การควบคุมตำแหน่งของอุปกรณ์กระบอกนิวเมติกส์
การควบคุมตำแหน่งของอุปกรณ์กระบอกนิวเมติกส์
อย่างที่หลาย ๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ากระบอกนิวเมติกส์มีความได้เปรียบในด้านความเร็ว และกำลังแรง ทำให้ระบบนิวเมติกส์เป็นที่นิยมมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ภายในกระบอกนิวเมติกส์จำเป็นต้องมีการควบคุมตำแหน่ง และความเร็ว เพื่อให้กระบอกนิวเมติกส์มีแรงและความเร็วที่เหมาะสมในแต่ละงาน และเพื่อไม่ให้กระบอกลมนิวเมติกส์เกิดการกระแทกเพราะความเร็วที่มากเกินไป วันนี้แอดมินนำข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์การควบคุมตำแหน่งของกระบอกนิวเมติกส์มาฝากกันค่ะ
ตัวกันกระแทกของกระบอกนิวเมติกส์ (Cushion Cylinders)
ตัวกันกระแทกนี้ช่วยให้กระบอกนิวเมติกส์ทำงานช้าลงเมื่อสิ้นสุดจังหวะ มีประโยชน์ในการลดการกระแทกและเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากการ break ระหว่างโลหะกับโลหะอย่างกะทันหัน ซึ่งส่วนใหญ่กระบอกลมนิวเมติกส์จะมีตัวกันกระแทกภายใน และสามารถปรับตั้งค่าได้ด้วย
กระบอกแบบมีแม่เหล็ก (Magnetic Cylinder Pistons)
ก้านลูกสูบกระบอกแม่เหล็กมีความสามารถในการตรวจจับตำแหน่งจังหวะด้วยรีดสวิตช์(Reed switch) โดยภายในลูกสูบจะมีแม่เหล็กเพื่อใช้ในการตรวจจับ เพื่อจะได้รู้ตำแหน่งของกระบอกลมนิวเมติกส์ ว่าเลื่อนอยู่ในตำแหน่งใดแล้ว และช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมทิศทางของกระบอกลมได้อย่างต่อเนื่องและแม่นยำ
วาล์วควบคุมการไหล (Flow control valve )
วาล์วควบคุมการไหลช่วยให้สามารถปรับความเร็วของกระบอกนิวเมติกส์ได้ โดยสามารถแบ่งได้ 3 แบบ ตามลักษณะของการทำงาน
- Flow control meter in ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมเข้ากระบอก
- Flow control meter out ลักษณะการทำงานคือ ปรับลมขณะที่ลมออกจากกระบอก
- Direction flow control ลักษณะการทำงานคือ สามารถปรับได้ทั้งเข้าและออก
โดยปกติทั่วไปที่ใช้เยอะมากที่สุดที่ใช้คือ Flow control meter out คือ ปรับลมขณะขาออก โดยวิธีการปรับขณะที่กระบอกเลื่อนออกให้ปรับด้านหน้า และหากกระบอกลมถอยกลับให้ปรับด้านหลัง
วาล์วเร่งระบาย (Quick Exhaust Valves)
หน้าที่หลักของวาล์วเร่งระบาย คือ การเพิ่มความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยการทำงานคือการเร่งระบายลมให้ออกจากกระบอกให้เร็วที่สุด
วาล์วกันตก (Blocking valve)
วาล์วกันตก (Blocking valve) มีหน้าที่เป็นวาล์ว Safety โดยการทำงานจะใช้สายลมอีกเส้นมาเพื่อยิงปลดล็อค ลักษณะการทำงานมี 2 แบบ คือ แบบ One way และ แบบ Directional
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวช่วยในการควบคุมตำแหน่ง และความเร็วของกระบอกนิวเมติกส์ เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทาง การไหลของลม และความเร็วในการทำงานของกระบอกนิวเมติกส์ สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
กระบอกลมนิวเมติกส์เทียบ คืออะไร ?
กระบอกลมนิวเมติกส์เทียบ คืออะไร ?
กระบอกลมนิวเมติกส์ถือเป็นอีกอุปกรณ์ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบนิวเมติกส์เป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่หลายท่านจะใช้กระบอกนิวเมติกส์ไปติดตั้งกับเครื่องจักร เพื่อควบคุมหรือบังคับให้วัตถุ ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่าเป็นการโหลดชิ้นงาน โดยเราสามารถใช้กระบอกลมนิวเมติกส์เพื่อผลักและดันชิ้นงานให้ไปในทิศทางตามที่กำหนด
แต่เมื่อใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ไปสักระยะและเกิดความเสียหาย จะหารุ่นเดิมมาทดแทนยากมากมายต้องทำอย่างไร ?
จริง ๆ แล้วความพิเศษของกระบอกลมนิวเมติกส์ก็คือสามารถใช้งานได้หลากหลาย แต่กระบอกลมรุ่นเดิมหรือรุ่นเก่านั้นมักจะถูกยกเลิกการผลิตไปอย่างรวดเร็วมาก นั่นก็เพราะว่าบางครั้งผู้ผลิตอาจจะค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ที่จะสามารถผลิตกระบอกลม หรืออุปกรณ์นิวเมติกส์ที่มีคุณภาพที่ดีกว่ารุ่นเก่า ให้ลูกค้านำไปใช้งานได้ โดยบางครั้งจะทำให้ลูกค้าที่ใช้อุปกรณ์รุ่นเก่า ๆ นั้น อาจจะมีปัญหาในการอัปเกรด หรือเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ขึ้นในอนาคตได้
ปัญหาดังกล่าวนั้นก็สามารถแก้ไขได้โดย หากระบอกนิวมติกส์รุ่นใหม่ ๆ มาใช้เทียบเคียงหรือทดแทน เป็นต้น
ข้อดีของกระบอกลมนิวเมติกส์แบบเทียบ
- หาซื้อง่าย และบางรุ่นราคาอาจจะถูกกว่า
- มีหลายรุ่นหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อเพื่อนำไปใช้งานกันได้อย่างจุใจ
- ประหยัดเวลาในการเลือกหารุ่นเดิมมาเปลี่ยนใหม่ เพราะบางครั้งถ้าเราต้องการรุ่นเดิมที่อาจจะถูกยกเลิกการผลิต หรือจำหน่ายจากตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ให้บริการไปแล้ว อาจจะทำให้เราจำเป็นต้องรอ(ถ้ามีการนำเข้าจากต่างประเทศ)ได้ค่ะ
ข้อเสียของกระบอกลมนิวเมติกส์เทียบ
- ประสิทธิภาพอาจจะไม่เทียบเท่ากัน กระบอกลมที่จำหน่ายโดยผู้ผลิตแบรด์ดังหลายเจ้า
- คู่มือการติดตั้งหรือการใช้งานกระบอกลมแบบเทียบรุ่น หรือแม้กระทั่งการบริการหลังการขาย อาจจะมีน้อยกว่าที่ซื้อจากผู้ผลิตแบรนด์ดัง
- อายุการใช้งาน หรือประสิทธิภาพในระยะยาว อาจจะน้อยกว่ากระบอกลมยี่ห้อดี ๆ ที่วางขายในปัจจุบัน แต่ถ้าเทียบกับราคาของกระบอกลมแล้ว ถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนค่ะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
การหาขนาดของกระบอกนิวเมติกส์ก่อนใช้งาน
การหาขนาดของกระบอกนิวเมติกส์ก่อนใช้งาน
ในหลายปีที่ผ่านมาผู้ผลิตกระบอกนิวเมติกส์ต่างจะใช้วิธีการวัดหาขนาด และมาตรฐานต่าง ๆ ของกระบอกนิวเมติกส์ที่หลากหลายกันออกไป ทำให้การวัดหาขนาดกระบอกนิวเมติกส์ไม่ตรงกัน และเกิดความสับสน แต่ในปัจจุบันนี้ปัญหาการวัดหาค่าขนาดของกระบอกนิวเมติกส์ได้ลดลงไปแล้วค่ะ เพราะส่วนประกอบนิวเมติกส์สมัยใหม่ทั้งหมดจะถูกวัดค่าด้วยระบบสากลที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งวันนี้แอดมินมีวิธีการหาขนาดของกระบอกนิวเมติกส์แบบง่าย ๆ มาฝากกันนะคะ จะเป็นอย่างไรตามไปดูกันเลยค่ะ
การหาขนาดกระบอกลมนิวเมติกส์
แน่นอนว่าในการใช้งานกระบอกนิวเมติกส์นั้น แต่ละการใช้งานก็จะมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้ความต้องการขนาด และกำลังของกระบอกนิวเมติกส์ที่แตกต่างกันออกไปเช่นกัน แต่คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างานแต่ละงานควรใช้กระบอกนิวเมติกส์ขนาดเท่าไหร่
อธิบายง่าย ๆ ก็คือผู้อ่านสามารถกำหนดพื้นที่ภายในลูกสูบนิวเมติกส์ โดยใช้สูตร F=PA โดยที่ P คือความดัน และ A คือพื้นที่ และค่า F เท่ากับแรงทั้งหมด ดังนั้นเราจึงสามารถแก้สมการหาพื้นที่โดยใช้ A=F/P ได้โดยใช้ตัวเลขทั้ง 2 ตัวที่เรามีอยู่แล้ว เนื่องจากเราต้องรู้อยู่แล้วว่าเราต้องใช้แรงมากแค่ไหนในการทำงานประเภทที่เราสนใจ
และเมื่อรู้พื้นที่ทั้งหมดที่เราต้องการแล้ว เราสามารถนำมาคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกนิวเมติกส์ได้ โดยส่วนใหญ่ผู้อ่านจะได้ยินวิศวกรพูดถึงพื้นที่ของกระบอกนิวเมติกส์ว่าเป็นรู หรือ Bore ของกระบอกลม นี่เป็นการอ้างอิงถึงความจริงที่ว่ากระบอกลมนั้นต้องมีขนาดรูเท่านี้ เพื่อสร้างพื้นที่ (space) นี้
ในการหาขนาดรู ให้ใช้ square root ของพื้นที่แล้วคูณด้วย 1.1284 เพื่อหาเส้นผ่านศูนย์กลาง ฟังดูแล้วเหมือนยุ่งยากใช่ไหมคะ? แต่จริง ๆ แล้วใช้เวลาไม่กี่วินาทีด้วยเครื่องคิดเลขนะคะ แต่ถ้าไม่อยากคิดเลขให้วุ่นวาย ผู้อ่านก็สามารถใช้ตัวช่วย หรือเครื่องคำนวณขนาดวาล์ว (air valve sizing calculator) ที่สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก ซึ่งจะบอกค่าแรงดันอากาศ ระยะกระบอกสูบ ระยะชัก และเวลาที่แต่ละจังหวะใช้ด้วย
แต่ในบางครั้ง ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ด้วยซ้ำ เพราะโดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูเจาะที่เฉพาะเท่านั้น พิจารณา NCQ2 ซึ่งมีขนาดรูเจาะตั้งแต่ 12 มม. ถึง 100 มม. ตามรายละเอียดต่อไปนี้:
- 12mm
- 16mm
- 20mm
- 25mm
- 32mm
- 40mm
- 50mm
- 63mm
- 80mm
- 100mm
ฉะนั้นการคำนวณค่าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าความแรง ความดัน และพื้นที่ที่ต้องใช้งาน จึงมีความสำคัญเพื่อกำหนดขนาดของกระบอกนิวเมติกส์ที่ถูกต้อง เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับวิธีการหาขนาดของกระบอกนิวเมติกส์ที่แอดมินได้อธิบายไปเบื้องต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
การใช้งานชุดกรองลมในขั้นตอนการเตรียมลมอัดนิวเมติกส์
การใช้งานชุดกรองลมในขั้นตอนการเตรียมลมอัดนิวเมติกส์
ลมอัดที่มีความสะอาดและบริสุทธิ์สูงนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยปกป้องให้อุปกรณ์นิวเมติกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบอกนิวเมติกส์ ปั๊มลมหรืออื่น ๆ ในระบบของเรามีการทำงานที่ดี ประสิทธิภาพที่สูง ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าระบบนิวเมติกส์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ต่างก็เน้นให้ลมอัดที่จ่ายให้กับระบบของตนเองนั้น มีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อีกทั้งลมอัดดังกล่าวจะต้องมีการไหลที่เพียงพอต่อความต้องการของระบบด้วย
ในขั้นตอนเริ่มแรกนั้นลมอัดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีอุปกรณ์ที่จะช่วยทำหน้าที่ตรงนี้ให้กับเรา นั่นก็คือคอมเพรสเซอร์ เมื่อคอมเพรสเซอร์ได้ผลิตลมอัดแล้ว ก็จะนำลมที่ผลิตได้ไปเก็บไว้ในถังเก็บลม ที่อยู่ภายในคอมเพรสเซอร์อีกครั้งหนึ่ง
ที่นี้ก่อนที่เราจะนำลมอัดที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์ไปใช้งานนั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมอากาศหรือลมอัดให้มีคุณภาพก่อน เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าลมอัดที่จะส่งไปให้อุปกรณ์อื่น ๆ นั้นมันมีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ และไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์เหล่านั้นในระยะยาว
ขั้นตอนการเตรียมลมอัดที่ดี ควรจะเป็นอย่างไร?
ในขั้นตอนการเตรียมลมอัดที่ดี จะต้องสามารถผลิตลมอัดได้อย่างต่อเนื่อง รักษาแรงดันลมอัดได้คงที่ ตลอดจนสามารถทำให้ลมอัดมีคุณภาพ เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ อีกทั้งจะต้องสามารถผลิตลมอัดได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของระบบด้วย
ซึ่งไม่ว่าจะมีการใช้งานลมอัดมากขึ้นหรือน้อยลง หรือมีการสูญเสียแรงดันระหว่างทาง ในขั้นตอนการเตรียมลมอัดจะต้องสามารถรองรับกับปัญหานี้ได้ด้วย
- หากโหลดมีการใช้งานลมอัดมากขึ้น ขั้นตอนการเตรียมลมอัดจะต้องสามารถผลิตลมอัดที่มีคุณภาพให้เพียงพอต่อการใช้งานของโหลด
- หากมีการรั่วไหลของลมอัดระหว่างทาง ระบบจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีการรั่วไหลบริเวณใด หรือจะต้องสั่งงานให้ระบบเตรียมลมอัดทำการผลิตลมอัดให้มากขึ้น/น้อยลง/หยุดทำงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ เพื่อให้ระบบมีความปลอดภัยที่เกิดจากข้อผิดพลาดดังกล่าว
นอกจากนี้ ขั้นตอนการเตรียมลมอัดจะต้องสามารถผลิตลมอัดได้มากกว่าแรงดันที่ระบบต้องการ 10-20% โดยแรงดันที่เกินมานี้จะต้องไม่เกินแรงดันสูงสุดที่ระบบสามารถรับได้
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
กระบอกนิวเมติกส์ราคาเท่าไหร่ เลือกใช้รุ่นไหนดี?
PNEUMAX กระบอกนิวเมติกส์ราคาเท่าไหร่ เลือกใช้รุ่นไหนดี?
หากคุณจะซื้อหากระบอกนิวเมติกส์ PNEUMAX ใช้ในงานอุตสาหกรรมสักตัว แต่ยังสงสัยว่าจะเลือกซื้อกระบอกนิวเมติกส์ยี่ห้อไหนดี บางท่านอาจจะ เน้นเฉพาะการทำงานและราคาเป็นหลัก แต่บางท่านอาจจะเลือกซื้อจากผู้ให้บริการ(แบรนด์/ยี่ห้อ) ที่ไว้ใจได้เป็นหลัก ด้วยเหตุผลที่ว่า “คุณภาพและการบริการหลังการขายในระยะยาว” ซึ่งการเลือกซื้อกระบอกนิวเมติกส์ PNEUMAX ของทั้ง 2 กรณีนี้ก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความต้องการ แล้วจะซื้อรุ่นไหนยี่ห้อไหน แล้วราคาเท่าไหร่วันนี้ Thai-A จะมาแนะนำค่ะ
กระบอกนิวเมติกส์ Pneumax
กระบอกนิวเมติกส์ PNEUMAX คุณภาพดีจากอิตาลี ซึ่งเรา Thai-A เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
เน้นจำหน่ายกระบอกลมนิวเมติกส์ PNEUMAX ขนาดมาตรฐาน หลากหลายรูปแบบ มีอุปกรณ์เสริมให้ใช้งานมากมาย มีการวางโซลูชั่นที่เหมาะสมให้กับลูกค้า OEM ที่จะนำไปใช้กับงานทั่วไปไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ และมีคู่มือการใช้งานให้ดาวน์โหลดมากมายเพื่อประสิทธิภาพและบริหารจัดการให้เกิดชิ้นงานด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทาง Pneumax ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์, Oil & Gas, บรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย รองรับทุกความต้องการในงานระบบนิวเมติกส์
แล้วจะเลือกกระบอกนิวเมติกส์อย่างไรดี
จริง ๆ แล้วกระบอกนิวเมติกส์แต่ละราคาขึ้นอยู่กับปัจจัยและตัวแปรอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยซึ่งแต่ละแบรนด์และผู้บริการก็จะมีการบริการที่แตกต่างกันไป เช่น
- กระบอกนิวเมติกส์นั้นเป็นสินค้าที่ต้องผลิตขึ้นมาใหม่หรือไม่
- ต้องนำเข้ากระบอกลมนิวเมติกส์จากต่างประเทศหรือไม่
- กระบอกนิวเมติกชิ้นนั้นใช้กับบางสถานที่ หรือใช้เฉพาะงานหรือไม่
- ประเภทหรือกลุ่มของลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อกระบอกนิวเมติกส์
- ส่วนลดพิเศษ/โปรโมชั่นของผู้ให้บริการแต่ละรายที่มีให้ลูกค้าของตน
ดังนั้นหากจะเลือกซื้อกระบอกนิวเมติกส์แต่ละที่ควรเลือกซื้อกับผู้ผลิตกระบอกนิวเมติกส์มืออาชีพ ที่สามารถให้คำแนะนำและสอบถามข้อมูลในเรื่องของราคาและการใช้งานได้ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดนั่นเองค่ะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ ยี่ห้อ PNEUMAX Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ PNEUMAX และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
ระบบนิวเมติกส์จำเป็นอย่างไร ในงานอุตสาหกรรม
ระบบนิวเมติกส์จำเป็นอย่างไร ในงานอุตสาหกรรม
จะว่าไปแล้วในอุตสาหกรรมที่เราเห็นส่วนใหญ่ ต่างก็มีระบบต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวก ให้กับแผนกต่างๆ ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในสายการผลิต โดยระบบนิวเมติกส์นี้ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่วงการอุตสาหกรรมในประเทศไทยเรานำมาช่วยในการเพิ่มมูลค่าให้กับขั้นตอนการผลิต เนื่องจากว่า ระบบนิวเมติกส์ นั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์โดยรวมนั้นมีราคาถูก ติดตั้งเพื่อใช้งานง่าย ซ่อมแซมได้สะดวกหากเกิดกรณีที่อุปกรณ์แต่ละตัวชำรุดหรือสามารถสั่งซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนได้ อีกทั้งในเรื่องของการบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์นั้น สามารถที่จะดูแลบำรุงรักษาได้ง่ายเมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่น ๆ
ระบบเด่นที่เห็นได้ชัดของการนำระบบหรืออุปกรณ์นิวเมติกส์มาประยุกต์ใช้งานคือ ระบบอัตโนมัติ หรือเครื่องจักรกลที่มีความทันสมัย โดยเครื่องจักรดังกล่าวจะสามารถใช้ทำงานแทนคนได้ โดยในบทความนี้ก็จะขอยกตัวอย่างการใช้งาน ระบบนิวเมติกส์ในวงการอุตสาหกรรม ในบ้านเราให้พอได้เห็นภาพดังนี้คือ
- 1.อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่าง ๆ
- 2.อุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา
- 3.อุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์
- 4.อุตสาหกรรมด้านการผลิตหรือ Production
- 5.อุตสาหกรรมในสาขาอื่น ๆ เช่นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในรถยนต์ รถไฟ อุตสาหกรรมของเล่น อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์ และอุตสาหกรรมการกีฬา เป็นต้น
ซึ่งจากตัวอย่าง การนํานิวเมติกส์ไปใช้งานด้านบนแล้วนั้น เราจะเห็นว่ายังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่นิยมนำอุปกรณ์นิวเมติกส์มาใช้งานด้วย(อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาศัย หลักการทํางานของระบบนิวเมติกส์ ซึ่งบางท่านอาจจะเริ่มพอเห็นภาพถึงความจำเป็นของระบบนิวเมติกส์และ เครื่องจักรที่ใช้ระบบนิวเมติกส์ แล้วว่า ความจำเป็นของ ระบบนิวเมติกส์ นั้นมีความจำเป็นอย่างไร มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างไร นับเป็นเรื่องที่ดีที่มนุษย์เราสามารถที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงและแก้ไขข้อจำกัดของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
การผลิตและเตรียมลมอัดของระบบนิวเมติกส์
การผลิตและเตรียมลมอัดของระบบนิวเมติกส์
ในปัจจุบันนี้ระบบนิวเมติกส์ถูกนำมาใช้ในกระบวนการการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน, เหล็ก, เคมี และอาหาร รวมไปถึงอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือกล เป็นต้น และระบบนิวเมติกส์ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้กับงานอย่างกว้างขวางในการผลิตวัตถุดิบ อย่างเช่น เหล็ก ซึ่งจะพบในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร การประกอบ หีบห่อ การพิมพ์ ระบบหุ่นยนต์ เป็นต้น
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบนิวเมติกส์เป็นการนำเอาพลังงานจากลมอัดมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ทำงาน ซึ่งก่อนที่จะมีการนำลมอัดมาใช้งานนั้น เราจะต้องทำลมอัดให้ความสะอาด หรือที่เรียกว่าระบบการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ (Compressed Air Purification System) นั่นก็คือ การทำให้ลมอัดมีความแห้งสะอาด และมีอุณหภูมิที่ต่ำโดยปราศจากฝุ่น ความชื้น น้ำ น้ำมัน และกลิ่นต่าง ๆ เป็นต้น
โดยจะพบว่าในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ จะต้องการทำความสะอาดของลมอัดแตกต่างกัน เช่น ในวงการแพทย์การใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ในการรักษาคนไข้ มีความจำเป็นที่ต้องการลมอัดที่สะอาดมาก ๆ ปราศจากกลิ่นน้ำมัน เพื่อความปลอดภัยของคนไข้
ซึ่งการเตรียมลมอัดที่สะอาดเพื่อนำไปใช้งานนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตของงานที่จะนำลมอัดไปใช้ ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าหากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบนิวเมติกส์ภายในหน่วยงานหรือโรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้งาน เปรียบเสมือนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอุปกรณ์นิวเมติกส์ไปในตัว เนื่องจากลมอัดที่สะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงอีกด้วย
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
วิธีการทำงานของเซ็นเซอร์กระบอกลมนิวเมติกส์
วิธีการทำงานของเซ็นเซอร์กระบอกลมนิวเมติกส์
เซ็นเซอร์นำเข้ามาใช้เพื่อป้อนข้อมูลตำแหน่งให้กับระบบควบคุมในเครื่องจักรและอุปกรณ์อัตโนมัติ ซึ่งกระบอกนิวเมติกส์ใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับตำแหน่งเชิงเส้นของลูกสูบสำหรับการใช้งานที่ต้องมีการป้อนกลับของตำแหน่ง เซ็นเซอร์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับกระบอกนิวเมติกส์คือเซ็นเซอร์แม่เหล็ก โดยเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะตรวจจับสนามแม่เหล็กที่รวมอยู่ในลูกสูบของกระบอกนิวเมติกส์ เทคโนโลยีเซ็นเซอร์แม่เหล็กแบบต่าง ๆ สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พื้นที่ และความน่าเชื่อถือในการทำงานของระบบนิวเมติกส์ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงการทำงานของเซ็นเซอร์บนกระบอกนิวเมติกส์กันค่ะ
สารบัญ
- เซ็นเซอร์สำหรับอุตสาหกรรม
- ทำไมกระบอกลมนิวเมติกส์ต้องใช้เซ็นเซอร์?
- การติดตั้งเซ็นเซอร์กระบอกลมนิวเมติกส์
- การติดตั้งเซ็นเซอร์ในกระบอกลม ISO 15552
- การติดตั้งเซ็นเซอร์ในกระบอกลม ISO 6432
- การทำงานของเซ็นเซอร์รีด (Reed sensor)
เซ็นเซอร์สำหรับอุตสาหกรรม
เซ็นเซอร์รีด (Reed sensor) เป็นเซ็นเซอร์กระบอกลมประเภททั่วไปที่มีการใช้มานานหลายปีและเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองและพิสูจน์แล้ว แต่ข้อกังวลหลัก 2 ประการของตัวเซ็นเซอร์รีดคือด้านอายุการใช้งาน และการกระแทกหรือการสั่นสะเทือน โดยทั่วไปแล้วเซ็นเซอร์รีดสามารถใช้งานได้แค่ 10 ล้านครั้ง และโดยทั่วไปแล้ว เซ็นเซอร์รีดจะไม่เหมาะกับงานที่มีการกระแทกหรือการสั่นสะเทือนสูง แต่เซ็นเซอร์รีดก็เป็นเซ็นเซอร์กระบอกนิวเมติกส์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอุตสาหกรรม
ทำไมกระบอกลมนิวเมติกส์ต้องใช้เซ็นเซอร์?
เซ็นเซอร์ตำแหน่งเชิงเส้นของกระบอกนิวเมติกส์ใช้เพื่อตรวจจับตำแหน่งเชิงเส้นของลูกสูบระหว่างการทำงาน โดยทั่วไปแล้วกระบอกลมนิวเมติกส์จะทำขึ้นด้วยแม่เหล็กที่ติดอยู่กับลูกสูบภายในอยู่แล้ว เพื่อให้สามารถใช้เซ็นเซอร์แม่เหล็กได้ตามความต้องการ
เซ็นเซอร์สามารถตรวจจับการขยาย การหดกลับ หรือตำแหน่งแต่ละตำแหน่งตามตัวกระบอกลมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ โดยในหนึ่งกระบอกลมนิวเมติกส์เราสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์หลายตัวได้ สำหรับตัวที่มีตำแหน่งป้อนกลับหลายตำแหน่ง ซึ่งกระบอกนิวเมติกส์พร้อมเซ็นเซอร์ตำแหน่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยและการป้อนกลับเพื่อให้แน่ใจว่าตำแหน่งลูกสูบสำหรับการใช้งานถูกต้องและแม่นยำ
การติดตั้งเซ็นเซอร์กระบอกลมนิวเมติกส์
วิธีการติดตั้งเซ็นเซอร์กระบอกลม จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของกระบอกนิวเมติกส์ และประเภทของตัวเซ็นเซอร์ แต่กระบอกลมที่พบบ่อยที่สุดในอุตสาหกรรมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ กระบอกลม ISO 15552 และกระบอกลม ISO 6432 ซึ่งแอดมินจะยกตัวอย่างการติดตั้งเซ็นเซอร์กับกระบอกลม 2 ชนิดนี้ค่ะ
กระบอกลมประเภทนี้มีรูปทรงเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยกระบอกนิวเมติกส์ที่ยึดตามมาตรฐาน ISO 15552 จะมีร่องตามลำตัวเพื่อใส่เซ็นเซอร์เข้าไป จากนั้นยึดเซ็นเซอร์ให้เข้าที่ด้วยชุดสกรู โดยใช้ไขควงยึดให้แน่น แต่ถ้ากระบอกลมมีก้านผูก ซึ่งจะวิ่งตามความยาวของตัวกระบอกสูบที่มุมทั้งสี่ คุณสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์บนแกนยึดและเลื่อนไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมตามความยาวของกระบอกสูบได้
การติดตั้งเซ็นเซอร์ในกระบอกลม ISO 6432
โดยทั่วไปแล้ว กระบอกนิวเมติกส์ทรงกลมจะมีขนาดเล็กกว่า เช่น ISO 6432 แต่กระบอกลมชนิดนี้สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ได้โดยใช้แถบวงกลมเพื่อครอบตัวเรือนของกระบอกลมได้ แต่ต้องระบุแถบตามเส้นผ่านศูนย์กลางของกระบอกลม เมื่อติดตั้งแล้ว เซ็นเซอร์และสายรัดสามารถเลื่อนไปตามความยาวของกระบอกลมแล้วยึดเข้าที่ได้
การทำงานของเซ็นเซอร์รีด (Reed sensor)
เมื่อเทียบกับตัวเลือกเซ็นเซอร์อื่น ๆ Reed สวิตช์มีความคุ้มค่าและสามารถใช้งานกับแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรงได้ นอกจากนี้ Reed สวิตช์เซ็นเซอร์ยังใช้พลังงานต่ำซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการการใช้พลังงานมาก แต่เนื่องจากลักษณะทางกลของการสลับหน้าสัมผัส Reed สวิตช์เซ็นเซอร์จึงมีข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ หน้าสัมผัสคอนแทค การตัดต่อที่มีจำนวนรอบ และจะต้องมีการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง Reed สวิตช์เซ็นเซอร์ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีการสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกสูง การกระแทกและการสั่นสะเทือนที่สูงอาจทำให้หน้าสัมผัสของสวิตช์กระทบกันทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ไม่ถูกต้องได้ และเมื่อเทียบกับเซ็นเซอร์โซลิดสเตต Reed สวิตช์เซ็นเซอร์จะเปิดใช้งานได้ค่อนข้างช้า ซึ่งทำให้ไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม Reed สวิตช์เซ็นเซอร์สำหรับกระบอกลมนิวเมติกส์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากมีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับเซ็นเซอร์ตัวอื่น ๆ
ในการรับผลิตกระบอกนิวเมติกส์ ผู้ผลิตต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานสากลที่ระบุไว้ เพื่อที่ผู้ซื้อจะสามารถประกอบกระบอกลมนิวเมติกส์ หรือติดตั้งเซ็นเซอร์เข้าไปด้วยตัวเองได้ แต่แอดมินแนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนประกอบกระบอกนิวเมติกส์และติดตั้งเซ็นเซอร์กระบอกลมให้จะดีที่สุดค่ะ
บริษัท Thai-A เป็นทั้งผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์ และผู้รับผลิตกระบอกลมนิวเมติก สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ตามวัตถุประสงค์และตามความเหมาะสมกับงาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
ก่อนสั่งทำกระบอกนิวเมติกส์ ต้องรู้อะไรบ้าง ?
ก่อนสั่งทำกระบอกนิวเมติกส์ ต้องรู้อะไรบ้าง ?
ระบบลมอัดหรือระบบนิวเมติกส์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยชุดต้นกำลังในที่นี้เรานิยมเรียกว่า “ปั๊มลม” ปั๊มลมจะทำหน้าที่ส่งลมอัดให้กับอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ จากปั๊มลมไปสู่เครื่องระบายความร้อน > ไปสู่เครื่องทำลมแห้ง > ไปสู่ชุดกรองลม > ไปสู่วาล์วลม > ไปสู่กระบอกลมนิวเมติกส์หรือมอเตอร์หรือหัวขับลม ทำให้ระบบทำงานได้โดยส่วนประกอบของระบบนิวมติกส์ประกอบไปด้วย
- อุปกรณ์ต้นกำลังนิวเมติกส์ (compressor air)
- อุปกรณ์ควบคุมคุณภาพลมอัด (treatment component)
- อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (controlling component)
- อุปกรณ์การทำงาน (actuator or working component)
- อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (piping system)
ซึ่งส่วนประกอบของระบบนิวเมติกส์นั้นถือว่ามีอยู่มากมาย การที่เราจะเลือกซื้อหรือสั่งทำอุปกรณ์มาสักชิ้นเราก็ควรเลือกที่มีคุณภาพดี ซื้อมาแล้วสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเหมาะสมกับงานและสามารถใช้งานได้ระยะยาว โดยขั้นตอนการเลือกซื้อหรือสั่งทำกระบอกนิวเมติกส์และอุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์มีดังต่อไปนี้
เลือกชนิดของกระบอกนิวเมติกส์
ให้พิจารณาจากงานที่จะนำไปใช้ ชนิดของกระบอกลม เช่น กระบอกลมทางเดียว (single-acting cylinders) ซึ่งจะเหมาะกับงานที่มีแรงกระทำไม่มากนัก, กระบอกลมสองทิศทาง (Double-acting cylinders) กระบอกลมประเภทนี้จะใช้แรงดันลมกระทำให้ก้านสูบเคลื่อนที่สองทิศทาง แรงกระทำที่ได้จะมากกว่ากระบอกลมทิศทางเดียว เหมาะสำหรับใช้กับงานทุกประเภท, กระบอกลมชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) การเคลื่อนที่เข้าออกของกระบอกลมที่มีอัตราเร็วและความเร็วสูงจะทำให้เกิดการกระแทกระหว่างลูกสูบและฝาสูบเมื่อออกหรือเข้าสุดระยะชัก กระบอกลมกันกระแทกนี้ถือเป็นตัวป้องกันไม่ให้กระบอกลมชำรุดหรือเสียหายได้
เลือกขนาดของกระบอกลม
ในการเลือกกระบอกลม สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ขนาดของแรงที่กระทำกับปลายก้านสูบและระยะของกระบอกลมที่ใช้งาน โดยการบอกค่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO และระยะชักที่นิยมใช้กันจะมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร
มาตรฐานกระบอกนิวเมติกส์
การเลือกอุปกรณ์มาใช้งานสิ่งที่ผู้ซื้อต้องการมากที่สุดคือเรื่องของคุณภาพ ดังนั้นการที่เราจะเลือกซื้ออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามควรดูและศึกษาว่ากระบอกนิวเมติกส์หรืออุปกรณ์นั้น ๆ ได้รับมาตรฐานหรือไม่ ผู้ผลิตและผู้แทนขายมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
เลือกชนิดของวาล์ว
โดยการเลือกเมนวาล์ว ขนาดของวาล์ว ให้ดูจากลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ เช่น ทางต่อลม ตำแหน่งของวาล์ว และการเลื่อนเปลี่ยนการทำงานของวาล์ว
เลือกอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว
และชนิดของการควบคุมความเร็วของกระบอกลมนิวเมติกส์ ซึ่งการเลือกนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น กระบอกลม ควรใช้ speed flow control ที่เป็นเกลียวเสียบสายลม หรือที่เป็น speed flow control เสียบสายลมแบบ 2 ด้านหัวท้าย เป็นต้น
อุปกรณ์ในการติดตั้ง
หนึ่งในนั้นก็จะเป็นอุปกรณ์ในระบบท่อทาง ซึ่งเป็นท่อที่ใช้ส่งของไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก การนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อความดันลมและอุณหภูมิควรทนได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมี ข้อต่อท่อลมเป็นอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การทำงานมากยิ่งขึ้น และอีกอย่างที่จะขอแนะนำคือ อุปกรณ์เก็บเสียงเป็นอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยลดเสียงที่เกิดเนื่องจากการระบายลมทิ้งของวาล์วควบคุมได้นั่นเอง
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- แรงดันสูงในอากาศส่งผลดี – เสียต่อนิวเมติกส์อย่างไรบ้าง ?
- สั่งผลิตกระบอกนิวเมติกส์กับ THAI-A ดียังไง
- กระบอกนิวเมติกส์ THAI-A รุ่น 1200 และ 1400 SERIES
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand
หลักการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์
หลักการทำงานของกระบอกลมนิวเมติกส์
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการสร้างการเคลื่อนที่เชิงเส้นเพื่อให้อุปกรณ์และเครื่องจักรสามารถดำเนินการได้ โดยกระบอกนิวเมติกส์เป็นอุปกรณ์ทางกลที่แปลงพลังงานจากอากาศอัดเป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น กระบอกนิวเมติกส์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานของวงการอุตสาหกรรม เนื่องจากกระบอกนิวเมติกส์ถือเป็นถังอากาศที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมักนัก แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักการทำงานของกระบอกนิวเมติกส์ขั้นพื้นฐานกันค่ะ
สารบัญ
- ดีไซน์ของกระบอกนิวเมติกส์
- หลักการทำงานของกระบอกนิวเมติกส์
- การตรวจจับตำแหน่งกระบอกนิวเมติกส์
- การกันกระแทก
- บทสรุป
ดีไซน์ของกระบอกลมนิวเมติกส์
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของกระบอกนิวเมติกส์ คือ (A) พอร์ตปลายท่อ (B) แกนยึด (C) พอร์ตปลายก้าน (D) ลูกสูบ (E) กระบอกสูบ (F) และแกนลูกสูบ ตามรูปภาพข้างล่าง
กระบอกลมทรงเหลี่ยมถูกปิดผนึกที่ปลายทั้งสองข้างด้วยที่ครอบหัวและฝาท้าย ภายในกระบอกนิวเมติกส์นี้ ลูกสูบจะขับเคลื่อนแกนในลักษณะเชิงเส้นตรง เมื่ออากาศอัดเข้ามาทางพอร์ตปลายท่อแล้ว (A) ลูกสูบจะเคลื่อนออกจากฝาปิดและดันก้านสูบออก การเคลื่อนไหวนี้เรียกว่าการเคลื่อนไหวบวก และห้องที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวนี้ เราจะเรียกว่าห้องบวก ส่วนห้องลบจะอยู่ฝั่งตรงข้ามเสมอ และเมื่ออากาศอัดเข้าสู่พอร์ตปลายก้านลูกสูบ (D) ก้านลูกสูบจะถูกดันกลับไปที่ตำแหน่งลบ ตามรูปภาพข้างล่าง
หลักการทำงานของกระบอกนิวเมติกส์
กระบอกนิวเมติกส์สามารถแบ่งออกได้เป็น กระบอกลมแบบ Single Acting และ Double Acting
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ Single Acting
ในกระบอกลมแบบ Single Acting อากาศจะถูกจ่ายไปยังด้านใดด้านหนึ่งของลูกสูบ และมีหน้าที่ในการเคลื่อนที่ลูกสูบไปในทิศทางเดียวเท่านั้น การเคลื่อนที่ของลูกสูบในทิศทางตรงกันข้ามนั้นจะถูกกระทำโดยสปริงเชิงกล กระบอกลมแบบ Single Acting สามารถออกแบบให้มีตำแหน่งฐานลบ (การคืนสปริง) หรือตำแหน่งฐานบวก (การยืดสปริง) ได้
แต่ข้อเสียของกระบอกลมแบบ Single Acting คือแรงส่งออกไม่สามารถส่งแรงได้เต็มที่ อันเนื่องมาจากแรงสปริงตรงข้าม นอกจากนี้ระยะชักของกระบอกลมแบบ Single Acting สามารถถูกจำกัดได้ เนื่องจากพื้นที่ที่สปริงอัดใช้ ความยาวของสปริงที่พร้อมใช้งาน และความยาวโครงสร้างของกระบอกลมที่ออกครั้งเดียวจะยาวกว่าระยะชักจริง
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบ Double Acting
ในกระบอกนิวเมติกส์แบบ double-acting อากาศจะถูกส่งไปยังห้องทั้งสองด้านของลูกสูบ ความกดอากาศที่สูงขึ้นในด้านหนึ่งสามารถขับเคลื่อนลูกสูบไปอีกด้านหนึ่งได้ กระบอกสูบแบบ Double-acting เป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะผู้ใช้สามารถควบคุมกระบอกลมได้อย่างเต็มที่
ข้อดีของกระบอกลมแบบ double-acting คือระยะชักที่ยาวกว่า และแรงขับคงที่ตลอดระยะชักเต็ม กระบอกลมเหล่านี้ให้การควบคุมที่ดีขึ้นและทำงานด้วยอัตราการหมุนเวียนที่สูงขึ้น แต่ข้อเสียของกระบอกสูบแบบ double-acting คือความต้องการอากาศอัดที่มากกว่าสำหรับการเคลื่อนที่ทั้งสองทิศทาง
การตรวจจับตำแหน่งกระบอกนิวเมติกส์
ในการตรวจจับตำแหน่งของลูกสูบ ลูกสูบสามารถติดตั้งแม่เหล็กได้ เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนตัว กระบอกลมสามารถรับข้อมูลจากสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นและรับรู้ตำแหน่งของลูกสูบในกระบอกลมได้ Reed สวิตช์และ hall effect เซ็นเซอร์เป็นประเภทเซ็นเซอร์ที่ใช้บ่อยที่สุด
การกันกระแทก (Cushioning)
เมื่อมีอากาศอัดเข้าสู่กระบอกลม การเคลื่อนที่ของลูกสูบในกระบอกนิวเมติกส์จะมีความเร็วมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงได้เมื่อลูกสูบกระทบที่หัวหรือฝาท้ายกระบอก การกระแทกอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบต่าง ๆ ในกระบอกลม ทำให้เกิดเสียงดัง และเกิดการสั่นสะเทือนไปยังโครงสร้างของเครื่องจักรได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น โรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์สามารถชะลอความเร็วของลูกสูบที่บริเวณฝาครอบด้วยการกันกระแทก การกันกระแทกยังสามารถป้องกันไม่ให้ลูกสูบเด้งออกจากตำแหน่งสุดท้าย โรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ส่วนใหญ่จะติดตั้งระบบลดแรงกระแทกเมื่อสิ้นสุดระยะชักด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ติดตั้งโช๊คอัพแบบยืดหยุ่น (Flexible shock absorbers) หรือเบาะลมแบบปรับได้ (Adjustable pneumatic cushioning)
บทสรุป
กระบอกลมนิวเมติกส์จะแปลงพลังงานกลให้กลายเป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น โดยกระบอกลมจะถูกปิดผนึกที่ปลายทั้งสองข้างด้วยที่ครอบหัวและฝาท้าย ภายในกระบอกลมนิวเมติกส์นี้ ลูกสูบจะขับเคลื่อนแกนในลักษณะเชิงเส้นตรง เมื่ออากาศอัดเข้ามาทางพอร์ตปลายท่อแล้ว ลูกสูบจะเคลื่อนออกจากฝาปิดและดันก้านสูบออก
บริษัท Thai-A เป็นทั้งผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์ และผู้รับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ตามวัตถุประสงค์และตามความเหมาะสมกับงาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวเมติกส์ที่มีคุณภาพกับทางเราได้
บทความที่น่าสนใจ
- แรงดันสูงในอากาศส่งผลดี – เสียต่อนิวเมติกส์อย่างไรบ้าง ?
- สั่งผลิตกระบอกนิวเมติกส์กับ THAI-A ดียังไง
- กระบอกนิวเมติกส์ THAI-A รุ่น 1200 และ 1400 SERIES
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
Email : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @pneumaxthailand