ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้การประหยัดคงจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้หลายชีวิตดำเนินอยู่รอด อย่างเช่น การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพราะพลังงานไฟฟ้า เป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต และปัจจุบันในหลายๆ ภาคส่วนนิยมนำระบบโซล่าเซลล์ไปใช้เพื่อช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าไฟฟ้า และสำรองพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไม่เว้นแม้แต่ในภาคการเกษตรที่ก็เริ่มได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และได้มีการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้กับปั๊มน้ำอีกด้วย

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ (Solar Water Pump) คือการที่นำปั๊มน้ำมาประยุกต์ใช้กับระบบโซล่าเซลล์ โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้กับปั๊มน้ำโซลาเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์มีหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงข้อดีข้อเสียของปั๊มโซล่าเซลล์แต่ละชนิดให้ทุกๆท่าน ได้ตัดสินใจในการเลือกใช้ปั๊มโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

รูปแบบที่1: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์หอยโข่ง [Solar Water Pumping System (Centrifugal Pump)] 

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบหอยโข่ง นี้ มาจากรูปร่างลักษณะของตัวปั๊มที่ลักษณะคล้ายขดของหอยโข่ง เป็นปั๊มที่คนนิยมใช้กันมาก เป็นปั๊มชนิดแรงเหวี่ยง ระบบการทำงานของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์หอยโข่งคือจะมีใบพัดอยู่ภายใน และเมื่อใบพัดหมุนจะเกิดแรงเหวี่ยงน้ำส่งน้ำจากส่วนปลายใบพัดเข้าในโพรงหอยโข่ง เหมาะกับงานสูบน้ำสะอาดทั่วไปที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลางถึงมาก โดยที่ความลึกไม่เกิน 8 เมตร และสูบส่งได้สูง เหมาะสำหรับงานสูบน้ำในสวนหย่อมหรือสวนผัก งานระบบบำบัดน้ำ ชลประทาน รดน้ำ งานสูบส่งเคมีบางชนิด

ข้อดี

  • มีราคาถูก และหาซื้อง่าย
  • สามารถสูบน้ำได้ปริมาณน้ำมากประมาณ 1500-3000 ลิตร / ชั่วโมง
  • ดูแลรักษาได้ง่าย อะไหล่หาซื้อง่าย

ข้อเสีย

ดูดบ่อลึกได้ไม่เกิน 8 เมตร ยกเว้นเครื่องปั้มน้ำหอยโข่งชนิดเจ็ตคู่ที่สามารถสูบได้ลึกกว่า และกินพลังงานค่อนข้างสูง หากนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งานร่วมกันอาจจะต้องใช้แผงโซล่าเซลล์หลายแผงเพื่อให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ

รูปแบบที่ 2: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล [Solar Water Pumping System (Submersible Pump)]   

เป็นปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่ใช้จุ่มใต้น้ำในบ่อ หรือใต้ผิวดิน เหมาะสำหรับสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อที่ขุดลึกลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะของบ่อจะเป็นไปตามขนาดของปั๊ม ขั้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรืออาจจะแล้วแต่การออกแบบ บ่ออาจจะมีขนาด 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว เป็นรูลงไปใต้ดินเพื่อสูบน้ำขึ้นมาด้านบน

ข้อดี

  • ดูดได้ลึกมากๆ มีหลายขนาดให้เลือก
  • ได้ปริมาณน้ำเยอะ
  • ใช้สูบน้ำขึ้นที่สูง สูบน้ำขึ้นแท้งค์น้ำสูงๆ ได้

ข้อเสีย

มีราคาแพง ยิ่งระบบ AC แพงกว่า DC มาก หากการใช้งานที่ใช้น้ำน้อยทุนไม่เยอะอาจไม่คุ้ม หากมอเตอร์เสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ และใช้กำลังไฟเยอะจึงอาจจะต้องใช้แผงโซล่าเซลล์เพิ่มมากขึ้น

รูปแบบที่ 3: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบไดโว DC [Solar Water Pumping System (Divo Pump)] 

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีหลากหลายขนาด สามารถสูบได้น้ำเยอะ แต่กำลังส่งของปริมาณน้ำอาจจะด้วยกว่าปั้มน้ำ แบบ AC การใช้งานง่าย เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับตัวปั้มไปจุ่มน้ำและทำการต่อท่อ ก็จะสามารถใช้งานได้เลย ปั้มไดโวเป็นปั๊มที่มีการใช้ง่าย นิยมใช้ส่งน้ำในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง เพราะแนวดิ่งจะสูบน้ำขึ้นได้ไม่เกิน 5 เมตร ในแนวราบส่งได้ถึง 100 เมตรก็มี (ขึ้นอยู่กับรุ่น)

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
  • สูบน้ำได้ปริมาณเยอะ ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ง่าย

ข้อเสีย

สามารถสูบน้ำได้ในความลึกที่ไม่มากนัก (ไม่เกิน 10 เมตร)

รูปแบบที่ 4: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ปั๊มชัก พร้อมมอเตอร์ DC

เป็นปั๊มน้ำที่ตัวปั๊มจะประกอบรวมเข้ากับมอเตอร์ DC และส่งกำลังด้วยสายพาน เวลาต่อใช้งานจะต่อท่อดูดลงน้ำ

และต่อท่อส่งไปยังที่ๆ ใช้งาน ความแรงจะขึ้นกับรอบของมอเตอร์และสายพาน สามารถประกอบตัวเครื่องเองได้ และมีราคาถูกอีกด้วย

ข้อดี

  • ดูดได้ลึกประมาณ 10 เมตร ส่งได้สูงกว่า 10 เมตร
  • ตัวปั้มหาซื้อง่าย ราคาถูก หาซื้ออะไหล่ได้ง่าย ตัวมอเตอร์ DC ราคาจะค่อนข้างสูง
  • ใช้รอบต่ำ 400 rpm สูบน้ำได้ปริมาณคุ้มกับพลังงานที่เสียไป

ข้อเสีย

มักมีปัญหาเรื่องความร้อนในเครื่องที่มีขนาดเล็ก ชิ้นส่วนสึกหรอง่าย มีน้ำหนักเยอะเคลื่อนย้ายยาก ต้องซ่อมบำรุงบ่อยๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ทั้ง 4 ชนิด นี้ เมื่อรู้ข้อดี-ข้อเสียของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิดนี้แล้ว ก็สามารถตัดสินใจเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ตามความเหมะสมได้เลยค่ะ หากเกษตรกรท่านใด หรือใครที่กำลังสนใจระบบโซล่าเซลล์ สามารถติดต่อเราได้ที่ Thai-A เราผลิตและจำหน่ายสินค้าโซล่าเซลล์ครบวงจร อาทิ แผงโซล่าเซลล์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เตรียมรถตัดอ้อยและแปลงอ้อยอย่างไร ให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว ชาวเกษตรกรจะต้องทำการเตรียมแปลงอ้อยที่ เพื่อรองรับการทำงานของรถตัดอ้อย

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว

รถตัดอ้อย max
รถตัดอ้อย max

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว เดือนธันวาคม นับว่าเป็นเดือนสำคัญของชาวเกษตรกรไร่อ้อยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวอ้อยหรือที่เขามักจะเรียกกันว่า ฤดูกาลหีบอ้อย นั่นเองค่ะ ซึ่งในวันนี้แอดมินจะพาผู้อ่านทุกท่าน มาศึกษาถึงวิธีการเตรียมรถตัดอ้อยและแปลงอ้อยอย่างไร ให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยวของชาวเกษตรกรไร่อ้อยกันค่ะ ว่าจะมีการเตรียมรถตัดอ้อยและไร่อ้อยอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ


ความบทที่เกี่ยวข้อง

รถตัดอ้อย เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเกษตรที่มีความสำคัญต่อการทำไร่อ้อยอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวของรถตัดอ้อยที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ สามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ได้ ทั้งยังสามารถทุ่นแรงงานคนได้อีกด้วยค่ะ

ดังนั้น เพื่อให้รถตัดอ้อยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวเกษตรกรจะต้องทำการเตรียมแปลงอ้อยที่จะเก็บเกี่ยวให้ได้มารตฐาน เพื่อรองรับการทำงานของรถตัดอ้อยดังนี้ค่ะ

  • เตรียมแปลงด้วยการปรับพื้นให้มีความสม่ำเสมอ
  • เตรียมแปลงสำหรับกลับรถตัดอ้อย เพื่อไม่ให้รถตัดอ้อยเหยียบตออ้อยหัวแปลงท้ายแปลง
  • ให้ตัดร่องอ้อยมีระยะห่างอยู่ที่ 1.5 เมตร ตามมาตรฐานของรถตัดอ้อย
  • กำจัดต้นไม้ ตอไม้ ก้อนหิน และสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากแปลงอ้อย เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยได้ค่ะ ลดปัญหารถตัดอ้อยเสียหาย
  • ควรปลูกอ้อยให้มีความลึกอยู่ที่ 20-25 เซนติเมตร ตามชนิดดินเหนียวหรือดินทรายค่ะ
  • ทำการ ยกร่อง หรือ พูนโคน เพื่อให้ต้นอ้อยอยู่บนสันร่องสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยให้ชุดจานตัดโคนของรถตัดอ้อยนั้นตัดได้ชิดดิน สามารถทำให้รถตัดอ้อยเก็บเกี่ยวเอาส่วนโคนที่หวานที่สุดของต้นอ้อยได้ โดยไม่ทำให้อ้อยแตกและเสียหายได้ค่ะ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย และมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

ในปัจจุบัน ระบบนิวเมติกส์ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย และมักจะพบกันอยู่เป็นประจำว่า มีการใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย

การบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์

ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น เราสามารถดำเนินการได้เบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายมักหรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์เหล่านั้นจะจัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย

ในบทนี้จะกล่าวถึงภาพรวมในการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมของระบบนิวเมติกส์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น ปั้มลม (Air Compressor) ชุดปรับคุณภาพลม (Air Service Unit) ระบบท่อทาง (Pipe Lines) อุปกรณ์ทำงาน เช่น กระบอกลม (Air cylinder) วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valves) และอื่น ๆ เป็นต้น

ข้อควรจำเพื่อความปลอดภัย (Always Remember Safety First)

ระบบลมอัดเป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
  2. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
  3. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
  4. ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
  5. อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
  6. อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป

ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • 1.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
  • 2.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
  • 3.การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

ปั๊มไฮดรอลิค คือ

ปั๊มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์สร้างอัตราการไหลและเมื่อของไหลถูกกีดขวางจะทำให้เกิดความดัน โดยหลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิคจะเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของไหล

ปั้มไฮดรอลิค

หลักการเลือกปั๊มไฮดรอลิค

ปั๊มไฮดรอลิคแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. เกียร์ปั๊ม (Gear Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะกับงาน mobile งานการเกษตร ทนความสกปรกได้ดี ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับไม่สูงมาก

2. ปั๊มไฮดรอลิคแบบใบพัด (Vane Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง


3. ปั๊มไฮดรอลิคแบบลูกสูบ (Piston Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันสูง


ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิค

  1. ความสามารถในการสร้างอัตราการไหล สูงถึง 500cc/rev. สูงสุด 1000 cc/rev.
  2. ความสามารถในการสร้างความดัน สูงถึงสูงมาก
  3. อัตราการไหลแบบคงที่หรือปริมาตรความจุปรับได้
  4. นำไปใช้งานในระบบเปิด (opened-loop) หรือระบบปิด (closed-loop)
  5. ระดับเสียงในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง
  6. 6. ความเหมาะสมระหว่างตัวปั๊มไฮดรอลิคและน้ำมันที่ใช้


บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์ ( Air cylinder ) มีความหลากหลาย ทางด้านรูปแบบซึ่งอยู่ที่ลักษณะการเลือกใช้งาน แต่เราจะจำแนกตามประเภทตามคุณลักษณะ โดยมีการแยกตามรูปแบบ ดังภาพด้านล่าง

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ



แบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้

  1. กระบอกลมแบบสปริงหน้า (Front spring cylinder)
  2. กระบอกลมแบบสปริงหลัง (Rear spring cylinder)
  3. กระบอกลม 2 ทาง แบบมีคุชชั่น (Double acting cylinder with cushion)
  4. กระบอกลม 2 ทาง แบบไม่มีคุชชั่น (Double acting cylinder)
  5. กระบอกลม แบบแกน 2 ข้าง (Double acting twin rod cylinder)
  6. กระบอกลมแบบแนวราบ (Rodless cylinder)
  7. กระบอกลมแบบหมุนองศา (Rotary actuator)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีคุณลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับแบบเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานต่อ ลักษณะของกระบอกลมนิวเมติกส์มีการจำแนก  ตามมาตรฐานที่ใช้กันอยู่  ตัวอย่างเช่น

1. Micro cylinder

2. Air cylinder

3. Compact cylinder

4.Rodless cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

5. Mantipul

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

ในกลุ่มกระบอกขั้นต้นจะใช้ตามความเหมาะสมของงานและความปลอดภัยสูงสุด

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
บำรุงรักษารถตัดอ้อยอย่างไรให้พร้อมต่อการทำงาน มีจุดไหนบ้าง ไปดูกัน

บำรุงรักษารถตัดอ้อยอย่างไรให้พร้อมต่อการทำงาน

บำรุงรักษารถตัดอ้อยอย่างไรให้พร้อมต่อการทำงาน

ในวันนี้ แอดมินจะพาผู้อ่านทุกท่านมาดูถึง จุดทที่ควรบำรุงรักษาสำหรับรถตัดอ้อย พร้อมข้อมูลในการตรวจเช็กแต่ละส่วนสำหรับรถตัดอ้อยกันค่ะ เพื่อให้เครื่องจักรกลเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจจะต้องมีการทำงานหนักแบบลากยาว ถ้าหากเกษตรกรผู้ใช้งานรู้วิธีการดูแลและบำรุงรักษารถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้รถตัดอ้อยนั้นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและอยู่กับเรายาวนานมากยิ่งขึ้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

รถตัดอ้อย ถ้าต้องการให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ต้องซ่อมแซมกันบ่อย ๆ  และพร้อมเสมอสำหรับการใช้งาน จะต้องให้ความสำคัญทั้งการดูแลรักษาแบบประจำวัน และตามระยะเวลา ดังนี้

การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของแบตเตอรี่   

ควรตรวจน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกวัน โดยให้จอดรถตัดอ้อยบนพื้นราบขณะตรวจ ถ้าระดับน้ำกลั่นต่ำ ให้ถอดฝาปิดออกแล้วเติมน้ำกลั่นลงไปจนได้ระดับตามที่ตัวเครื่องกำหนดมาค่ะ

การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของระดับน้ำมันเชื้อเพลิง      

ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็มถังภายในตอนเย็นหลังจากใช้รถตัดอ้อยเสร็จ เพื่อให้รถตัดอ้อยพร้อมที่จะทำงานได้ในวันรุ่งขึ้นทันทีนั่นเองค่ะ แต่คุณผู้อ่านอาจจะต้องระวังไม่ให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีสิ่งสกปรกและน้ำเจือปนด้วยนะคะ

การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของระบบระบายความร้อน   

น้ำในหม้อน้ำควรจะเต็มตลอดเวลา อย่าให้เศษหญ้า หรือใบไม้ติดอยู่หน้าช่องรังผึ้งหม้อน้ำ ควรตรวจความตึงของสายพานให้ถูกต้อง



การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้าย   

ให้ตรวจสอบระดับน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟืองท้ายในห้องเกียร์ และห้องเฟืองท้ายให้อยู่ขีดสูงของไม้วัดระดับอยู่เสมอ


การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของหม้อกรองอากาศ     

ควรทำความสะอาดโดยใช้ลมเป่าให้สะอาดทุกวัน ถ้าหม้อกรองอากาศเป็นชนิดแช่น้ำมัน ซึ่งระดับน้ำมันควรจะอยู่ในระดับที่ถูกต้องเสมอ หม้อกรองชนิดนี้จะกรองฝุ่นละอองออกจากอากาศ โดยอากาศจะถูกดูดผ่านน้ำมัน ซึ่งน้ำมันจะจับฝุ่นละอองออกจากอากาศอีกทีหนึ่ง ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนน้ำมันใหม่ทันที ให้เลือกใช้น้ำมันเครื่อง ถ้าดูแล้วน้ำมันเปลี่ยนสีเพราะฝุ่นละอองมาก คุณผู้อ่านอาจจะทำการเปลี่ยนน้ำมันมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน เป็นต้นค่ะ

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่


การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของน้ำมันเครื่อง  

ในการตรวจสอบน้ำมันเครื่องที่ทำทุกวัน คุณจะต้องดู 2 อย่าง คือ ดูว่าระดับน้ำมันเครื่องถูกต้องหรือไม่จากไม้วัดระดับน้ำมัน และดูสภาพของน้ำมันเครื่อง ถ้าน้ำมันเครื่องดำมากก็ควรจะเปลี่ยนใหม่ ควรถ่ายน้ำมันเครื่องออกขณะที่เครื่องยังร้อน และรถแทรคเตอร์จอดอยู่บนพื้นที่ราบ


การบำรุงรักษารถตัดอ้อยในส่วนของน็อตและสลัก


ในขณะปฏิบัติงานรถแทรคเตอร์จะมีการสั่นสะเทือนค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้น็อตและสลักหลวม ทำให้จะต้องตรวจสอบทุกวันและขันให้แน่นเสมอ


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
แล้งนี้ไม่มีกลัว เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน

แล้งนี้ไม่มีกลัว เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน

แล้งนี้ไม่มีกลัว เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน

แล้งนี้ไม่มีกลัว เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน

แล้งนี้ไม่มีกลัว เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะกับการใช้งาน โดยทั่วไปเราทุกคนต่างก็ใช้พลังงานกันอยู่ทุกวัน พลังงานถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อประเทศในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ การผลิตวัตถุดิบ การส่งสินค้าและบริการ ทำให้มีการใช้พลังงานที่มากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงพลังงานนั้นขาดแคลน จึงทำให้มีราคาที่สูงขึ้นทำให้เรื่องของการใช้พลังงานกลายเป็นปัญหาใหญ่และนับวันจะส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

ในภาคการเกษตรการใช้พลังงานนั้นเป็นสิ่งจำเป็น น้ำ ไฟ น้ำมัน ต่างก็เป็นแหล่งพลังงานที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันเหล่าเกษตรกรจึงหันมาใช้ระบบโซล่าเซลล์กันมากขึ้น เพื่อนำพลังงงานจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ สามารถใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือระบบไฟฟ้าของภาครัฐ ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ปัจจัยการเลือกแผงโซล่าเซลล์จะขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊ม ขนาดความลึกของแหล่งที่จะสูบน้ำและความต้องการในการใช้น้ำซึ่งตัวปั๊มน้ำโซล่าเซลล์จะมี 2 ชนิดคือปั๊มน้ำแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงและปั๊มน้ำแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ

ปั๊มน้ำแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง

คือปั๊มน้ำที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในการขับเคลื่อนมอเตอร์ ถือเป็นประเภทปั๊มที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้กัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ประเภทนี้จะยิ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีแผงโซล่าเซลล์กำลังได้รับความนิยม ส่วนประชาชน หรือภาคส่วนต่างๆ ของประเทศได้หันมาใช้แผงโซล่าเซลล์ในการผลิตไฟฟ้าใช้เองกันมากขึ้น ลงทุนเพียงครั้งเดียว ก็สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างยาวนาน

ปั๊มน้ำแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ

คือปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้ในงานในทุกประเภทตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดเล็ก ไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีราคาถูกกว่าเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงและยังสามารถต่อกับกระแสสลับได้โดยง่าย ซึ่งปั๊มน้ำแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจะต้องมีอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ เรียกอุปกรณ์นี้ว่าโซล่าอินเวอร์เตอร์เพื่อที่จะแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งควรเลือกใช้โซล่าอินเวอร์เตอร์ที่มีประสิทธิภาพที่ดีจะมีผลทำให้มอเตอร์ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ



บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือกปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน ?

1. ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สำหรับใช้กับน้ำบาดาล

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับการสูบน้ำในบ่อบาดาลจะต้องเป็นปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบแรงดันสูงแบบปั๊มซัมเมอร์ส เป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้จุ่มใต้น้ำในบ่อ หรือใต้ผิวดิน เหมาะสำหรับสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อที่ขุดลึกลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะของบ่อจะเป็นไปตามขนาดของปั๊ม ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรืออาจจะแล้วแต่การออกแบบ

2. ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ (ปั๊มหอยโข่ง)

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบหอยโข่ง เป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้ระดับผิวดิน ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ประเภทนี้นิยมใช้กันมาก เพราะเหมาะต่อการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไปจนถึง ระบบอาคาร ปั๊มดับเพลิง ระบบน้ำร้อน ปั๊มน้ำหอยโข่ง เหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง อ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เยอะมากนัก คือลึกไม่เกิน 10 เมตร และปั๊มประเภทนี้สามารถสูบน้ำได้ปริมาณมาก

สำหรับชาวเกษตรกรท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับปั๊มโซล่าเซลล์ แบบปั๊มซัมเมอร์ส และแบบปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ บริษัท Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร แบบปั๊มซัมเมอร์ส  ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ รวมไปถึงระบบ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจร สินค้าคุณภาพดีพร้อมให้บริการ และติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกๆท่านในเรื่องโซล่าเซลล์

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More
สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

วาล์วในระบบนิวเมติกส์ ที่ควรรู้

สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้ ปัจจุบันนิวเมติกส์ถูกใช้อย่างกว้างขวาง อาทิ เครื่องจักรบรรจุหีบห่อ เครื่องจักรผลิตสินค้าและอาหาร เครื่องจักรขนย้ายวัสดุ และอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องจากเป็นระบบที่ประหยัดพลังงาน โครงสร้างใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังมีความปลอดภัยเพราะการทำงานของระบบนิวเมติกส์นั้นมีอุณหภูมิต่ำ บำรุงรักษาง่าย ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบหลักของระบบนิวเมติกส์ ที่ความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ก็คือ วาล์วนิวเมติกส์ ดังนั้นมาดูกันค่ะว่าวาล์วนิวเมติกส์มีกี่ชนิด และสัญลักษณ์ของวาล์วนิวเมติกส์ ที่ควรรู้กันค่ะ

สัญลักษณ์วาล์วของระบบนิวเมติกส์

วาล์นิวเมติกส์

  
สัญลักษณ์ของวาล์วนิวเมติกส์ทั่วไปที่ใช้จากข้อมูลเบื้องต้น  มีการเรียกชื่อที่ต่างกันออกไปตามลักษณะของวาล์ว และฟังก์ชันที่มากระทำวาล์วนิวเมติกส์  เช่น 

1.วาล์วนิวเมติกส์ 2/2 มี 2 แบบ 2/2 แบบ NO และ 2/2 แบบ NC  

ตัวอย่าง :   วาล์วนิวเมติก 2/2 ที่มีฟังก์ชันกระทำเป็นไฟฟ้า

วาล์วนิวเมติกส์


2. วาล์วนิวเมติกส์ 3/2 มี 2 แบบ  คือ แบบ 3/2 แบบ NO และ 3/2 แบบ NC 

วาล์วนิวเมติกส์
วาล์วนิวเมติกส์


3. วาล์วนิวเมติกส์ 5/2 มีทั้ง แบบคอยล์แบบข้างเดียว และ คอยล์แบบ 2 ข้าง

เป็นวาล์วนิวเมติกส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด  ในการออกแบบวงจร และมีความหลากหลายมาก

วาล์นิวเมติกส์
วาล์วนิวเมติกส์


4. วาล์ว 5/3 มีฟังก์ชันอยู่ 3 แบบ แบบ closed center, แบบ open center และแบบ pressure center

การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน

วาล์นิวเมติกส์



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติก และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
กระบอกสูบไฮดรอลิคมีกี่แบบ

กระบอกไฮดรอลิคมีกี่แบบ

รับผลิตกระบอกไฮดรอลิค


กระบอกไฮดรอลิค มีกี่แบบ

กระบอกไฮดรอลิค อยู่ในการทำงานของระบบไฮดรอลิค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือกระบอกสูบไฮดรอลิค ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรม โดยการทำงานของกระบอกสูบไฮดรอลิคจะอาศัยหลักการเปลี่ยนพลังงานแรงดันของน้ำมันไฮดรอลิค จะส่งถ่ายพลังงานในแนวเชิงเส้น และสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.กระบอกไฮดรอลิค ทำงานด้านเดียว Single Acting Cylinder

เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่ออกแรงดันด้านเดียวไม่มี Port น้ำมันเพื่อดันแกนกระบอกกลับ

และมักออกแบบให้ใช้งานแนวดิ่งส่วนมากใช้ถอยแกนกระบอกกลับ 2 แบบคือ Load Return หรือ Spring return
และมักออกแบบให้ใช้งานแนวดิ่งส่วนมากใช้ถอยแกนกระบอกกลับ 2 แบบคือ Load Return หรือ Spring return

กระบอกไฮดรอลิค

2.กระบอกไฮดรอลิค ทำงานสองทาง Double Acting Cylinder

เป็นกระบอกไฮดรอลิคที่นิยมใช้มากที่สุด ทำงานได้หลายรูปแบบ ออกแบบได้ทั้งแรงดัน แรงดึง

มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 รูปแบบโครงสร้างคือ

  • 2.1 กระบอกสูบไฮดรอลิค Round type
กระบอกไฮดรอลิค
  • 2.2 กระบอกสูบไฮดรอลิค Square type
กระบอกไฮดรอลิค


3. กระบอกไฮดรอลิค หลายช่วงชัก Telescopic Cylinder

เป็นกระบอกสูบไฮดรอลิคที่สามารถยืดออกได้มากกว่าขนาดของเสื้อกระบอกหลายเท่า นิยมใช้ในงานที่มีระยะติดตั้งไม่มาก แต่ต้องการ Stroke การใช้งานที่ยาว

กระบอกไฮดรอลิค


บทความที่เกี่ยวข้อง


ปัญหากระบอกไฮดรอลิค ที่มักจะพบ

1. ซีลคอกระบอกไฮดรอลิครั่วซึม

ปัญหา

  • Alignment การติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข
  • แกนกระบอกสูบไฮดรอลิคเป็นรอยจากฝุ่น

การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกไฮดรอลิคใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอกสูบไฮดรอลิค

2. กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

ปัญหา

  • ซีลลูกสูบภายในกระบอกไฮดรอลิคเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกสูบไฮดรอลิคใหม่

  • Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมกระบอกไฮดรอลิคดังกล่าวสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

3. กระบอกไฮดรอลิคมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

ปัญหา

  • เลือกขนาดของกระบอกไฮดรอลิคเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

การแก้ไข ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

  • ความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

การแก้ไข ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve


การดูแลกระบอกไฮดรอลิค

การดูแลรักษากระบอกไฮดรอลิค (hydraulic cylinder) เป็นส่วนสำคัญของการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิคในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานไฮดรอลิค

กระบอกไฮดรอลิก


วิธีการดูแลกระบอกสูบไฮดรอลิค

  1. ตรวจสอบการรั่วไหล : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีการรั่วไหลที่พื้นผิวกระบอกหรือที่ต่อท่อไฮดรอลิค
  2. ตรวจสอบสภาพภายนอก : ตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค
  3. ทำความสะอาด : ทำความสะอาดพื้นผิวกระบอกไฮดรอลิคและส่วนรอบๆ การทำความสะอาดจะช่วยลดการสะสมของสิ่งสกปรกและฝุ่น
  4. ตรวจสอบและเปลี่ยนซีล : ตรวจสอบซีลของกระบอกสูบไฮดรอลิคว่ามีสภาพดีหรือไม่ หากมีการรั่วไหลหรือซีลเสีย ควรทำการเปลี่ยนซีลทันที
  5. ตรวจสอบการทำงานของวาล์ว : ตรวจสอบว่าวาล์วในระบบไฮดรอลิคทำงานถูกต้องหรือไม่ การทำงานของวาล์วที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้กระบอกไฮดรอลิคทำงานผิดปกติ
  6. ตรวจสอบการยึดเกาะ : ตรวจสอบการยึดเกาะหรือการติดตั้งกระบอกไฮดรอลิคร่วมกับเครื่องหรือโครงสร้างอื่น ๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  7. ตรวจสอบความตึง : ตรวจสอบว่ากกระบอกไฮดรอลิคมีการตึงหรือไม่ การตรวจสอบความตึงนี้จะช่วยลดการสึกหรอ และป้องกันการทำงานของกระบอกที่ไม่เสถียร

การดูแลรักษากระบอกไฮดรอลิคนี้เป็นการป้องกันและรักษาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิค การดูแลรักษาเป็นประจำจะช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน



บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด รับผลิตกระบอกไฮดรอลิคทุกขนาดตามมาตรฐานสากล

กระบอกไฮดรอลิค


กระบอกไฮดรอลิก



ผลิตกระบอกไฮดรอลิคกับ Thai-A ดีอย่างไร ?

  • เราเลือกใช้ชุดประกอบคุณภาพดีเยี่ยมนำเข้าจากต่างประเทศ
  • พร้อมให้คำปรึกษาด้านกระบอกสูบไฮดรอลิคโดยวิศวกรประสบการณ์กว่า 50 ปี
  • ออกแบบและผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิกโดยช่างผู้ชำนาญการ
  • บริการหลังการขาย และการอบรมผลิตภัณฑ์ การให้คำปรึกษาและแนะนำด้วยทีมงานคุณภาพ
  • มีระบบตรวจสอบคุณภาพ และประสิทธิภาพสินค้าทุกชิ้นก่อนส่ง
  • บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐาน IEC

ใช้กระบอกไฮดรอลิคอย่างไรให้ปลอดภัย

เลือกกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะกับงาน

  • สิ่งแรกที่คุณต้องรู้คือน้ำหนักที่กระบอกไฮดรอลิคสามารถยกได้ คุณสามารถหาจำนวนปอนด์ที่ต้องยกได้โดยการคูณพื้นที่ประสิทธิผลของแรม (EAR) ด้วยแรงดันของเหลว (FP) EAR (เป็นตารางนิ้ว) x FP (psi) = แรง (ปอนด์)
  • ต่อไป ให้หาน้ำหนักของสิ่งที่คุณตั้งใจจะยกและเลือกแรมที่มีความจุมากกว่าอย่างน้อย 20% ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการยกวัตถุ 8 ตัน คุณต้องใช้กระบอกสูบ 10 ตัน

ความมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญ

  • กระบอกไฮดรอลิคทุกอันต้องมีฐานรองที่มั่นคง ไม่ว่าจะใช้ทีละตัวหรือทั้งระบบ แรมแต่ละตัวควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่บนฐานที่แข็งแรง มั่นคง และไม่เคลื่อนที่
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวโหลดอยู่กึ่งกลางที่จุดยกของแรม
  • เมื่อใช้แรมหลายตัว ให้กระจายตัวโหลดอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในการทำเช่นนี้ คุณจะต้องสามารถระบุตำแหน่งและจำนวนจุดยกที่จะยอมให้โหลดกระจายไปยังแรมทั้งหมดเท่า ๆ กัน

รู้วิธีจัดเก็บกระบอกไฮดรอลิคอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายและการบาดเจ็บ

  • เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีปริมาณน้ำมันไฮดรอลิคที่เหมาะสมสำหรับแรม หากไม่มีของเหลวเพียงพอ ความดันสามารถสร้างขึ้นและเส้นสามารถระเบิดได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง

ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระบอกไฮดรอลิคและปั๊มมีความพอดี

  • เลือกปั๊มแรงดันสูงที่เหมาะสำหรับกระบอกสูบไฮดรอลิคที่คุณใช้เพื่อให้แน่ใจว่ามีความจุน้ำมัน การไหล และกำลังที่เหมาะสม


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค มาตรฐาน มอก. สำหรับงานการเกษตรต่างๆ หรืองานอุตสาหกรรมในโรงงาน วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


กระบอกไฮดรอลิค มาตรฐาน มอก.

กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกสูบไฮดรอลิค
Read More
Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถตัดอ้อย จำหน่ายอะไหล่รถตัดอ้อย พร้อมส่งและปรึกษาฟรี

Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถตัดอ้อย

Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถตัดอ้อย

เครื่องรถตัดอ้อย
เครื่องรถตัดอ้อย

Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถตัดอ้อย และผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถตัดอ้อย ทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อะไหล่รถขยะ อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถคีบไม้ เป็นต้น

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้ขยายสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรกลการเกษตร เช่น อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถขยะ อะไหล่รถคีบไม้ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพและลดต้นทุน

รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งใช้ในช่วงฤดูกาล เก็บเกี่ยวอ้อย เข้าสู่โรงงานน้ำตาล ซึ่งรถตัดอ้อยคุณภาพดีของเรามาพร้อมชุดอุปกรณ์รวมสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อยให้กับชาวไร่และผู้รับเหมางาน รถตัดอ้อย จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ และมีความสามารถตัดอ้อยได้อย่างน้อยวันละ 10-20 ไร่ รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคน 5-10 เท่า ช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยและผลิตน้ำตาลได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ใบอ้อยที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันไฟ ที่สามารถทำลายสุขภาพของมนุษย์และทำลายคุณภาพอากาศอีกด้วย

เนื่องด้วยข้อดีที่หลากหลายของรถตัดอ้อย จึงทำให้รถตัดอ้อยนั้นเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่น่าลงทุนอยู่ไม่น้อย ซึ่งหากใช้งานไปนาน ๆ ตัวรถตัดอ้อยอาจเกิดอาการเสียหายหรือชำรุดที่มาจากตัวอะไหล่รถตัดอ้อยได้ ซึ่งส่วนใหญ่อาจเกิดจากการสึกหรอภายในของปั๊มเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน

อะไหล่รถตัดอ้อยที่ Thai-A เราจำหน่ายจะมีด้วยกันดังนี้ค่ะ

อะไหล่รถตัดอ้อย TANDEM PUMP 75 CC

อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊มเบอร์ 22
อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊มเบอร์ 22
  • ปั๊มคู่ / ปั๊ม 46 หรือปั๊มเบอร์ 22 หมุนซ้าย ( ใช้กับรถเกี่ยวข้าว,รถตัดอ้อย )
  • Description : TANDEM HYDRAUSTRATIC TRANSMISSON PUMP 75 CC
  • สเปคทั่วไป : 75 CC/ 21 ฟัน
  • (อาการเสียโดยทั่วไป สึกหรอภายในเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน)

อะไหล่รถตัดอ้อย HEAVY DUTY HYDROSTATIC FIXED DISPLACEMENT MOTOR

อะไหล่รถตัดอ้อย มอเตอร์ 46
อะไหล่รถตัดอ้อย มอเตอร์ 46
  • มอเตอร์ขับล้อ สำหรับมอเตอร์ 46 หรือมอเตอร์เบอร์ 22 ( ใช้กับรถเกี่ยวข้าว , รถตัดอ้อย )
  • Description : HEAVY DUTY HYDROSTATIC FIXED DISPLACEMENT MOTOR
  • สเปคทั่วไป : 75 CC/ 21 ฟัน
  • (อาการเสียโดยทั่วไป สึกหรอภายในเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน)

อะไหล่รถตัดอ้อย HYDRAUSTRATIC TRANSMISSON PUMP

อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊ม 89
อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊ม 89
  • Description :HYDRAUSTRATIC TRANSMISSON PUMP
  • สเปคทั่วไป : 89.1 CC
  • (อาการเสียโดยทั่วไป สึกหรอภายในเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน)

อะไหล่รถตัดอ้อย TANDEM PUMP WITH 49CC DISPLACEMENT

อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊มดินล้อ
อะไหล่รถตัดอ้อย ปั๊มดินล้อ
  • ปั้มเดินล้อ (ใช้กับรถเกี่ยวข้าว,รถตัดอ้อย )
  • Description : TANDEM PUMP WITH 49CC DISPLACEMENT
  • สเปคทั่วไป : 49 CC/r
  • (อาการเสียโดยทั่วไป สึกหรอภายในเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน)

อะไหล่รถตัดอ้อย MOTOR 40.6 CC/R

อะไหล่รถตัดอ้อย มอเตอร์ส่งข้าว
อะไหล่รถตัดอ้อย มอเตอร์ส่งข้าว
  • มอเตอร์ปั่นท่อส่งข้าว ( ใช้กับรถเกี่ยวข้าว , รถตัดอ้อย )
  • Description : MOTOR 40.6 CC/R
  • สเปคทั่วไป : 40.6 CC/R
  • (อาการเสียโดยทั่วไป สึกหรอภายในเนื่องจากอายุการใช้งานและชิ้นส่วนภายในแตกหักเสียหายกระทันหัน)

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้ขยายสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักกลการเกษตร อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถขยะ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพ การลดต้นทุน สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับอะไหล่ สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More