แผงโซลาร์ คืออะไร ควรเลือกใช้แผงชนิดไหนดี ?
แผงโซลาร์ ทุกวันนี้จะเห็นกระแสของการติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ตามจากข่าวสารต่าง ๆ หรือจากการติดตั้งเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ห่างไกลไฟฟ้า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่อยากทำความเข้าใจกับโซล่าเซลล์มากขึ้นว่าสิ่ง ๆ นี้จะช่วยผลิตไฟฟ้าแทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้อย่างไร ในบทความนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ
ระบบแผงโซลาร์ทำงานยังไง ?
เป็นกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าขึ้นในสารกึ่งตัวนำ เราจึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
แผงโซลาร์ คืออะไร ?
แผงโซล่าเซลล์คือ การนำเอาโซล่าเซลล์ จำนวนหลาย ๆ เซลล์ มาต่อวงจรรวมกันอยู่ในแผงเดียวกัน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์นั้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านของเราส่วนใหญ่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ดังนั้น ก่อนใช้งานจึงต้องนำมาแปลงไฟเสียก่อน โดยต่อเข้ากับเครื่องแปลงไฟ หรือที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์ (Inverter) นั่นเอง
ปัจจุบันแผงโซล่าร์เซลล์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทำมาจากผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) ซึ่งอยู่ในรูปแบบแตกต่างกันไป โดยซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์มาก ๆ จะมีโมเลกุลจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า แต่ประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลล์อาจไม่ใช่สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง แต่เป็นเรื่องของคุณภาพสินค้า ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต ความสวยงามที่คู่ควรกับบ้าน และความคุ้มค่าในการลงทุน
โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่จะนิยมใช้แผงโซล่าร์เซลล์ด้วยกันอยู่ 2 ชนิด นั่นก็คือ
1. แผงโซลาร์แบบ (Mono Crystalline Silicon Solar Cell)
แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรืออีกชื่อที่เรียกว่า single crystalline (single-Si) วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางเรียงกันในแนวราบคล้ายการปูกระเบื้อง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม เหมือนกันทุกแผ่นเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโซล่าเซลล์ชนิดแรกที่ถูกสร้างขึ้น แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงในการส่งพลังงานไฟฟ้า
ข้อดี แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนนี้จะมีความไวต่อแสง และมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ติดตั้งมากกว่าแผงแบบโพลี ปัจจุบันสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เกินกว่า 600 วัตต์ขึ้นไป ในขณะที่แผงโพลี ผลิตได้เพียง 360 วัตต์ ต่อขนาดแผงที่เท่ากัน
ข้อเสีย แผงโซลาร์โมโนมีข้อเสียคือเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแดดร้อนจัด ประสิทธิภาพการทำงานของแผงจะลดลงมากกว่าแผงแบบโพลี และมีราคาสูงกว่า
2. แผงโซลาร์แบบ (Poly Crystalline Silicon Solar Cell)
แผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าร์เซลล์ที่คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ โดยผลิตจากซิลิคอนที่มีการนำมาหลอมละลายและเข้ารูป ด้วยวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และมีการใช้ซิลิคอนน้อยกว่า แต่ด้วยวิธีนี้โครงสร้างที่ได้จะมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้แผงโซล่าร์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในแบบแรก ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้แผงโซล่าร์ชนิดโพลีมีราคาประหยัดกว่าแผงโซล่าร์ชนิดโมโน
ข้อดี มีราคาถูกกว่าแผงโซล่าร์แบบโมโน และประสิทธิภาพในขณะที่อุณหภูมิสูงทำได้ดีกว่าแผงโซล่าร์เซลล์โมโน
ข้อเสีย ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าแผงโซล่าร์แบบโมโน สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าในกำลังการผลิตที่เท่ากัน
เทคนิคการเลือกซื้อ แผงโซลาร์ ฉบับเข้าใจง่าย
- 1.เลือกแผงโซล่าร์เซลล์ให้เหมาะกับงาน หากติดตั้งบนหลังคาบ้านหรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อป ก็สามารถใช้แผงโซล่าร์เซลล์ชนิด Mono และ Poly ได้ ความแตกต่างค่อนข้างน้อย แต่ถ้าหากติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้กับปั๊มน้ำควรเลือกแผงที่มีกำลังวัตต์สูงเนื่องจากการสตาร์ทปั๊มจะใช้กระแสไฟแรงนั่นเองค่ะ
- กำลังวัตต์ของแผงโซล่าร์เซลล์ แผงโซล่าร์แต่ละชนิดจะมีกำลังวัตต์ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนเลือกซื้อแผงโซล่าร์เซลล์ล์ควรคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยคำนวณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและบิลค่าไฟย้อนหลัง 3- 12 เดือน เพื่อให้ได้แผงโซล่าร์เซลล์ที่คุ้มค่าและคืนทุนไว
- ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เป็นการติดตั้งในระยะยาว การให้คำแนะนำและการรับประกันสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรเลือกผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแผงโซล่าร์เที่มีความน่าเชื่อถือ มีรีวิวการติดตั้ง สินค้าได้มาตรฐาน และบริการหลังการขายที่ครบครัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจุกจิกระหว่างการติดตั้งระบบและช่วยดูแลแผงโซล่าร์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
- โซล่ารูฟท็อป (SOLAR ROOFTOP) คืออะไร ติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไงให้คุ้มค่า
- เลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ?
- 10 คำถามของการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปกับ THAI-A
แผงโซลาร์สำหรับบ้านพักอาศัย
การใช้แผงโซล่าร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถช่วยประหยัดค่าไฟสำหรับทุกคน
แผงโซล่า สำหรับโรงงานและธรุกิจอุตสาหกรรม
โซล่าเซลล์ (Solar cell) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ โดยมีการใช้งานทั้งในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและธุรกิจอุตสาหกรรม โรงงานและธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถใช้แผงโซล่าร์เซลล์ได้ในหลายประการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือบางวิธีที่โซล่าเซลล์สามารถนำมาใช้ในโรงงานและธุรกิจอุตสาหกรรม
แผงโซลาร์ มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
ข้อดีของโซล่าร์เซลล์
- เป็นพลังงานสะอาดและยังยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การใช้แผงโซลาร์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้าจากบริษัทไฟฟ้า โดยเฉพาะในระยะยาว
- ระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้ามากเกินความต้องการของ สามารถขายไฟฟ้าคือให้แก่การไฟฟ้าได้
- สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 30 – 60 % ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้งและคุณภาพ
- มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20 – 30 ปี
ข้อเสียของโซล่าร์เซลล์
- ประสิทธิภาพของโซล่าเซลล์ในการการผลิตไฟฟ้าแต่ละวันไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน
- สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะเวลากลางวันและมีแดดเท่านั้น
- ต้องติดตั้งจากทีมงานมืออาชีพ และมีประสบการณ์เท่านั้น
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ แผงโซลาร์ แผงโซล่าเซลล์ มอก. พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency