อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ในระบบนิวเมติกส์จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชนิดที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในงานนิวเมติกส์
1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)
อุปกรณ์ต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการสร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
- เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
- เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
- ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
- ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้
2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed Air Treatment Component)
ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- กรองลม (Air filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างเช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือสารต่าง ๆ ที่ล่องลอยในบริเวณเครื่องอัดอากาศ
- วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator) ทำหน้าที่ปรับ หรือควบคุมความดันจ่ายที่ออกมาให้มีค่าคงที่
- อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันหล่อลื่นให้กับลมอัด เพื่อหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน และป้องกันอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่สัมผัสกันโดยตรง
3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component)
หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่ม และหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมการทำงานของกระบอกลม หัวขับลม มอเตอร์ลมให้หมุนซ้ายหรือขวา ควบคุมการเปิดหรือปิดลม โดยสามารถเลือกการคอนโทรล ได้ทั้งแบบ Manual หรือระบบไฟฟ้า (Electric)
4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)
ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล อย่างเช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (single-acting cylinders), กระบอกสูบสองทิศทาง (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน
5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system)
เป็นท่อทางไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก ซึ่งการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อการใช้งานต่าง ๆ โดยการเลือกการใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน ของเหลวในการลำเลียง ลม น้ำ หรือของเหลวอื่น สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งเลยคือ ความสามารถของวาล์ว โดยมีแรงดันให้เลือกตั้งแต่ 0-5 Bar, 0.1-20 Bar, 0.1-40 Bar, 0.1-50 Bar, 0.1-70 Bar เป็นต้น วาล์วไฟฟ้าสามารถเลือกได้ทั้งแบบคอยล์ทั่วไป หรือแบบคอยล์กันระเบิด (explosion proof)
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand