุ่น ซึ่งมีการนำลมมาแปลงเป็นพลังงานกล ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ นั้นเองค่ะ แต่การที่ระบบนิวเมติกส์จะทำงานได้ มันจะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินงานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 5 ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

  • Compressor — สร้างลมอัด
  • AIR TANK — ถังเก็บลมอัด
  • AIR SERVICE UNIT — ควบคุมลมอัด
  • VALVE หรือ SOLENOID VALVE อุปกรณ์ควบคุมการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ในระบบนิวเมติกส์
  • AIR CLINDER ,ACTUATOR,MOTER — อุปกรณ์ที่นำลมอัดไปใช้เพื่อสร้างพลังงานกล
รูปแบบการทำงานของระบบนิวเมติก


คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

คอมเพรสเซอร์เป็นส่วนประกอบที่เปลี่ยนอากาศธรรมดาให้เป็นอากาศอัด โดยบีบให้มีความดันบรรยากาศประมาณ 7-10 เท่า (ในหน่วยวิทยาศาสตร์ 7-10 บรรยากาศ 700–1000 kPa หรือ 100–150 psi) คอมเพรสเซอร์เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับวงจรนิวเมติกส์เป็นบิตที่นำพลังงานเข้าสู่ระบบ โดยการบีบอัดอากาศลงในพื้นที่ที่เล็กกว่ามาก แม้ว่าคอมเพรสเซอร์จะไม่ได้ ‘สร้าง’ พลังงานขึ้นมา แต่เป็นส่วนประกอบที่แปลงพลังงานให้มีแรงดัน เพื่อนำไปใช้ในการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบนิวเมติกส์นั่นเองค่ะ  

แอคทูเอเตอร์ (Actuator)

แอคทูเอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รูปแบบของพลังงานเพื่อแปลงสัญญาณควบคุม ให้เป็นการเคลื่อนไหวทางกล โดยมีการหมุนเคลื่อนที่ในองศา ตั้งแต่ 45 องศา, 90 องศา,180 องศา,270 องศา,360 องศา รวมทั้งใช้สำหรับการเปิด-ปิด บอลวาล์ว

วงจร (Circuit)

แม้ว่าระบบนิวเมติกส์บางระบบ อาจมีคอมเพรสเซอร์ แอคทูเอเตอร์ วาล์ว และ Reservoir เพียงตัวเดียวในการทำงาน แต่หากเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ หรือต้องใช้กำลังมาก ระบบนิวเมติกส์ก็จะมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก และอาจจะมีแอคทูเอเตอร์และวาล์วเพิ่มขึ้นมาอีกหลายตัว เพื่อให้มีแรงและกำลังที่เพียงพอในการทำงานของระบบนิวเมติกส์

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เรื่อง 5 ส่วนประกอบพื้นฐานในระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

หากผู้อ่านต้องการให้ระบบนิวเมติกส์มีการทำงานที่ปลอดภัยและทนทาน คุณจะเลือกใช้ท่อลมพลาสติกแบบถูก ๆ หรือไม่? คำตอบคงเป็น ไม่ เพราะไม่อย่างนั้นก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบนิวเมติกส์อื่น ๆ ตามไปด้วย ฉะนั้นผู้อ่านจำเป็นต้องรู้จักวิธีการเลือกท่อลมที่ดี และเหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อนำมาใช้กับระบบนิวเมติกส์ของคุณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 3 ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเลือกท่อลมอัดตามที่คุณต้องการ 

1.ปริมาณแรงดันที่ท่อลมต้องใช้งาน

ผู้ผลิตท่อลมแต่ละรายจะบอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าความดันที่ท่อลมสามารถทนได้ ในจำนวนระยะเวลาหนึ่ง รวมไปถึงอุณหภูมิที่ไม่ทำให้ท่อลมเกิดความเสียหาย

โดยบริษัท MEBRA ประเทศอิตาลี ให้ค่าสัมประสิทธิ์สำหรับพลาสติกทุกชนิดที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ ดังนี้

  • โพลียูรีเทน (Polyurethane) – วัสดุสำหรับท่อลมทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ – 20°C ถึง +60°C
  • โพลิเอททีลีน (Polyethylene) – วัสดุท่อลมทำงานที่อุณหภูมิ -20°C ถึง +70 °C
  • เทฟลอน (PTFE) – วัสดุสำหรับท่อลมที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงมากตั้งแต่ – 60°C ถึง +200°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์
  • POLYAMAID  PA11 ( RILSAN PA11)– วัสดุสำหรับสายลมที่ทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -40°C ถึง +80°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์
  • POLYAMAID  PA12– วัสดุสำหรับท่อลมที่ทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -40°C ถึง +80°C
3 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์

เมื่อทราบอุณหภูมิที่จุดใช้งานของท่อลมแล้ว เราสามารถกำหนดได้ว่าแรงดันใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดและจะใช้งานได้นานเท่าใด ฉะนั้นก่อนที่ผู้อ่านจะเลือกซื้อท่อลม แอดมินแนะนำให้ผู้อ่านตรวจสอบถึงข้อมูลเหล่านี้ก่อนนะคะ เพื่อเลือกท่อลมให้เหมาะสมกับการใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

1.สภาพแวดล้อมในการทำงานของระบบนิวเมติกส์

ตัวอย่างประเภทของวัสดุที่ใช้ในการผลิตท่อลมสำหรับต้านทานอิทธิพลภายนอก ได้แก่

  • โพลียูรีเทน (Polyurethane) – เป็นสายลมมีลักษณะอ่อน ความยืดหยุ่นสูงมากกว่าพลาสติกชนิดอื่น สายหักงอแล้วสามารถกลับคืนสภาพเดิมได้  การเข้าโค้งในพื้นที่แคบได้ดี
  • โพลิเอทิลีน (Polyethylene)  – เป็นสายที่มีความสามารถ ทนทานต่อสารกัดกร่อนและทนต่อจุลินทรีย์และเชื้อรา รวมทั้งเคมีบางชนิดได้ดี และราคาค่อนข้างถูก
  • เทฟลอน (PTFE) – เป็นสายชนิดที่ทนต่อสารเคมีได้หลากหลาย  และใช้ในส่วนอุตสาหกรรมอาหารได้ เพราะเป็นสายชนิด Food grade และทนความร้อนได้สูงถึง 200 °C
  • Polyamide  PA11( RILSAN PA11) – สามารถทนทานต่อสารเคมีได้บางชนิด มีความยืดหยุ่น ทนแรงดันได้ค่อนข้างสูง ความพิเศษของสายชนิดนี้คือ ผลิตจากสารสกัดน้ำมันละหุ่ง (Ricinus communis ) ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ
  • Polyamide PA12 – สามารถทนทานต่อสารเคมีได้บางชนิด มีความยืดหยุ่น ทนแรงดันได้ค่อนข้างสูง แต่ยังน้อยกว่า PA11 โดยสายชนิดนี้จะผลิตมาจากระบบปิโตรเลียม

สายยังมีความหลากหลายแบบ หลายชนิด แยกย่อยและผสมกันหลายรูปแบบ เช่น สายทนสะเก็ดไฟ ซึ่งมีทั้งแบบ 2 ชั้นหรือแบบสามชั้น สายแบบอลูมิเนียม สายแบบมัลติทั้งหลาย

  • การไหลของอากาศในท่อลม

หากผู้อ่านเลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อลมสำหรับการไหลไปยังส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบนิวเมติกส์ไม่ถูกต้อง ต้นทุนที่ไม่จำเป็นอาจเกิดขึ้นได้

การเลือกใช้ชนิดสายลม จะต้องคำนึงถึง แรงดันที่ใช้งาน ขนาดของสายลม การเข้าในพื้นที่คับแคบมากน้อยแค่ไหน พื้นที่ ที่ผ่านมีสารเคมีชนิดไหน มีความร้อนมากน้อยแค่ไหน

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการการเลือกท่อลมสำหรับระบบนิวเมติกส์ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้นะคะ ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวนิวเมติกส์แบบไหน อย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
มารู้จักข้อต่อลม(Fitting)กันเถอะ

มารู้จักข้อต่อลม(Fitting)กันเถอะ

มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ

ฟิตติ้งลม Fitting คืออะไร ? ฟิตติ้งหรือข้อต่อลม คือ ข้อต่อสำหรับเสียบสายลม ที่ใช้กับระบบนิวเมติกส์โดยมีหน้าที่เป็นตัวกลางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวเมติกส์กับสายท่อลม หรือเชื่อมต่อระหว่างสายท่อลมด้วยกันเป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่สำคัญเช่นกันในระบบนิวเมติกส์

 ในปัจจุบันข้อต่อลม หรือ Fittings เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ที่ใช้ในระบบเครื่องจักรที่มีระบบลมนิวเมติกส์ควบคุม หรือใช้ในอุปกรณ์อื่นๆ มีระบบลมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะทำให้งานต่อหรือถอดเปลี่ยนอุปกรณ์และสายลมเป็นงานง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น เพียงแค่กดและดึงเบาๆ ก็สามารถถอดและต่อได้อีกทั้งยังราคาไม่แพง จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อต่อลม หรือ Fitting มีแบบใดบ้าง ?

โดยชนิดของข้อต่อลมส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

1. ข้อต่อลมแบบพลาสติก จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นพลาสติกล้วน

2. ข้อต่อลมแบบโลหะ จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นโลหะล้วน ไม่ว่าจะเป็นทองเหลือง สแตนเลส เหล็ก เป็นต้น

3. ข้อต่อลมแบบผสม จะเป็นข้อต่อลมที่ด้านนึงเป็นพลาสติก อีกด้านเป็นโลหะ ออกแบบมาเพื่อใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวเมติกส์กับสายลมได้หลากหลายขึ้น

เลือกข้อต่อลมแบบไหนดี ?

  1. ทนแรงดันได้เหมาะสมข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดี  แน่นอนต้องทนแรงดันในโรงงาน หรือหน้างานได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว แรงดันที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0-12 Bar ดังนั้นคุณสมบัติการทนแรงดัน ไม่ควรน้อยกว่า 5 Bar นั่นเอง และควรมีการป้องกันแรงดันกระชากไม่น้อยกว่า 10 Bar เพื่อความปลอดภัย และป้องกันอุปกรณ์เสียหาย วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลม หรือ Fittings วัสดุที่ใช้ทำ ข้อต่อลม หรือ Fittings ก็สำคัญไม่แพ้กันกับการทนแรงดัน  เพราะหากใช้วัสดุเกรดไม่ดี คุณสมบัติไม่เหมาะสม ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุตามมา หากมีการรั่วขึ้นมา จะทำให้สิ้นเปลืองใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าในเครื่องปั้มลมหรือ ปั้มลมทำงานหนักเกิดการสึกเหรอเร็วกว่าปกติ ดังนั้นวัสดุที่ที่นำมาผลิตจึงมีความสำคัญมากพอสมควร  วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลมส่วนใหญ่ก็คือ PVC, PTFE, ทองเหลือง, สเตนเลส  
  2. สามารถล็อคแน่นและปลดล็อคง่าย ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดีนั้น เมื่อต้องใช้ต่อสายลม ต้องต่อได้ง่าย และเขี้ยวล็อคต้องล็อคแน่น ไม่รูด และเมื่อต้องการถอดสายลมก็ถอดได้ง่าย กดปลออดล็อคตัวล็อคได้ง่าย
มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ


3. เกลียวต้องได้มาตรฐาน ขันได้แน่น เกลียวของข้อต่อลม หรือ Fittings ต้องได้มาตรฐานขันกับเกลียวมาตรฐานทั่วไปได้ และต้องแน่น ไม่รั่วซึม ซึ่งเกลียวทั่วไปที่นิยมใช้โดยส่วนใหญ่ จะมี M5 , M6 , 1/8″ , 1/4″ , 3/8″ , 1/2″ ,3/4”,1”

มารู้จักข้อต่อลม(FITTING)กันเถอะ



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More