โซล่ารูฟท็อปมีระบบอะไรบ้างและแต่ละระบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร?
ในปัจจุบันนี้โซล่ารูฟท็อปถือเป็นพลังงานสะอาดที่น่าสนใจมากๆ เลยทีเดียวเพราะนอกจากจะช่วยสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองโดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากโซล่ารูฟท็อป ซึ่งโซล่ารูฟท็อปเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงและไม่มีการปล่อยมลพิษใดๆ สู่สิ่งแวดล้อม หากใครที่กำลังสนใจอยากติดตั้งโซล่ารูฟท็อปแต่ยังไม่มีข้อมูลอะไร วันนี้ทางเราก็มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับระบบของโซล่ารูฟท็อปทั้ง 3 ระบบ ไม่ว่าจะเป็น on grid, off grid และ hybrid มาบอกเล่าพร้อมกับบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบอีกด้วย มาเริ่มที่ระบบแรกกันเลย
1. On grid system หรือแบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า
เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อป แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งระบบนี้สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับการไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า
1.1 ผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฯ ซึ่งการติดตั้งแบบนี้ต้องมีการติดตั้งมิเตอร์แยกจากมิเตอร์ที่เราใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ ทั้งนี้การรับซื้อไฟต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนจำหน่ายไฟเมื่อไหร่และมีค่าสมทบค่าไฟฟ้าอีกเท่าใด (เรียกว่าค่าแอดเดอร์)
1.2 ผลิตเพื่อใช้เอง การติดตั้งแบบนี้ก็เพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยเมื่อมีการใช้ไฟมากกว่าที่ผลิตเองจากโซล่ารูฟท็อป ตัวอุปกรณ์ Grid Tie Inverter ที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าก็จะทำหน้าที่ดึงกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะทำให้ลดค่าไฟฟ้าลงได้และไม่มีข้อจำกัดเรื่องกำลังไฟไม่พอ เพราะดึงจากการไฟฟ้ามาชดเชย แต่การติดตั้งแบบนี้ต้องได้รับการอนุญาตจากการไฟฟ้าก่อน
ข้อดีของระบบ on grid คือ
1. ประหยัดค่าไฟฟ้า
2. มีไฟใช้ตลอดแม้ในช่วงที่มีเมฆมาก เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าจะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจากโซล่ารูฟท็อปที่หายไปตลอดเวลา
3. ถ้าผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ สามารถขายไฟคืนเข้าระบบได้ (ต้องทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าก่อน)
4. ค่าซ่อมบำรุงต่ำเพราะมีอุปกรณ์ในระบบน้อย
ข้อเสียของระบบ on grid คือ
ถ้าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ระบบไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปก็จะดับด้วย
2. Off grid system หรือแบบอิสระ
เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อป แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึงไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆ เข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง โดยสามารถจำแนกประเภทจากการใช้งานได้ดังนี้
2.1 ต่อใช้งานแบบไม่ใช้แบตเตอรี่ เมื่อได้กระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่ารูฟท็อปแล้วก็ต่อไปยังอุปกรณ์เพื่อใช้งานเลย ดังนั้นก็จะใช้ได้เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น และไม่มีการเก็บประจุไฟฟ้ามาใช้งาน
2.2 ต่อใช้งานแบบใช้แบตเตอรี่ วิธีนี้คือการนำกระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่ารูฟท็อปมาชาร์จเข้าแบตเตอรี่ แล้วจึงนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งาน ซึ่งก็สามารถเลือกว่าจะนำจ่ายไฟ ให้กับอุปกรณ์ ที่ใช้ไฟ AC หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ไฟ DC ทั้งนี้ข้อดีของการที่มีแบตเตอรี่คือสามารถเก็บประจุไฟฟ้าไว้ใช้งานได้กรณีที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือสามารถใช้ไฟฟ้าในเวลากลางคืนได้
ข้อดีของระบบ off grid คือ
1. ประหยัดกว่าหากเทียบกับการที่ต้องขยายเขตการไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ
2. ในกรณีอยู่พื้นที่ห่างไกลไฟฟ้าอาจจะตกหรือดับอยู่บ่อยครั้ง การใช้ระบบ off grid จะช่วยให้ระบบไฟฟ้า ไม่ได้รับความเสียหายจากการที่ไฟฟ้าตก ไฟดับ ที่เกิดขึ้น
ข้อเสียของระบบ off grid คือ
1. อุปกรณ์มีมากกว่าระบบ on grid ทำให้ใช้เงินลงทุนระบบแพงกว่า
2. หากไม่มีแดดหรือฝนตกติดต่อกันหลายวัน พลังงานที่สะสมไว้อาจจะหมด
3. hybrid system หรือแบบผสม
เป็นระบบที่นำเอา ระบบ on grid และ off grid มารวมกันคือจะมีระบบแบตเตอรี่มาสำรองพลังงานใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และสำหรับกรณีที่เมื่อมีแสงอาทิตย์แล้วผลิตกระแสไฟฟ้าได้หากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากกว่าที่นำมาใช้งาน ระบบก็นำกระแสไฟฟ้านั้นชาร์จเข้าแบตเตอรี่เพื่อนำมาใช้งานได้ต่อไป พอถึงเวลากลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่ารูฟท็อปไม่ได้ ระบบก็จะไปนำเอากระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อนหากยังไม่เพียงพอ ระบบก็จะไปดึงไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายมาชดเชยอีกทีหนึ่ง
ข้อดีของระบบ hybrid คือ
1. ระบบไฟฟ้ามีความเสถียรมาก เนื่องจากเหมือนมีแหล่งจ่ายไฟ 3 แหล่ง (โซล่ารูฟท็อป + แบตเตอรี่ + ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า)
2. สามารถบริหารแหล่งจ่ายไฟ เพื่อให้ระบบใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุด
3. แม้ไฟดับแต่ก็ยังมีไฟฟ้าใช้ เพราะเป็นระบบไฟฟ้าสำรอง
ข้อดีของระบบ hybrid คือ
1. ระบบมีความซับซ้อนใช้เงินลงทุนและค่าซ่อมบำรุงที่สูง
2. Inverter ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการไฟฟ้ายังมีน้อยและราคาค่อนข้างสูง
เป็นยังไงบ้างเอ่ยกับความรู้ดีๆ เกี่ยวกับระบบของโซล่ารูฟท็อปทั้ง 3 ระบบ ที่นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าหลังจากที่ทุกคนได้อ่านบทความนี้แล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับโซล่ารูฟท็อปเพิ่มมากขึ้น หรือทำให้การตัดสินใจเลือกว่าระบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานที่ตนเองต้องการหรืออยากจะติดตั้งระบบไหนมากกว่ากันระหว่าง on grid, off grid หรือ hybrid แต่ยังไงก่อนติดตั้งก็อย่าลืมศึกษาข้อกำหนดของการติดตั้งเพิ่มเติมด้วยนะคะ
เมื่อเข้าใจในหลักการทำงานของโซล่ารูฟท็อปในลักษณะต่างๆ แล้วนั้น เราก็จะสามารถติดตั้งโซล่ารูฟท็อปได้อย่างสบายใจ โดยถ้ามีความสนใจเกี่ยวกับโซล่ารูฟท็อป Thai-A เป็นผู้นำด้านการบริการ และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- โซล่ารูฟท็อป (SOLAR ROOFTOP) คืออะไร ติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไงให้คุ้มค่า
- การติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาทรงจั่ว
- การนำ Solar Rooftop ไปประยุกต์ใช้
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency