ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์ คืออะไร

ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์คืออะไร ?

ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์คืออะไร ?

ลักษณะการทำงานของไดโอด คือจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ทางเดียว ไฟฟ้ากระแสตรงจะมีขั้วบวกและขั้วลบ ถ้านำไฟกระแสตรงขั้วบวกไปต่อขั้วลบของไดโอดกระแสไฟฟ้าก็จะไม่ไหลในวงจร แต่ถ้านำไฟกระแสตรงขั้วบวกไปต่อกับไดโอดขั้วบวก กระแสไฟฟ้าก็สามารถไหลผ่านไดโอดไปได้

ไดโอดในแผงโซล่าเซลล์คืออะไร



การนำไดโอดมาใช้กับแผงโซล่าเซลล์นั้นมีการประยุกต์การใช้งานอยู่สองอย่างด้วยกัน

1.)   บล็อกกิงไดโอด (Blocking Diode) ทำหน้าที่ป้องกันการคลายประจุออกมาจากแบตเตอรี่ในตอนกลางคืนหรือไม่มีแสงแดดส่องให้กับแผงโซล่าเซลล์แล้ว เนื่องจากถ้ามืดสนิทโซล่าเซลล์จะเปลี่ยนเป็นมีค่าความต่างศักย์ที่ต่ำกว่าตัวแบตเตอรี่จะทำให้กระแสไหลจากแบตเตอรี่ไปสู่แผงได้ โดยการต่อบล็อกกิงไดโอดจะต่อขั้วบวกของไดโอดเข้ากับขั้วบวกของแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลออกจากตัวแผงเพียงทางเดียว โดยทั่วไปแล้วแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตมาจากโรงงานจะต่อบล็อกกิงไดโอดไว้ภายในแผงด้วย

2.)   บายพาสไดโอด (Bypass-Diode) ทำหน้าที่เป็นตัวทำให้กระแสไฟฟ้าในวงจรไหลผ่านได้ในกรณีที่มีแผงโซล่าเซลล์บางแผงที่ต่ออนุกรมภายในระบบกันอยู่โดนบดบังโดยเงาแดด อย่างที่กล่าวมาในบทที่ผ่านมา ถ้าแผงโซล่าเซลล์ถูกบดบังโดยเงาจะทำให้เกิดความต้านทานในแผงที่สูงขึ้นมาก จึงทำให้ไปหยุดการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าภายในระบบได้ การต่อบายพาสไดโอดต่อโดยขนานกับแผงโซล่าเซลล์ เช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วโรงงานผู้ผลิตจะต่อบายพาสไดโอดมาพร้อมกับแผงโซล่าเซลล์เลย บางผู้ผลิตจะแบ่งเซลล์ออกเป็นอย่างละครึ่งภายในหนึ่งแผง แล้วต่อบายพาสไดโอดมาขนานเซลล์ที่แบ่งไว้ ดังนั้นในหนึ่งแผงอาจมีบายพาสไดโอดอยู่สองตัว การทำอย่างนี้ถ้าเกิดมีเงามาบดบังแสงเพียงครึ่งแผงโซล่าเซลล์ จะทำให้แผงก็ยังคงสามารถผลิตไฟฟ้าต่อไปได้ถึงแม้จะได้พลังงานเพียงครึ่งหนึ่งก็ยังดี

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เมืองร้อนแบบประเทศไทยใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบไหนดี

เมืองร้อนแบบประเทศไทยใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบไหนดี ?

เมืองร้อนแบบประเทศไทยใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบไหนดี ?

ด้วยอากาศบ้านเราที่ต่อให้อยู่ช่วงฤดูหนาวก็ยังมีแดดแสดส่อง ด้วยแสงแดดพวกนี้จึงทำให้โลกเราหันมาใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น หรือที่เรียกว่าโซลาร์เซล์ เป็นการใช้แผงโซลาร์เซลล์กักเก็บแสงแดดแล้วเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่แผงโซลาร์เซลล์ที่เราเห็นกันก็ไม่ได้มีอยู่แค่ชนิดเดียว งั้นเมืองไทยแดดดีแบบนี้ควรใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบไหนกันวันนี้เรามีคำตอบค่ะ

แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโน (Mono Crystalline Silicon Solar Cell)

 แผงชนิดโมโนนี้ ทำมาจากธาตุซิลิคอน ที่มีความบริสุทธิ์สูง ทำให้แผงชนิดนี้ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด (ใช้ได้เฉพาะในเชิงพาณิชย์ )

เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนเป็นแผงที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การใช้งานส่วนใหญ่ จะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ แกดเจ็ต (gadgets) โซลาร์เซลล์ ที่มีความทันสมัยมาก ๆ เช่น กระเป๋าโซลาร์เซลล์, แผงโซลาร์เซลล์แบบพกพา USB, สปอร์ตไลท์โซลาร์เซลล์ รุ่นท็อป, หรือใช้ในโครงการอวกาศ, และส่วนใหญ่ในตลาดยุโรปเกือบทั้งหมด จะเลือกใช้แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้กัน

จุดเด่น ของแผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคือ มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ดีที่สุด

มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 25 ปี ขึ้นไป  เพราะเป็นแผงที่ทำมาจาก ซิลิคอนตั้งต้น ที่มีความบริสุทธิ์มาก

เมืองร้อนแบบประเทศไทยใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบไหนดี ?



แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลี (Poly Crystalline Silicon Solar Cell)

แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีนี้ ทำมาจากธาตุซิลิคอนที่เกิดจากผลึกรวมของธาตุซิลิคอนจากหลาย ๆ แหล่ง มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีรองลงมาจากแผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนและมีราคาที่ถูกกว่า แผงชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่เขตร้อน เช่นประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน นิยมนำมาใช้งานแบบกลางแจ้ง ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เช่น โซลาร์ฟาร์ม, โซลาร์รูฟท็อป , และใช้ในพื้นที่ทำการเกษตร

จุดเด่น ของแผงโซลาร์เซลล์ แบบโพลีคือ มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ดี รองจากแผงชนิดโมโน แต่มีราคาที่ถูกกว่ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 25 ปี ขึ้นไป

หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 คืออะไร

แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 คืออะไร ?

แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 คืออะไร ?

เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์นั้นมีผู้ผลิต อยู่มากมายทั่วโลก และการลงทุนย่อมต้องการผลตอบแทนที่คุ้มค่า เราจะทราบได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์ที่เราสนใจอยู่นั้นของบริษัทใด มีคุณภาพดี และคุ้มค่าแก่การลงทุน?  แล้วบางแผงโซล่าเซลล์มีเครื่องหมาย เทียร์ 1 หรือ Tier 1 บางแผงก็ไม่มี เครื่องหมายนี้มีความสำคัญอย่างไรตามมาดูกันค่ะ

Solar-panel-manufacturer-Tier-rankings
Solar-panel-manufacturer-Tier-rankings

Tier คือ เครื่องหมายการวัดระดับคุณภาพของแผงโซล่าเซลล์ โดยทางโรงงานผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ ต้องมีคุณสมบัติตรงตามระดับนั้น ๆ ซึ่งจะมีอยู่ 3 ระดับคือ Tier 1, Tier 2, Tier 3

Tier 1 คือ แผงโซล่าเซลล์ ที่ผลิตจากผู้ผลิตที่มีโรงงาน และมีแบรนด์เป็นของตัวเอง มีความน่าเชื่อถือสูงที่สุด

Tier 2 คือ แผงโซล่าเซลล์ ที่ผลิตจากโรงงานผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือรองลงมาหรืออยู่ในกลุ่ม Tier 1 มีความน่าเชื่อถือรองจาก Tier 1

Tier 3 คือ แผงโซล่าเซลล์ ที่ผลิตจากโรงงานผู้ผลิตที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือไม่มีแหล่งอ้างอิง ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก

ทำไมต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ Tier 1 ?

การจัดอันดับแผงโซลล่าเซลล์ตามมาตรฐาน Tier 1 โดยบลูมเบิร์กนั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ทำให้ยอดการสั่งซื้อแผงโซล่าเซลล์จากบริษัทผู้ผลิตแบบ Tier 1 นั้นสูงที่สุด ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนจะสามารถมั่นใจได้ว่านอกเหนือจากประสิทธิภาพตามกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานแล้ว หากอนาคตเกิดปัญหากับแผงโซล่าเซลล์ในระยะยาวจะยังมีผู้ผลิตที่คอยดูแลและบำรุงรักษาให้ตลอดอายุที่รับประกันอย่างแน่นอน นอกจากนี้ โครงการใดหรือบริษัทใดเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์แบบ Tier 1 มีโอกาสได้รับการอนุมัติเงินกู้ได้ง่ายกว่าแผงมาตรฐานอื่นอีกด้วย

สรุปง่าย ๆ ว่า แผงโซล่าเซลที่อยู่ใน Tier1 นั้นเป็นแผงโซล่าเซลล์มารตฐาน Investment Grade หรือ อยู่ในกลุ่มที่สามารถลงทุนได้นั่นเอง ไม่สูญเงินในการลงทุนเพราะแผงเจ๊งไปก่อนครบอายุใช้งาน หรือใช้ไปแล้วประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก จนไม่คุ้มค่าการลงทุน



หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย แผงโซล่าเซลล์ มาตรฐาน มอก. พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
แผงโซล่าเซล์คืออะไร ควรเลือกใช้แผงชนิดไหนดี ?

แผงโซลาร์คืออะไร ควรเลือกใช้แผงชนิดไหนดี ?

แผงโซลาร์ คืออะไร ควรเลือกใช้แผงชนิดไหนดี ?

แผงโซลาร์ ทุกวันนี้จะเห็นกระแสของการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ตามจากข่าวสารต่าง ๆ หรือจากการติดตั้งเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ห่างไกลไฟฟ้า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่อยากทำความเข้าใจกับโซล่าเซลล์มากขึ้นว่าสิ่ง ๆ นี้จะช่วยผลิตไฟฟ้าแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้อย่างไร ในบทความนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ

ระบบแผงโซลาร์ทำงานยังไง ?

เป็นกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าขึ้นในสารกึ่งตัวนำ เราจึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้

โซล่าเซลล์


แผงโซลาร์ คืออะไร ?

แผงโซล่าเซลล์คือ การนำเอาโซล่าเซลล์ จำนวนหลาย ๆ เซลล์ มาต่อวงจรรวมกันอยู่ในแผงเดียวกัน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์นั้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านของเราส่วนใหญ่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ  (AC) ดังนั้น ก่อนใช้งานจึงต้องนำมาแปลงไฟเสียก่อน โดยต่อเข้ากับเครื่องแปลงไฟ หรือที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) นั่นเอง

ปัจจุบันแผงโซล่าร์เซลล์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทำมาจากผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) ซึ่งอยู่ในรูปแบบแตกต่างกันไป โดยซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ จะมีโมเลกุลจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า แต่ประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลล์อาจไม่ใช่สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง แต่เป็นเรื่องของคุณภาพสินค้า ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต ความสวยงามที่คู่ควรกับบ้าน และความคุ้มค่าในการลงทุน

โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จะนิยมใช้แผงโซล่าร์เซลล์ด้วยกันอยู่ 2 ชนิด นั่นก็คือ

แผงโซลาร์

1. แผงโซลาร์แบบ (Mono Crystalline Silicon Solar Cell)

แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรืออีกชื่อที่เรียกว่า single crystalline (single-Si) วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางเรียงกันในแนวราบคล้ายการปูกระเบื้อง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม เหมือนกันทุกแผ่นเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโซล่าเซลล์ชนิดแรกที่ถูกสร้างขึ้น แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงในการส่งพลังงานไฟฟ้า

ข้อดี แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนนี้จะมีความไวต่อแสง และมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ติดตั้งมากกว่าแผงแบบโพลี ปัจจุบันสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เกินกว่า 600 วัตต์ขึ้นไป ในขณะที่แผงโพลี ผลิตได้เพียง 360 วัตต์ ต่อขนาดแผงที่เท่ากัน

ข้อเสีย แผงโซลาร์โมโนมีข้อเสียคือเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแดดร้อนจัด ประสิทธิภาพการทำงานของแผงจะลดลงมากกว่าแผงแบบโพลี และมีราคาสูงกว่า

โซล่าเซล์
แผงโซล่าเซลล์

2. แผงโซลาร์แบบ (Poly Crystalline Silicon Solar Cell)

แผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ โดยผลิตจากซิลิคอนที่มีการนำมาหลอมละลายและเข้ารูป ด้วยวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และมีการใช้ซิลิคอนน้อยกว่า แต่ด้วยวิธีนี้โครงสร้างที่ได้จะมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้แผงโซล่าร์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในแบบแรก ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้แผงโซล่าร์ชนิดโพลีมีราคาประหยัดกว่าแผงโซล่าร์ชนิดโมโน

ข้อดี มีราคาถูกกว่าแผงโซล่าร์แบบโมโน และประสิทธิภาพในขณะที่อุณหภูมิสูงทำได้ดีกว่าแผงโซล่าร์เซลล์โมโน

ข้อเสีย ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าแผงโซล่าร์แบบโมโน สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าในกำลังการผลิตที่เท่ากัน

เทคนิคการเลือกซื้อ แผงโซลาร์ ฉบับเข้าใจง่าย

  1. 1.เลือกแผงโซล่าร์เซลล์ให้เหมาะกับงาน หากติดตั้งบนหลังคาบ้านหรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อป ก็สามารถใช้แผงโซล่าร์เซลล์ชนิด Mono และ Poly ได้ ความแตกต่างค่อนข้างน้อย แต่ถ้าหากติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้กับปั๊มน้ำควรเลือกแผงที่มีกำลังวัตต์สูงเนื่องจากการสตาร์ทปั๊มจะใช้กระแสไฟแรงนั่นเองค่ะ
  2. กำลังวัตต์ของแผงโซล่าร์เซลล์ แผงโซล่าร์แต่ละชนิดจะมีกำลังวัตต์ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนเลือกซื้อแผงโซล่าร์เซลล์ล์ควรคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยคำนวณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและบิลค่าไฟย้อนหลัง 3- 12 เดือน เพื่อให้ได้แผงโซล่าร์เซลล์ที่คุ้มค่าและคืนทุนไว
  3. ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เป็นการติดตั้งในระยะยาว การให้คำแนะนำและการรับประกันสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรเลือกผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแผงโซล่าร์เที่มีความน่าเชื่อถือ มีรีวิวการติดตั้ง สินค้าได้มาตรฐาน และบริการหลังการขายที่ครบครัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจุกจิกระหว่างการติดตั้งระบบและช่วยดูแลแผงโซล่าร์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
แผงโซลาร์



บทความที่เกี่ยวข้อง


แผงโซลาร์สำหรับบ้านพักอาศัย

การใช้แผงโซล่าร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถช่วยประหยัดค่าไฟสำหรับทุกคน

แผงโซลาร์


แผงโซล่า สำหรับโรงงานและธรุกิจอุตสาหกรรม

แผงโซลาร์


โซล่าเซลล์ (Solar cell) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ โดยมีการใช้งานทั้งในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและธุรกิจอุตสาหกรรม โรงงานและธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถใช้แผงโซล่าร์เซลล์ได้ในหลายประการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือบางวิธีที่โซล่าเซลล์สามารถนำมาใช้ในโรงงานและธุรกิจอุตสาหกรรม


แผงโซลาร์ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ข้อดีของโซล่าร์เซลล์

  • เป็นพลังงานสะอาดและยังยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การใช้แผงโซลาร์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้าจากบริษัทไฟฟ้า โดยเฉพาะในระยะยาว
  • ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้ามากเกินความต้องการของ สามารถขายไฟฟ้าคือให้แก่การไฟฟ้าได้
  • สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 30 – 60 % ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้งและคุณภาพ
  • มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20 – 30 ปี


ข้อเสียของโซล่าร์เซลล์

  • ประสิทธิภาพของโซล่าเซลล์ในการการผลิตไฟฟ้าแต่ละวันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน
  • สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะเวลากลางวันและมีแดดเท่านั้น
  • ต้องติดตั้งจากทีมงานมืออาชีพ และมีประสบการณ์เท่านั้น



หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ แผงโซลาร์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More
การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์

ปัญหาจากกรณีไฟฟ้าเข้าไม่ถึงยังมีอยู่มากในพื้นที่ทุรกันดาร หรือบ้านสวนที่อยู่ห่างไกล หลายๆ คนจึงพยายามหาทางเลือกที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้นั่นก็คือระบบโซล่าเซลล์ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเจอคือรู้จักโซล่าเซลล์แต่ก็จะไม่รู้ว่าจะใช้ แผงโซล่าเซลล์ขนาดเท่าไหร่ แบตเตอรี่ขนาดไหน

ก่อนการตัดสินใจซื้อโซล่าเซลล์ สิ่งที่ควรทราบถึงระบบที่เราต้องการเพื่อให้การลงทุนที่คุ้มค่าและเหมาะสม ต้องรู้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวันและสถานที่ติดตั้งจึงจะสามารถคำนวณส่วนประกอบของระบบได้ซึ่งปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดใช้พลังงานเท่าไหร่ และเราต้องการเปิดใช้งานนานกี่ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงในกรณีที่แผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถรับแสงเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังงานสำรองที่ได้จากแบตเตอรี่ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไหร่

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์


ขั้นตอนแรกก่อนการออกแบบและคำนวณโซล่าเซลล์

ระบบพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ สิ่งแรกที่ควรทำก่อนการคำนวณ

  • เลือกโหลดไฟฟ้าที่เหมาะสม และลดโหลดไฟฟ้าที่จำเป็น
  • กำหนดพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน
  • วางแผนสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ กรณีไม่มีแดด


ความหมายของหน่วยทางไฟฟ้า ที่จะใช้ในการคำนวณครั้งนี้

1. V (Volt) โวลต์ คือหน่วยที่ใช้เรียกขนาดของแรงดันไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • กระแสสลับ(AC) เช่น ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน 220V หมายถึงขนาดของแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์
  • กระแสตรง (DC) เช่น ในแบตเตอรี่ต่างๆ 12V , 24V หมายถึงขนาดของแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์ และ 24 โวลต์

2. Ah (Ampere-Hour) แอมแปร์-ชั่วโมง ความจุของแบตเตอรี่ในการบรรจุพลังงาน

พลังงานในแบตเตอรี่ 12 V 100 Ah เท่ากับ 12V x 100Ah หรือ 12V x 100A x 3600s จะได้เท่ากับ 4.32 MJ ถ้าแบตเตอรี่ 100 Ah เท่ากับว่าแบตเตอรี่จะจ่ายกระแส 1 แอมแปร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 100 ชั่วโมง หรือแบตเตอรี่จ่าย กระแส 10 แอมแปร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ชั่วโมง

3. W (Watt) วัตต์ คือหน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังไฟฟ้า เช่น หลอดไฟขนาด 20W หมายถึง หลอดไฟใช้กำลังไฟฟ้า 20 วัตต์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์


แบตเตอรี่ (Battery)

จะทำหน้าที่เก็บสำรองไฟฟ้า ในเวลาที่แผงโซล่าเซลล์ไม่สามรถรับแสงได้ (เวลากลางคืน)

สูตรคำนวน ขนาดกระแส/ชั่วโมง ของแบตเตอรี่สามารถคำนวณได้จาก

ขนาดแบตเตอรี่=กำลังไฟฟ้าที่ Load ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน / แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ xประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverterโดย

 * ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80

 * ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85

เครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้า (Charge Controller)

จะทำหน้าที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ ซึ่งต้องมีขนาดเท่ากับหรือมากกว่า กระแสไฟฟ้า (Amp) ที่ไหลผ่านจากแผงโซล่าเซลล์สู่แบตเตอรี่ ดังนั้น ขนาดของเครื่องควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าควรมีขนาดเกินกระแสไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์

การคำนวณแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์


เครื่องแปลงไฟฟ้า (Inverter)

คำนวณจากกำลังวัตต์รวมโดยไม่เอาจำนวนชั่วโมงเข้ามาคูณ

เครื่องซักผ้า 320×1 =320 W

หลอดไฟ     10×3= 30 W

รวม  320+30 = 350 W

ดังนั้นขนาดของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าควรมีขนาด 350 W แต่ควรมีขนาดสูงกว่าหรือที่มีขายในท้องตลาด สำหรับขนาดที่เหมาะควรใช้ ขนาด 500 W  ในส่วนระบบของ Battery ขึ้นอยู่กับการที่เราเลือกใช้ตามขนาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับวิธีการคำนวณการใช้โซล่าเซลล์ หากท่านใดสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More