10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์


10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์

โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ได้นำเอาความรู้จากการค้นพบและพัฒนาวิธีในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลม มาใช้ในกระบวนการผลิต ในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น เครื่องบรรจุ และเครื่องลำเลียงขนถ่ายวัสดุ โดยอาศัยหลักการง่าย ๆ ของความดันลม เพื่อให้ลูกสูบที่อยู่ในกระบอกสูบ หรือกระบอกนิวเมติกส์เกิดการเคลื่อนที่ และเปลี่ยนเป็นพลังงานกล แต่การทำงานกับระบบนิวเมติกส์นั้น ก็มีข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ค่ะ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และเพื่อป้องกันไม่ให้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรเกิดความเสียหาย ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึง 10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์กันค่ะ

  1. ปิดลมและระบายลมออกจากระบบทุกครั้งก่อนการแก้ไขหรือตรวจเช็กวงจร
  2. ติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) และอุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ ให้แน่นและมั่นคง
  3. ตรวจเช็กไม่ให้มีสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ในบริเวณการเคลื่อนที่ของกระบอกลมนิวเมติกส์ (Air Cylinder) หรืออุปกรณ์ทำงานต่าง ๆ
  4. ก่อนจ่ายลมเข้าระบบนิวเมติกส์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ข้อต่อและสายลมแน่นสนิท
  5. หากมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นกับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้า ต้องรายงานและแจ้งผู้ควบคุมดูแลให้ทราบ ก่อนการดำเนินการขั้นตอนไป มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้
  6. การแก้ไข ดัดแปลงอุปกรณ์ด้วยตนเอง โดยไม่มีผู้ควบคุม หรือผู้เชี่ยวชาญมาดูแล เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
  7. ไม่ควรเล่นอุปกรณ์ สายหรือท่อลมนิวเมติกส์
  8. ไม่ควรไว้ใจว่าอุปกรณ์ทำงานจะหยุดนิ่ง ในขณะที่ยังทำการจ่ายลมอัดอยู่
  9. ไม่ควรยึดถือว่าความเร็วของอุปกรณ์ว่าจะทำงานคงที่อย่างสม่ำเสมอ
  10.  เป็นไปได้ยาก ที่จะให้มีการเคลื่อนที่แบบเป๊ะ ๆ เหมือนกับโปรแกรมที่วางไว้
10 ข้อคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์


10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อควรคำนึงเมื่อต้องทำงานกับระบบนิวเมติกส์ และทางที่ดีพนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงระบบนิวเมติกส์ควรมีความรู้และความเข้าใจกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อควรคำนึงในการใช้งานระบบนิวเมติกส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ข้อดี - ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

ข้อดี – ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้ ในระบบนิวเมติกส์คือระบบที่ใช้พลังงานลมเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ซึ่งปัจจุบันนิยมมาใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านการขับเคลื่อน หรือควบคุมเครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ ที่สามารถใช้แทนแรงงานคนนั่นเอง

ข้อดี - ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้


ข้อดีของระบบนิวเมติกส์

1. การเคลื่อนที่ในแนวตรงของระบบนิวเมติกส์จะทำงานได้ดี และใช้อุปกรณ์ทำงานประเภทกระบอกลมนิวเมติกส์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ระบบแมคคาทรอนิกส์เข้ามาช่วย

2. อุปกรณ์นิวเมติกส์มีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา อีกทั้งเป็นระบบพลังงานลม ปลอดภัยจากการเผาไหม้ เมื่อเทียบกับระบบไฮดรอลิคที่ใช้ระบบน้ำมัน

3. พลังงานลมเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด ไม่ต้องเสียเงินซื้อ และการบำบัดก๊าซไอเสียนั้นง่าย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนต่ำ

4. ระบบเบรกหรือหยุดในระบบนิวเมติกส์ทำได้ง่าย เพียงแค่ปรับตั้งค่าระยะชักตามตำแหน่งที่ต้องการก็สามารถทำให้เครื่องหยุดตามตำแหน่งที่ต้องการแล้ว อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งระยะชักของก้านสูบให้สั้นหรือยาวได้ตามความต้องการ

5. การปรับความเร็วในระบบนิวเมติกส์นั้นสะดวกและเร็วกว่ามากๆ ความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์โดยทั่วไปจะน้อยกว่า 1 M/S แต่ถ้าหากต้องการความเร็วสูงขึ้นมากกว่านี้ จะต้องใช้ลูกสูบชนิดพิเศษ ซึ่งมีความเร็วถึง 10 M/S ซึ่งเร็วกว่าโหมดไฮดรอลิคและไฟฟ้าในการทำงาน

6. ระบบนิวเมติกส์เมื่อใช้งานแล้วสามารถระบายทิ้งปล่อยสู่บรรยากาศได้เลยโดยไม่ต้องเดินท่อนำกลับมาใช้อีก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

7. ระบบนิวเมติกส์สามารถปรับความเร็วในการทำงานได้โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว และสามารถทำให้รอบในการทำงานสูงถึง 8,000 รอบต่อนาที

8. สามารถปรับความดันลมอัดให้มีค่า มาก-น้อย ได้ตามต้องการ โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความดัน

9. ในระบบนิวเมติกส์จะมีความสะอาด เนื่องด้วยก่อนการใช้งานจะต้องปรับคุณภาพลมก่อนใช้งานทุกครั้ง

10. มีความปลอดภัยสูง อุปกรณ์นิวเมติกส์ไม่เกิดการเสียหายถึงแม้ว่าจะใช้งานเกินกำลัง (over load) เมื่อเกิดปัญหาในวงจรก็ไม่เกิดอันตราย

ข้อดี - ข้อเสีย ของระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้


ข้อเสียของระบบนิวเมติกส์

1. มีเสียงดัง เมื่อป้อนลมเข้าไปในระบบการควบคุม อุปกรณ์ทำงานต่างๆ ของระบบจะต้องระบายลมออกมาทางวาล์วควบคุม ถึงแม้ว่าวาล์วควบคุมจะมีอุปกรณ์เก็บเสียง (Silencer) เพื่อช่วยเก็บเสียงแล้วก็ตาม แต่ก็ยังทำให้มีเสียงดังขณะเครื่องจักรทำงาน

2. ในโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งจะเพิ่มอุปกรณ์นิวเมติกส์เข้ามาโดยไม่คำนึงถึงความสามารถของเครื่องอัดลม ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องจักรทำงานคลาดเคลื่อนได้

3.  ความดันของลมเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ความดันของลมจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและความดันจะลดลงเมื่ออุณหภูมิลดลง เป็นผลทำให้การควบคุมในระบบเปลี่ยนแปลง

4. ลมอัดมีความชื้น เมื่อลมอัดถูกทำให้เย็นลงหลังจากการอัดเข้าในถังเก็บ ซึ่งจะทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และเมื่อความชื้นเข้าไปในระบบการควบคุม ก็จะทำให้ตัวทำงานและวาล์วควบคุมต่างๆ เกิดสนิมและจะทำให้อายุการทำงานของอุปกรณ์สั้นลง

5. ถ้าต้องการแรงในการใช้งานมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของลูกสูบจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางโตขึ้นเพื่อที่จะให้ได้แรงตามต้องการ ซึ่งลูกสูบในระบบนิวเมติกส์จะมีขีดจำกัดอยู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย



สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

การขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์จะต้องใช้เครื่องอัดลมในการจ่ายพลังงาน แต่ในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ดังนั้นการทำงานของระบบนิวเมติกส์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  สิ่งแปลกปลอมที่มีปัญหากับระบบอัดลม มีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมามีดังนี้

1. ความชื้น

ในลมอัดจะประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง หลักการแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้นสามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำให้อากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกที การทำแบบนี้จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก

2. ฝุ่นละออง

สาเหตุที่มีฝุ่นละอองนั้น สามารถมีได้อยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุ สนิม เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งที่มาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ แก้ไขได้โดยติดตั้งตัวกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมหลักที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอ

3. น้ำมันหล่อลื่น

สิ่งนี้มักจะปะปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบในเครื่องลมอัด ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์ได้

4. ข้อบกพร่องที่เกิดจากการหล่อลื่น

ในวาล์วนิวเมติกส์บางรุ่นยังคงต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่างๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไม่เหมาะสม เพราะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอุดตันภายในตัวเก็บเสียงได้

5. สารออกไซด์

เป็นสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากระบบลูกสูบทำงาน จะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอน มาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพและเปลี่ยนตามเวลากำหนด

การจัดการบำรุงรักษานิวเมติกส์

อุปกรณ์นิวเมติกส์ทุกชิ้น จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะตามเวลาการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายในระบบนิวเมติกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และ ปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาคนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องสภาวะสิ่งแวดล้อมและ มีการรณรงค์เลิกใช้โฟม ถุงพลาสติก โดยหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมากขึ้น เพื่อการย่อยสลายและเป็นมิตรต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก



จานกาบหมากเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากสารเคมีและการฟอกสี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่แตกหักง่าย น้ำหนักเบา ใส่อาหารได้ทุกเมนู เข้าเตาไมโครเวฟได้ ไม่อ่อนตัว ทนความร้อนได้ดี มีกลิ่นหอม และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ย่อยสลายได้เองใน 45 วัน

โดยจานกาบหมากถูกผลิตขึ้นจากใบกาบหมากที่แห้ง เลือกขนาดที่ต้องการนำมาล้างทำความสะอาด ให้ดินโคลนออกทั้งหมด ตากแดดให้แห้งสนิท นำมาอัดขึ้นรูปด้วยระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้า สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะของแม่พิมพ์ การทำงานของระบบนิวเมติกส์จะใช้การเคลื่อนตัวของกระบอกลมนิวเมติกส์เคลื่อนที่เป็นแนวตรงอัดด้วยความร้อนก็จะทำให้เกิดรูปทรงของจานกาบหมากนั่นเอง

ในปัจจุบันจานกาบหมากเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับร้านอาหารและโรงแรมที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในด้านสิ่งแวดล้อม หรืองาน OTOP ต่างๆ ที่เน้นวิถีจากชาวบ้าน แต่จานกาบหมากยังขาดตลาดอยู่มากเนื่องจากยังไม่ค่อยมีผู้ผลิตมากนัก อีกทั้งยังต้องใช้เครื่องจักรอย่างระบบนิวเมติกส์เพื่ออัดขึ้นรูปอีกด้วย ดังนั้นหากท่านใดที่สนใจเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความคิดที่จะช่วยลดขยะพลาสติกและโฟม หรือต้องการผลิตสินค้าจานกาบหมากจำหน่าย สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตัวเองและชุมชน ติดต่อสอบถามเรื่องระบบนิวเมติกส์กับ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ในระบบนิวเมติกส์จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชนิดที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในงานนิวเมติกส์

รูปวงจรการทำงานโดยภาพรวม



1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)

อุปกรณ์ต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการสร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
  • เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
  • เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
  • ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้

 รูปชุด  AIR SERVICE UNIT


2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed Air Treatment Component) 

ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • กรองลม (Air filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างเช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือสารต่าง ๆ ที่ล่องลอยในบริเวณเครื่องอัดอากาศ
  • วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator) ทำหน้าที่ปรับ หรือควบคุมความดันจ่ายที่ออกมาให้มีค่าคงที่
  • อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันหล่อลื่นให้กับลมอัด เพื่อหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน และป้องกันอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่สัมผัสกันโดยตรง


3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component) 

หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่ม และหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมการทำงานของกระบอกลม  หัวขับลม  มอเตอร์ลมให้หมุนซ้ายหรือขวา ควบคุมการเปิดหรือปิดลม โดยสามารถเลือกการคอนโทรล ได้ทั้งแบบ Manual หรือระบบไฟฟ้า (Electric)    


4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)

ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล อย่างเช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (single-acting cylinders), กระบอกสูบสองทิศทาง (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน  

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
รูปวาล์วสำหรับงาน PIPING


5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system)

เป็นท่อทางไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก ซึ่งการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อการใช้งานต่าง ๆ โดยการเลือกการใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน ของเหลวในการลำเลียง ลม น้ำ หรือของเหลวอื่น สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งเลยคือ ความสามารถของวาล์ว โดยมีแรงดันให้เลือกตั้งแต่ 0-5 Bar,  0.1-20 Bar, 0.1-40 Bar, 0.1-50 Bar, 0.1-70 Bar เป็นต้น วาล์วไฟฟ้าสามารถเลือกได้ทั้งแบบคอยล์ทั่วไป หรือแบบคอยล์กันระเบิด (explosion proof)

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบนิวเมติกส์ได้มีบทบาทชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมน้ำมัน, อุตสาหกรรมการแปรรูป ผลิตเครื่องจักร บรรจุหีบห่อ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือกล ระบบหุ่นยนต์ เป็นต้น

ระบบนิวเมติกส์

คือ การนำเอาพลังงานจากลมอัดมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนิวเมติกส์ และการนำลมอัดของระบบนิวเมติกส์มาใช้งานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลมอัดให้มีความบริสุทธิ์ที่สุด (Compressed Air Purification System) ด้วยการทำให้ลมอัดมีความแห้งสะอาด และมีอุณหภูมิที่ต่ำ ปราศจากฝุ่น ความชื้น ละอองน้ำ น้ำมัน และกลิ่นต่างๆ นั่นเอง

แม้กระทั่งวงการแพทย์ที่มีการใช้งานของระบบนิวเมติกส์ในการรักษาคนไข้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาการอัดลมที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากกลิ่น น้ำมันเพื่อความปลอดภัยของคนไข้

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?


ก่อนมีการทำการเตรียมลมอัดที่สะอาดเพื่อนำไปใช้งานนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตของงานที่จะนำลมอัดไปใช้ ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสม จะเห็นว่าหากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบนิวเมติกส์ภายในหน่วยงานหรือโรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้งาน เปรียบเสมือนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอุปกรณ์นิวเมติกส์ไปในตัว เนื่องจากลมอัดที่สะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงอีกทางด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

ในปัจจุบัน ระบบนิวเมติกส์ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย และมักจะพบกันอยู่เป็นประจำว่า มีการใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย

การบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์

ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น เราสามารถดำเนินการได้เบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายมักหรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์เหล่านั้นจะจัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย

ในบทนี้จะกล่าวถึงภาพรวมในการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมของระบบนิวเมติกส์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น ปั้มลม (Air Compressor) ชุดปรับคุณภาพลม (Air Service Unit) ระบบท่อทาง (Pipe Lines) อุปกรณ์ทำงาน เช่น กระบอกลม (Air cylinder) วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valves) และอื่น ๆ เป็นต้น

ข้อควรจำเพื่อความปลอดภัย (Always Remember Safety First)

ระบบลมอัดเป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
  2. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
  3. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
  4. ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
  5. อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
  6. อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป

ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • 1.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
  • 2.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
  • 3.การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์ ( Air cylinder ) มีความหลากหลาย ทางด้านรูปแบบซึ่งอยู่ที่ลักษณะการเลือกใช้งาน แต่เราจะจำแนกตามประเภทตามคุณลักษณะ โดยมีการแยกตามรูปแบบ ดังภาพด้านล่าง

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ



แบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ ดังนี้

  1. กระบอกลมแบบสปริงหน้า (Front spring cylinder)
  2. กระบอกลมแบบสปริงหลัง (Rear spring cylinder)
  3. กระบอกลม 2 ทาง แบบมีคุชชั่น (Double acting cylinder with cushion)
  4. กระบอกลม 2 ทาง แบบไม่มีคุชชั่น (Double acting cylinder)
  5. กระบอกลม แบบแกน 2 ข้าง (Double acting twin rod cylinder)
  6. กระบอกลมแบบแนวราบ (Rodless cylinder)
  7. กระบอกลมแบบหมุนองศา (Rotary actuator)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีคุณลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งขึ้นอยู่กับแบบเครื่องจักรที่ใช้ในการทำงานต่อ ลักษณะของกระบอกลมนิวเมติกส์มีการจำแนก  ตามมาตรฐานที่ใช้กันอยู่  ตัวอย่างเช่น

1. Micro cylinder

2. Air cylinder

3. Compact cylinder

4.Rodless cylinder

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

5. Mantipul

กระบอกลมนิวเมติกส์ และลักษณะการทำงานแต่ละแบบ

ในกลุ่มกระบอกขั้นต้นจะใช้ตามความเหมาะสมของงานและความปลอดภัยสูงสุด

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้

วาล์วในระบบนิวเมติกส์ ที่ควรรู้

สัญลักษณ์วาล์วในระบบนิวเมติกส์ที่ควรรู้ ปัจจุบันนิวเมติกส์ถูกใช้อย่างกว้างขวาง อาทิ เครื่องจักรบรรจุหีบห่อ เครื่องจักรผลิตสินค้าและอาหาร เครื่องจักรขนย้ายวัสดุ และอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องจากเป็นระบบที่ประหยัดพลังงาน โครงสร้างใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังมีความปลอดภัยเพราะการทำงานของระบบนิวเมติกส์นั้นมีอุณหภูมิต่ำ บำรุงรักษาง่าย ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบหลักของระบบนิวเมติกส์ ที่ความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ก็คือ วาล์วนิวเมติกส์ ดังนั้นมาดูกันค่ะว่าวาล์วนิวเมติกส์มีกี่ชนิด และสัญลักษณ์ของวาล์วนิวเมติกส์ ที่ควรรู้กันค่ะ

สัญลักษณ์วาล์วของระบบนิวเมติกส์

วาล์นิวเมติกส์

  
สัญลักษณ์ของวาล์วนิวเมติกส์ทั่วไปที่ใช้จากข้อมูลเบื้องต้น  มีการเรียกชื่อที่ต่างกันออกไปตามลักษณะของวาล์ว และฟังก์ชันที่มากระทำวาล์วนิวเมติกส์  เช่น 

1.วาล์วนิวเมติกส์ 2/2 มี 2 แบบ 2/2 แบบ NO และ 2/2 แบบ NC  

ตัวอย่าง :   วาล์วนิวเมติก 2/2 ที่มีฟังก์ชันกระทำเป็นไฟฟ้า

วาล์วนิวเมติกส์


2. วาล์วนิวเมติกส์ 3/2 มี 2 แบบ  คือ แบบ 3/2 แบบ NO และ 3/2 แบบ NC 

วาล์วนิวเมติกส์
วาล์วนิวเมติกส์


3. วาล์วนิวเมติกส์ 5/2 มีทั้ง แบบคอยล์แบบข้างเดียว และ คอยล์แบบ 2 ข้าง

เป็นวาล์วนิวเมติกส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด  ในการออกแบบวงจร และมีความหลากหลายมาก

วาล์นิวเมติกส์
วาล์วนิวเมติกส์


4. วาล์ว 5/3 มีฟังก์ชันอยู่ 3 แบบ แบบ closed center, แบบ open center และแบบ pressure center

การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน

วาล์นิวเมติกส์



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติก และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์


ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

โดยทั่วไปแล้วในงานอุตสาหกรรมที่เราเห็นมักจะมีระบบต่าง ๆ ประกอบขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ติดตั้งง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่าย ถ้าหากอุปกรณ์มีการชำรุดหรือเสียหายสามารถสั่งซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนได้ และยังสามารถดูและรักษาได้ง่าย ที่สำคัญคือสะอาดไม่มีคราบสิ่งสกปรกให้เห็น เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่นำมาใช้งานคือ ระบบอัตโนมัติ หรือเครื่องจักรกลที่มีความทันสมัย ซึ่งเครื่องจักรสามารถทำงานแทนคนได้ และในวงการอุตสาหกรรมบ้านเรานั้นมีการนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่าง ๆ
  2. อุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา เช่น แพล้นผสมคอนกรีต แพล้นแอสฟัลส์
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์ เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกเคมี
  4. อุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องบรรจุอาหาร  นมผง และอื่นๆ
  5. อุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในรถยนต์ รถไฟ อุตสาหกรรมของเล่น อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมการกีฬา เป็นต้น


ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

  • ด้านความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่มีการระเบิดหรือติดไฟ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัย จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบป้องกันการเกิดเพลิงไหม้
  • ด้านความแม่นยำ และรวดเร็วในการทำงาน โดยปกติความเร็วในการทำงานของระบบนิวเมติกส์อยู่ที่ 1-2 เมตรต่อวินาที [m/s] แต่ในบางระบบที่ต้องการความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่า ซึ่งสามารถใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ชนิดพิเศษที่สามารถทำความเร็วได้สูงถึง 10 เมตรต่อวินาที และเพิ่มรอบการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วได้สูงถึง 800 รอบต่อนาที [rpm]
  • ด้านความสะอาด เนื่องจากลมที่เป็นตัวกลางในการทำงานของระบบนิวเมติกส์เป็นสิ่งที่สะอาด ทำให้สิ่งที่เหลือหรือถูกระบายออกจากระบบที่เกินจากความจำเป็นของระบบ เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • ความง่ายในการนำมาประยุกต์ใช้กับงาน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มหรือลด และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบได้ง่าย เช่น ปรับระยะก้านสูบ ขนาดกระบอกนิวเมติกส์ เพิ่มหรือลดความดันลม เป็นต้น
  • ความเหมาะสมในการทำงาน ระบบนิวเมติกส์นั้นเป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถทำงานได้ในสภาวะที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นิยมนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้ในส่วนของการประกอบของสายการผลิต

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More