ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิ

ในระบบการผลิตที่มีการใช้ปั๊มไฮดรอลิคมาเกี่ยวข้องมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา แท้จริงแล้วปัญหาอาจไม่เกี่ยวข้องกับปั๊ม แต่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก ขาดการควบคุมชนิดหรือคุณสมบัติของของเหลวที่ต้องการปั๊ม เช่น ของเหลวหนืดมากเกินไป มีของแข็งปนมากไป มีอากาศปน หรืออาจเนื่องจากการปรับเปลี่ยนความต้องการในการผลิต เช่น การปรับเพิ่ม / ลดอุณหภูมิ ซึ่งทำให้ปั๊มไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ


ปัญหาที่พบได้ทั่วไป

1. อัตราการไหลลดลง (Loss of Flow)

สาเหตุเบื้องต้นซึ่งมักถูกมองข้ามอาจเนื่องมาจาก การหมุนของเพลาที่ผิดทิศทาง หรืออาจเนื่องจากความดันขาออกมากเกินไป นอกจากนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนความหนืดของอาหารเหลวที่ต้องการปั๊ม

2. สูญเสียแรงดูด (Loss of Suction)

การสูญเสียแรงดูด อาจเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย ที่ส่งผลกระทบระยะสั้น หรืออาจจะมากพอที่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่กับปั๊มได้ การสูญเสียแรงดูด หมายความว่า ของเหลวไม่ถูกส่งเข้าไปในตัวปั๊ม หรือส่งไปไม่เพียงพอ ทำให้ความดันไม่สูงพอที่จะให้ของเหลวถูกปั๊มในสถานะที่เป็นของไหล

3. ความดันขาออกต่ำ (Low Discharge Pressure)

ความดันขาออกของปั๊ม เกิดจากสาเหตุเดียวคือ แรงต้านของปั๊มต่อการไหลซึ่งเกิดจากปั๊ม ทำให้ไม่สามารถให้อัตราการไหลที่ต้องการ หรืออาจเนื่องมาจากการไหลถูกขัดขวางก่อนจะเข้าปั๊ม ทำให้เกิด Cavitation โดยทั่วไปการเกิดจะเกิดพร้อมเสียงและการสั่นสะเทือน เมื่อปั๊มไม่สามารถทำอัตราการไหลได้ อาจทำให้ปั๊มพังหรือชิ้นส่วนภายในเสียหาย หรือของเหลวที่ปั๊มไหลออกช่องทางอื่น ที่ไม่ใช่ช่องทางที่ระบบต้องการให้ไหลออก

4. อะไหล่ปั๊มไฮดรอลิคสึกหรอเร็วเกินไป

อาจเนื่องมาจากการขัดสีจากของไหล การกัดกร่อนทางเคมี ความเสียหายของรองลื่นที่หนุนเพลา (Bearing Failure) การใช้งานปั๊มเกินกำลัง การใช้งานปั๊มในสภาพไม่เหมาะสม เช่น การเกิด Cavitation ความดันสูงเกิน อุณหภูมิสูง วิธีแก้ไข ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่กัดกร่อนปั๊ม ควรใช้ตัวกรองเข้าช่วยกรอง (Strainer and Filter) และในบางครั้งการตรวจดูสภาพภายในปั๊มตามระยะเวลาอาจไม่เพียงพอ หากการสึกกร่อนของปั๊มเร็วเกิน ควรสืบหาสาเหตุจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีปัญหา

5. การรั่วของซีล

อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการรั่วของปั๊ม ดังนั้นจึงควรจะระมัดระวังดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าได้เลือกซีลที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน นอกจากนี้ การรั่วของซีลอาจจะมีสาเหตุมาจากความดันขาออกที่สูงเกิน หรือปล่อยให้ปั๊มเดินเปล่าหรืออาจเกิดจากการมีของแข็งที่ไม่เหมาะสมหลุดเข้าไปในของเหลวที่กำลังปั๊มไฮดรอลิค

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบหรือ (Piston Pump) เป็นปั๊มที่นิยมใช้ สามารถสร้างแรงดันได้สูงกว่าประเภทอื่น ๆ สร้างอัตราการไหลได้ในปริมานมากและยังประหยัดพลังงานหรือลดภาระการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถึง 50%



ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบแบ่งได้ 2 ประเภท

1. ปั๊มไฮดรอลคลูกสูบหมุนตามแกน

มีจำนวนของลูกสูบอยู่ในแนวนอน ที่ติดอยู่กับบล็อกทรงกระบอกซึ่งเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับแกนหมุนของบล็อก ความดันและวงจรควบคุมการไหลสามารถรวมภายในช่วยให้การดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือได้ และการออกแบบที่เรียบง่ายของระบบไฮดรอลิคที่เกี่ยวข้อง

2. ปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบหมุนตามแนวรัศมี

ปั๊มลูกสูบหมุนตามแนวรัศมี มีการจัดองค์ประกอบ บล็อกทรงกระบอกโดยรอบในแนวรัศมี เหมือนซี่ล้อ เพลาขับเคลื่อนจะหมุนบล็อกทรงกระบอก ซึ่งจะผลักดันให้ลูกสูบ หรือกระบอกฉีด(slings) เกิดการบีบอัดและการขยายตัว จากแคมเยื้องศูนย์ของบล็อกขับเคลื่อน  การควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกสูบและเสื้อสูบ ที่มีศูนย์กลางการหมุนตรงกับแนวเคลื่อนที่ของลูกสูบ ปั๊มลักษณะนี้จะมีระดับเสียงต่ำ, รับโหลดได้สูงมากที่ความเร็วต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More

ปัญหาปั๊มไฮดรอลิคที่มักพบเจอ

ปัญหาปั๊มไฮดรอลิคที่มักพบเจอ

อุปกรณ์ไฮดรอลิค ที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง หรือปัญหาอื่น ๆ ที่จะเกิดกับปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาปั๊มไฮดรอลิคที่มักพบเจอ


อากาศรั่วเข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค

สามารถทดสอบว่าอากาศรั่วเข้าไปในปั๊มไฮดรอลิคทางช่องว่างระหว่างท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮดรอลิค

  • โดยในเบื้องต้นสามารถตรวจเช็คดูด้วยตาเปล่าว่ามีน้ำมันรั่วซึมออกมาหรือไม่
  • โดยการใช้จารบีป้ายทาระหว่างหน้าแปลนท่อดูดกับหน้าแปลนปั๊มไฮรอลิค เพื่อเช็คจุดรั่วซึม ผลที่ได้หากปั๊มไฮดรอลิคมีการรั่วซึมจริง เสียงปั๊มจะเงียบลง และให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนซีลและโอริง หรือประเก็นหน้าแปลนท่อดูด

รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

โดยส่วนใหญ่รอบหมุนของปั๊มไฮดรอลิคจะถูกกำหนดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นออกแบบการใช้งาน จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคู่มือการทำงาน ตามสเปคของปั๊มไฮดรอลิค เพื่อใช้งานอย่างถูกต้อง

ปัญหาปั๊มไฮดรอลิคที่มักพบเจอ


แรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป

จริง ๆ แล้วควรใช้แรงดันให้อยู่ภายในสเปคของอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่กำหนดไว้ตอนออกแบบ แต่ถ้าพบว่าแรงดันของปั๊มไฮดรอลิคสูงเกินไป ทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคในระบบเสียหาย เช่น เพลาขาด หรือปั๊มแตก ให้ทำการปรับลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค ไม่ให้เกินความต้องการของการใช้งาน เพื่อลดแรงดันของระบบไฮดรอลิค

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
2 สาเหตุที่มักทำให้ ปั๊มไฮดรอลิคเสียงดัง

2 สาเหตุที่มักทำให้ปั๊มไฮดรอลิคเสียงดัง

2 สาเหตุที่มักทำให้ปั๊มไฮดรอลิคเสียงดัง

ปั๊มไฮดรอลิคนับว่าเป็นระบบส่งถ่ายพลังงานของไหล ขับเคลื่อการทำงานในรูปแบบอัตราการไหลและความดัน โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกไฮดรอลิค มอเตอร์ไฮดรอลิค ซึ่งตัวปั๊มไฮดรอลิคเมื่อได้ถูกใช้งานมาสักระยะ หลายท่านก็อาจจะเจอกับตัวปั๊มไฮดรอลิคเสียงดัง ซึ่งวันนี้ Thai-A จะยก 2 สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ปั๊มไฮดรอลิคเกิดเสียงดัง

2 สาเหตุที่มักทำให้ปั๊มไฮดรอลิคเสียงดัง

1. สาเหตุจากอุปกรณ์ไฮดรอลิค

  • กรองขาดูด หรือท่อทางด้านดูด และไส้กรอง เกิดการอุดตัน เนื่องจากมีสิ่งสกปรก หรือสารแขวนลอยมาก
  • มีอากาศรั่ว เข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค มีอากาศรั่วเข้าบริเวณข้อต่อ และช่องว่างระหว่าง เพลาปั๊มกับซีล
  • ยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์กลาง
  • รอบหมุนของปั๊ม สูงเกินไป
  • กรองด้านขาดูด มีขนาดไม่เหมาะสม

2.สาเหตุที่เกิดจากสารหล่อลื่น

  • มีความหนืดของน้ำมัน ที่สูงหรือต่ำเกินไป ไม่ตรงกับคำแนะนำในคู่มือการใช้งาน
  • ระดับน้ำมัน สูงหรือต่ำเกินไป ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่กำหนดในคู่มือของเครื่องจักร
  • อุณหภูมิของน้ำมัน สูงจนผิดปกติ
  • มีน้ำรั่ว เข้าไปในระบบผสมกับน้ำมัน ทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพ
  • เกิดฟองอากาศ ในน้ำมัน ถ้าเกิดฟองอากาศมาก จะส่งผลให้ ความดันในระบบไม่คงที่

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ EATON คุณภาพดี

เรื่องของปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟือง ที่ควรรู้

เรื่องของปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟือง ที่ควรรู้

ปั๊มแบบเฟืองเป็นปั๊มไฮดรอลิคที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรมมากที่สุด เพราะมีโครงสร้างภายในแบบง่าย ๆ และราคาย่อมเยาว์ จุดเด่นของปั๊มนี้คือ มีขนาดเล็กและเบา มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อนเมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มไฮดรอลิคชนิดอื่น ๆ

เรื่องของปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟือง ที่ควรรู้



ปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟืองยังสามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ด้วย ส่วนปริมาณของน้ำมันที่ดูด และ ส่งที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดความลึกของร่องฟัน และเฟืองที่ใช้อาจเป็นเฟืองตรง (Spur Gear) หรือฟันเฉียง( Helical Gear)ก็ได้ แต่ในลักษณะฟันที่เฉียงจะทำงานได้เงียบกว่า สามารถใช้กับงานที่หนักขึ้นได้มากกว่าและทำงานที่รอบสูงสูงได้มากกว่าเกียร์แบบฟันตรง และปั๊มแบบเฟืองนี้ไม่สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้ มีหลักในการทำงานคือ ในระหว่างที่ตัวปั๊มอัดน้ำมันนั้น ระหว่างฟันเฟืองกับเสื้อปั๊ม เมื่อขับให้ปั๊มทำงานเฟืองจะถูกขับให้หมุนไปเกิดสุญญากาศที่ท่อทางเข้า จะทำให้น้ำมันถูกดูดเข้าไปสู่ช่องว่าง และเมื่อเฟืองตัวมันเองหมุนกลับมาขบกันอีกครั้งหนึ่งน้ำมันก็จะถูกบีบออกสู่ช่องทางออก ในขณะเดียวกันกับน้ำมันที่ถูกกันไม่ให้ไหลกลับ

เรื่องของปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟือง ที่ควรรู้



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ซื้อเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคมาแล้วใช้งานได้ไม่นานมีปัญหา เกิดจากอะไร

ซื้อเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคมาแล้วใช้งานได้ไม่นานมีปัญหา เกิดจากอะไร?

ซื้อเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคมาแล้วใช้งานได้ไม่นานมีปัญหา เกิดจากอะไร (1)

ซื้อเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคมาแล้วใช้งานไม่ได้ เกิดจากอะไร?

ปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับระบบไฮดรอลิคโดยส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาว่า ทำไมซื้อตัวเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคใหม่มาแล้วไม่สามารถใช้ได้นานหรือมีปัญหาตามมา หรือติดตั้งเกียร์ปั๊มใหม่เข้าไปในรถขุดเล็กหรือรถโฟล์คลิฟท์ขนาดเล็กแล้วเสียหายใช้งานไม่ได้ทน มีความร้อนเกิดขึ้น ปั้มมีอาการเสียงดัง ใช้แล้วปั๊มไฮดรอลิคแรงตก จุดหนึ่งที่เรามักมองข้ามไปคือทางท่อดูดของตัวเกียร์ปั๊มซึ่งมักจะมีอากาศเข้าไป หรือ ท่อดูดเสียหายและไม่ได้ทำการแก้ไขไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อที่ขันเข้าไปในตัวเกียร์ปั๊มหลวม ขยับตัวได้ และท่อยางแตกและไม่ได้ทำการเปลี่ยน


โอริงในทางท่อดูดเองก็มีผล หากมีอาการเสื่อมและกรอบตัวแข็งตัวของตัวยางโอริง จุดเหล่านี้ที่เวลาเราติดตั้ง มักมองข้าม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาแล้ว จะส่งผลให้กับทางเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคทั้งสิ้น และปัญหาเหล่านี้เองก็ยังเกิดขึ้นในปั้มไฮดรอลิคตัวเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

หากต้องการติดตั้งเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคไม่ให้เกิดปัญหาตามมาควรปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญหรือเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิคที่ได้มาตรฐานนะคะ สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิคชั้นนำ อย่าง EATON, TOKYO KEIKI, STAUFF จำอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
แก้ปัญหาปั๊มไฮดรอลิครั่วซึมจากน้ำมัน

แก้ปัญหาปั๊มไฮดรอลิครั่วซึมจากน้ำมัน

แก้ปัญหาปั๊มไฮดรอลิครั่วซึมจากน้ำมัน

แก้ปัญหาปั๊มไฮดรอลิครั่วซึมจากน้ำมัน หากปั๊มไฮดรอลิคที่หลาย ๆ คนใช้อยู่เกิดอาการรั่วจากน้ำมัน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ชำรุด วันนี้แอดมินจะพามาดูวิธีการแก้ปัญหาปั๊มไฮดรอลิครั่วกันค่ะ

ปั๊มไฮดรอลิคเมื่อมีการรั่วซึมจะดูอย่างไร ?

ปั๊มไฮดรอลิคเมื่อมีการรั่วซึมจะดูอย่างไร



หากเกิดการรั่วซึมของปั๊มไฮดรอลิคจากน้ำมัน อย่างแรกอยากให้เช็กเรื่องซีล หากมีปัญหาซีลรั่ว ซีลสึกหรอก็จะส่งผลให้น้ำมันภายในห้องเกียร์ลดลง และส่งสัญญานไปที่หลอดวัดระดับน้ำมันว่าน้ำมันภายในถังลดลง เพราะเกิดการรั่วซึม
ฉะนั้นนอกจากเรื่องซีลให้ลองเช็กจากเกลียวข้อต่อรูดหรือไม่ ความสูงของยอดเกลียวล้มหรือไม่ หากมีปัญหาเช่นนั้นต้องรีบแก้ไข เพราะเมื่อสึกหรอแล้วจะแก้ไขยาก

เมื่อเปลี่ยนซีลก็จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วจากปั๊มไฮดรอลิคและห้องเกียร์ได้นั่นเองค่ะ



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ก่อนใช้งานปั๊มไฮดรอลิคอย่าลืมเช็ค 3 สิ่งนี้

ก่อนใช้งานปั๊มไฮดรอลิคอย่าลืมเช็ก 3 สิ่งนี้

ก่อนใช้งานปั๊มไฮดรอลิคอย่าลืมเช็ก 3 สิ่งนี้

ก่อนใช้งานปั๊มไฮดรอลิคอย่าลืมเช็ก 3 สิ่งนี้

ก่อนใช้งานปั๊มไฮดรอลิคอย่าลืมเช็ก 3 สิ่งนี้ ในการติดตั้งปั๊มไฮดรอลิคก่อนที่จะรันงาน ใช้เครื่องจักรเพื่อผลิตชิ้นงานสร้างรายได้ให้กับเราหรือองค์กรก็จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ด้วยกัน

1.ขั้นตอนแรกเลยที่หลายคนมักจะมองข้าม

นั่นก็คือการตั้งยอยของปั๊มไฮดรอลิคและตัวมอเตอร์ไฮดรอลิคหรือชุดต้นกำลังเครื่องยนต์ ในหลาย ๆ ครั้งที่เราทำการตรวจเช็กหน้างานของลูกค้าพบว่ายอยของลูกค้าไม่มีการตั้งยอยให้ได้ระยะก่อน หรือ ไม่ได้ขันตัวหนอนล็อคยอย ทำให้เมื่อเวลาที่ยอยหมุนตัว เกิดอาการถอยตัวของยอยเข้ามาเบียดกับหน้าแปลนของปั๊มหรือมอเตอร์ไฟฟ้า หากเราตั้งยอยไม่ได้ระดับ ยอยจะหมุนได้ค่อนข้างที่จะยากและฝืด หากเราตั้งยอยได้ระดับตัวยอยเมื่อเอามือหมุนจะหมุนง่ายนั่นเองค่ะ

2. ทำการกรอกน้ำมันเข้าไปในตัวเสื้อปั๊มไฮดรอลิค

เพื่อไม่ให้ปั๊มไฮดรอลิคทำงานและทำให้ชิ้นส่วนภายในเกิดการเสียดสี หรือ ฝืด จากการที่ไม่มีน้ำมันไฮดรอลิคเข้าไปเลี้ยงเสื้อ ดังนั้นเราควรจะทำการกรอกน้ำมันเข้าไปก่อน และให้เราทำการหมุนยอยของปั๊มไปในทิศทางเดียวกับการหมุนของปั๊มไฮดรอลิค เพื่อที่ให้ตัวปั๊มดูดเอาน้ำมันไฮดรอลิค เข้าไปหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในตัวปั๊มเบื้องต้น เพื่อที่จะได้เตรียมดูดน้ำมันส่วนใหญ่ขึ้นมาจากถังพักน้ำมันได้ง่าย หากเราสตาร์ทเครื่องเลยโดยไม่กรอกน้ำมันปั๊มจะเกิดอาการเสียงดังเนื่องจากดูดเอาอากาศเข้าไป หรือ บางทีปั๊มไม่สามารถดูดน้ำมันขึ้นจากถังพักน้ำมันได้เพราะไม่ได้กรอกน้ำมันเข้าไปในตัวเสื้อปั๊มไฮดรอลิค กว่าที่น้ำมันจะเข้ามาในปั๊มไฮดรอลิค ปั๊มไฮดรอลิคก็อาจเกิดการเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายตามมาได้

3. ทำการสตาร์ท และเปิดปิดเครื่อง 2-3 ครั้ง

เพื่อดูดน้ำมันดึงเข้ามาในระบบ เป็นการเช็กปั๊มไฮดรอลิคเบื้องต้นด้วยว่ามีการหมุนถูกทิศทางหรือไม่ ก่อนที่จะใช้งานระบบไฮดรอลิค

เพียง 3 ขั้นตอนเบื้องต้นนี้หากลองทำตามก็จะช่วยให้ระบบไฮดรอลิคทำงานให้กับคุณได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดการเกิดการเสียหายเกิดขึ้นในขณะติดตั้ง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เกียร์ปั๊มไฮดรอลิคเป็นอย่างไร ทำไมถึงนิยมใช้กัน

เกียร์ปั๊มไฮดรอลิคเป็นอย่างไร ทำไมถึงนิยมใช้กัน ?

เกียร์ปั๊ม ไฮดรอลิคเป็นอย่างไร ทำไมถึงนิยมใช้กัน ?

เกียร์ปั๊ม ไฮดรอลิคเป็นอย่างไร ทำไมถึงนิยมใช้กัน เกียร์ปั๊มหรือที่เรียกกันว่าปั๊มเฟืองเป็นปั้มไฮดรอลิคขนาดเล็ก เป็นปั๊มที่นิยมใช้กันมากที่สุดในระบบไฮดรอลิค ฟังก์ชันไม่มาก ราคาประหยัด สามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ด้วย มีหลายขนาดให้เลือกตามการใช้งาน เช่น เลือกตามปริมาณการไหลมีตั้งแต่ 0.5 -35 ซีซี ปรับปริมาณการไหลโดยการเลือกความเร็วรอบมอเตอร์ 500-5000 รอบต่อนาที ส่วนแรงดันสูงสุดส่วนใหญ่อยู่ที่ 250 บาร์ (25MPa/3500PSI)

เกียร์ปั๊ม ไฮดรอลิคมีหลักการทำงานอย่างไร

1.หลักการทำงานเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump) น้ำมันจะถูกส่งเข้ามาเติมในส่วนของช่องว่าง เมื่อปั๊มหมุนตัว เฟืองและตัวโรเตอร์จะเริ่มทำการหมุนเพื่อผลักดันน้ำมันในจังหวะการอัด ทำให้มีความเร็วและอัตราการไหลสูงขึ้น

2. หลักการทำงานเกียร์ปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟืองนอก (External Gear Pump) คือเกียร์ปั๊มที่มีเกียร์สองตัวโดยที่ฟันของเกียร์ทั้งสองตัวนั้นขบกัน น้ำมันจะถูกส่งเข้ามาเติมในส่วนของช่องว่าง เมื่อปั๊มเริ่มหมุนตัว เฟืองทั้งสองตัวจะเริ่มหมุน และผลักดันน้ำมันไฮดรอลิคในจังหวะการอัด ทำให้มีความเร็วและอัตราการไหลสูงขึ้น

เกียร์ปั๊ม



ข้อดี และ ข้อเสียของเกียร์ปั๊มไฮดรอลิค

ข้อดี

  • ความดันใช้งานได้ค่อนข้างสูง
  • ราคาถูก
  • ช่วงของความเร็วรอบเปิดกว้าง
  • ช่วงของอุณหภูมิ และ ความหนืด เปิดกว้าง

ข้อเสีย

  • เสียงดัง การจ่ายน้ำมันเป็นห้วงๆ
  • Bearing รับแรงเพียงด้านเดียว
  • ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรต่ำเมื่อเทียบกับปั๊มชนิดอื่น

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิควาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความเสียหายที่มักเกิดขึ้นกับปั๊มไฮดรอลิค

ความเสียหายที่มักเกิดขึ้นกับปั๊มไฮดรอลิค

ความเสียหายที่มักเกิดขึ้นกับปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาการใช้ปั๊มไฮดรอลิคในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอม ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ของแข็ง ซึ่งหมายถึง ฝุ่น เศษเหล็ก เศษทองเหลือง หรืออื่น ๆ ซึ่งสิ่งสกปรกของแข็งเช่นนี้อาจจะเข้ามาจากฝาถัง ซึ่งปกติถังน้ำมันจะมีการดูดเข้า ออกตลอดเมื่อมีการใช้งาน เนื่องระบบไฮดรอลิคเป็นระบบเปิดอากาศสามารถเข้า ออกได้ เพื่อแทนที่น้ำมันที่เข้า-ออกในระบบ ซึ่งจะทำให้มีฝุ่นปนเปื้อนมาด้วย


และสาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายให้ปั๊มไฮดรอลิค แบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

สาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์ไฮดรอลิค

  • กรองขาดูด หรือท่อทางด้านดูด และไส้กรอง เกิดการอุดตัน เนื่องจากมีสิ่งสกปรก หรือสารแขวนลอยมาก
  • มีอากาศรั่ว เข้าทางด้านดูดของปั๊มไฮดรอลิค มีอากาศรั่วเข้าบริเวณข้อต่อ และช่องว่างระหว่าง เพลาปั๊มกับซีล
  • ยอยด์ต่อไม่ได้ศูนย์กลาง
  • รอบหมุนของปั๊ม สูงเกินไป
  • กรองด้านขาดูด มีขนาดไม่เหมาะสม

สาเหตุที่เกิดจากสารหล่อลื่น

  • มีความหนืดของน้ำมัน ที่สูงหรือต่ำเกินไป ไม่ตรงกับคำแนะนำในคู่มือการใช้งาน
  • ระดับน้ำมัน สูงหรือต่ำเกินไป ไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติตามที่กำหนดในคู่มือของเครื่องจักร
  • อุณหภูมิของน้ำมัน สูงจนผิดปกติ
  • มีน้ำรั่ว เข้าไปในระบบผสมกับน้ำมัน ทำให้น้ำมันเสื่อมคุณภาพ
  • เกิดฟองอากาศ ในน้ำมัน ถ้าเกิดฟองอากาศมาก จะส่งผลให้ ความดันในระบบไม่คงที่

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ปั๊มไฮดรอลิค และอุปกรณ์ไฮดรอลิคอื่น ๆ เสียหาย วิธีแก้ไขคือ

  1. ตรวจเช็กระดับน้ำมัน ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ คือต้องท่วมกรองสูงระดับนึงเสมอมิฉะนั้น จะเกิดการดูดอากาศเข้า
  2. กรองดูดน้ำมันต้องไม่ตัน ต้องมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ หรือหากกรองเสียหายให้เปลี่ยนทันที
  3. กรองขากลับ ต้องมี และไม่ตัน เพื่อกรองสิ่งสกปรกที่ปนมา ในระบบ ออกก่อนน้ำมันกลับถังพัก
  4. ฝาถัง หรือกรองอากาศ ต้องไม่เปิดทิ้งไว้
  5. มีการตรวจเช็กค่าความสะอาดน้ำมัน และคุณสมบัติของน้ำมันไฮดรอลิค เป็นประจำ อย่างน้อยทุก 6 เดือน

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร :02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More