กระบอกไฮดรอลิคดริฟท์เกิดจากอะไร ?
กระบอกไฮดรอลิคดริฟท์เกิดจากอะไร ?
คุณเคยเจอกับเครื่องจักรกลต่าง ๆ เคลื่อนที่ช้า เฉื่อย มีความผิดปกติ หรือตำแหน่งของกระบอกไฮดรอลิคเคลื่อน เมื่อคุณใช้งานเครื่องจักรหรือไม่? หรือบางทีคุณอาจสังเกตเห็นว่ากระบอกไฮดรอลิคค่อย ๆ จมลงในขณะที่บรรทุกของหนัก สิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีเหล่านี้ เราเรียกว่าการดริฟท์ (Drift) ของกระบอกไฮดรอลิค ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้กระบอกไฮดรอลิคทำงานผิดปกติ และแม้ว่าปัญหาอาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบไฮดรอลิคก็ตาม แต่ในบทความนี้เราจะมาเน้นที่สาเหตุและการป้องกันการดริฟท์ของกระบอกไฮดรอลิคกันค่ะ
ทำไมกระบอกไฮดรอลิคถึงดริฟท์ ?
1. การดริฟท์อาจทำให้การกระตุกในอุปกรณ์ที่เคยทำงานอย่างราบรื่น เมื่อพูดถึงอุปกรณ์ที่รับน้ำหนักได้หลายตัน นี่อาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อความปลอดภัยได้
2. การกระจายตัวของของไหลไฮดรอลิคที่ไม่สม่ำเสมอ เพิ่มการกระจายของแรงและแรงดันที่เกิดขึ้นบนบริเวณเดียวของอุปกรณ์ ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลวได้ และสามารถเป็นอันตรายเมื่อคุณยก จับ หรือเคลื่อนย้ายของหนัก
การวินิจฉัยการดริฟท์ของกระบอกไฮดรอลิคในทันทีที่คุณเริ่มพบปัญหาจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไฮดรอลิคหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้ ฉะนั้น คุณควรตรวจสอบระบบไฮดรอลิคของคุณอย่างสม่ำเสมอ และใช้งานอุปกรณ์ภายใน ด้วยความเร็วและความสามารถรับน้ำหนักที่แนะนำจากผู้ผลิตเท่านั้น
เคล็ดลับสำหรับการป้องกันการดริฟท์ในกระบอกไฮดรอลิค ?
การดริฟท์ของกระบอกไฮดรอลิค เป็นสัญญาณว่ากระบอกสูบทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ออกแบบไว้ การเพิกเฉยต่อปัญหาจะทำให้สิ่งต่าง ๆ แย่ลง และทำให้ส่วนประกอบและอุปกรณ์ในกระบอกไฮดรอลิคของคุณเสียหายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แอดมินมีเคล็ดลับที่คุณสามารถทำได้ เพื่อป้องกันตัวเองและเครื่องจักรของคุณ
การเลือกใช้กระบอกไฮดรอลิคคุณภาพดีได้มาตรฐาน และถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์การใช้งาน หลีกเลี่ยงการเลือกกระบอกสูบอเนกประสงค์ทั่วไป
ดูแลเครื่องจักรของคุณสม่ำเสมอ การบำรุงรักษากระบอกไฮดรอลิคเป็นประจำ ควรรวมถึงการปรับสภาพของเหลว ใช้การกรองคุณภาพสูงและระดับความสามารถในการตรวจสอบอยู่เสมอ และตรวจสอบแท่งเพื่อความตรง ความเสียหาย และสภาพการติดตั้งและหมุด หากชิ้นส่วนใดดูสึกหรือเสียหายเล็กน้อย ให้รีบเปลี่ยนทันที
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร :02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
หลักการทำงานของซีลไฮดรอลิค
หลักการทำงานของซีลไฮดรอลิค
หลักการทำงานของซีลไฮดรอลิค Hydraulic Seals ใช้ในงานป้องกันการรั่วซึมของของเหลวจากกระบอกไฮดรอลิค ซีลกระบอกไฮดรอลิคต้องมีคุณสมบัติคือทนอุณหภูมิที่สูงและแรงดันสูงได้อีกด้วย
ระบบไฮดรอลิค
เป็นกระบวนการทำงานโดยใช้ของเหลวคือน้ำมันไฮดรอลิค ถ่ายทอดกำลังจากปั๊ม ขับเคลื่อนระบบด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ส่งไปยังอุปกรณ์ทำงาน ก็คือ กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulics Cylinder) ที่ทำหน้าที่เป็น อุปกรณ์ทำงานปลายทางที่เปลี่ยนอัตราไหลและความดันในระบบ เป็นแรงดึงและแรงดันในรูปแบบของการทำงานเชิงเส้นตรง
ภายในกระบอกไฮดรอลิค ซีลและแพ็กกิ้งทำหน้าที่เป็นตัว ซีล (Seal) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าทำหน้าที่ป้องกันการรั่วซึมของน้ำมันไฮดรอลิค อุปกรณ์ตัวเล็ก ๆ ดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการทำงานของกระบอกไฮดรอลิค จำเป็นต้องใช้วัสดุที่ดีและคำนึงถึงคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์ สามารถถ่ายทอดกำลังให้กับระบบได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกไฮดรอลิคอุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง
- สายไฮดรอลิคคืออะไร ?
- วิธีทำให้ระบบไฮดรอลิคมีประสิทธิภาพดีอยู่เสมอ
- กระบอกไฮดรอลิคกับกระบอกนิวเมติกส์ทำงานแตกต่างกันอย่างไร ?
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ประเภทของการรั่วซึมของกระบอกไฮดรอลิค
ประเภทของการรั่วซึมของกระบอกไฮดรอลิค
ประเภทของการรั่วซึมของกระบอกไฮดรอลิค เมื่อเกิดการรั่วซึมของกระบอกไฮดรอลิค ผู้ใช้งานโดยทั่วไปอาจจะสังเกตได้ง่ายจากของเหลวที่รั่วซึมออกมาบริเวณภายนอกกระบอก แต่ยังมีการรั่วซึมอีกแบบหนึ่งที่ต้องทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของการรั่วซึมอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นจึงขอจำแนกประเภทการรั่วซึมไว้ดังต่อไปนี้
กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมจากภายนอก
เป็นการรั่วซึมของน้ำมันที่รั่วออกมาจากกระบอกไฮดรอลิค สามารถมองเห็นได้ หรืออาจจะสังเกตได้จากระดับน้ำมันในระบบลดลงนั่นเอง
ลักษณะของการรั่วซึม : มีการรั่วซึมออกมาบริเวณคอกระบอกไฮดรอลิค หรือเสื้อสูบ
สาเหตุ : ซีลคอเสียหาย (Rod Seal) และ โอริงเสื้อสูบเสียหาย (O-Ring Bore)
กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมภายใน
เป็นการรั่วซึมภายในกระบอกไฮดรอลิคระหว่างห้องแรงดันสูง กับห้องแรงดันต่ำ ไม่มีการสูญเสียน้ำมัน
ลักษณะของการรั่วซึม : ลูกสูบเคลื่อนที่กลับ, ความดันทางด้านแรงดันสูงตกลง, กระบอกเคลื่อนที่ช้า
สาเหตุ : ซีลลูกสูบเสียหาย (Piston Seal) และ โอริงลูกสูบเสียหาย (O-Ring Piston)
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 6 อุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานของไฮดรอลิค
- การพัฒนาระบบไฮดรอลิค
- รถลากไฮดรอลิค – รถยกไฮดรอลิค มีการทำงานอย่างไร ?
สนใจสอบถามได้ที่
โทร :02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
หัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคคืออะไร?
หัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคคืออะไร?
หัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคคืออะไร ไฮดรอลิคเป็นระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของของไหลให้เป็นพลังงานกล โดยระบบไฮดรอลิคนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ซึ่งใช้น้ำมันไฮดรอลิคเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงาน เพราะน้ำมันไฮดรอลิคมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ไม่สามารถยุบตัวได้จึงทำให้การส่งถ่ายพลังงานมีประสิทธิภาพมาก จึงถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบไฮดรอลิคและเป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิค
ในระบบไฮดรอลิคน้ำมันไฮดรอลิคมีหน้าอย่างไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญต่อระบบไฮดรอลิคมากไปดูกันค่ะ
1. ส่งผ่านกำลังงาน น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการถ่ายทอดกำลังงานจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งในระบบไฮดรอลิค เพื่อเปลี่ยนแปลงกำลังงานของของไหลให้เป็นกำลังงานกล
2. หล่อลื่น น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการหล่อลื่น และลดแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ที่สัมผัสกัน ฟิล์มของน้ำมันไฮดรอลิคช่วยหล่อลื่นและลดการเสียดสีของผิวสัมผัสระหว่างแกนวาล์วกับผนังภายในตัววาล์ว เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบไฮดรอลิคนั้นสามารถเคลื่อนไปได้อย่างคล่องตัว
3. ซีล น้ำมันไฮดรอลิคจะทำหน้าที่เป็นซีลป้องกันการรั่วซึมภายในระบบไฮดรอลิคให้เกิดน้อยที่สุด เมื่อมีความดันเกิดขึ้นในระบบ เพราะว่าในระบบไฮดรอลิคอุปกรณ์ส่วนมากจะถูกออกแบบให้มีการ ซีลแบบโลหะต่อโลหะ และการทำหน้าที่เป็นตัวซีลนี้จะขึ้นอยู่กับความข้นใสของน้ำมันไฮดรอลิคแต่ละชนิดด้วย
4. ระบายความร้อน ในขณะที่ระบบไฮดรอลิคทำงาน จะเกิดความร้อนขึ้นซึ่งน้ำมันไฮดรอลิคที่ไหลเวียนในระบบจะช่วยระบายความร้อนของระบบได้ ซึ่งจะถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากสูญเสียกำลังงานในระบบเข้าสู่ตัวมัน และถ่ายเทความร้อนนั้นผ่านผนังของถังพักเมื่อไหลลงสู่ถังพัก
และนี่ก็คือหน้าที่ของส่วนประกอบที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของระบบไฮดรอลิคที่แอดมินนำมาฝากในวันนี้ แอดมินหวังว่าข้อมูลที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะมีประโยชน์กับหลายๆ คนที่กำลังสนใจเกี่ยวกับไฮดรอลิคไม่มากก็น้อย และถ้าหากใครที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจเกี่ยวกับไฮดรอลิคก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ thaia.co.th เพราะเราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
การพัฒนาระบบไฮดรอลิค
การพัฒนาระบบไฮดรอลิค
การพัฒนาระบบไฮดรอลิค ในสมัยนี้ระบบไฮดรอลิคมีอยู่ในหลาย ๆ ส่วนของอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนานำเอาระบบไฮดรอลิคมาใช้งานโดยแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1. ไฮดรอลิคพลังงานน้ำ (water hydraulics)
เป็นวิชาที่ได้กำเนิดมาหลายปี ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานน้ำ การส่งน้ำ การควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติ ตัวอย่างงานได้แก่ การผลิต กระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานน้ำจากเขื่อนเก็บน้ำต่าง ๆ การชลประทาน เช่น การขุดคูคลองส่งน้ำไปตามไร่นา เป็นต้น
2. ไฮดรอลิคน้ำมัน (oil hydraulics)
เป็นวิชาการที่ถูกนำมาใช้ประมาณปี พ.ศ 2449 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแรงที่ได้จากการนำเอาน้ำมันเป็นตัวส่งถ่ายกำลังงาน ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบเบรกในรถยนต์ แม่แรงไฮดรอลิค เครื่องกดอัด รถขุดตักดิน เป็นต้น ระบบไฮดรอลิคน้ำมัน (oil hydraulics system) แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันอุตสาหกรรม (industrial hydraulics system) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบไฮดรอลิคในเครื่องไส เครื่องกลึง เครื่องกดอัด ปั๊มขึ้นรูปชิ้นงาน เครื่องฉีดพลาสติก
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันสำหรับยานพาหนะ (mobile hydraulics system) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบเบรกรถยนต์ ระบบบังคับเลี้ยวของรถยนต์
- ระบบไฮดรอลิคน้ำมันสำหรับงานขนส่งและงานโยธาธิการ (oil hydraulics system for handing and civli) ตัวอย่างงานได้แก่ ระบบไฮดรอลิคของรถดัมพ์ รถยก รถขุด รถไถ
จะเห็นได้ว่าระบบไฮดรอลิคได้พัฒนาและประยุกต์มาใช้งานอย่างมาก และเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเหลือในด้านทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร :02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
รถลากไฮดรอลิค – รถยกไฮดรอลิค มีการทำงานอย่างไร ?
รถลากไฮดรอลิค – รถยกไฮดรอลิค มีการทำงานอย่างไร ?
รถลากไฮดรอลิค – รถยกไฮดรอลิค มีการทำงานอย่างไร ? หลายคนคงเคยไปห้างสรรพสินค้าแล้วเจอรถลากหรือรถยกในห้องกำลังขนถ่ายสินค้า แล้วมีความสงสัยว่ารถแบบนี้ทำงานอย่างไร มีระบบอะไรบ้างบทความนี้มีคำตอบค่า
รถลากไฮดรอลิค-รถยกไฮดรอลิค หรือที่เรียกกันว่า แฮนด์ลิฟท์ (Hand Lift) คือ รถที่นำเอาระบบไฮดรอลิคมาเป็นตัวช่วยผ่อนแรงในการยกของที่มีน้ำหนักมาก โดยอาศัยแรงดันจากน้ำมันไฮดรอลิค ซึ่งถูกส่งมาโดยปั้มไฮดรอลิคที่ติดตั้งอยู่ในรถและอาศัยแรงขับปั๊มจากมอเตอร์ รถสามารถขับเคลื่อนย้ายของที่ยกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ด้วยอาศัยแรงจากมอเตอร์ การทำงานเน้นยกไม่สูง เน้นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเท่านั้น สามารถรับน้ำหนักได้มาก (ตั้งแต่ 2-3.5 ตัน) เคลื่อนย้ายง่าย เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมขนส่งลำเลียง งานสโตร์สินค้า โกดังเก็บสินค้า งานที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าค่อนข้างบ่อย โรงงานที่มีการจัดเก็บสินค้าขึ้นบนพาเลทเพื่อสต๊อกหลังจากการผลิต มีระบบเป็นชุดไฮดรอลิค
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
งานยกหนัก-เบา เลือกกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะสมกันเถอะ
งานยกหนัก-เบา เลือกกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะสมกันเถอะ
งานยกหนัก-เบา เลือกกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะสมกันเถอะ การเลือกหาขนาดกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะสมกับงานยกแต่ละประเภทเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการยกของชิ้นเล็ก ๆ ไปจนถึงการยกของหนัก หากเลือกกระบอกสูบที่เล็กเกินไป คุณจะไม่สามารถยกของนั้นได้และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานได้ อย่างน้อยที่สุดคุณอาจจะต้องกลับไปที่ร้านเพื่อซื้อกระบอกไฮดรอลิคที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นการเลือกกระบอกไฮดรอลิคจึงไม่ควรเป็นเกมการเดา และเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เราจึงควรคิดหาความจุโหลดของกระบอกไฮดรอลิคก่อนที่จะเริ่มงาน การคำนวณอย่างง่ายจะช่วยให้มั่นใจได้ว่ากระบอกไฮดรอลิคของคุณจะสามารถรับมือกับงานที่คุณต้องการจะยกได้ ซึ่งในบทความนี้แอดมินจะมาบอกถึงวิธีการคำนวณขนาดของกระบอกไฮดรอลิคให้เหมาะกับงานยกของผู้อ่านกันค่ะ
วิธีคิดหาขนาดของกระบอกไฮดรอลิค
ขั้นตอนที่ 1: ประเมินน้ำหนักสิ่งของที่คุณจะยก
คุณจำเป็นต้องรู้ถึงน้ำหนักโดยประมาณของสิ่งของที่คุณต้องการจะยก และถ้าสามารถรู้น้ำหนักได้แม่นยำมากเท่าไหร่ ยิ่งดีมากเท่านั้น แต่ถ้าคุณไม่สามารถรู้แน่ชัดได้ และต้องประเมินน้ำหนักคร่าว ๆ แอดมินแนะนำให้คุณตั้งค่าน้ำหนักที่บวกเพิ่มขึ้นไปอีก คิดซะว่าเกินดีกว่าขาดค่ะ เพราะคุณคงไม่อยากให้การยกล้มเหลวแน่นอน ฉะนั้นการพิจารณาว่าของที่ต้องการจะยกมีน้ำหนักเท่าไหร่ จึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้กระบอกไฮดรอลิค
ขั้นตอนที่ 2: รู้ค่าแรงดันไฮดรอลิค
แรงดันไฮดรอลิกจากปั๊มไฮดรอลิคของคุณต้องมีเพียงพอ เพื่อให้มีแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของกระบอกไฮดรอลิคและสามารถยกน้ำหนักที่ต้องการได้ ขนาดของกระบอกสูบจะเปล่าประโยชน์ไปเลย หากคุณไม่สามารถจ่ายแรงดันที่เพียงพอได้
ขั้นตอนที่ 3: หาจำนวนจุดยึด
ลิฟต์บางตัวเป็นลิฟต์แบบจุดเดียวธรรมดา แต่บางครั้งอาจไม่สามารถปรับสมดุลน้ำหนักบรรทุกด้วยจุดเดียวได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สองจุดขึ้นไป เมื่อคุณทราบจำนวนจุดยึดและน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดที่คุณจะยก คุณสามารถคำนวณหาขนาดกระบอกสูบที่ต้องการได้ โดยการหารน้ำหนักที่ต้องการยกทั้งหมดด้วยจำนวนจุด ตัวอย่างเช่น การบรรทุกน้ำหนัก 100 ตันที่มีจุดยึดหนึ่งจุดจะต้องใช้กระบอกไฮดรอลิคอย่างน้อย 100 ตัน ในขณะที่การบรรทุกแบบเดียวกันที่มีจุดยึด สี่จุดนั้นจะต้องใช้กระบอกไฮดรอลิคขนาด 25 ตัน จำนวน 4 กระบอก
ขั้นตอนที่ 4: คำนึงถึงปัจจัยด้านความปลอดภัยเสมอ
คุณคงไม่อยากให้กระบอกไฮดรอลิคทำงานเกินขีดจำกัดความจุของกระบอกไฮดรอลิคอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ อย่างน้อยที่สุด คุณควรใช้กระบอกสูบที่มีความจุ 125% ของความจุที่ต้องการ และถ้าเป็นไปได้ คุณควรมีกระบอกสูบ ที่สามารถรับน้ำหนักได้ 1.5 เท่าถึง 2 เท่าของน้ำหนักที่คุณต้องการยก
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
การกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิคสำคัญยังไง ?
การกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิคสำคัญยังไง ?
การกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิคสำคัญยังไง ? หนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด และพบบ่อยที่สุดในระบบไฮดรอลิค คือ กระบอกไฮดรอลิค ที่ยืดออกและหดกลับด้วยแรงดันของของเหลว ทำให้สามารถยก ดึง และผลักของหนักได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
บาร์เรล ลูกสูบ และก้านลูกสูบ เป็นส่วนประกอบหลักของกระบอกไฮดรอลิค ลูกสูบที่ติดอยู่กับก้านลูกสูบจะเคลื่อนไปมาผ่านกระบอกสูบด้วยการกระทำของการรับและการกำจัดของเหลว ระหว่างการรับของเหลว ก้านลูกสูบจะยืดออก และเมื่อของเหลวไหลออก ก้านลูกสูบจะหดกลับ การทำงานแต่ละครั้งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนไหวของก้านลูกสูบผ่านกระบอกสูบ การทำงานอย่างต่อเนื่องภายใต้แรงดันสูงนี้ อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของกระบอกไฮดรอลิคได้ เนื่องจากการสั่นสะเทือน หรือแรงกระแทกที่เกิดจากกระบวนการที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ฉะนั้นในบทความนี้แอดมินจะบอกถึงความสำคัญของตัวกันกระแทกในกระบอกไฮดรอลิค ที่สามารถลดความเสียหาย และยืดอายุให้กับกระบอกสูบได้กันค่ะ
ตัวกันกระแทก (CUSHIONING) ของกระบอกไฮดรอลิคคืออะไร
การกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิคเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ช้าลงเมื่อถึงจุดสิ้นสุดของจังหวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กับทั้งกระบอกนิวเมติกส์และไฮดรอลิกเพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากคลื่นกระแทกจากแรงดันลม
ลูกสูบกันกระแทกส่วนมากจะติดอยู่กับแกนลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สูบจ่ายที่ชะลอความเร็วของกระบอกสูบก่อนที่จะกระทบที่ฝาท้าย การชะลอตัวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการจำกัดการไหลของของไหลที่เกิดจากลูกสูบ ซึ่งข้อดีของการกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิค ก็คือ
- ยืดอายุการใช้งานของกระบอกไฮดรอลิค
- ลดเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์
- กระบวนการลดความเร็วส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ ปรับได้ และไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามากนัก
- นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายของหนักที่ต้องใช้ความเร็วสูง
ตัวที่กำหนดว่าเราจำเป็นต้องมีตัวกันกระแทกกระบอกไฮดรอลิคหรือไม่นั้น คือค่าพลังงานจลน์ พลังงานจลน์นี้จะขึ้นอยู่กับสองพารามิเตอร์ นั่นก็คือ มวลเคลื่อนที่ (Moving mass) และความเร็ว (Speed)
โดยทั่วไปแล้ว การกันกระแทกของกระบอกสูบจะถูกใช้กับกระบอกสูบแบบ double-act ที่ใช้ในงานหนัก ๆ เช่น เครนขนถ่ายสินค้า หรือเครนเคลื่อนที่สำหรับจอดเรือ เป็นต้นค่ะ
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการใช้งานระบบไฮดรอลิค
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการใช้งานระบบไฮดรอลิค
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการใช้งานระบบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาจุกจิกโผล่ขึ้นมาให้เห็นเป็นครั้งคราว เช่น ปั๊มไฮดรอลิคไม่มีแรง กระบอกไฮดรอลิครั่วซึมและไม่มีแรง หรือส่งเสียงดังผิดปกติ ซึ่งความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือน ก่อนที่อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังนั่นเองค่ะ
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของการใช้งานระบบไฮดรอลิค
การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค
มีเพียงสองเหตุผลเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค คือ การเสียสภาพของน้ำมันพื้นฐาน และการที่สารเพิ่มคุณภาพหมดไปจากน้ำมันหล่อลื่น เพราะว่ามีตัวแปรมากมายที่จะเป็นตัวชี้อัตราการเสื่อมของน้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพจึงไม่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันโดยยึดชั่วโมงการทำงานเป็นเกณฑ์ แต่เปลี่ยนเมื่อน้ำมันพื้นฐานเสื่อมสภาพ หรือสารเพิ่มคุณภาพถูกใช้หมด ซึ่งจะรู้ได้จากการส่งน้ำมันไปวิเคราะห์เป็นช่วง ๆ
เปลี่ยนไส้กรอง
เราไม่ควรยึดชั่วโมงการทำงานเป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนไส้กรอง เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนที่เร็วเกินไป ก่อนที่ไส้กรองจะตัน หรือเปลี่ยนช้าเกินไปหลังจากที่วาล์วบายพาสในกรองเปิดแล้วก็ได้ ทำให้น้ำมันในระบบสกปรกขึ้นและอุปกรณ์ไฮดรอลิคสึกหรอไปอย่างเงียบ ๆ
เครื่องจักรทำงานร้อนเกินไป
คงไม่มีใครจะขับรถที่เครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกินไปต่อไปได้ แต่สำหรับในระบบไฮดรอลิคแม้เครื่องจะร้อนแต่ก็ยังสามารถทำงานได้ เครื่องจักรไฮดรอลิคก็เหมือนเครื่องจักรอื่น ๆ หากร้อนเกินไปก็จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ซีล สายยาง และน้ำมันไฮดรอลิคเองเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ระบบร้อนนั้นอันนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของความหนืดตามอุณหภูมิรวมถึงประเภทของอุปกรณ์ไฮดรอลิคต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในเครื่องจักร เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความหนืดจะลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงถึงขั้นที่ทำให้ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคลดลงจนต่ำกว่าระดับที่จะให้การหล่อลื่นที่ดี ก็จะยิ่งส่งผลให้เครื่องจักรร้อนเกินไป
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และปั๊มไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
โรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค OEM และ ODM แตกต่างกันอย่างไร?
โรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค OEM และ ODM แตกต่างกันอย่างไร?
โรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค OEM และ ODM แตกต่างกันอย่างไร หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า OEM และ ODM คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร ในการผลิตสินค้าโรงงานแต่ละชนิดจะมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป โดยกระบวนการผลิตกระบอกไฮดรอลิคแบบ OEM หรือ (Original Equipment Manufacturer) คือ ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยโรงงานประเภทนี้จะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่ตีตราก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงาน ตั้งแต่ฝ่ายผลิตไปจนถึงเครื่องจักรต่าง ๆ สำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า
ข้อดีของโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิคในรูปแบบ OEM
- ช่วยลดต้นทุนในการผลิต
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
- ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลสินค้า
ในส่วนของโรงงานที่ผลิตด้วยกระบวนการ ODM หรือ Original Design Manufacturer คือ ผู้รับจ้างที่ออกแบบผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง ซึ่งโรงงานประเภทนี้ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับประเภท OEM โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบ โดยสามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เองและนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน โดยที่ลูกค้ามีน่าที่ในกระบวนการขายและกระจายสินค้าสู่ตลาดเอง การออกแบบเหล่านี้มีทั้งที่เป็น Exclusive คือออกแบบให้เฉพาะราย โดยมีการคิดค่าออกแบบที่แพง เพราะถือว่าลูกค้าเพียงรายเดียวจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่หรือ non exclusive คือให้สิทธิได้กับหลายรายในราคาค่าออกแบบที่ถูกลง
ข้อดีของโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิคในรูปแบบ ODM
- ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย เหมาะกับ ผู้เริ่มต้นทำแบรนด์
- หากเลือกออกแบบที่เป็น Exclusive ก็จะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร
- ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ
- เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิต และการออกแบบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิก และมอเตอร์ไฮดรอลิก Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกไฮดรอลิค และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกไฮดรอลิค และรับผลิตกระบอกไฮดรอลิคตามสั่ง
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency