ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์


ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

โดยทั่วไปแล้วในงานอุตสาหกรรมที่เราเห็นมักจะมีระบบต่าง ๆ ประกอบขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์ติดตั้งง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่าย ถ้าหากอุปกรณ์มีการชำรุดหรือเสียหายสามารถสั่งซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนได้ และยังสามารถดูและรักษาได้ง่าย ที่สำคัญคือสะอาดไม่มีคราบสิ่งสกปรกให้เห็น เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่นำมาใช้งานคือ ระบบอัตโนมัติ หรือเครื่องจักรกลที่มีความทันสมัย ซึ่งเครื่องจักรสามารถทำงานแทนคนได้ และในวงการอุตสาหกรรมบ้านเรานั้นมีการนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่าง ๆ
  2. อุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา เช่น แพล้นผสมคอนกรีต แพล้นแอสฟัลส์
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์ เช่น รถบรรทุกน้ำมัน รถบรรทุกเคมี
  4. อุตสาหกรรมด้านการผลิตที่เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น เครื่องบรรจุอาหาร  นมผง และอื่นๆ
  5. อุตสาหกรรมในสาขาอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในรถยนต์ รถไฟ อุตสาหกรรมของเล่น อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมการกีฬา เป็นต้น


ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

  • ด้านความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่มีการระเบิดหรือติดไฟ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัย จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบป้องกันการเกิดเพลิงไหม้
  • ด้านความแม่นยำ และรวดเร็วในการทำงาน โดยปกติความเร็วในการทำงานของระบบนิวเมติกส์อยู่ที่ 1-2 เมตรต่อวินาที [m/s] แต่ในบางระบบที่ต้องการความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่า ซึ่งสามารถใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ชนิดพิเศษที่สามารถทำความเร็วได้สูงถึง 10 เมตรต่อวินาที และเพิ่มรอบการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วได้สูงถึง 800 รอบต่อนาที [rpm]
  • ด้านความสะอาด เนื่องจากลมที่เป็นตัวกลางในการทำงานของระบบนิวเมติกส์เป็นสิ่งที่สะอาด ทำให้สิ่งที่เหลือหรือถูกระบายออกจากระบบที่เกินจากความจำเป็นของระบบ เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • ความง่ายในการนำมาประยุกต์ใช้กับงาน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มหรือลด และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบได้ง่าย เช่น ปรับระยะก้านสูบ ขนาดกระบอกนิวเมติกส์ เพิ่มหรือลดความดันลม เป็นต้น
  • ความเหมาะสมในการทำงาน ระบบนิวเมติกส์นั้นเป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ดังนั้นระบบนี้จึงสามารถทำงานได้ในสภาวะที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นิยมนำระบบนิวเมติกส์ไปใช้ในส่วนของการประกอบของสายการผลิต

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำ ที่เหมาะกับเกษตรกรรม

ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะกับเกษตรกรรม

ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะกับเกษตรกรรม

ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะกับเกษตรกรรม แสงแดดส่องใช่ว่าจะทำให้แห้งแร้งเสมอไป เพราะในยุคนี้แสงอาทิตย์นั้นกลับสร้างประโยชน์ที่เรียกว่าพลังงานแสงอาทิตย์หรืออีกชื่อคือ โซล่าเซลล์ เป็นพลังงานสะอาดที่แปลงจากแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า

สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าเซลล์ในภาคเกษตรกรรมนั้นนิมยมใช้แบบปั๊มโซล่าเซลล์ เป็นปั๊มสูบน้ำเพื่อใช้สำหรับบ้านเรือน อาคาร โรงเรียน ระบบประปาหมู่บ้าน หรือใช้ในการเกษตร โดยเป็นปั๊มที่สามารถใช้ได้ทั้งพลังงานจาก พลังงานแสงอาทิตย์ Solar cell, กังหันลม, เครื่องปั่นไฟฟ้า, แบตเตอรี่ หรือไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ให้สามารถสูบน้ำได้ แม้ไม่มีไฟฟ้า ทำให้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค หรือใช้ในการเกษตร โดยสามารถสูบน้ำได้จากทั้งบ่อน้ำ สระ หนอง คลอง บึง หรือ บ่อน้ำบาดาล เป็นต้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ?

4 เหตุผลทำไมต้องใช้โซล่าเซลล์ของ THAI-A


ปั๊มน้ำสำหรับใช้กับน้ำบาดาล

ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะกับเกษตรกรรม



ปั๊มน้ำสำหรับใช้กับบ่อน้ำ (ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์)

ปั๊มโซล่าเซลล์ แหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะกับเกษตรกรรม


หลักการทำงานของปั๊มโซล่าเซลล์


ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ แบบรวมกับแผงโซล่าเซลล์ และแบบแยกกับแผงโซล่าเซลล์ โดยที่แบบรวมกับแผงนั้นมีข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก จึงมีระยะทำการที่อเนกประสงค์กว่า ในขณะที่แบบแยกกับแผงนั้น เป็นเพราะว่าแผงโซลาร์เซลล์ถูกใช้สำหรับจ่ายพลังงานไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น หลอดไฟภายในบ้าน เป็นต้น

ส่วนประกอบของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

  1. แผงโซล่าเซลล์
  2. ตัวแปลงไฟ (อินเวอร์เตอร์)
  3. ตู้ควบคุมการจ่ายไฟ
  4. ปั๊มน้ำ (ปั๊มบาดาล สำหรับสูบน้ำบาดาล และปั๊มแบบหอยโข่ง สำหรับสูบน้ำผิวดิน)

ปั๊มโซล่าเซลล์จึงเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ไม่ต้องง้อไฟจากการไฟฟ้า ประหยัดค่าไฟ ประหยัดพลังงาน มีน้ำใช้ได้แม้ไม่มีไฟฟ้า เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด คุ้มค่าลดต้นทุนให้การผลิตของเกษตรกรรม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

สำหรับชาวเกษตรกรท่านใดที่สนใจปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร อาทิ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจร สินค้าคุณภาพดีพร้อมให้บริการ และติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องโซล่าเซลล์


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ความสำคัญของรถคีบไม้ รถคีบไม้มีความสำคัญอย่างไรกับเกษตรไทยบ้าง ไปดูกัน

ความสำคัญของรถคีบไม้

ความสำคัญของรถคีบไม้

ทำไมถึงต้องมีรถคีบไม้ เมื่อเราพูดถึงรถคีบไม้แล้วนั้น อาชีพที่จำเป็นต้องใช้งานรถคีบไม้นี้จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก โรงงานรับซื้อไม้ท่อน โรงงานกระดาษ โรงงานวู้ดชิพและโรงไฟฟ้าไบโอแมส หรือโรงงานรับผลิตไม้พาเลทอย่างที่เราเคยได้ยินกัน เป็นที่แน่นอนว่าโรงงานรับซื้อไม้ท่อนนั้นต้องการไม้เป็นจำนวนมากในการนำไปแปรรูป จึงต้องอาศัยการเปิดรับซื้อไม้จากหลากหลายที่ จนได้จำนวนไม้ตามต้องการ ดังนั้นโรงงานเหล่านี้ จึงต้องอาศัยรถคีบไม้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ถ่ายเทจากรถบรรทุก หรือการจัดเรียงไม้  เก็บสต็อกไม้ให้ได้จำนวนมาก  เนื่องจากความสามารถของรถคีบไม้ในการหมุนรอบตัวเองแบบ 360 องศาเพื่อคีบไม้ และ การจับวางวัสดุ ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วมากกว่าเครื่องจักรประเภทเดียวกันแบบอื่น ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงงานเหล่านี้ที่จะต้องมีรถคีบไม้ชนิด 3 ล้อ เพื่อความรวดเร็วคล่องตัว เพื่อลดทรัพยากร ลดจำนวนแรงงาน และลดเวลาในการทำงานอีกด้วย


นอกจากนี้ในบางโรงงานที่รับซื้อไม้ท่อนจากหน้าโรงงานแล้ว ยังมีการซื้อเหมาแปลงไม้และทำการล้มสวนและตัดไม้เอง ตีราคาตามมาตรฐานของทางโรงงาน โดยเครื่องจักรที่ควรจะมี เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนย้าย หรือการล้มต้นไม้ก็คือ

  1. รถบรรทุกเพื่อการขนย้ายไม้เข้าโรงงาน
  2. รถแมคโคร
  3. รถคีบไม้
  4. รถแทรกเตอร์

ซึ่งในการตัดสินใจซื้อรถคีบไม้ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน การซ่อมแซมบำรุงรักษา หาอะไหล่ง่าย ซ่อมง่าย ประหยัดรวดเร็วและคุ้มค่าได้งานต่อชั่วโมงสูง และเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ดังนั้นคุณสมบัติของรถคีบไม้ของทางเราจะมีครบถ้วนดังกล่าวข้างต้นดังนี้

  1. รถคีบไม้แบบปากคีบไม้แบบมาตรฐาน โครงปากคีบไม้ทำจากเหล็กหนา ทำให้ปากคีบไม้ทนทานไม่แตกหักง่าย และเชื่อมด้วยลวดแรงดึงอย่างดี
  2. รถคีบไม้แบบสามล้อหมุนรอบตัวเอง360องศา ทำให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วโดยรถไม่ต้องวิ่งเดินหน้าถอยหลังในการเคลื่อนย้ายวัสดุรวดเร็วกว่าการคีบแบบอื่น ๆ ถึงสามเท่า
  3. ใช้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงแบบไม่มีหม้อน้ำระบายความร้อนด้วยอากาศ เป็นเครื่องยนต์นำเข้าจากเยอรมันนี ประหยัดน้ำมันเพียง 2-4 ลิตรต่อชั่วโมงที่อัตราเร่งสูงสุด
  4. ใช้อุปกรณ์และชิ้นส่วนหลักสำคัญ ๆ จากแบรนด์ชั้นนำของโลก หาอะไหล่ได้ง่าย และการซ่อมแซมที่ง่ายกว่าเครื่องจักรกลหนักชนิดอื่นๆ
  5. รถคีบไม้แบบวางแนวจัดระเบียบกองไม้ได้พอดี มีหัวคีบไม้มีมอเตอร์ไฮดรอลิคหมุน ทำให้วางแนวไม้ได้พอดีกับรถกระบะและกองสต็อกไม้ได้อย่างเป็นระเบียบ

Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถคีบไม้ รถตัดอ้อย รถคีบอ้อยและรถคีบก้อนใบอ้อย ภายใต้ยี่ห้อ แม็กส์ (MAX) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถคีบไม้ สามารถสอบถามได้ที่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถคีบไม้คุณภาพดี ราคาพิเศษ พร้อมส่ง

Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถคีบไม้

Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถคีบไม้


Thai-A จำหน่ายอะไหล่รถคีบไม้ Thai-A เราผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถตัดอ้อย และเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างและยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อะไหล่รถขยะ อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถคีบไม้ เป็นต้น

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้ขยายสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรกลการเกษตร อะไหล่รถขยะ อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพและลดต้นทุน

อะไหล่รถคีบไม้ที่ Thai-A เราจำหน่ายจะมีด้วยกันดังนี้ค่ะ

อะไหล่รถคีบไม้ มอเตอร์ล้อรถคีบ ( PISTON MOTOR )

  • อ้างอิงรหัสคอมพิวเตอร์ H-ET-PTP-0040
  • สเปคทั่วไป : Flow rate 40.6 CC, เพลา 13 ฟัน, หน้าแปลนคอ SAE.B ขนาด 4 นิ้ว, 2 รูยึด

อะไหล่รถคีบไม้ ปั๊มไฮดรอลิครถคีบ ( TANDEM PUMP )

  • อ้างอิงรหัสคอมพิวเตอร์ H-ET-MHM-0400
  • Description : TANDEM PUMP
  • สเปคทั่วไป : ปั๊มคู่ 40.6 CC, เพลา 15 ฟัน, หน้าแปลนคอ SAE.B ขนาด 4 นิ้ว, 2 รูยึด

อะไหล่รถคีบไม้ วาล์วเพลทมอเตอร์ ( VALVE PLATE )

  • อ้างอิงรหัสคอมพิวเตอร์ H-ET-ZVP-0076
  • Description : Valve Plate 74308-50

อะไหล่รถคีบไม้ ปลั๊กอุด ( PLUG ASSEMBLY)

  • อ้างอิงรหัสคอมพิวเตอร์ H-ET-ZPL-0004
  • Description : PLUG ASSEMBLY

อะไหล่รถคีบไม้ เพลามอเตอร์รถคีบ ( DRIVE SHAFT 13T )

  • เพลามอเตอร์รถคีบ H-ET-ZSK-0050-D
  • Description : DRIVE SHAFT 13T
  • สเปคทั่วไป : 13 ฟัน

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้เพิ่มกำลังการผลิตและสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพ การลดต้นทุน สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับอะไหล่รถขยะ สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค ในระบบไฮดรอลิคการทำงานหลัก ๆ ของไฮดรอลิคนั้นคือส่วนที่เรียกว่ากระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รับแรงหน่วงได้ดี แต่เมื่อเราใช้งานกระบอกสูบไฮดรอลิคไปสักระยะแล้วเกิดการทำงานไม่ได้ และมีเสียงดังขณะใช้งาน หรือหนักไปกว่านั้นคือ กระบอกสูบไฮดรอลิครั่ว ปัญหานี้เกิดได้ทั่วไปในการใช้งานของไฮดรอลิค แต่วันนี้เรามีแนวทางแก้ไขค่ะ

1.ซีลคอกระบอกรั่วซึม

1.1 ปัญหา Alignment การติดตั้งกระบอกสูบไฮดรอลิคไม่ดีหรือไม่เหมาะกับลักษณะงาน

ทำให้ซีลคอถูกแกนกระบอกเบียดหรืองัดจนกระทั่งสึกหรอหรือซีลคอปลิ้นออกจากร่องซีลเป็นรอย

การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไข

กระบอกไฮดรอลิค
กระบอกไฮดรอลิค

1.2  ปัญหาแกนกระบอกเป็นรอยจากฝุ่น

       การแก้ไข เปลี่ยนซีลคอกระบอกสูบไฮดรอลิคใหม่และชุบหรือเปลี่ยนแกนกระบอกเดิมที่เป็นรอยและหาวิธีป้องกันฝุ่นเข้าแกนกระบอก

กระบอกไฮดรอลิค

2.กระบอกล็อคตำแหน่งไม่อยู่

2.1  ปัญหาซีลลูกสูบภายในกระบอกสูบไฮดรอลิคเสียหายหรือเป็นรอย

การแก้ไข

เปลี่ยนซีลลูกสูบภายในกระบอกใหม่

กระบอกไฮดรอลิค


2.2  ปัญหา Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของกระบอกสึกหรอหรือเสียหาย

การแก้ไข

ตรวจสอบ Hand valve หรือ Solenoid valve ที่ควบคุมดังกล่าว

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค

3.กระบอกสูบไฮดรอลิคมีแรงดันชิ้นงานไม่เพียงพอ

3.1 ปัญหาเลือกขนาดของกระบอกสูบไฮดรอลิคเล็กเกินไป ไม่เหมาะกับขนาดของแรงที่ต้องใช้

              การแก้ไข

ปรึกษาผู้ผลิต ผู้ออกแบบเพื่อแก้ไขใหม่

3.2  ปัญหาความดันในระบบลดลงหรือต่ำเกินไป

               การแก้ไข

ตรวจสอบระบบที่เกี่ยวกับการสร้างความดัน เช่น Pump หรือ Relief valve

ปัญหากระบอกไฮดรอลิค


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ ตัวแทนจำหน่ายกระบอกรถขยะ

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะ

Thai-A เราผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถตัดอ้อย และเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างและยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถคีบอ้อย รวมถึงอะไหล่รถขยะอีกด้วย  

โดยปัญหาที่หลายท่านต้องพบเจอเกี่ยวกับอาการเสียของรถขยะคือ การใช้งานรถขยะเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดการรั่วซึม ของน้ำมัน ซึ่งต้องแก้แก้ไขปัญหาได้โดยการรื้อ ซ่อม หรือเปลี่ยนตัวซีลนั้นเองค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม การรื้อซ่อมทั้งกระบอกเพื่อเปลี่ยนซีลสำหรับรถขยะนั้นจะมีราคาสูง ผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงนิยมหันมาเปลี่ยนตัวกระบอกไฮดรอลิครถขยะทั้งตัวแทน ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการลดค่าซ่อมบำรุงที่ต้องเปลี่ยนซีลไปได้ในระดับหนึ่ง

Thai-A ตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถขยะและเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกระบอกไฮดรอลิคและเป็นตัวแทนจำหน่ายกระบอกรถขยะที่แต่ละชนิดมีความพิเศษแตกต่างกัน เหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่ง Thai-A เราจำหน่ายอะไหล่รถขยะป็นกระบอกรถอัดขยะที่มีขนาด 8-12 ลูกบาศก์เมตร ไม่ว่าจะเป็น

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกใบกวาด (Blade Cylinder)

เป็นกระบอกที่ใช้สำหรับเทขยะลงไปในบุ้งกี๋รถขยะ และใบกวาดทำหน้าที่กวาดขยะเข้าไปสู่ตู้ขยะ เพื่อให้ขยะมีการอัดแน่นขึ้นตลอด จนแน่นที่สุดเพื่อให้สามารถบรรทุกปริมาณขยะได้เพิ่มขึ้น เช่น ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ ก็สามารถทำให้แบนได้ ในส่วนของขยะที่มีความชื้น ก็จะทำการอัดน้ำออกหมดจนแห้ง

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกใบกวาด 80x50x490 mm.st

  • Blade Cylinder
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 490mm

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกสไลด์ (Slide Cylinder)

เป็นกระบอกที่ใช้เลื่อนขยะเข้าไปเพื่ออัดขยะให้แน่นมากขึ้น

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกสไลด์ 80x50x730 mm.st

  • Slide Cylinder
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 730mm

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกยกท้าย (Tailgate Cylinder)

เป็นกระบอกสำหรับดันขยะไปทิ้ง เมื่อตู้ที่บรรจุขยะในรถขยะเต็ม ในเวลาที่เปิด Tailgate แล้วขยะหล่นลงมาไม่หมด กระบอกยกท้ายจะมีหน้าที่ดันขยะออกไปจนหมด

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกยกท้าย 80x50x780 mm.st

  • Tailgate Cylinder,
  • bore size 80mm,
  • rod size 50mm,
  • stroke 780mm

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกเทเล (Telescopic Cylinder)

เป็นกระบอกสำหรับอัดขยะให้มีความหนาแน่น เพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บขยะ และลดปริมาณการขนส่ง เพราะหากไม่มีการอัดขยะอาจจะต้องใช้รถบรรทุกขยะถึง 5 คันในการเก็บในขยะปริมาณที่เท่ากัน

กระบอกเทเล (Telescopic Cylinder) จะทำหน้าที่คอยดันขยะต้านกับกระบอกใบกวาดเพื่อให้ขยะแน่น ตัวดันนี้จะค่อย ๆ ถอยจนขยะเต็มตู้ เมื่อเต็มแล้วและนำไปสู่สถานที่ ๆ ต้องการเทขยะทิ้ง กระบอกเทเลนี้จะทำหน้าที่เปิดประตู Tailgate เพื่อที่จะดันขยะออกจากตู้ขยะทั้งหมด

อะไหล่รถขยะชุดกระบอกเทเล 130x120x90x65x2184 mm.st

  • Telescopic Cylinder,
  • bore size 130mm,
  • 3 stages,
  • stroke 2184 mm

ด้วยความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนานมากว่า 50 ปี ทำให้ Thai-A ได้ขยายสินค้าเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจที่เป็นมากกว่าตัวแทนจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักกลการเกษตร อะไหล่รถคีบไม้ อะไหล่รถตัดอ้อย อะไหล่รถขยะ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มคุณภาพ การลดต้นทุน สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับอะไหล่รถขยะ สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ เนื่องจากแรงงานคนหายากขึ้นทุกวัน

เรื่องน่ารู้จาก Thai-A ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

เรื่องน่ารู้จาก Thai-A ส่วนประกอบของรถตัดอ้อย

รถตัดอ้อย เป็นอีกหนึ่งเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย เนื่องจากสามารถทุ่นแรงงานคนได้ เนื่องจากแรงงานคนหายากขึ้นทุกวัน และมีความสามารถตัดอ้อยด้อย่างน้อยวันละ 10-20 ไร่ รวดเร็วกว่าการใช้แรงงานคน 5-10 เท่า ช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยและผลิตน้ำตาลได้อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ใบอ้อยที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 และเขม่าควันไฟ ซึ่งเป็นฝุ่นละอองเล็กที่ทำลายสุขภาพของมนุษย์และทำลายคุณภาพอากาศอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากรถตัดอ้อยมีกลไกการทำงานที่ครบวงจรสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อย ตั้งแต่กระบวนการดึงรวบต้นอ้อยที่ล้มอยู่กับพื้นดิน เข้าสู่กระบวนการตัดโคนและสับท่อน รวมทั้งลำเลียงท่อนอ้อย เนื่องจากตัวรถตัดอ้อยจะมีภาชนะรองรับสำหรับตัวท่อนอ้อยที่ผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวทั้งหมด โดยลำเลียงผ่านสายพานขึ้นไปพ่นใส่รถสิบล้อที่ขับคู่ขนานมาด้านข้างเพื่อรองรับท่อนอ้อยที่ตัดเสร็จแล้ว เพื่อนำไปสู่กระบวนการขนส่งต่อไปยังโรงงานน้ำตาล เพื่อทำการหีบน้ำตาลวันต่อวันค่ะ

ซึ่งในส่วนประกอบของรถตัดอ้อยนั้นจะมีด้วยกันดังนี้

เครื่องยนต์ เป็นต้นกำลังของรถตัดอ้อยให้ทำงานได้ การเลือกแรงม้าที่เหมาะสมมีผลต่อระบบการทำงานของรถตัดอ้อย ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

เครื่องยนต์สำหรับรถตัดอ้อย


สกรูเกลียวไว้สำหรับดึงรวบต้นอ้อย

ตัวสกรูเกลียวจะสามารถหมุนรอบตัวเองได้ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ข้างละ 2 อัน สกรูคู่ตัวนอกใช้สำหรับเก็บอ้อยที่ล้มอยู่กับพื้นดิน เพื่อจัดให้เข้าสู่ช่องการตัดของรถตัดอ้อย ทำให้สามารถเก็บอ้อยได้หมดจดทุกต้นที่ล้มระเนระนาดกับพื้นให้เข้าสู่กระบวนการตัดของรถ

ชุดตัดโคนอ้อย

ในส่วนของชุดตัดโคนอ้อยซึ่งเป็นใบมีด 3 ใบ แต่มี 2 ชุดด้วยกันสามารถหมุนด้วยพลังของไฮดรอลิค เพื่อที่จะตัดโคนของต้นอ้อยให้ขาด ทำหน้าที่ดูดและดึงต้นอ้อยที่ตัดโคนแล้วป้อนเข้าสู่ใต้เครื่องรถตัด ผ่านกระบวนการของโรลเลอร์เพื่อจะริดใบและส่งต่อไปยังชุดสับท่อนอ้อย และตัวใบมีดที่ใช้หากชำรุดหรือสึกหรอสามารถเปลี่ยนได้

ชุดสับท่อนอ้อย

สามารถหมุนด้วยพลังของไฮดรอลิค เป็นโรลเลอร์ 2 ชุดที่หมุนไปพร้อมกัน โดยโรลเลอร์แต่ละตัวจะมีใบมีดอยู่ เมื่ออ้อยที่ริดใบเสร็จแล้วจะเข้าสู่โรลเลอร์สับท่อนอ้อย โดยจะสับอ้อยออกเป็นท่อนๆ มีความยาวประมาณ 20-30 ซม. จากนี้จะเข้าสู่กระบวนการของปล่องพัดลมตัวใหญ่

ปล่องพัดลมตัวใหญ่

ทำการดูดเอาใบอ้อยและเศษซากที่เหลือจากการตัด และเป่าออกไปทางปล่องลม ทิ้งกลับไปสู่พื้นดิน อีกนัยหนึ่งคือการทำให้ท่อนอ้อยสะอาดขึ้น ใบอ้อยเป็นส่วนที่ไม่มีน้ำอ้อย ไม่สามารถผลิตน้ำอ้อยได้ ซึ่งทางโรงงานน้ำตาลไม่ต้องการ ใบอ้อยที่เป่าออกมานี้สามารถนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงในภายหลังได้

ชุดสะพานลำเลียงท่อนอ้อย

ในส่วนนี้จะมีลักษณะเป็นลูกกลิ้งหรือสายพานแล้วแต่รุ่นแล้วแต่ยี่ห้อ เพื่อลำเลียงท่อนอ้อยหลังจากที่ได้ผ่านปล่องพัดลมตัวใหญ่ และได้ริดใบอ้อยต่างๆ ออกหมดแล้วลงใส่บุ้งกี๋ของสายพาน สายพานนี้จะทำหน้าที่ลำเลียงท่อนอ้อยขึ้นไปสูงประมาณ 4 เมตร ผ่านปล่องพัดลมขนาดเล็กอีกตัวหนึ่งที่ปลายสะพาน เพื่อทำความสะอาดท่อนอ้อยอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็มีรถสิบล้อที่วิ่งขนานมากับรถตัดอ้อย สายพานนี้จะส่งลำเลียงหรือพ่นท่อนอ้อยไปยังรถสิบล้อ ถ้าพ่นใส่รถสิบล้อเต็มคันจะได้ท่อนอ้อยน้ำหนักประมาณ 20 ตัน เมื่อเต็มคันแล้วก็จะทำการเปลี่ยนรถสิบล้อคันใหม่เข้ามาเพื่อรองรับท่อนอ้อยต่อไป ปกติแล้วจะสามารถตัดท่อนอ้อยได้ประมาณวันละ 100-200 ตัน ขึ้นอยู่กับสภาพความหนาแน่นของต้นอ้อย

รถสิบล้อหรือภาชนะบรรจุท่อนอ้อย

ไว้สำหรับรองรับท่อนอ้อยที่ผ่านการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว หลังจากเต็มคันแล้ว จะนำส่งไปยังโรงงานน้ำตาลเพื่อทำการหีบน้ำตาลต่อไป

ล้อยาง เป็นส่วนที่ช่วยขับเคลื่อนรถตัดอ้อย ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิคผ่านไปยังกระปุกเฟืองเพื่อขับล้อให้สามารถเดินหน้า ถอยหลัง ด้วยทรงพลังของระบบไฮดรอลิค และควบการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาของล้อยาง ด้วยระบบไฮดรอลิคที่เป็นการผ่อนแรงให้กับผู้ขับขี่ได้อย่างสะดวกสบาย ตัวล้อยางได้ออกแบบตามมาตรฐานที่มีขนาด ความหนา และความคงทนที่สามารถรองรับการขับเคลื่อนของเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันความเสียหายจากการเหยียบกิ่งไม้ ใบไม้ ภายในไร้อ้อย

ห้องคนขับ

ห้องควบคุมต่าง ๆ สำหรับการขับรถตัดอ้อยและปุ่มควบคุม มีมาตรวัดต่างๆ ที่สามารถแสดงผลของอุณหภูมิและแรงดันของเครื่องจักรขณะทำงาน มีความสะดวกสบาย ขณะเดียวกันห้องคนขับนี้ได้มีการติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ผู้ขับขี่มองเห็น มีทัศนวิศัยที่ดี มีความสะดวกสบายเหมือนกับขับรถยนต์ราคาแพง

กระจกส่องหลัง

สำหรับปรับวิสัยทัศน์ในการขับรถตัดอ้อย สามารถมองได้รอบด้านของรถตัดอ้อย และยังมีกล้อง CCTV ในขณะที่ตัดอ้อยและขณะที่ป้อนท่อนอ้อย

โคมไฟหน้า-ท้าย

เป็นโคมไฟ LED ที่ให้ความสว่างสูงมาก ใช้หลอดไฟที่ประหยัดไฟ สำหรับโคมไฟหน้าสามารถปรับระดับสูง-ต่ำได้ เพื่อส่งไฟไปข้างหน้าให้ปรับระดับสูง-ต่ำได้



Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

วาล์วไฮดรอลิค แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

วาล์วไฮดรอลิค แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไร หากพูดถึงอุปกรณ์ไฮดรอลิคคงหนีไม่พ้นวาล์วไฮดรอลิคที่เป็นอุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต้องมี แต่วาล์วไฮดรอลิคแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง Thai-A จะพามาทำความเข้าใจมากขึ้นของระบบไฮดรอลิคในหมวดวาล์วไฮดรอลิคกัน

วาล์วไฮดรอลิค


วาล์วไฮดรอลิค มีกี่ชนิดแบ่งออกได้ดังนี้

1. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางที่ต้องการ เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะตามการควบคุม

  • 1.1 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางด้วยไฟฟ้าแบบตรงหรือโซลีนอยด์วาล์ว (Solenoid Pilot operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์ว ใช้สำหรับควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้าในการดึงก้านวาล์วให้เคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนทิศทางของน้ำมัน โดยการเลือกขนาดของวาล์วควบคุมทิศทางจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของปั๊มเป็นหลัก โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางหรือโซลีนอยด์วาล์วชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับระบบที่มีแรงดันและอัตราการไหลที่สูง

  • 1.2 วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้การโยกมือโยกเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของก้านวาล์วเพื่อกำหนดทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิค โดยวาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยกจะมีทั้งแบบล๊อคตำแหน่ง (Ball locking) และ แบบดันกลับด้วยสปริง (Spring return) โดยวาล์วลักษณะนี้มักจะพบในระบบที่เคลื่อนที่ เช่น ในรถเพื่อการเกษตร (Mobile Equipment) หรือเรือ เนื่องจากมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน และสะดวกในการควบคุมการทำงาน

  • 1.3 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไก (CAM-Operated directional control hydraulic valve)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบกลไกที่ใช้ควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้กลไกภายในเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำมัน โดยจะมีทั้งแบบปกติเปิด (NO) และ ปกติปิด (NC)

  • 1.4 วาล์วควบคุมแรงดัน (Pressure Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม และปรับความดันในวงจรต่าง ๆ ให้มีกำลังอัดเพิ่มขึ้น หรือลดลง ได้ตามต้องการ

  • วาล์วระบาย แบบสัญญาณควบคุม ( Remote Control Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบควบคุมโดยตรง ( Direct Type Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต ( Pilot Operated Relief Valves )
  • วาล์วระบาย แบบไพล็อต สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Pilot Operated Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย ( Solenoid Controlled Relief Valves )
  • โซลินอยด์ควบคุม วาล์วระบาย สัญญาณรบกวนต่ำ ( Low Noise Solenoid Controlled Relief Valves )
  • วาล์วควบคุมแรงดัน รุ่น H/ HC ( H/ HC Type Pressure Control Valves )
  • วาล์วลดแรงดัน / วาล์วลดแรงดันและกันกลับ  ( Pressure Reducing Valves / Pressure Reducing and Check Valves )
  • วาล์ลดแรงดันและวาล์วระบาย  ( Pressure Reducing Valves and Relief Valves )
  • วาล์วระบายสำหรับสภาวะไม่มีโหลด ( Unloading Relief Valves )
  • วาล์วสำหรับเบรกมอเตอร์ไฮดรอลิค ( Brake Valves )
  • สวิทช์แรงดัน ( Pressure Switch )
  • 1.5 วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow Control Valves)

วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหล จะใช้ควบคุมความเร็วของลูกสูบโดยการปรับเปลี่ยนขนาดของช่องทางของวาล์วที่ให้น้ำมันไหลผ่าน เพื่อควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้มีแรงดันที่เหมาะสมกับระบบ

  • 1.6 วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียว (One way flow control valve)

วาลว์ไฮดรอลิคชนิดนี้สามารถควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันได้เพียงทิศทางเดียว ดังนั้นจึงเป็นวาล์วที่ใช้สำหรับควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะที่เคลื่อนที่เข้าหรือออกได้อย่างอิสระ

2. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค
  • 2.1 แบบวิ่งทิศทางเดียว (One-way check valve)

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว เช่น การติดวาล์วหน้าปั๊มไฮดรอลิค กันน้ำมันไหลย้อนกลับ ในกรณีต้องใช้ร่วมกันหลายปั๊มไฮดรอลิค

  • 2.2 แบบวิ่งกลับได้ (Pilot operated check valve)

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) ที่ให้น้ำมันวิ่งผ่านทิศทางเดียว แต่ยินยอมให้น้ำมันไหลย้อนกลับได้โดยใช้สัญญาณ pilot pressure เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้ที่รูน้ำมันท้ายกระบอกไฮดรอลิค




3. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบมือโยก (Hydraulic Manual Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิคที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports), แบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) และแบบห้ารูน้ำมัน (five-ports)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานโมบาย (mobile equipment) งานเรือ (marine equipment)

4. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมทิศทางแบบโซลินอยวาล์ว (Hydraulic Solenoid Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคที่นิยมใช้กันมากคือ แบบสองรูน้ำมัน (two ports), แบบสามรูน้ำมัน (three-ports) และแบบสี่รูน้ำมัน (four-ports) หรือที่มักเรียกว่า Port P,T,A,B มีไฟฟ้าควบคุม 220 V-AC, 12 V-DC และ 24 V-DC ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งไปและกลับของ Actuator ( กระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค ) โดยใช้ไฟฟ้าเป็นตัวสั่งงาน เช่น การติดตั้งวาล์วชนิดนี้กับกระบอกไฮดรอลิค ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าพลาสติก เครื่อง Die Casting เครื่องฉีดอลูมิเนียม และงานโมบาย (mobile equipment) เช่น รถตัดอ้อย รถยกสินค้า รถขนส่งสินค้าในสนามบิน เป็นต้น

5. วาล์วไฮดรอลิคจำกัดความดัน/รีลีฟวาล์ว (Hydraulic Pressure Relief Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุม จำกัดความดันของน้ำมันไฮดรอลิค ไม่ให้เกินค่าที่ตั้งไว้ โดยต้องอยู่ในค่าของสปริงที่กำหนดตามความเหมาะสมกับการใช้งาน วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ต้องมีติดตั้งไว้หน้าปั๊มไฮดรอลิคเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวปั๊มไฮดรอลิคใช้งานเกินกำลัง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสึกหรอภายในของปั๊มไฮดรอลิค หรืออุปกรณ์ไฮดรอลิค ส่วนอื่น ๆ วาล์วไฮดรอลิคชนิดนี้ยังแบ่งย่อยประเภท ตามลักษณะการทำงาน คือ

  • 5.1 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบทำงานโดยตรงผ่านสปริง (direct acting type)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งโดยตรงเมื่อรับความดันเกินค่าที่ตั้งไว้ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวรีโมทตั้งค่าความดัน ให้กับวาล์วแบบไพล็อตอีกด้วย

วาล์วไฮดรอลิค
  • 5.2 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบไพล็อต (pilot operated, balance piston type)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่เปิดน้ำมันทิ้งแต่ทำงานแบบนิ่มนวลกว่าและได้ค่าที่คงที่กว่า

วาล์วไฮดรอลิค
  • 5.3 วาล์วไฮดรอลิคควบคุมความดันแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Relief Valve)
วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ตั้งค่าและปรับค่าความดันของน้ำมันไฮดรอลิคได้แบบหลายค่า อย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับค่าความดันของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่าในวงจรไฮดรอลิคเดียวกันตามลักษณะของงาน

6. วาล์วไฮดรอลิค ลดความดัน (Hydraulic Reducing Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ลดความดันลงจากความดันหลักที่ใช้ในระบบไฮดรอลิค เช่น การยึดให้ชิ้นงานคงอยู่กับที่ไม่เคลื่อนออก มักใช้ในงานที่วงจรไฮดรอลิคต้องการค่าความดันหลายค่าในระบบ

7. วาล์วไฮดรอลิค ตัดภาระโหลด (Hydraulic Unloading Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ตัดภาระโหลดของปั๊มไฮดรอลิคในวงจรไฮดรอลิคที่มีปั๊มไฮดรอลิคหลายตัวทำงานร่วมกัน มักพบในงานที่ต้องการอัตราการไหลสูง โดยใช้ปั๊มไฮดรอลิคร่วมกันหลายตัว


8. วาล์วไฮดรอลิค หยุดการเคลื่อนที่ (Hydraulic Counter Balance Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่หยุดหรือเบรคภาระโหลดที่กำลังเคลื่อนที่ของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิค

9. วาล์วไฮดรอลิค ควบคุมลำดับการทำงาน (Hydraulic Sequence Valve)

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมให้การทำงานของกระบอกไฮดรอลิคและมอเตอร์ไฮดรอลิคทำงานแบบต่อเนื่องเป็นลำดับ มักใช้ในงานโลหะขึ้นรูป

10. วาล์วไฮดรอลิค ควบคุมอัตราการไหลแบบปิด-เปิด (Hydraulic Shut-off Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมการไหล โดยปิด-เปิดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคทั้งขาไปและขากลับในอัตราที่เท่ากัน เช่น การปิด-เปิด หรือการแบ่งน้ำมันไปใช้ในระบบไฮดรอลิคที่ไม่เน้นค่าความละเอียดการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคมากนัก

11. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบแบบหรี่น้ำมัน (Hydraulic Flow Control Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

12. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบชดเชยความดัน (Hydraulic Flow Control Valve: Compensated Type)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิคทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้ค่อนข้างคงที่ แม้ในขณะที่ความดันและอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น งานเครื่องฉีดพลาสติก งาน Machine Tools มีลักษณะการติดตั้ง 2 แบบ คือ 

13. วาล์วไฮดรอลิคควบคุมอัตราการไหลแบบสัดส่วน (Hydraulic Proportional Valve)

วาล์วไฮดรอลิค

วาล์วไฮดรอลิกทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคด้วยระบบไฟฟ้า สามารถปรับค่าอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคได้รวดเร็ว หลายค่า โดยใช้ไฟฟ้า ส่วนมากใช้ในงานที่ต้องการปรับอัตราการไหลของน้ำมัน โดยเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้หลายค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง


และนี่ก็เป็นข้อมูลวาล์วไฮดรอลิคที่ Thai-A อยากส่งต่อเป็นความรู้ หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องของวาล์วไฮดรอลิค หรือเรื่องอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น นิวเมติกส์ ไฮดรอลิค แผงโซล่าเซลล์ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี



ติดต่อสั่งซื้อสินค้าได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


วาล์วไฮดรอลิคแบรนด์ชั้นนำ

วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค
วาล์วไฮดรอลิค


Read More
วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานคุณที่ควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้ วาล์วไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมทิศทางของน้ำมัน เพื่อนำไปควบคุม Actuator เช่น กระบอกสูบ หรือ มอเตอร์ไฮดรอลิคให้หยุดหรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ โดยวาล์ไฮดรอลิคสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้


วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทางทำหน้าที่เลือกทิศทางการไหลของน้ำมันให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ โครงสร้างของวาล์วควบคุมทิศทางโดยวาล์วควบคุมทิศทางสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะตามการควบคุม วาล์วควบคุมทิศทางชนิดใช้ไฟฟ้าควบคุม(Solenoid control valves) , วาล์วควบคุมทิศทางแบบทางกล (Manual operate valves)

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้



วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

วาล์วไฮดรอลิคคืออะไร อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐานที่คุณควรรู้



วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่าง ๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

บทความที่เกี่ยวข้อง


หากท่านสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ได้รับการรับรองมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีความเชี่ยวชาญในประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ในระบบไฮดรอลิค

อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคพื้นฐาน ในระบบไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค มาจากภาษากรีก คือไฮโดร (Hydro) หมายถึง น้ำและออลิส (Aulis) หมายถึง ท่อ ดังนั้นไฮดรอลิค หมายถึงการไหลของน้ำในท่อ ซึ่งระบบไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงานในรูปของอัตราการไหลและความดันเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยผ่านตัวกระทำ เช่น กระบอกสูบ มอเตอร์ไฮดรอลิค

ระบบไฮดรอลิค


ส่วนประกอบของ ระบบไฮดรอลิค (Hydraulic Component)

  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)
  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)
  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันไฮดรอลิค (Filter and Oil Cooler)
  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)
  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)
  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)
  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)
  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)


  • ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump)

ปั๊มไฮดรอลิ ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคภายใต้ความดัน โดยทั่วไปต้นกําลังที่่ขับปั๊มไฮดรอลิคจะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า

  • ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค (Oil Reservoir)

ถังพักน้ำมันไฮดรอลิค ทําหน้าที่เก็บน้ำมันไฮดรอลิครวมถึงเป็นที่พักของน้ํามันไฮดรอลิคที่ผ่านอุปกรณ์ต่างๆและไหลกลับมายังถังพักน้ำมันไฮดรอลิค เพื่อใช้งานการหมุนเวียน

  • อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน (Filter and Oil Cooler)

อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ชุดกรองน้ำมันไฮดรอลิค มีหน้าที่กรองสิ่งสกปรกของน้ำมันไฮดรอลิคไม่ให้เข้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงชุดระบายความร้อนของน้ำมันไฮดรอลิค

  • วาล์วควบคุมความดัน (Pressure Control Valve)

วาล์วควบคุมความดันในระบบไฮดรอลิค มีหน้าที่ควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย กําหนดระดับความดันในการใช้งาน จัดเรียงลำดับความดันในการใช้งาน และเพื่อลดโหลดหรือภาระของปั๊ม

  • วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valve)

วาล์วควบคุมทิศทาง ทําหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคให้หยุดหรือไปตามทิศทางที่ต้องการ เพื่อให้วงจรหรืออุปกรณ์ทํางานต่างๆ สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางที่ถูกต้องตามต้องการ

  • วาล์วควบคุมการไหล (Flow Control Valve)

วาล์วควบคุมการไหล ทําหน้าที่ในการควบคุมอัตราการไหลของน้ำมันที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์ทํางานต่างๆ เพื่อที่จะควบคุมความเร็วได้ตามความต้องการ

  • อุปกรณ์ทำงาน (Actuator)

อุปกรณ์ทํางานในะบบไฮดรอลิค ทําหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานของของไหลหรือน้ำมันไฮดรอลิคให้เป็นพลังงานกล ซึ่งอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทํางานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรง และมอเตอร์ไฮดรอลิ ซึ่งเป็นอุปกรณทำงานที่เคลื่อนที่ในลักษณะเชิงมุม

  • ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค (Tube Fitting and Hose)

ท่อ ข้อต่อและสายไฮดรอลิค ทําหน้าที่เป็นเส้นทางการไหลของน้ํามันไฮดรอลิคในระบบ

บทความที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

Line ID : @thaiagency

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency


Read More