ใช้รถตัดอ้อย ไร้ปัญหาแรงงานคน
ใช้รถตัดอ้อย ไร้ปัญหาแรงงานคน
ทุกวันนี้อาจจะยังมีเจ้าของไร่อ้อยที่ยังคงจ้างแรงงานคนในการตัดอ้อยส่งโรงงานอยู่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่แน่นอนว่าการใช้แรงงานคนนั้นอาจจะต้องใช้แรงงานที่จำนวนมาก ซึ่งการจ้างแรงงานจำนวนมากนั้นยากต่อการควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานนั่นเอง แต่ถ้าหากชาวไร่อ้อยหันมาใช้รถตัดอ้อยแทนการจ้างแรงงานคนนั้น ปัญหานี้จะหมดไป เพราะรถตัดอ้อยนั้นสามารถควบคุมประสิทธิภาพและมาตรฐานของอ้อยได้ง่ายมากกว่า
การเก็บเกี่ยวอ้อยนั้น ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญของชาวไร่อ้อย เพราะเป็นขั้นตอนที่จะต้องอาศัยแรงงานคนเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปค่านิยมในการรับจ้างเป็นแรงงานในไร่อ้อยนั้นเริ่มลดน้อยลง คนเริ่มหันหน้าเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ส่งผลให้แรงงานเกษตรหายาก จนเทคโนโลยีเครื่องมือเกษตรต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมารองรับการทำงานในไร่มากขึ้น รถตัดอ้อยจึงเป็นทางเลือกที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาให้ความสนใจ ด้วยประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวอ้อยได้รวดเร็ว ทันใจ ลดการใช้แรงงานและลดเวลาทำงานในไร่ได้อีกด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม หากรถตัดอ้อยมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดี แต่ไร่อ้อยไม่รองรับการทำงานของรถตัดอ้อยก็หมดความหมาย ดังนั้นเมื่อชาวไร่อ้อยนำรถตัดอ้อยเข้ามาใช้งานในไร่อ้อย ต้องทำการเตรียมแปลงอ้อยให้ได้มาตรฐาน ดังนี้
- เตรียมแปลงด้วยการปรับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ
- กำจัดต้นไม้ ตอไม้ ก้อนหิน และสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในแปลงออกให้หมด
- กำหนดแนวร่องให้ยาวที่สุดเท่าที่ขนาดแปลงจะสามารถทำได้
- มีหัวแปลงสำหรับกลับรถเพื่อไม่ให้เหยียบย่ำตออ้อย
- ควรปลูกอ้อยให้ท่อนพันธุ์อยู่ลึก 20-25 เซนติเมตร ตามชนิดดินเหนียวหรือดินทราย
- ใช้ระยะห่างระหว่างร่อง 1.85 เมตร ตามมาตรฐานของรถตัดอ้อย
- ยกร่อง (Bed) หรือพูนโคน ให้ต้นอ้อยอยู่บนสันร่องสูง 10-15 เซนติเมตร เพื่อให้ชุดจานตัดโคนของรถตัดอ้อยตัดได้ชิดดิน เก็บเกี่ยวเอาส่วนโคนที่หวานที่สุด โดยไม่ทำให้ตออ้อยแตกเสียหาย
เมื่อทำการเตรียมไร่อ้อยเหมาะสมกับการทำงานของรถตัดอ้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ควบคุมการใช้งานของรถตัดอ้อย คือ ใช้ความเร็วระหว่าง 4-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้รอบพัดลมใหญ่ระหว่าง 800-900 รอบต่อนาที จะเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด รถที่เข้ามาบรรทุกอ้อย ต้องวิ่งตามร่องที่กำหนด ให้สอดคล้องกับหลักการควบคุมแนวการวิ่ง 1 ใน 4 เสาหลัก ของการปลูกอ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม และจะดีที่สุดหากมีรถขนถ่ายอ้อยหรือรถบินเพื่อรับอ้อยจากรถตัดอ้อยแล้วนำมาขนถ่ายให้กับรถบรรทุกที่จอดรอรับบนถนนในไร่ เพราะจะไม่ทำให้ดินในแปลงอ้อยแน่นและช่วยให้รถตัดอ้อยทำงานได้รวดเร็วขึ้น
เป็นอย่างไรบ้างคะสาระความรู้ที่แอดมินนำเอามาฝากในวันนี้ น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ หากท่านใดกำลังมองหารถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ เครื่องจักรกลทางการเกษตร Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตรถตัดอ้อย และจำหน่ายรถตัดอ้อยรายใหญ่ในประเทศไทย ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ความไว้วางใจมามากกว่า 50 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รถตัดอ้อยราคาดี ต้องรถตัดอ้อยจาก Thai-A
- 6 สารอันตรายจากการเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถตัดอ้อย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID :@thaiagency
รถตัดอ้อยราคาดี ต้องรถตัดอ้อยจาก Thai-A
รถตัดอ้อยราคาดี ต้องรถตัดอ้อยจาก Thai-A
หากท่านใดกำลังมองหารถตัดอ้อยราคาดีเป็นมิตรกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยแล้วล่ะก็ คุณมาถูกที่แล้วค่ะ เพราะในวันนี้แอดมินได้นำข้อมูลเกี่ยวกับรถตัดอ้อยและราคาของรถตัดอ้อยจาก Thai-A มาฝากแล้ว จะน่าสนใจแค่ไหน ตามแอดมินมาดูกันเลยค่ะ
เครื่องยนต์รถตัดอ้อย MAX MH360
- กำลังแรงม้า : 264 KW (360 HP) 360 แรงม้า
- รอบทำงานสูงสุด : 2200 rpm 2200 รอบต่อนาที
- น้ำมันเชื้อเพลิง : ดีเซล
- ระบบเผาไหม้เชื้อเพลิง : แบบ INLINE PUMP ควบคุมหัวฉีดด้วยเพลาราวลิ้น
- ระบบอัดอากาศ : เทอร์โบชาร์จ
การทำงานของเครื่องยนต์
รถตัดอ้อย MAX MH360 จาก Thai-A จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งมากับเครื่องยนต์ของรถตัดอ้อย ซึ่งจะมีระบบการใช้งานดังต่อไปนี้
- ป้อนและตัดอ้อยเป็นท่อนได้ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
- สายพานฟันเฟืองที่ออกแบบมารองรับการตัดอ้อย ลดการสูญเสียอ้อยร่วง อ้อยหล่นตามพื้นไร่ได้
- ตัวรถตัดอ้อยจะลดการสูญเสียจากการตัดตอสั้นและยาวจากการใช้คนตัด
- ความคล่องตัวของรถตัดอ้อยในการตัดอ้อยที่รวดเร็วเทียบกับการใช้แรงงานคนหลายเท่าตัว
- รถตัดอ้อยสามารถตัดต้นอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแม่นยำ ตอไม่เสียหาย
รถตัดอ้อยจาก Thai-A เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เรามีวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร และการสนับสนุนระบบการผลิตทางการเกษตรอุตสาหกรรม เราคืออันดับหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญและรู้ใจงานตัดอ้อยมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ด้วยความไว้ใจมากกว่า 1,000 คัน ตลอดระยะเวลา 50 ปี ใช้งานมากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 6 สารอันตรายจากการเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถตัดอ้อย
- ทำไมเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยจึงผิดกฎหมาย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID :@thaiagency
6 สารอันตรายจากการเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย
6 สารอันตรายจากการเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย
ปัจจุบันการเผาไร่อ้อยนั้นก่อให้เกิดอันตรายไม่เพียงแต่อันตรายต่อเจ้าของไร่อ้อย แต่ก่อสารอันตรายไปยังสภาพแวดล้องรอบข้าง รัฐบาลจึงเน้นย้ำให้ยกเลิกการเผาอ้อย และแนะนำให้หันมาใช้รถตัดอ้อยตัดอ้อยแทนการเผาจะดีกว่า
การเผาอ้อยนั้นจะได้ผลผลิตคือ อ้อยไฟไหม้ ซึ่งถ้าเจ้าของไร่อ้อยนำอ้อยที่ผ่านการเผาไฟ หรือนำเอาอ้อยไฟไหม้ไปขายนั้น ก็จะทำให้โดนกดราคาหรือราคาไม่ดีเท่าอ้อยที่ผ่านการตัดด้วยรถตัดอ้อยนั่นเอง เห็นไหมคะว่าการไม่ใช้รถตัดอ้อยแล้วเลือกที่เผาอ้อยนั้นจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้วยังได้ราคาไม่ดีอีกต่างหาก ซึ่งการเผาอ้อยหนึ่งครั้งนั้นก่อให้เกิดสารพิษเหล่านี้
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว มีผลกดสมอง มึนงง สับสน อาจหมดสติ และเสียชีวิตได้
- สารฟอร์มาดีไฮด์ ทำให้ระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ แสบตา แน่นหน้าอก หายใจหอบ หากสูดดมไอระเหยเข้มข้นสูงมากตั้งแต่ 100 พีพีเอ็ม อาจทำให้เสียชีวิตได้
- สารคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้
- สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ชีพจรเต้นถี่ แน่นหน้าอก หากได้รับในปริมาณเข้มข้นสูง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
- สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนหรือสารพีเอเอช สารก่อมะเร็งที่หากได้รับพิษนี้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสาเหตุของมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
- ฝุ่นละออง การเผาไหม้ทุกอย่าง เกิดฝุ่นละอองร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งฝุ่นละอองเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ ดวงตา ผิวหนัง เกิดอาการไอ เจ็บคอ หอบหืด แสบจมูก แสบหู แสบตา ผิวหนังอักเสบ
เป็นอย่างไรบ้างเมื่อได้รู้ว่าการเผาอ้อยหนึ่งครั้งนั่นก่อให้เกิดสารอะไรบ้าง เพราะเหตุฉะนี้รัฐบาลจึงออกกฎหมายมาบังคับ หากเกษตรกรท่านใดเผาไร่อ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยนั้นมีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นแอดมิน จึงแนะนำว่าให้ทำการใช้รถตัดอ้อยเสียดีกว่า นอกจากจะลดค่าแรงในการจ้างแรงงานแล้ว ยังสามารถควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของรถตัดอ้อยได้อีกด้วย
หากท่านใดกำลังมองหาโรงงานผลิตรถตัดอ้อย รถตัดอ้อยราคาโรงงาน จำหน่ายรถตัดอ้อย ผลิตรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ เครื่องจักรกลทางการเกษตร Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยรายใหญ่ในประเทศไทย ที่ดำเนินงานโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในด้านรถตัดอ้อย อีกทั้งยังมีประสบการณ์มากกว่า 50 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถตัดอ้อย
- ทำไมเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยจึงผิดกฎหมาย
- ทำไมต้องมีโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID :@thaiagency
ทำไมเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยจึงผิดกฎหมาย
ทำไมเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยจึงผิดกฎหมาย
เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ยังใช้การเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย บางอาจจะยังไม่รู้ว่าการเผาอ้อยก่ออันตรายต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง และยังส่งผลกระทบต่อการเกิดสภาวะโลกร้อน และยังผิดกฎหมายอีกด้วย วันนี้แอดมินจึงนำสาระความรู้เกี่ยวกับการเผาอ้อยมาฝากกันค่ะ
ในปัจจุบันบางพื้นที่ยังใช้การเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อยอยู่ ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อยในบางพื้นที่อาจจะยังไม่รู้ถึงโทษที่มาจากการเผาอ้อย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
อันตรายที่มาจากการเผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย
1.ฝุ่นละออง ในการเผาไหม้ทุกชนิดเกิดฝุ่นละอองทั้งสิ้น ซึ่งฝุ่นละอองมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ดวงตา อาจะทำให้เกิดการระคายเคือง
2.ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ แน่นอนว่าการเผาไหม้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100% ซึ่งก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ส่งผลกระทบทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนอย่างที่ทุกคนทราบ
3.สารฟอร์มาดิไฮด์ สารตัวนี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
4.สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารประเภทนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
5.สารคาร์บอนมอนอกไซด์ สารตัวนี้มีผลต่อออกซิเจนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการ วิงเวียนศรีษะ อาเจียน
เผาอ้อยแทนการใช้รถตัดอ้อย ผิดกฎหมายจริงหรอ ?
การเผาอ้อยเป็นการทำผิด มาตรา 25 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้บั่นทอนหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท รัฐบาลจึงแนะนำให้หันมาใช้รถตัดอ้อยแทนการเผา
ห้ามให้เผาอ้อยแล้วควรใช้อะไรในการตัดอ้อยแทน
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาช่วยภาคเกษตรอย่างมากมาย รวมไปถึงในการตัดอ้อย ก็มีเครื่องจักร เช่น รถตัดอ้อย รถคีบอ้อย เข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งการใช้รถตัดอ้อยมีข้อดีมากมาย เพราะนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดก๊าาซเสียต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยย่นระยะการทำงานลงอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสาระความรู้ที่แอดมินนำเอามาฝากในวันนี้ น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ในการเก็บเกี่ยวอ้อย หรือเป็นความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
แต่ถ้าหากคุณเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่อยากเปลี่ยนวิธีการเก็บเกี่ยวจากการเผามาใช้รถตัดอ้อยแทน Thai-A เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อยราคาโรงงาน อีกทั้งยังจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ เช่น รถคีบอ้อย รถคีบอเนกประสงค์ หรือหากต้องการคำปรึกษาเรามีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่า 50 ปี คอยให้คำแนะนำ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ทำไมต้องมีโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย
- ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ทำไมต้องมีโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย
ทำไมต้องมีโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย
การปลูกอ้อยในปัจจุบันแตกต่างจากอดีตโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการนำนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ ดังเช่น รถตัดอ้อยเข้ามาช่วยงานในไร่อ้อยให้ทำงานได้ตามตารางกิจกรรมอ้อยในแต่ละฤดูกาล รถตัดอ้อยของชาวไร่เหล่านี้ เป็นทรัพย์สินที่ชาวไร่ได้ลงทุน เพื่อซื้อมาช่วยงานในไร่ และยังสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจรับเหมาแก่ชาวไร่รายอื่น ๆ ที่ยังไม่พร้อมเรื่องรถตัดอ้อยได้อีกด้วย ซึ่งรถตัดอ้อยเปรียบเสมือนสมาชิกสำคัญในไร่ ดังนั้นการสร้างที่อยู่อาศัย หรือที่จัดเก็บรถตัดอ้อยเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะรถตัดอ้อยที่ใช้ทั้งในการปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องพร้อมใช้งานเสมอ และได้รับการดูแลรักษาความสะอาดหลังใช้งานเป็นประจำอีกด้วย
ลักษณะที่ดีของโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย
- โรงเรือนที่เก็บรถตัดอ้อยต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง มีหลังคากันแดด กันฝน กันลมแรงได้
- ภายในโรงเรือนที่เก็บรถตัดอ้อยต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- ภายในโรงเรือนที่เก็บรถตัดอ้อยต้องมีแสงสว่างเพียงพอ
- โรงเรือนของรถตัดอ้อยจะต้องมีทางระบายน้ำที่สะดวก
- มีสถานที่เก็บรถตัดอ้อยเป็นสัดส่วน สะดวกในการปฏิบัติงาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์เพียงพอ รถตัดอ้อยสามารถเข้าออกได้สะดวก
- โรงเรือนรถตัดอ้อยมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ประโยชน์ได้ดีเสมอ และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
จากบทความเรื่อง ทำไมต้องมีโรงเรือนเก็บรถตัดอ้อย ซึ่งจะสามารถช่วยให้ชาวไร่อ้อยเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานและจัดเก็บรถตัดอ้อยได้อย่างถูกวิธี ทั้งนี้หากชาวไร่อ้อยไม่มีโรงเรือนที่ชัดเจน ควรแบ่งโซนสำหรับเก็บรถตัดอ้อยอย่างเป็นสัดส่วน ที่สำคัญต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดรถตัดอ้อยอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดสนิมหรือชำรุด พร้อมใช้งานตลอดเวลา ถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกล
บทความที่เกี่ยวข้อง
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย
- ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
- เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
จัดการใบอ้อยหลังจากการใช้รถตัดอ้อย
จัดการใบอ้อยหลังจากการใช้รถตัดอ้อย
หลาย ๆ ท่านที่เป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยกังวลกับปัญหาที่หลังจากใช้รถตัดอ้อยตัดอ้อยแล้วจะจัดการกับใบอ้อยอย่างไร ไม่ต้องกังวลไปค่ะ วันนี้แอดมินมีคำตอบมาให้แล้ว จะน่าสนใจแค่ไหนตามแอดมินมาดูกันเลยค่ะ
การลดขนาดวัสดุเหลือทิ้งจากไร่อ้อย
วัสดุเหลือทิ้งในไร่อ้อยหลังการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย ได้แก่ ยอดและใบอ้อยที่มีความหนาแน่นต่ำ และมีขนาดที่ไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพราะหลังการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อยขนาดจะมีผลกระทบต่ออัตราการระบายความร้อน และความต้องการอากาศเพิ่มขึ้นของหม้อไอน้ำ ฉะนั้นประสิทธิภาพการเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ จึงขึ้นอยู่กับขนาดของวัสดุเชื้อเพลิงที่ได้จากรถตัดอ้อย ถ้าวัสดุที่ใช้เผาไหม้มีขนาดที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย เป็นวัสดุชีวมวลที่มีความหนาแน่นต่ำ เมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการลุกไหม้อย่างรวดเร็ว การนำใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย ที่มาทำการผ่านการสับย่อยมาอัดเม็ดจะเป็นการเพิ่มความหนาแน่นของวัสดุให้มากขึ้น ทำให้ได้ปริมาณของเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นและสะดวกต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงด้วย
ใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว
ใบอ้อยที่ถูกเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อยแล้ว ถ้าจะจัดการเก็บและขนส่ง ต้องมีการนำวัสดุมาขึ้นรูป โดยการอัดเป็นเม็ดหรือแท่ง เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและลดความชื้นของวัสดุ ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมปริมาณน้ำหนัก และขนาดให้มีความสม่ำเสมอ ขนาดอนุภาคที่ได้หลังการสับย่อยจากรถตัดอ้อยมีขนาดที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานจึงมีความสำคัญ สำหรับเป็นแนวทางในการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากรถตัดอ้อยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ช่วยสร้างงานเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และลดการเผาใบอ้อยและยอดอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย จึงต้องมีการนำใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยวมาสับย่อยอีกที
เป็นอย่างไรบ้างคะ สาระความรู้ที่แอดมินนำเอามาฝากในวันนี้ แอดมินคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับท่านที่กำลังงหาข้อมูลในเรื่องของการกำจัดใบอ้อยอยู่แน่นอน หรือหากท่านใดกำลังมองหา รถตัดอ้อย รถคีบไม้ เครื่องจักรกลทางการเกษตร Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตรถตัดอ้อย บริษัทจำหน่ายรถตัดอ้อยรายใหญ่ในประเทศไทย ที่ได้มาตรฐานระดับโลก การันตีโดยทีมงานผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสบการณ์มากกว่า 50 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย
- ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
- เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย
จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย
รถตัดอ้อยมีความสามารถในการทำงานตัดอ้อยเฉลี่ย 100-300 ตันต่อวัน รถตัดอ้อยสามารถช่วยทดแทนแรงงานคนที่นับวันจะหายากขึ้นเรื่อย ๆ และรถตัดอ้อยช่วยลดความยุ่งยากในการบริหารจัดการแรงงานคนได้อีกมาก ทำให้ชาวไร่อ้อยสามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคน แต่รถตัดอ้อยยังจำเป็นต้องมีการวางแผนการจัดการที่ดี เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถตัดอ้อย จึงจำเป็นต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย ดังนี้
- ขนาดของแปลงอ้อย หากว่ามีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้รถตัดอ้อยทำงานไม่สะดวกเพราะต้องย้ายแปลงบ่อย ๆ ต้องเสียเวลา แปลงทุกแปลงควรมีความยาวของแถวอ้อย มากกว่า 250 เมตร เพื่อลดการกลับรถตัดอ้อยบ่อยครั้ง แล้วยังประหยัดเวลาและพลังงาน
- ถนนหัวแปลงและท้ายแปลง ควรมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร มีระดับความสูงเท่ากันกับแปลงอ้อย มีความราบเรียบสม่ำเสมอ เพื่อความสะดวกในการกลับรถตัดอ้อย ลดการเหยียบย่ำอ้อยในแปลง ระยะระหว่างแถวอ้อยที่เหมาะสมที่สุดคือ 1.85 เมตร หากเป็นร่องอ้อยที่แคบกว่านี้ รถตัดอ้อยจะสามารถตัดอ้อยได้ แต่จะเกิดความเสียหายจากยางหลังที่เหยียบย่ำอ้อยในแถวถัดไปที่ยังไม่ได้ตัด ทำให้อ้อยแตกหักเสียหายและไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้หรือเก็บเกี่ยวได้ แต่มีการสูญเสียเรื่องน้ำหนักอ้อย
- ความเหมาะสมของรูปร่างเบด เพื่อให้รถตัดอ้อยสามารถตัดอ้อยได้ชิดติดดิน และทำให้หน่อของอ้อยตอเกิดจากใต้ดิน รูปร่างของเบดควรจะต้องมีลักษณะโค้งมนหรือสันเหลี่ยมก็ได้ มีความสูงประมาณ 15 เซนติเมตร ไม่มีหลุมบ่อที่จะทำให้อ้อยตกค้างในแปลงแต่ละร่อง จะทำให้รถตัดอ้อยเก็บเกี่ยวอ้อยได้ดีที่สุด ควรมีการปรับระดับพื้นที่เพื่อให้มีการระบายน้ำในแปลงได้ดี ป้องกันปัญหาอ้อยงอกไม่สม่ำเสมอและลดความเสี่ยงของรถตัดอ้อยติดหล่ม
- การจัดโซนนิ่งอ้อยของรถตัดอ้อย โดยปรับให้แปลงอ้อยที่อยู่ติดกัน มีระยะร่องรองรับรถตัดอ้อย เพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้รถตัดอ้อยได้เช่นกัน
จากบทความเรื่อง จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย ซึ่งจะสามารถช่วยให้ชาวไร่อ้อยทำการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเอื้อต่อการทำงานของรถตัดอ้อย ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมให้พร้อมก่อนที่จะใช้งานรถตัดอ้อย จะทำให้รถตัดอ้อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลดีมากกว่าการไม่จัดสภาพแวดล้อม ถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกล
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
- เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
- ข้อแนะนำระหว่างการใช้งานและก่อนใช้งานรถตัดอ้อย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม
รถตัดอ้อยเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเกษตรที่สำคัญในไร่อ้อยสมัยใหม่ ด้วยประสิทธิภาพรถตัดอ้อยที่เก็บเกี่ยวอ้อยได้รวดเร็ว ทันใจ ลดการใช้แรงงานและลดเวลาทำงานในไร่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของรถตัดอ้อย ชาวไร่อ้อยต้องวางแผนเตรียมแปลงให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการทำงานของรถตัดอ้อย แต่อ้อยก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยน้ำ เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ในแต่ละช่วงวัยการเจริญเติบโตของอ้อย ก็ต้องพึ่งพาน้ำในการเติบโตเป็นอ้อยที่สมบูรณ์แข็งแรงให้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วยพร้อมที่จะตัดโดยรถตัดอ้อย การให้น้ำอ้อยควรให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมและถูกช่วงเวลา วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงการให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสมกันค่ะ
- ระยะที่ 1 หรือระยะตั้งตัว ซึ่งเป็นระยะอ้อยเริ่มงอก อายุอ้อย 2-3 สัปดาห์ กินเวลาประมาณ 30 วัน ระยะนี้เป็นช่วงที่อ้อยเริ่มงอกจนมีใบ และเป็นต้นอ่อน ความต้องการน้ำจะยังไม่มากนัก เพราะรากอ้อยยังสั้น และการคายน้ำยังมีน้อย ความต้องการน้ำระยะนี้จะอยู่ที่ 4 มิลลิเมตรต่อวัน รวมแล้วต้องใช้น้ำ 120 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นระยะแรกเริ่มก่อนการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย
- ระยะที่ 2 หรือระยะเติบโตทางลำต้น ซึ่งเป็นระยะที่อ้อยแตกกอก่อนการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อยอายุอ้อย 3-4 เดือน กินเวลา 140 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญต่อการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย เพราะอ้อยในช่วงนี้กำลังแตกกอ และสร้างปล้อง รากอ้อยเริ่มแผ่กระจายทั้งแนวราบ และแนวลึก จึงเป็นช่วงที่อ้อยต้องการน้ำมากและบ่อยครั้ง หากได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ปริมาณลำต่อกอจะมีจำนวนมาก ปล้องจะยาว และผลผลิตสูง ทำให้การเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อยเสร็จสมบูรณ์ ระยะนี้อ้อยจะต้องการน้ำ 4.5 มิลลิเมตรต่อวัน รวมแล้วต้องใช้น้ำ 630 มิลลิเมตร
- ระยะที่ 3 หรือระยะสร้างน้ำตาล อายุอ้อย 7-8 เดือน กินเวลา 125 วัน ระยะนี้เป็นช่วงที่ให้น้ำเฉพาะอ้อยที่เริ่มแสดงอาการขาดน้ำเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้น้ำบ่อย เพราะพื้นที่ใบอ้อยที่ใช้ประโยชน์จะน้อยลง และอ้อยมีการคายน้ำน้อยลง รวมถึงตอบสนองต่อแสงแดดน้อยลง ระยะนี้ความต้องการน้ำจะอยู่ที่ 5 มิลลิเมตรต่อวัน รวมความต้องการน้ำ 625 มิลลิเมตร
- ระยะที่ 4 หรือระยะสุกแก่ กินเวลาประมาณ 35 วัน เป็นช่วงที่อ้อยเติบโตน้อยลง และกำลังสะสมน้ำตาล ความต้องการน้ำ 4 มิลลิเมตรต่อวัน รวมความต้องการน้ำ 140 มิลลิเมตร เป็นระยะที่พร้อมต่อการเก็บเกี่ยวโดยรถตัดอ้อย
จากบทความเรื่อง ก่อนจะใช้รถตัดอ้อยต้องให้น้ำอ้อยอย่างเหมาะสม ซึ่งจะสามารถช่วยให้ชาวไร่อ้อยให้น้ำอ้อยได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยโดยรถตัดอ้อย ก็ จะทำให้รถตัดอ้อยทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลผลิตมากมาย ได้อ้อยที่มีคุณภาพ สร้างยอดขายได้อย่างสูงสุด ถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกล
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
- ข้อแนะนำระหว่างการใช้งานและก่อนใช้งานรถตัดอ้อย
- ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID : @thaiagency
เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
การผลิตขยายอ้อยพันธุ์ดีให้มีประสิทธิภาพที่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพนั้น ปัจจัยแรกที่สำคัญที่สุดคือการเลือกใช้พันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อย ซึ่งรถตัดอ้อยเป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ รถตัดอ้อยช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยและผลิตน้ำตาลได้อย่างมากมาย อีกทั้งรถตัดอ้อยยังสามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ใบอ้อยที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันไฟที่สามารถทำลายสุขภาพของมนุษย์และทำลายคุณภาพอากาศอีกด้วย วันนี้แอดมินจะแนะนำการเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
หลักการของการคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อย ดังนี้
- ต้องเลือกเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง มีคุณภาพ เหมาะสมกับรถตัดอ้อย และมีความหวานสูง ซึ่งโดยควรมีค่าซีซีเอส. สูงกว่า 12
- เป็นพันธุ์อ้อยที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ โดยเชื่อมโยงกับแหล่งปลูกอ้อยและรถตัดอ้อย กล่าวคือในพื้นที่ใดที่มีโรคและแมลงศัตรูอ้อยชนิดใด พันธุ์อ้อยที่ควรเลือกใช้ในพื้นที่นั้น ๆ ก็ควรเป็นพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับรถตัดอ้อยและต้านทานต่อโรค แมลงศัตรูอ้อย เช่น การต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ การเข้า ทำลายของหนอนกออ้อย เป็นต้น
- สอดคล้องกับพฤติกรรม ความชอบ และวิธีการปฏิบัติในการปลูกและดูแลรักษาอ้อยของเกษตรกรแต่ละรายในแต่ละพื้นที่รวมทั้งความพร้อมของรถตัดอ้อยด้วย
- เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับสภาพดินในพื้นที่ปลูกอ้อยของแต่ละท้องถิ่น และนำรถตัดอ้อยไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสภาพดิน วิธีการให้น้ำ เป็นต้น เพื่อให้อ้อยสามารถแสดงศักยภาพของพันธุ์อ้อยในการให้ผลผลิต และคุณภาพอ้อยได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวด้วยรถตัดอ้อยอย่างราบรื่น
- พิจารณาความสามารถในการไว้ตอของอ้อยและความสามารถในการเก็บเกี่ยวของรถตัดอ้อย โดยพบว่าอ้อยตอเป็นส่วนที่เป็นผลกำไรของการผลิตอ้อย ดังนั้น อ้อยที่เลือกใช้ควรเป็นพันธุ์ที่สามารถไว้ตอได้ดีและนานหลายปี เพื่อที่จะได้รับความคุ้มค่า และมีการนำรถตัดอ้อยไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในแต่ละรอบผลผลิตอ้อยอาจลดลงได้ แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 20 ของอ้อยที่ปลูก
- อายุการเก็บเกี่ยวอ้อย เพราะอ้อยแต่ละสายพันธุ์มีอายุการเจริญเติบโต และการสะสมน้ำตาลที่แตกต่างกันไป จึงสำคัญที่ต้องใส่ใจเพราะมีผลต่อการใช้งานรถตัดอ้อย โดยบางพันธุ์มีการสะสมน้ำตาลเร็ว บางพันธุ์มีการสะสมน้ำตาลช้า และความยาวนานของการมีระดับการสะสมน้ำตาลในระดับสูง (ความหวาน ลดลงเร็ว หรือช้า)
- พันธุ์อ้อยที่มีคำแนะนำและส่งเสริมให้ปลูกในแต่ละเขตพื้นที่ เพื่อสามารถใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มที่ ดังนี้
- พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคเหนือ ได้แก่ LK92-11, ขอนแก่น 3, K88-92, K99-72, K97-27, อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 7 เป็นต้น
- พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตภาคกลาง ได้แก่ LK92-22, ขอนแก่น 3, K88-92, K99-72, อู่ทอง 7 เป็นต้น
- พื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออก ได้แก่ LK92-11, ขอนแก่น 3, K88-92, K95-84, อู่ทอง 1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3 และอู่ทอง 7 เป็นต้น
- พื้นที่ปลูกอ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ K88-92,K95-84,K97-27, LK92-11 และขอนแก่น 3
จากบทความเรื่อง เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยอย่างถูกวิธีซึ่งจะสามารถช่วยให้ความรู้เกษตรกรที่ในการเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับพื้นที่และรถตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเลือกพันธุ์อ้อยเป็นสิ่งที่สำคัญมากในขั้นตอนการทำไร่อ้อยโดยการใช้รถตัดอ้อยนั้นช่วยอำนวยความสะดวกแก่ชาวไร่อ้อยและเพิ่มผลผลิตอีกด้วย ถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ข้อแนะนำระหว่างการใช้งานและก่อนใช้งานรถตัดอ้อย
- ส่งเสริมชาวไร่ให้ใช้รถตัดอ้อยอย่างถูกวิธี
- การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่ด้วยรถตัดอ้อย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต
ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิต
สังเกตได้ว่าการเผาอ้อยเป็นมลพิษ เพิ่มฝุ่น PM2.5 แล้วยังทำให้คุณภาพอ้อยลดลง ทำให้ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด เพราะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้ต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้ แต่ปัจจุบันรถตัดอ้อยยังมีไม่ทั่วถึง ส่งผลให้สัดส่วนการตัดอ้อยไฟไหม้ในแต่ละปียังคงมีสูง ซึ่งกระทบต่อรายได้ของชาวไร่อ้อยทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนรถตัดอ้อยมากขึ้น จะช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่โรงงานน้ำตาลได้อ้อยคุณภาพเข้ากระบวนการผลิต และยังเป็นผลดีต่อปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ลดลง
การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในปัจจุบัน
การตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล นิยมใช้วิธีเผาอ้อยก่อนตัด โดยอ้อยไฟไหม้มีสัดส่วนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 63.3 ในช่วง 10 ปีการผลิตที่ผ่านมา ซึ่งเกษตรกรนอกจากจะถูกหักค่าอ้อยในเรื่องคุณภาพแล้ว ยังเป็นการเพิ่มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่อีกด้วย ดังนั้น หากมีการส่งเสริมให้ใช้รถตัดอ้อยสด นอกจากช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรมีผลต่างรายได้สุทธิหลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน จากอ้อยสดและใบอ้อยที่ใช้รถตัดอ้อย เมื่อเทียบกับการตัดอ้อยไฟไหม้
การแก้ปัญหา
การสนับสนุนให้มีการตัดอ้อยสดเข้าโรงงาน จำเป็นต้องเพิ่มรถตัดอ้อยให้เพียงพอต่อการตัดอ้อยสด ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000-2,500 คัน จากจำนวนที่ควรมีคือ 3,400-4,500 คัน นอกจากนี้ การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่การเพาะปลูก ไปสู่รูปแบบการปลูกใหม่ที่เหมาะสำหรับการนำรถตัดอ้อยมาใช้เก็บเกี่ยวก็เป็นสิ่งสำคัญ ความท้าทายของการทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มรถตัดอ้อย ที่มีราคาค่อนข้างสูงถึง 8-12 ล้านบาท ในเบื้องต้น หน้าที่นี้อาจจะต้องเป็นของโรงงานน้ำตาล หรืออาจลงทุนร่วมกับเกษตรกรรายใหญ่ โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนรถตัดอ้อยในด้าน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมาตรการด้านภาษี รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตรถตัดอ้อยให้มีราคาถูกลง เกษตรกรจะได้เข้าถึงมากขึ้น และควรส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปถึงชาวไร่อ้อย เกี่ยวกับสัดส่วนอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ ที่ต้องทำได้ในแต่ละปี โดยมีมาตรการบังคับที่ชัดเจนและจริงจัง ซึ่งจะทำให้สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลงหรือหมดไปในระยะข้างหน้า
จากบทความเรื่อง ตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย ลดฝุ่น PM 2.5 เพิ่มมูลค่าผลผลิตซึ่งจะสามารถช่วยทำให้เกษตรกรที่ทำไร่อ้อยหันมาใช้รถตัดอ้อยกันมากขึ้น เพราะการใช้รถตัดอ้อยนั้นช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่าการเผาอ้อยที่ส่งผลเสียมากมาย ซึ่งถ้าหากสนใจจะซื้อรถตัดอ้อยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา Thai-A เราเป็นโรงงานรถตัดอ้อยที่น่าเชื่อถือ และรับผลิตรถตัดอ้อยที่มีประสิทธิภาพ มีผลงานต่าง ๆ การันตีคุณภาพ แล้วยังเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่ทางการเกษตร โดยเราเป็นตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และยังมีผู้เชี่ยวชาญในด้านเครื่องจักรกลการเกษตรที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกท่าน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่ท่านได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รถตัดอ้อยช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างไร
- รถตัดอ้อย THAI-A มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เกษตรกรไทยอย่างไร
- วางแผนใช้งานรถตัดอ้อยอย่างไรให้ใช้งานได้ยาวนาน
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency