ราคาปั้มไฮดรอลิค พร้อมส่ง

การสตาร์ทและปรับตั้งระบบปั๊มไฮดรอลิคเพื่อความปลอดภัย

การสตาร์ทและปรับตั้งระบบปั๊มไฮดรอลิคเพื่อความปลอดภัย การทดสอบ test run ปั๊มไฮดรอลิคและระบบไฮดรอลิค ในครั้งแรก ก็เหมือนกับการ test run เครื่องยนต์ของรถยนต์ ต้องมีการ Test Run อย่างเหมาะสม และทำตาม ขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

1. การเตรียมการสำหรับชุดต้นกำลังในครั้งแรก

ทำความสะอาดภายในถัง (ห้ามใช้ผ้าสำลี เนื่องจากจะมีใยผ้าหลุดเข้าไปในระบบ) ตรวจสอบข้อต่อ,สายอ่อน,หน้าแปลนต่าง ๆ ว่าขันแน่นดีหรือยัง และ ต่อถูกต้องตามระบบไฮดรอลิคหรือไม่ เพราะหากต่อผิดพลาด จะต้องมีการถอดประกอบข้อต่อใหม่ ทำให้สูญเสียน้ำมันและสกปรก

 1.1 เติมน้ำมันไฮดรอลิค (mineral oil) จนถึงขีดบนของเกจย์วัดระดับน้ำมัน โดยต้องเติมน้ำมันผ่านไส้กรองที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 10 ไมครอน และเป็นไส้กรองที่มีประสิทธิภาพการกรองสูง ซึ่งมีค่าอัตราส่วนการกรอง (beta ratio) ไม่น้อยกว่า 75 (absolute filter)

2. การสตาร์ทชุดต้นกำลัง

2.1 บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องควรออกห่างจากบริเวณที่อาจเกิดอันตรายได้ ให้มีแต่ผู้ผลิตเครื่องโดยอาจรวมถึงช่างซ่อมบำรุงและผู้ควบคุมเครื่องเท่านั้น

2.2 ตรวจสอบไม่ให้น้ำมันต่ำกว่าระดับการดูดของปั๊มไฮดรอลิค ผ่านไส้กรองขาดูด

2.3 ตรวจสอบให้น้ำมันจากปั๊มไฮดรอลิคไหลกลับถังพักได้สะดวกโดยคลายรีลีฟวาล์วจนสุด

2.4 ตรวจสอบการติดตั้งปั๊มไฮดรอลิคตามขั้นตอนต่อไปนี้

ตรวจเช็คสภาพโดยรวมภายนอกให้เรียบร้อยก่อนสตาร์ทปั๊ม

ท่อทางน้ำมันเข้า-ออก ถูกต้องหรือไม่

การประกอบเพลาปั๊มเข้ากับยอยด์ได้ระยะที่เหมาะสมหรือไม่

( การประกอบยอยด์จะต้องหลีกเลี่ยงการตอก และจะต้องมีระยะรุนตามที่กำหนด เพื่อป้องกันแรงตามแนวแกนที่เกิดขึ้น )- ในกรณีที่เป็นปั๊มลูกสูบควรเติมน้ำมันที่ Drain port ก่อนที่จะสตาร์ทปั๊ม( เติมให้เต็มตัวปั๊ม )

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิค นำเข้าสินค้าไฮดรอลิคจากผู้ผลิตกระบอกสูบไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
หลักการทำงาน PRESSURE COMPENSATE CONTROL ที่อยู่บนหัวปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงาน pressure compensate control ที่อยู่บนหัวปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงาน pressure compensate control ที่อยู่บนหัวปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงาน pressure compensate control จะอยู่ในปั๊มไฮดรอลิค piston pump หรือ vane pump เท่านั้น แต่การทำงานจะเป็นอย่างไร ข้อดีเป็นอย่างไรเรามีคำตอบค่ะ

โดยการทำงานของ  pressure compensate control หน้าที่ของระบบไฮดรอลิคสามารถในการสร้างความดันและอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิคโดยปั๊มไฮดรอลิคเท่าที่จำเป็นต้องใช้จริง โดยตอบสนองต่อความต้องการโหลด ปรับความดันให้ได้ตามต้องการและในขณะที่เริ่มได้ความดันที่ปรับตั้งเเล้ว ตัวปั๊มไฮดรอลิคจะมีการลดอัตราการไหลของปั๊มจนไม่มีการจ่ายอัตราการไหล หรือจ่ายเพียงเล็กน้อย เพื่อที่จะเลี้ยงความดันให้ได้ตามค่าที่ปรับตั้งไว้  ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ประหยัดแรงม้ามอเตอร์ไฟฟ้าในขณะที่อัตราการไหลปรับลดลง การกินกระเเสมอเตอร์น้อยลง ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นนั่นเองค่ะ



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ความเชื่อผิด ๆ ที่เกี่ยวกับปั๊มไฮดรอลิค

ความเชื่อผิด ๆ ที่เกี่ยวกับปั๊มไฮดรอลิค

ความเชื่อผิด ๆ ที่เกี่ยวกับปั๊มไฮดรอลิค

ในการติดตั้งปั๊มไฮดรอลิค หลายคนอาจะจะได้ยินมาว่าติดตั้งแบบนี้ไม่ได้ แบบนั้นไม่ดี แบบนี้ไม่ถูกต้อง กันมาบ้างใช่ไหมคะ จริง ๆ แล้วการติดตั้งปั๊มไฮดรอลิคก็จะมีความเชื่อของแต่ละสายงานปะปนกันไป เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าความเชื่อไหนที่ควรระวัง



ท่อทางดูดของปั๊มต้องมีกรอง ?

ไส้กรองทางดูด (Suction Filter) มีขนาด 140 ไมครอน จะถูกขันเข้ากับ Inlet Port ของปั๊มไฮดรอลิค และแช่อยู่ในถังน้ำมัน กรองเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการเกิด Cavitation ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับปั๊มไฮดรอลิคมากกว่า

โดยปกติถ้าถังเก็บน้ำมันที่ใช้ได้รับการทำความสะอาดที่ดีตั้งแต่ต้น ใช้น้ำมันที่สะอาด และมีระบบการกรองที่ท่อไหลกลับ (Return Line Filter) ไส้กรองทางดูดก็ไม่จำเป็น เนื่องจากในน้ำมันไฮดรอลิคไม่มีส่วนประกอบของแข็งที่ใหญ่จนกรองทางดูดดักจับได้ ข้อโต้แย้งหลักก็คือ เราติดตั้งไส้กรองทางดูดก็เพื่อปกป้องปั๊มไฮดรอลิคจากเศษทราย เศษดิน ที่อาจจะบังเอิญเข้ามาในระบบ หรือแม้แต่เศษโลหะจากอุปกรณ์ ที่เกิดการเสียดสีแล้วหลุดออกมาปนไปกับน้ำมัน

ความจริงก็คือ เศษโลหะ หรือเศษดินทราย ที่ว่ามีผลต่อปั๊มไฮดรอลิคน้อยมาก ถ้าเราออกแบบถังเก็บน้ำมันอย่างเหมาะสม และทิ้งปลายท่อทางดูดให้สูงเหนือก้นถังพักไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว เศษชิ้นส่วนทั้งหลายดังกล่าวจะไม่สามารถกลับเข้าสู่ปั๊มไฮดรอลิคได้เลย

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ปั๊มไฮดรอลิคในเครื่องจักรเคลื่อนที่ทำงานอย่างไร

ปั๊มไฮดรอลิคในเครื่องจักรเคลื่อนที่ทำงานอย่างไร

ปั๊มไฮดรอลิคในเครื่องจักรเคลื่อนที่ทำงานอย่างไร

คุณสมบัติที่ดีของปั๊มไฮดรอลิคคือ ให้แรงในการทำงาน ดังนั้นปั๊มไฮดรอลิคจึงนิยมนำมาใช้เป็นระบบควบคุมและส่งถ่ายกับตัวเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งเครื่องจักรที่ระบบปั๊มไฮดรอลิคควบคุมการทำงานและส่งถ่ายกำลังมีดังนี้

เครื่องจักรที่เคลื่อนที่ (Mobile Machines)

คือ เครื่องจักรที่มีระบบควบคุมเป็นไฮดรอลิค  เช่น รถขุด รถตัก รถคีบไม้ รถคีบอ้อย รถเกี่ยวข้าว รถยนต์ รถบรรทุก รถทำงานเทศบาล รถยกของ เครื่องบิน เรือ เป็นต้น



จุดติดตั้งปั๊ม และ มอเตอร์ ในรถตัดอ้อย



จุดติดตั้งปั๊ม และ มอเตอร์ ในรถเกี่ยวข้าว

ขอขอบคุณ ภาพรถเกี่ยวข้าว บ.เกษตรพัฒนาฯ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
เปิดต้นทุน SOLAR ROOFTOP แพงแต่คุ้มจริงหรือ

เปิดต้นทุน Solar Rooftop แพงแต่คุ้มจริงหรือ ?

เปิดต้นทุน Solar Rooftop แพงแต่คุ้มจริงหรือ ?

ข้อมูลจากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านระบุว่า Solar Rooftop คือการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน หรืออาคารต่าง ๆ เมื่อตัวแผงรับพลังงานจากแสงอาทิตย์จะเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ทุกชนิด แต่ต้นทุนการทำระบบนี้บางคนก็ว่าหลักแสนหลักล้านบาทจริงหรือ ?

เปิดต้นทุน SOLAR ROOFTOP แพงแต่คุ้มจริงหรือ (1)


โดยทั่วไปจุดเด่นของ Solar Rooftop จะช่วยประหยัดไฟฟ้าโดยเฉพาะในเวลากลางวันระบบจะใช้ไฟฟ้าจาก Solar Roof ก่อน เมื่อการใช้งานไฟฟ้าในบ้านเกินที่ Solar Rooftop ผลิตได้จะหันไปใช้ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าอัตโนมัติ

นอกจากนี้หากเข้าโครงการที่สามารถขายไฟกลับไปให้การไฟฟ้าได้ หมายถึงไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar Rooftop จะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าได้ (มิเตอร์จะหมุนกลับทิศ) สำหรับบ้านพักอาศัยผู้ขายต้องเป็นเจ้าของอาคารหรือได้รับการยินยอมจากเจ้าของอาคารสามารถขายคืนได้ไม่เกิน 10 kWp ในราคา 2.20 บาท/หน่วย

ต้นทุนการติดตั้งระบบ Solar Rooftop เช่น ขนาด 5 kWp ต้องใช้พื้นที่หลังคาในการติดตั้ง 26 ตารางเมตรต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 200,000 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 6,500 หน่วย/ปี รายรับจากการขายคืนได้ 27,000 บาท/ปี จะได้เวลาคุ้มทุนประมาน 4-5 ปี

ทั้งนี้ก่อนติดตั้งระบบ Solar Rooftop ต้องเตรียมตัว ได้แก่

1. ความพร้อมโครงสร้างหลังคาว่าสามารถติดตั้งระบบ Solar Rooftop ได้หรือไม่ 

2. คำนวนต้นทุนการลงทุนรวมถึงค่าบำรุงรักษา และค่าเสื่อมอุปกรณ์

3. ปริมาณหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตขั้นต่ำต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศ มุมองศา ฯลฯ

หากคุณสนใจระบบ Solar Rooftop Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบ Solar Rooftop ครบวงจร เช่น แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ 335 วัตต์ อินเวอร์เตอร์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม  Solar Rooftop ราคาจับต้องได้ เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
วิธีคำนวณหาขนาดปั๊มไฮดรอลิค ก่อนการใช้งาน

วิธีคำนวณหาขนาดปั๊มไฮดรอลิค ก่อนการใช้งาน

วิธีคำนวณหาขนาดปั๊มไฮดรอลิค ก่อนการใช้งาน

ปั๊มไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์ส่งน้ำมันโดยอาศัยพลังงานจากการหมุนของ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์ เป็นแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคเข้าสู่วงจรไฮดรอลิคเพื่อสร้างการขับเคลื่อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบไฮดรอลิค


การคำนวณหาขนาดของปั๊มไฮดรอลิค

จากสูตร

Q = V*A

Q1 = 3 x{ [(3.14 x 5 x 5 )/4] – [(3.14 x 3 x 3)/4] }

Q1 = 37.7 ลูกบาศก์นิ้ว / วินาที

Q1 = ( 37.7 x 60 )/ 231

Q1 = 9.79 แกลลอน/นาที(GPM)(231 ลูกบาศก์นิ้ว =1 US.gallon)

Q1 = 9.79/ 0.2642

Q1 = 37.05 ลิตร / นาที (I/min) (0.2642 US.gallon = 1 ลิตร)

อัตราการไหลของน้ำมัน (Q1) ในจังหวะลูกสูบวิ่งขึ้น = 9.79 แกลลอน / นาที (GPM)

Q2 = 1.5 x [ (3.14 x 5 x 5)/ 4 ]

Q2 = 29.44 ลูกบาศก์นิ้ว / วินาที

Q2 = ( 29.44 x 60 )/ 231

Q2 = 7.64 แกลลอน / นาที

อัตราการไหลของน้ำมัน (Q2 ) ในจังหวะลูกสูบเลื่อนลง (ยังไม่แตะชิ้นงาน) = 7.64 แกลลอน / นาที

Q3 = 0.2 x [ ( 3.14 x 5 x 5)/ 4 ]

Q3 = 3.92 ลูกบาศก์นิ้ว / วินาที

Q3 = ( 3.92 x 60 )/ 231

Q3 = 1.01 แกลลอน / นาที

อัตราการไหลของน้ำมัน (Q3 ) ในจังหวะลูกสูบเลื่อนลง (ขณะอัดชิ้นงาน) = 1.01 แกลลอน / นาที

เพราะฉะนั้นใช้ปั๊มไฮดรอลิคแบบดับเบิลปั๊ม ขนาด 7 แกลลอน / นาที และ 1 แกลลอน / นาที ที่ 1,200 rpm หรือขนาด 8.45 แกลลอน / นาที และ 1.2 แกลลอน / นาที ที่ 1,450 rpm

ขอบคุณข้อมูล : pcnforklift.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ปั๊มไฮดรอลิคแรงดันสูงคุณภาพดีต้องที่ THAI-A

ปั๊มไฮดรอลิคแรงดันสูงคุณภาพดีต้องที่ Thai-A

ปั๊มไฮดรอลิคแรงดันสูงคุณภาพดีต้องที่ Thai-A

ปั๊มไฮดรอลิค (Hydraulic Pump) ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายพลังงานผ่านของเหลวทำให้ได้พลังงานกลเพื่อนำมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ของระบบไฮดรอลิคให้สามารถทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเบรกในรถยนต์, แม่แรงไฮดรอลิค, เครื่องอัด, เกียร์อัตโนมัติ, รถแทรกเตอร์, เครื่องจักรจับชิ้นงาน, เครื่องจักรในงานก่อสร้าง และอีกมากมาย



ที่ Thai-A เราจำหน่ายปั๊มไฮดรอลิคนำเข้าแบรนด์ชั้นนำอย่าง EATON, STAUFF, TOKYO Keiki มีสินค้าไฮดรอลิคมากมาย และชิ้นส่วนคลับเคลื่อนที่สำคัญของการทำงานในระบบไฮดรอลิคก็คือปั๊มไฮดรอลิค เรามองเห็นถึงความอึดและแข็งแรงของแบรนด์ EATON และได้การยอมรับเป็นอย่างดี โดยลักษณะโครงสร้างของปั๊มไฮดรอลิคนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบด้วยกัน คือ ปั๊มไฮดรอลิคแบบลูกสูบ (Piston Pump), ปั๊มไฮดรอลิคแบบเฟืองเกียร์ (Gear Pump) และปั๊มไฮดรอลิคแบบใบพัด (Vane Pump) ซึ่งแต่ละประเภทออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัด แข็งแรงทนทาน และให้สมรรถนะการทำงานที่เสถียรแม่นยำแม้อยู่ภายใต้แรงกดดันสูงก็ตาม

ซึ่งปั๊มไฮดรอลิค เราจัดจำหน่ายด้วยกันอยู่ 3 รูปแบบ

ปั๊มไฮดรอลิคแบบลูกสูบ (Piston Pump)

ใช้การเคลื่อนที่เข้าออกของลูกสูบในกระบอกสูบ เหมาะกับงานที่ใช้ Flow สูง Pressure สูง ปั๊มแบบลูกสูบช่วยลดโหลดแรงดันของมอเตอร์ไฟฟ้า



เกียร์ปั๊มไฮดลอลิค (Gear Pump)

เกียร์ปั๊มหรือปั๊มแบบฟันเฟือง เป็นปั๊มที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบัน จุดเด่นของปั๊มนี้คือ มีขนาดเล็กและเบา, มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน, ดูแลรักษาง่ายและเสียได้ยาก



ปั๊มไฮดรอลิคแบบใบพัด (Vane Pump)

เวนปั๊มหรือปั๊มแบบใบพัด เป็นปั๊มที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความเร็วรอบที่สูง และเหมาะสำหรับใช้กับงานที่ต้องการอัตราการไหลสูงแต่แรงดันต่ำไปจนถึงขนาดปานกลาง



สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ปั๊มไฮดรอลิคใช้ควบคุมเครื่องจักรอะไรบ้าง (3)

ปั๊มไฮดรอลิคใช้ควบคุมเครื่องจักรอะไรบ้าง ?

ปั๊มไฮดรอลิคใช้ควบคุมเครื่องจักรอะไรบ้าง ?

ปั๊มไฮดรอลิค เป็นอุปกรณ์ส่งน้ำมันโดยอาศัยพลังงานจากการหมุนของ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์ เป็นแรงดันไฮดรอลิคเข้าสู่ระบบวงจรไฮดรอลิค เพื่อนำ ไปสร้างแรงดันสำหรับขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ในวงจร

1. VANE PUMP ใช้ในเคริ่องฉีดพลาสติก เพราะต้องการ อัตราการไหลเยอะและคงที่



2. PISTON PUMP ใช้ในเครื่อง ปั๊มอัดขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ และ อื่นๆ เพราะต้องใช้เพรชเชอร์ที่สูง ในการปั๊มชิ้นงาน



3.GEAR PUMP ใช้กับงานโมบาย เช่น รถอัดขยะ เป็นปั๊มที่ดูแลรักษาง่าย ให้แรงที่ดันสูง


สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิค

ปัญหาทั่วไปของปั๊มไฮดรอลิ

ในระบบการผลิตที่มีการใช้ปั๊มไฮดรอลิคมาเกี่ยวข้องมักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา แท้จริงแล้วปัญหาอาจไม่เกี่ยวข้องกับปั๊ม แต่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจาก ขาดการควบคุมชนิดหรือคุณสมบัติของของเหลวที่ต้องการปั๊ม เช่น ของเหลวหนืดมากเกินไป มีของแข็งปนมากไป มีอากาศปน หรืออาจเนื่องจากการปรับเปลี่ยนความต้องการในการผลิต เช่น การปรับเพิ่ม / ลดอุณหภูมิ ซึ่งทำให้ปั๊มไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามปกติ


ปัญหาที่พบได้ทั่วไป

1. อัตราการไหลลดลง (Loss of Flow)

สาเหตุเบื้องต้นซึ่งมักถูกมองข้ามอาจเนื่องมาจาก การหมุนของเพลาที่ผิดทิศทาง หรืออาจเนื่องจากความดันขาออกมากเกินไป นอกจากนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนความหนืดของอาหารเหลวที่ต้องการปั๊ม

2. สูญเสียแรงดูด (Loss of Suction)

การสูญเสียแรงดูด อาจเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย ที่ส่งผลกระทบระยะสั้น หรืออาจจะมากพอที่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่กับปั๊มได้ การสูญเสียแรงดูด หมายความว่า ของเหลวไม่ถูกส่งเข้าไปในตัวปั๊ม หรือส่งไปไม่เพียงพอ ทำให้ความดันไม่สูงพอที่จะให้ของเหลวถูกปั๊มในสถานะที่เป็นของไหล

3. ความดันขาออกต่ำ (Low Discharge Pressure)

ความดันขาออกของปั๊ม เกิดจากสาเหตุเดียวคือ แรงต้านของปั๊มต่อการไหลซึ่งเกิดจากปั๊ม ทำให้ไม่สามารถให้อัตราการไหลที่ต้องการ หรืออาจเนื่องมาจากการไหลถูกขัดขวางก่อนจะเข้าปั๊ม ทำให้เกิด Cavitation โดยทั่วไปการเกิดจะเกิดพร้อมเสียงและการสั่นสะเทือน เมื่อปั๊มไม่สามารถทำอัตราการไหลได้ อาจทำให้ปั๊มพังหรือชิ้นส่วนภายในเสียหาย หรือของเหลวที่ปั๊มไหลออกช่องทางอื่น ที่ไม่ใช่ช่องทางที่ระบบต้องการให้ไหลออก

4. อะไหล่ปั๊มไฮดรอลิคสึกหรอเร็วเกินไป

อาจเนื่องมาจากการขัดสีจากของไหล การกัดกร่อนทางเคมี ความเสียหายของรองลื่นที่หนุนเพลา (Bearing Failure) การใช้งานปั๊มเกินกำลัง การใช้งานปั๊มในสภาพไม่เหมาะสม เช่น การเกิด Cavitation ความดันสูงเกิน อุณหภูมิสูง วิธีแก้ไข ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่กัดกร่อนปั๊ม ควรใช้ตัวกรองเข้าช่วยกรอง (Strainer and Filter) และในบางครั้งการตรวจดูสภาพภายในปั๊มตามระยะเวลาอาจไม่เพียงพอ หากการสึกกร่อนของปั๊มเร็วเกิน ควรสืบหาสาเหตุจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีปัญหา

5. การรั่วของซีล

อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการรั่วของปั๊ม ดังนั้นจึงควรจะระมัดระวังดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าได้เลือกซีลที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน นอกจากนี้ การรั่วของซีลอาจจะมีสาเหตุมาจากความดันขาออกที่สูงเกิน หรือปล่อยให้ปั๊มเดินเปล่าหรืออาจเกิดจากการมีของแข็งที่ไม่เหมาะสมหลุดเข้าไปในของเหลวที่กำลังปั๊มไฮดรอลิค

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More
ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบ

ปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบหรือ (Piston Pump) เป็นปั๊มที่นิยมใช้ สามารถสร้างแรงดันได้สูงกว่าประเภทอื่น ๆ สร้างอัตราการไหลได้ในปริมานมากและยังประหยัดพลังงานหรือลดภาระการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าได้ถึง 50%



ประเภทของปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบแบ่งได้ 2 ประเภท

1. ปั๊มไฮดรอลคลูกสูบหมุนตามแกน

มีจำนวนของลูกสูบอยู่ในแนวนอน ที่ติดอยู่กับบล็อกทรงกระบอกซึ่งเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับแกนหมุนของบล็อก ความดันและวงจรควบคุมการไหลสามารถรวมภายในช่วยให้การดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือได้ และการออกแบบที่เรียบง่ายของระบบไฮดรอลิคที่เกี่ยวข้อง

2. ปั๊มไฮดรอลิคลูกสูบหมุนตามแนวรัศมี

ปั๊มลูกสูบหมุนตามแนวรัศมี มีการจัดองค์ประกอบ บล็อกทรงกระบอกโดยรอบในแนวรัศมี เหมือนซี่ล้อ เพลาขับเคลื่อนจะหมุนบล็อกทรงกระบอก ซึ่งจะผลักดันให้ลูกสูบ หรือกระบอกฉีด(slings) เกิดการบีบอัดและการขยายตัว จากแคมเยื้องศูนย์ของบล็อกขับเคลื่อน  การควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกสูบและเสื้อสูบ ที่มีศูนย์กลางการหมุนตรงกับแนวเคลื่อนที่ของลูกสูบ ปั๊มลักษณะนี้จะมีระดับเสียงต่ำ, รับโหลดได้สูงมากที่ความเร็วต่ำ และมีประสิทธิภาพสูง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Thai-A-banner-ติดต่อ
Read More