ทิศไหนที่เหมาะกับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันนะ
ทิศไหนที่เหมาะกับติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันนะ จะเห็นได้ว่าบ้านแต่ละหลังก็ได้รับแสงแดดแตกต่างกันไป บางหลังก็อึมครึมเพราะแดดส่องน้อยทำให้ต้องเปิดไฟในช่วงกลางวัน หรือบางบ้านก็แดดส่องสว่างพอที่จะใช้ชีวิตในช่วงกลางวันแบบไม่ต้องเปิดไฟ แต่สำหรับบ้านที่สนใจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก็อาจจะมีคำถามกันว่าบ้านของคุณจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทิศไหนได้ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
จริง ๆ แล้วประเทศไทย เป็นประเทศที่โชคดีมากเพราะมีภูมิประเทศอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ได้รับปริมาณแสงแดดที่เข้มข้น เกือบทั้งปี แต่เนื่องจากตำแหน่งที่ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาด้านบน ทำให้ดวงอาทิตย์ในประเทศไทย จะขึ้นจากทิศตะวันออก โดยอ้อมไปหาทางทิศใต้เสมอทิศใต้จึงเป็นทิศที่ดีที่สุด ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์โดยทำมุมองศาดังต่อไปนี้
กรุงเทพ = เอียงแผงประมาณ 13.5 องศา เกือบเป็นแนวนอน
เชียงใหม่ = เอียงแผงประมาณ 18.4 องศา โดยยกแผงให้สูงเชิดขึ้นมา
ในกรณีที่ทิศใต้ ถูกต้นไม้บัง หรือตึกบัง สามารถเลี่ยงไปติดแผงโซล่าเซลล์ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตกแทนได้ แต่ประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ ก็อาจจะลดลงไปบ้าง ตามปริมาณของแสงแดดที่ได้รับ แต่ก็ยังดีกว่าติดตั้งในบริเวณที่โดนต้นไม้หรือสิ่งกีดขวาง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยังไงไม่ให้มีปัญหาตามมา
- มาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์กันเถอะ
- ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 660 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
แผงโซล่าเซลล์มีกี่ขนาด แต่ละแบบเลือกใช้อย่างไรดี ?
แผงโซล่าเซลล์มีกี่ขนาด แต่ละแบบเลือกใช้อย่างไรดี ?
การที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ หนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ แผงโซล่าเซลล์ เนื่องจากเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแปลงแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า วันนี้แอดมินจะพามาทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์กันค่ะ ว่ามีขนาดเท่าไหร่ แล้วแผงโซล่าเซลล์แต่ละแบบแตกต่างกันยังไงใช้แบบไหนดีกว่ากัน
แผงโซล่าเซลล์ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดและประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ โดยส่วนมากแล้วเราจะสามารถกะขนาดคร่าว ๆ จากกำลังของแผงได้ เช่น แผงโซล่าเซลล์ไม่เกิน 200W ขนาดจะอยู่ประมาณ 150 x 70 x 4 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x หนา) น้ำหนักแผงขนาดนี้จะอยู่ประมาณ 10 กิโลกรัม ในขณะที่แผงโซล่าเซลล์ 300W – 400W ขนาด จะอยู่ราว ๆ 200 x 100 x 4 เซนติเมตร และน้ำหนักอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม สามารถเลือกขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งนี้ยังสามารถใช้แผงโซล่าเซลล์กำลังวัตต์ไม่มากเป็นตัวช่วยให้ผลิตแสงไฟฟ้าได้ เช่น แผงโซล่าเซลล์ 5W นำไปใช้กับสัญญาณไฟกระพริบตามแยกต่างบนถนน แผงโซล่าเซลล์ 10 – 17 W นำไปใช้กับไฟส่องสว่างตามทางเดิน หรือหากใช้เพื่อประหยัดไฟในบ้านก็เลือกแผงโซล่าเซลล์ 320W – 600W นำไปใช้กับการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปหรือปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ เป็นต้น
แผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ ?
แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมในประเทศไทยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ จะเป็นแผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ และโพลีคริสตัลไลน์ หากพูดถึงแผง 2 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรแอดมินขอตอบว่า แผง 2 ชนิดนี้คุณภาพใกล้เคียงกัน เพียงแต่แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนเป็นเซลล์บริสุทธิประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูง และมีอายุการใช้ได้นาน ราคาสูง หากแผงโซล่าเซลล์เกิดสกปรกหรือแสงส่องได้เพียงบางส่วนอาจทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่มากเกินไป และอาจเกิดการไหม้ได้ที่วงจรได้ แต่ถ้าเป็นแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีจะผลิตจากเซลล์ผสม ราคาถูก ผลิตง่าย และมีประสิทธิภาพในการทำงานบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงได้ดี เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยแต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน คือเป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพในการทำงานต่อพื้นที่ต่ำกว่าชนิดโมโนนั่นเอง
การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์
ก่อนเลือกแผงโซล่าเซลล์ ควรทราบก่อนว่าต้องการผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด และต้องใช้ขนาดกำลังวัตต์เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพื่อนำไปคำนวณและออกแบบระบบให้ถูกต้องและคุ้มค่า และควรเผื่อขนาดกำลังวัตต์ให้มากกว่า ขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างน้อย 20% เพื่อที่จะเผื่อค่าสูญเสียพลังงานในระบบและช่วยให้สามารถที่จะถนอมตัวแบตได้ดี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์คุ้มค่าหรือไม่สำหรับองค์กร ?
- ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยังไงไม่ให้มีปัญหาตามมา
- ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 335 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์คุ้มค่าหรือไม่สำหรับองค์กร ?
ลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์คุ้มค่าหรือไม่สำหรับองค์กร ?
จะปล่อยให้ต้นทุนหมดไปกับค่าไฟจากการไฟฟ้าอยู่ทำไม ในเมื่อเรานำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟเองได้ ? คำนี้ทำให้หลายผู้ประกอบการหันมาทำความรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์คืออะไรช่วยผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร ทั้งนี้แผงโซล่าเซลล์จึงเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจสำหรับผู้ประการ องค์กรต่าง ๆ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นในการใช้ไฟฟ้าผลิตสินค้าและบริการนั่นเอง
การลงทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เป็นการนำเงินก้อนหนึ่งซึ่งอาจได้มาจากการบริหารและหมุนเวียนจากกิจการ หรือการเก็บเงินก้อนจากการประเมินค่าไฟฟ้าอย่างต่ำ 1 ปีปัจจุบัน จุดคืนทุนของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์อยู่ที่ 4 – 5 ปี แล้วแต่ขนาดกำลังผลิตที่องค์กรต้องการติดตั้ง
ความคุ้มค่าของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์สำหรับองค์กร
1. แผงโซล่าเซลล์โดยทั่วไปมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ปี โดยผู้ผลิตโซล่าเซลล์ และองค์กรด้านโซล่าเซลล์ คำนวณระยะเวลาที่จำเป็นในการคืนทุนไว้อยู่ที่ประมาณ 5-6 ปี ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อคืนทุนได้แล้ว ส่วนต่างอีก 17 – 18 ปีนี้เอง ที่จะกลายเป็นผลพลอยได้ของผู้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์โดยแท้จริง
2. โครงสร้างของโรงงานซึ่งส่วนใหญ่มีดาดฟ้าเรียบ ทำให้เหมาะแก่การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย ทำให้โซล่าเซลล์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่มากกว่าการทำ Solar Farm อีกด้วย
3. จากนโยบายภาครัฐโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้มีประกาศส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การลงทุนแผงโซล่าเซลล์ที่นอกเหนือจากการลดต้นทุนพลังงานของกิจการแล้ว ยังสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้อีกด้วย
เพียงแค่ 3 ข้อนี้ก็บอกได้เลยค่ะว่าคุ้มค่าและเหมาะแก่การลงทุนจริง ๆ หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 600w ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- มาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์กันเถอะ
- ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
- แผงโซล่าเซลล์ TIER 1 คืออะไร ?
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยังไงไม่ให้มีปัญหาตามมา
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยังไงไม่ให้มีปัญหาตามมา
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ยังไงไม่ให้มีปัญหาตามมา หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าการ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ไม่ใช่ว่าจะติดตั้งแบบไหนก็ได้ เพราะแผงโซล่าเซลล์ / อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter แต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน รวมไปถึงหากใช้วิธีการติดตั้งที่ไม่ดีจะเสี่ยงรั่ว และต้องดำเนินการขออนุญาตจากภาครัฐก่อนถึง 3 หน่วยงาน และติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ฉะนั้นตามมาดูกันค่ะว่าก่อนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ต้องเช็กลิสอะไรบ้าง ?
1.ดูข้อมูลของแผงโซล่าเซลล์
แผงโซล่าเซลล์ ที่ใช้กับงานหลังคาส่วนใหญ่เป็นแผงเทคโนโลยี Crystalline ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- Monocrystalline เป็นเซลล์แบบผนึกเดียว ที่ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์ (เกรดดีที่สุด) ทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
- Polycrystalline เป็นเซลล์แบบผนึกรวม ที่ผลิตจากซิลิคอนทั่วไป มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูง ดีกว่าชนิด Monocrystalline ซึ่งทาง Thai-A เราเน้นใช้แผงชนิดนี้ในไทย
2. อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ หรือ Inverter
Inverter ถือเป็นหัวใจของระบบโซล่าเซลล์ ถ้าใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน การทำงานไม่เสถียร จะส่งผลต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ทำให้ไฟกระชาก ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหาย นอกจากนี้ยังต้องเป็น Inverter ที่ได้รับการรับรองจาก MEA และ PEA อีกด้วย
3. วิธีการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กับ Thai-A อุ่นใจได้เลยค่ะเพราะเราใช้แผงโซล่าเซลล์คุณภาพดี ได้การรับรองตามมาตรฐานสากล
(Tier 1) หรือ บริษัทฯ ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และมีแผงโซล่าเซลล์ให้เลือกหลากหลายแบรนด์ พร้อมทั้งรับประกันตัวแผงและ Inverter ยาวนานถึง 5-10 ปี มีการตรวจสอบหลังคารั่ว รวมไปถึงโครงสร้างของหลังคาก่อนการติดตั้งเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากพบว่าหลังคามีปัญหารั่วซึม หรืออื่น ๆ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาหลังคานั้น ๆ ให้ก่อน เพื่อให้หลังคาอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมติดตั้งมากที่สุด
4. บริการหลังการขาย
ทีม Thai-A เราดูแลการรับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ที่ยาวนานถึง 25 ปีเต็ม ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ การรับประกัน Inverter 10 ปีเต็ม และการรับประกันงานติดตั้ง 1-2 ปี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบโซล่าเซลล์ที่เราติดตั้งไปแล้ว ให้ยังคงทำงานได้เป็นปกติอยู่เสมอ
บทความที่น่าสนใจ
- ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้
- ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
- เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้แผงโซล่าเซลล์
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 400w พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้
ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้
ข้อดี-ข้อเสีย ของแผงโซล่าเซลล์ที่ควรรู้ ทุกวันนี้จะเห็นกระแสของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ตามจากข่าวสารต่าง ๆ หรือจากการติดตั้งเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ที่ห่างไกลไฟฟ้า นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่อยากทำความเข้าใจกับโซล่าเซลล์มากขึ้นว่ามีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
ข้อดีของโซล่าเซลล์
- เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
- ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด ไม่ว่าจะใช้ภายในบ้าน การเกษตร หรือโรงงานอุตสาหกรรม สามารถประยุกต์ใช้ได้หมด
- เป็นพลังงานที่ไม่จำกัด เพราะประเทศไทยมีแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปีทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าใช้จากแผงโซล่าเซลล์ได้สบาย
- เป็นพลังงานทดแทนที่ดี สามารถประหยัดไฟฟ้าได้สูงแล้วแต่การนำมาใช้งาน ในบางพื้นที่ ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้
- สามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องการแปลงกระแสไฟฟ้าในอุปกรณ์บางชนิด
ข้อเสียของโซล่าเซลล์
- ปริมาณในการผลิตไฟฟ้าไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงอาทิตย์ของแต่ละวัน
- พลังงานจะไม่สูง ถ้าต้องการใช้ไฟฟ้าสูงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนของแผงโซล่าเซลล์ตามขนาดที่ต้องการใช้ไฟฟ้า
- ต้องมีการเก็บสะสมไว้ถึงจะมีไฟฟ้าใช้ในเวลากลางคืน เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะผลิตได้จากแสงอาทิตย์เท่านั้น
- การติดตั้งในบางครั้งอาจจะไม่คุ้มค่า ต้องศึกษาและคำนวณให้ดีก่อนทำการติดตั้งเพื่อใช้งาน
บทความที่เกี่ยวข้อง
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 335 วัตต์ พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
มาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์กันเถอะ
มาทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์กันเถอะ
สำหรับบ้านที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มาได้สักระยะสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับแผงโซล่าเซลล์คือคราบฝุ่นสะสมบนกระจกหน้าแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งฝุ่นสะสมพวกนี้จะทำให้การส่องผ่านของแสงไปบนเซลล์ลดลง ประสิทธิภาพการผลิตแสงก็จะลดลงตามด้วยเช่นกัน ดังนั้นแผงโซล่าเซลล์จึงต้องการการดูแลเช่นกัน โดยดูแลอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพฝุ่นและอากาศของสถานที่ใช้งาน
ขั้นตอนการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์
1. ควรเลือกเวลาในการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ในช่วงเวลาเช้าตรู่เช่น 06.00 – 08.00 หรือช่วงเย็นเพราะเป็นช่วงที่มีแดดอ่อนแล้ว
2. ใช้น้ำสะอาด หรือใช้น้ำยาล้างจานเพียงเล็กน้อยผสมกับน้ำสะอาดเพื่อช่วยให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น
3. ก่อนทำการขัดล้างควรฉีดน้ำไล่ฝุ่นออกจากแผงโซล่าเซลล์ก่อนทุกครั้ง จากนั้นใช้ผ้านุ่ม ไม่มีผิวขรุขระหรือมีเม็ดทราย ทำการขัดเช็ดล้างที่แผงโซล่าเซลล์ให้ทั่ว จากนั้นไล่ฉีดน้ำสะอาดตามโดยเร็วเพื่อป้องกันการเกิดคราบ
* หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดในช่วงเวลาแดดจัด หรือแผงยังคงมีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้หลังจากทำความสะอาดแล้ว แผงจะมีรอยคราบตะกรันของน้ำเกิดขึ้น ซึ่งจะทำความสะอาดได้ยากมาก
ขั้นตอนการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ก็มีเพียงเท่านี้ ไม่ได้ยากเลยใช่ไหมคะ แต่หากต้องขึ้นไปที่สูงอย่างเช่นหลังคาบ้าน ขึ้นไปทำความสะอาดยากแอดมินแนะนำให้ปรึกษาช่างที่ชำนาญในการดูแลนะคะ เพื่อความปลอดภัยนั่นเองค่ะ
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ปัญหาของแผงโซล่าเซลล์ที่ชวนปวดหัว
ปัญหาของแผงโซล่าเซลล์ที่ชวนปวดหัว
ต้องยอมรับว่าแผงโซล่าเซลล์ได้เป็นที่นิยมกันมากขึ้น หลายบ้านเลือกติดตั้งบนหลังคาหรือที่เรียกว่าโซล่ารูฟท็อปเพื่อช่วยประหยัดไฟ หรือบางที่ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในที่ที่การไฟฟ้าเข้าไม่ถึง แต่ปัจจุบันนี้ตลาดแผงโซล่าเซลล์นั้นมีอยู่มากมาย มีให้เลือกหลากหลายรุ่นและราคาแตกต่างกันไป หากคุณเลือกแผงโซล่าเซลล์ราคาถูกไม่ได้มาตรฐาน แน่นอนว่าคุณอาจจะเจอปัญหาของแผงโซล่าเซลล์ที่ชวนปวดหัวได้ วันนี้ Thai-A จะมายกตัวอย่างปัญหาที่มักเจอกับแผงโซล่าเซลล์ที่ไม่ได้คุณภาพกันค่ะ
1. ปัญหา Hot Spot จากแผงโซล่าเซลล์
เกิดจุดร้อนที่เกินความจำเป็นบนแผงโซล่าเซลล์ จุดร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้และคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดับไฟที่กำลังไหม้แผงโซล่าเซลล์ที่กำลังจ่ายไฟอยู่ตลอดเวลาฉะนั้นการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินคือเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ที่คุณภาพดี มีมาตรฐานสากล
2. MICRO CRACK – ไมโครแคร็ค
แผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิดมีความสามารถในการต้านแรงกดทับหรือแรงกระแทกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับการเลือกกระจกและกรอบอลูมิเนียม และการประกอบแผงโซล่าเซลล์ การออกแบบจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงในการรับโหลด จากลม ลูกเห็บ หิมะตกหนัก การรับโหลดที่หนักเกินพิกัด เป็นสาเหตุให้เกิดกรณีไมโครแคร็ค (ผลึกแผ่นซิลิกอนโซล่าเซลล์แตก ปริ) ควรเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่ผู้ผลิตคำนึงถึงความแข็งแรงของเฟรมอลูมิเนียม และ ความหนากระจก รวมถึงผู้ติดตั้งต้องมีความชำนาญสามารถจับยึดแผงให้ได้ระนาบอย่างถูกวิธี แผงไม่บิดโค้ง
3. SNAIL TRAIL – รอยหอยทาก
สาเหตุหลักเนื่องจากความชื้นเข้าไปในแผงผ่านทาง backsheet (แผ่นสีขาวที่อยู่ด้านหลังแผงโซล่าเซลล์) แล้วซึมผ่านไปแทรกระหว่างแผ่นฟิล์ม EVA และ แผงโซล่าเซลล์ เกิดการทำปฏิกิริยากับลายวงจรที่เป็นวัสดุเงิน การเลือกใช้วัสดุ backsheet ชนิดที่ป้องกันความชื้น หรือ ความชื้นผ่านได้น้อย จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
คุณภาพของแผ่นฟิล์ม EVA มีผลต่อคุณภาพแผงโซล่าเซลล์ โดยสามารถสังเกตได้จากแผ่น backsheet จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื่องจาก แผ่นฟิล์ม EVA เกรดต่ำนั้น แสง UV สามารถทะลุผ่านได้มากเกินไป
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ แผงโซล่าเซลล์ราคาประหยัด ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซลาร์รูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ระบบโซล่าเซลล์ชาร์จแบตเตอรี่ VS เชื่อมต่อการไฟฟ้า แตกต่างกันยังไง
ระบบโซล่าเซลล์ชาร์จแบตเตอรี่ VS เชื่อมต่อการไฟฟ้า แตกต่างกันยังไง โซล่าเซลล์
เป็นที่นิยมขึ้นมาก โดยการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงาน ยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและเป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม ในปัจจุบันการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันบางท่านอาจจะสงสัยว่าสรุปแล้วแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานให้เหมาะสมกับเราที่สุด เรามาทำความรู้จักกับระบบโซล่าเซลล์ชาร์จแบตเตอรี่และแบบเชื่อมต่อการไฟฟ้ากันดีกว่าค่ะ
แบบที่ 1 ระบบชาร์จแบตเตอรี่
แบบที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ชาร์จไฟฟ้าลงเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แล้วนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่แปลงไฟฟ้าออกมาใช้งานที่เราเรียกว่าระบบโซล่าเซลล์ชาร์จแบตเตอรี่ หรือ Sola off grid แบบแรก เป็นระบบที่เราเคยเห็นกันโดยทั่วไป ตามพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าการไฟฟ้าใช้งาน ซึ่งระบบแรกนี้ไม่ได้มีอะไรที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการไฟฟ้า เรียกว่าใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ของเรา ไฟในแบตเตอรี่หมด อุปกรณ์ไฟฟ้าก็ดับ ถ้าเราไม่มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้า หรือ ถ้าเรามีไฟฟ้าการไฟฟ้าอยู่แล้วก็ต้องไปเปิดสวิทช์เพื่อใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้า การสลับไฟฟ้าระหว่างแบตเตอรี่กับการไฟฟ้าจะเป็นแบบ Manual เดินไปสลับระบบเอง หรือ Auto ใช้อุปกรณ์ทำงานเองจะเห็นว่าระบบแบบนี้ต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บไฟฟ้า ซึ่งแบตเตอรี่ก็ย่อมมีความเสื่อมสภาพเมื่อใช้งานไป
แบบที่ 2 เชื่อมต่อไฟฟ้าการไฟฟ้า
แบบที่ใช้แผงโซล่าเซลล์จ่ายไฟฟ้าทันทีและใช้งานทันที ไม่ต้องเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แบบนี้คือแบบที่เราเรียกว่า ระบบโซล่าเซลล์เชื่อมต่อสายส่งการไฟฟ้า หรือ Solar on grid ระบบนี้ในตอนกลางวันแผงโซล่าเซลล์จะผลิตไฟฟ้าผ่านเครื่องแปลงไฟฟ้า อินเวอร์เตอร์แบบ On grid แล้วจ่ายไฟฟ้าเข้าไปที่ตู้ไฟฟ้ารวมร่วมกับไฟฟ้าการไฟฟ้า ( ขนานกับระบบไฟฟ้าการไฟฟ้า ) ซึ่งจะจ่ายไฟฟ้าทันทีไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดอยู่ การผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์นั้นไม่แน่นอนเนื่องจากมีแดดจ้า ไม่มีแดด มีเมฆ มีฝน แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราเปิดใช้งานอยู่นั้น ต้องการไฟฟ้าที่แน่นอน ซึ่งไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์นั้นก็จะมากบ้าง น้อยบ้าง ไปตามแสงแดด ระบบนี้จะมีการชดเชยการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้ากันอยู่ตลอดเวลา เช่น หากระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้น้อย ไฟฟ้าการไฟฟ้าก็จะไหลเข้ามาเสริมการทำงาน ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเรายังคงทำงานได้อยู่ตลอดเวลา การไหลเข้ามาเสริมกันนี้เป็นการไหลเข้ามาเสริมกันเหมือนกระแสน้ำ ไม่มีระบบการตัดต่ออะไรทั้งสิ้น ส่วนกลางคืนเมื่อไม่มีแสงแดดโซล่าเซลล์ไม่ผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เราใช้ก็จะเป็นไฟฟ้าการไฟฟ้าไหลเข้ามาทั้งหมด
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
ขนาดแผงโซล่าเซลล์ กว้าง ยาว เท่าไหร่ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม
แผงโซล่าเซลล์มีหลากหลายขนาด แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะสามารถกะขนาดคร่าว ๆ จากกำลังของแผงได้ เช่น แผงโซล่าเซลล์ไม่เกิน 200W ขนาดจะอยู่ประมาณ 150 x 70 x 4 เซนติเมตร (กว้าง x ยาว x หนา) น้ำหนักแผงขนาดนี้จะอยู่ประมาณ 10 กิโลกรัม ในขณะที่แผง 300 – 400W ขนาด จะอยู่ราว ๆ 200 x 100 x 4 เซนติเมตร และน้ำหนักอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม
แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้กำลังของแผงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันเราจะเห็นแผงขนาด 500-550W ออกมาขายให้เราเห็นอยู่ในตลาด ซึ่งมีขนาดและน้ำหนักที่ใหญ่ขึ้นไปอีก โดยจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 230 x 115 x 4 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 30 กิโลกรัม
วิธีเลือกแผงโซล่าเซลล์จากขนาดและน้ำหนัก
ด้วยความที่เรามีแผงโซล่าเซลล์ให้เลือกอยู่มากมาย ทำให้หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยว่าควรเลือกแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดีให้เหมาะกับการใช้งาน ฉะนั้นหากใครที่เป็นมือใหม่ควรรู้ก่อนว่าแผงที่เลือกไปใช้นั้นส่วนใหญ่ใช้กับอะไร เช่น ติดบนหลังคา ติดตั้งพื้นดิน เอาไปใช้กับรถบ้าน หรือเอาไปใช้กับแคมป์ปิ้งต่าง ๆ
ซึ่งสิ่งที่มีความสำคัญต่อความเหมาะสมในการใช้งานคือ ขนาดและน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์แน่นอนว่ายิ่งแผงโซล่าเซลล์มีกำลังสูงก็จะทำให้ขนาด น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย
หากใครต้องใช้กับรถบ้าน รถตู้ หรือการใช้งานที่ต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา หรือมีพื้นที่น้อย และต้องขนย้ายด้วยคน ๆ เดียวแบบนี้แผงโซล่าเซลล์ขนาดไม่เกิน 200W อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า ด้วยขนาด กว้าง ยาว ประมาณ 150 x 70 เซนติเมตร และน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ทำให้สามารถขนย้ายด้วยคนเดียวไหว
ในขณะที่ใครใช้กับการใช้งานที่อยู่กับที่ มีพื้นที่กว้าง ตั้งบนพื้นดิน หรือพื้นที่หลังคามีเหลือเฟือ แบบนี้เราอาจจะแนะนำให้ใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาดใหญ่สุดไปเลย เนื่องจากจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า ราคาต่อ Wp ก็จะถูกตามไปด้วย พวกนี้จะเป็นแผง 300W ขึ้นไป ขนาด 60 – 72 เซลล์ หรือจะเป็น Half cell (72 x 2) ก็ได้
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 325 วัตต์พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- โซล่ารูฟท็อป (SOLAR ROOFTOP) คืออะไร ติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไงให้คุ้มค่า
- เลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี ?
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
การต่อแผงโซล่าเซลล์มีกี่รูปแบบ
การต่อแผงโซล่าเซลล์มีกี่รูปแบบ
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบโซล่าเซลล์นั้น บางชนิดต้องการแรงดัน กระแส หรือกำลังไฟฟ้า ในการทำงานมากกว่าที่แผงโซล่าเซลล์แผงเดียวจะสามารถผลิตออกมาได้ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงต้องมีการเพิ่มแผงโซล่าเซลล์ซึ่งการเพิ่มแผงโซล่าเซลล์นี้จะต้องมีการต่อกันระหว่างแผงโซล่าเซลล์
การต่อแผงโซล่าเซลล์จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ
1.การต่อแบบอนุกรม จะเป็นการเพิ่มแรงดันไฟ แต่กระแสยังคงเท่าเดิม ซึ่งเราหาแรงดันและกำลังไฟได้คือ แรงดันรวม = จำนวนแผง x แรงดันไฟของแผง
จากรูป = 4x24V = 96 โวล์ต
กระแสรวม = 6 แอมป์
กำลังไฟรวม = แรงดันรวม x กระแสรวม
= 96V x 6A = 576 วัตต์
2.การต่อแบบขนาน จะเป็นการเพิ่มกระแสไฟ แต่แรงดันยังคงเท่าเดิม ซึ่งเราหากระแสและกำลังไฟได้คือ
จากรูป = 4x6A = 24 แอมป์
แรงดันรวม = 24 โวล์ต
กระแสรวม = จำนวนแผง x กระแสของแผง
กำลังไฟรวม = แรงดันรวม x กระแสรวม
= 24V x 24A = 576 วัตต์
3.การต่อแบบผสม คือ การต่อแบบอนุกรมและขนานมารวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งการต่อแบบนี้จะเป็นการเพิ่มทั้งแรงดันไฟและกระแสไฟ แล้วยังส่งผลให้กำลังไฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
แรงดันรวม = 24V + 24V = 48 โวล์ต
กระแสรวม = 4x6A = 24 แอมป์
กำลังไฟรวม = แรงดันรวม x กระแสรวม
= 48V x 24A = 1,152 วัตต์
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้แผงโซล่าเซลล์
- แผงโซล่าเซล์คืออะไร ควรเลือกใช้แผงชนิดไหนดี ?
- แผงโซล่าเซลล์ TIER 1 คืออะไร ?
หากคุณสนใจระบบโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 320 วัตต์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อปราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency