5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุทำลายระบบอัด ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

การขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์จะต้องใช้เครื่องอัดลมในการจ่ายพลังงาน แต่ในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองซึ่งปะปนอยู่ในอากาศ ดังนั้นการทำงานของระบบนิวเมติกส์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำจัดสิ่งสกปรกเหล่านี้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน  สิ่งแปลกปลอมที่มีปัญหากับระบบอัดลม มีผลต่ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ซึ่งจะมีอายุการใช้งานนานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพลมอัดว่ามีคุณภาพเพียงใด โดยส่วนใหญ่สิ่งแปลกปลอมที่ปนมามีดังนี้

1. ความชื้น

ในลมอัดจะประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก เพราะเครื่องอัดลมจะอัดลมจากบรรยากาศ ซึ่งมีค่าความชื้นสูง หลักการแก้ไขในการระบายน้ำที่เกิดจากความชื้นสามารถทำได้โดยใช้เครื่องระบายความร้อนลมอัดเพื่อดักเอาไว้ก่อน ถ้ายังมีความชื้นปนอยู่ก็อาจจะใช้เครื่องทำให้อากาศแห้งติดตั้งเข้าไปในระบบอีกที การทำแบบนี้จะทำให้ความชื้นที่เจือปนไปกับลมอัดมีค่าน้อยมาก

2. ฝุ่นละออง

สาเหตุที่มีฝุ่นละอองนั้น สามารถมีได้อยู่ 2 แหล่งคือ ภายในระบบเอง ซึ่งได้แก่ เศษวัสดุ สนิม เศษเกลียวสเก็ดเชื่อมที่เกิดขึ้นในระบบการเดินท่อส่งลม และอีกแหล่งที่มาจากภายนอกซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมของสถานที่นั้นๆ แก้ไขได้โดยติดตั้งตัวกรองที่มีคุณภาพสูงเข้าไปในระบบท่อส่งลมหลักที่หนึ่งก่อนที่จะนำลมไปผ่านกรองเข้าเครื่องจักร และหมั่นทำความสะอาดสม่ำเสมอ

3. น้ำมันหล่อลื่น

สิ่งนี้มักจะปะปนไปกับลมอัด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสึกหรอของแหวนลูกสูบในเครื่องลมอัด ซึ่งจะทำให้ละอองน้ำมันหล่อลื่นเล็ดลอดขึ้นมาผสมกับลมอัดภายในกระบอกลมนิวเมติกส์ได้

4. ข้อบกพร่องที่เกิดจากการหล่อลื่น

ในวาล์วนิวเมติกส์บางรุ่นยังคงต้องการการหล่อลื่นอยู่ จึงจำเป็นจะต้องมีการผสมน้ำมันหล่อลื่นไปกับลมอัด ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นนี้ควรจะเป็นน้ำมันไฮดรอลิก ไม่ควรให้น้ำมันหล่อลื่นผสมน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่มีการเสียดสีกันภายในวาล์ว และซีลต่างๆ เกิดการสึกหรอได้ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะไม่เหมาะสม เพราะทำให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับลมอัดทางท่อระบายทิ้ง ทำให้เกิดความสกปรกและอุดตันภายในตัวเก็บเสียงได้

5. สารออกไซด์

เป็นสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากคาร์บอนและน้ำมันดิบที่มีอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น เนื่องจากระบบลูกสูบทำงาน จะอัดอากาศให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงมีผลทำให้น้ำมันหล่อลื่นเกิดออกไซด์แยกตัวออกมา การแก้ปัญหาดังกล่าวคือ ควรเลือกใช้กรองที่มีความสามารถในการกรองได้ละเอียดถึง 0.3 ไมครอน มาใช้ในการกรอง และควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพและเปลี่ยนตามเวลากำหนด

การจัดการบำรุงรักษานิวเมติกส์

อุปกรณ์นิวเมติกส์ทุกชิ้น จะต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะตามเวลาการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายในระบบนิวเมติกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และ ปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
พลังงานชีวมวลคืออะไร และเราจะสามารถผลิตพลังงานชีวมวลได้อย่างไร

พลังงานชีวมวลคืออะไร



พลังงานชีวมวลคืออะไร

พลังงานชีวมวลคืออะไร ในปัจจุบันคุณผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า คนยุคใหม่ได้หันมาสนใจในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสูงสุดโดยการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED ลดการการใช้พลังงานจาก fossil ชึ่งเป็นพลังงานที่ไม่หมุนเวียน และ การหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ก็มีมากขึ้นทุกวัน โดยมีเป้าหมายในการลดมลพิษ และ รักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้เป็นภาระสู่คนรุ่นต่อไป  ทำให้เรามักจะได้ยินคำนี้กันบ่อย ๆ นั่นคือ พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานทางเลือก ที่อยู่ในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนที่ได้จากชีวมวล ส่วนใหญ่แล้วนั้นจะได้มาจากผลผลิตทางการเกษตร (agricultural crops) ต่าง ๆ เศษวัสดุเหลือทิ้งการเกษตร (agricultural residues) ไม้และเศษไม้ (wood and wood residues) หรือของเหลือจากจากอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น แกลบ, ชานอ้อย, เศษไม้ ที่ได้จากการแปรรูปไม้ยางพาราหรือไม้ยูคาลิปตัสเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนได้จากสวนป่า เช่น กากปาล์ม ได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มดิบออกจากผลปาล์มสด , กากมันสำปะหลัง ได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง , ซังข้าวโพด , กาบและกะลามะพร้าว และในช่วงนี้ทั้งภาครัฐ และเอกชน ให้มีสนใจเศษใบอ้อย ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวอ้อยเป็นต้น

พลังงานชีวมวล  (Biomass-energy)

หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่าง ๆ โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ นับว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากประเทศไทยของเราก็นับว่าเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตรอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค และผลที่ตามมาคือเราจะมีเศษจากการเก็บเกี่ยว (Biomass) ปริมาณมากเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยปกติเกษตรกรมองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นภาระเพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการส่งไปทำลาย “แต่ในปัจจุบันเราสามารถสร้างขยะชีวมวลเหล่านี้เป็นธุรกิจสร้างรายได้ได้อีกทาง”เมื่อผู้อ่านทราบดังนี้แล้ว คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าพลังงานชีวมวลคืออะไร และเราจะสามารถผลิตพลังงานชีวมวลได้อย่างไร ในบทความนี้แอดมินมีคำตอบมาให้ค่ะ

พลังงานชีวมวล หรือ Biomass energy คือ พลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนจากเชื้อเพลิงชีวมวล ที่ผลิตขึ้นโดยอาศัยกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบทางชีวภาพ

พลังงานชีวมวล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่

• เชื้อเพลิงเพื่อการผลิตไฟฟ้า

• เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์

พลังงานชีวมวลคืออะไร


วิธีการผลิตพลังงานชีวมวลมีด้วยกัน 4 ช่องทาง ดังนี้ค่ะ

  1. การเผาไหม้โดยตรง เป็นการทำปฏิกิริยาการรวมตัวของวัตถุดิบที่ลุกไหม้กับออกซิเจน แล้วคายความร้อน ซึ่งสามารถนำพลังงานความร้อนนี้ไปผลิตไฟฟ้าพลังไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความดันสูง โดยอาศัยกังหันไอน้ำเป็นตัวเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าต่อไป
  2. การผลิตก๊าซ เป็นการเปลี่ยนรูปทางเคมีภายในของคาร์บอนในวัตถุชีวมวลหรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิงนั่นเอง ซึ่งอาศัยความร้อนและตัวกลางในกระบวนการอย่าง ออกซิเจน และไอน้ำในการแปรรูป เราเรียกสิ่งที่ได้จากกระบวนการนี้ว่า แก๊สชีวภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน มักจะนำไปใช้งานกับกังหันแก๊ส
  3. การหมัก เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะที่ไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัวจนเกิดเป็นแก๊สชีวภาพ ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สมีเทนนี้ถือเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี ที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้าได้
  4. การผลิตเชื้อเพลงเหลวจากพืช สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

กระบวนการด้านชีวภาพ

กระบวนการนี้จะทำการย่อยสลายจำพวกแป้ง น้ำตาล รวมถึงเซลลูโลสต่าง ๆ จากพืชทางการเกษตรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อให้กลายเป็นเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน

กระบวนการด้านฟิสิกส์และเคมี

กระบวนการนี้เป็นการสกัดเอาน้ำมันออกมาจากพืชที่มีน้ำมันในตัว เมื่อได้น้ำมันดิบมาแล้วก็จะนำไปผ่านกระบวนการที่เราเรียกว่า Transesterification เพื่อใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลต่อไปนั่นเองค่ะ

กระบวนการใช้ความร้อนสูง

กระบวนการการใช้ความร้อนสูงนั้นมีด้วยกันหลายกระบวนการด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการไพโรไลซิส คือเมื่อวัตถุดิบจากงานเกษตรทั้งหลายเหล่านี้โดนความร้อนสูงในสภาวะที่ไร้ออกซิเจนก็จะสลายตัวไปกลายเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของของเหลวและก๊าซผสมกัน

ประโยชน์ของพลังงานชีวมวล

ประโยชน์ของการใช้พลังงานชีวมวลนั้นสามารถช่วยลดขยะที่จะเกิดจากการเก็บเกี่ยว และ ผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ดีอีกทางหนึ่ง ทั้งยังช่วยในการลดการเผาสิ่งเหลือใช้(Biomass)เหลานี้ในพื้นที่เก็บเกี่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก นำมาเผาในเตาที่ควบคุมพิเศษซึ่งจะก่อผลเสียกับสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และได้ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากการเพาะปลูกสูงที่สุด และ ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง

และประโยชน์อีกหนึ่งอย่างของการใช้พลังงานชีวมวลนั่นก็คือ เป็นการสนับสนุนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในการขายผลผลิตที่เหลือใช้ทางการเกษตรและยังถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้คุ้มค่าอีกด้วยค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของพลังงานชีวมวลที่แอดมินได้นำมาฝากในวันนี้ แต่คุณผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ต้องมีการใช้พืชผลกันเป็นจำนวนมากเลยทีเดียวค่ะ กว่าจะผลิตพลังงานชีวมวลได้ สำหรับโรงงานต่าง ๆ หรือผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากไบโอแมสควรจะต้องคำนึงถึงตันทุนค่าแรง เพราะเชื้อเพลิงชีวมวล เหล่านี้ทั้งมีปริมาณมากรวมถึงน้ำหนักมาก การมีเครื่องจักรกลการเกษตรอย่าง รถคีบไว้ จะยิ่งช่วยให้โรงงานของคุณประหยัดเวลาในการเคลื่อนย้ายพืชผลผลิตต่างๆและทุ่นแรงงานคนได้ดี เพิ่มผลกำไรจากการประกอบการให้ดียิ่งขึ้น คุ้มทุนเร็วขึ้น

พลังงานชีวมวลคืออะไร


หากโรงงานผลิตไบโอแมสหรือโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลสนใจรถคีบไม้คุณภาพดีเพื่อช่วยให้โรงงานของคุณประหยัดเวลาในการเคลื่อนย้ายพืชผลผลิตต่างและทุ่นแรงงานคนได้ดียิ่งขึ้นหละก็สามารถปรึกษากับ Thai-A เราได้นะคะ Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถคีบไม้ รถตัดอ้อย รถคีบอ้อยและ”รถคีบก้อนใบอ้อย”ภายใต้ยี่ห้อ แม็กส์ (MAX) ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มคุณภาพงาน ลดระยะเวลาในการทำงาน ให้งานคีบเป็นเรื่องง่าย มั่นใจ! Thai-A เราเป็นศูนย์รวมสินค้าวิศวกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เจ้าแรกในไทย มายาวนานกว่า 50 ปี ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ อะไหล่ไฮดรอลิก นิวเมติกส์ และ อุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตร.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854 , 081 721-0680

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาคนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องสภาวะสิ่งแวดล้อมและ มีการรณรงค์เลิกใช้โฟม ถุงพลาสติก โดยหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมากขึ้น เพื่อการย่อยสลายและเป็นมิตรต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน

กระบอกลมนิวเมติกส์สำหรับเครื่องอัดจานกาบหมาก



จานกาบหมากเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ปราศจากสารเคมีและการฟอกสี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่แตกหักง่าย น้ำหนักเบา ใส่อาหารได้ทุกเมนู เข้าเตาไมโครเวฟได้ ไม่อ่อนตัว ทนความร้อนได้ดี มีกลิ่นหอม และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ย่อยสลายได้เองใน 45 วัน

โดยจานกาบหมากถูกผลิตขึ้นจากใบกาบหมากที่แห้ง เลือกขนาดที่ต้องการนำมาล้างทำความสะอาด ให้ดินโคลนออกทั้งหมด ตากแดดให้แห้งสนิท นำมาอัดขึ้นรูปด้วยระบบนิวเมติกส์ไฟฟ้า สามารถขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบตามลักษณะของแม่พิมพ์ การทำงานของระบบนิวเมติกส์จะใช้การเคลื่อนตัวของกระบอกลมนิวเมติกส์เคลื่อนที่เป็นแนวตรงอัดด้วยความร้อนก็จะทำให้เกิดรูปทรงของจานกาบหมากนั่นเอง

ในปัจจุบันจานกาบหมากเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับร้านอาหารและโรงแรมที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในด้านสิ่งแวดล้อม หรืองาน OTOP ต่างๆ ที่เน้นวิถีจากชาวบ้าน แต่จานกาบหมากยังขาดตลาดอยู่มากเนื่องจากยังไม่ค่อยมีผู้ผลิตมากนัก อีกทั้งยังต้องใช้เครื่องจักรอย่างระบบนิวเมติกส์เพื่ออัดขึ้นรูปอีกด้วย ดังนั้นหากท่านใดที่สนใจเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความคิดที่จะช่วยลดขยะพลาสติกและโฟม หรือต้องการผลิตสินค้าจานกาบหมากจำหน่าย สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตัวเองและชุมชน ติดต่อสอบถามเรื่องระบบนิวเมติกส์กับ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ในระบบนิวเมติกส์จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์นิวเมติกส์แต่ละชนิดที่ทันสมัยกว่าแต่ก่อน แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์ว่ามีหน้าที่อะไรบ้างในงานนิวเมติกส์

รูปวงจรการทำงานโดยภาพรวม



1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)

อุปกรณ์ต้นกำลัง จะทำหน้าที่ในการสร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
  • เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
  • เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
  • ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้

 รูปชุด  AIR SERVICE UNIT


2. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed Air Treatment Component) 

ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน และน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • กรองลม (Air filter) ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ อย่างเช่น ไอน้ำ ฝุ่นผง หรือสารต่าง ๆ ที่ล่องลอยในบริเวณเครื่องอัดอากาศ
  • วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator) ทำหน้าที่ปรับ หรือควบคุมความดันจ่ายที่ออกมาให้มีค่าคงที่
  • อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator) ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันหล่อลื่นให้กับลมอัด เพื่อหล่อลื่น ลดแรงเสียดทาน และป้องกันอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่สัมผัสกันโดยตรง


3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component) 

หมายถึงวาล์วควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการเริ่ม และหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมการทำงานของกระบอกลม  หัวขับลม  มอเตอร์ลมให้หมุนซ้ายหรือขวา ควบคุมการเปิดหรือปิดลม โดยสามารถเลือกการคอนโทรล ได้ทั้งแบบ Manual หรือระบบไฟฟ้า (Electric)    


4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component)

ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล อย่างเช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (single-acting cylinders), กระบอกสูบสองทิศทาง (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน  

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม
รูปวาล์วสำหรับงาน PIPING


5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system)

เป็นท่อทางไหลของลมอัดในระบบนิวเมติกส์ท่อลมที่ใช้ในระบบนิวเมติกส์ จะทำมาจาก ท่อเหล็ก ท่อทองแดง หรือท่อพลาสติก ซึ่งการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน และความเหมาะสมในการใช้งาน นอกจากเรื่องวัสดุแล้วสิ่งที่ควรคำนึงคือ สภาพการทนต่อการใช้งานต่าง ๆ โดยการเลือกการใช้งานขึ้นอยู่กับความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงดัน ของเหลวในการลำเลียง ลม น้ำ หรือของเหลวอื่น สิ่งที่ควรคำนึงอย่างยิ่งเลยคือ ความสามารถของวาล์ว โดยมีแรงดันให้เลือกตั้งแต่ 0-5 Bar,  0.1-20 Bar, 0.1-40 Bar, 0.1-50 Bar, 0.1-70 Bar เป็นต้น วาล์วไฟฟ้าสามารถเลือกได้ทั้งแบบคอยล์ทั่วไป หรือแบบคอยล์กันระเบิด (explosion proof)

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
จะดีกว่าไหม หากใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สูบน้ำเข้านา

จะดีกว่าไหม หากใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สูบน้ำเข้านา

จะดีกว่าไหม หากใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สูบน้ำเข้านา

โซล่าเซลล์พลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมด นอกจากจะช่วยสร้างกระแสไฟฟ้าแล้วยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ที่มีแสงแดด ช่วยให้เราสามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แม้จะอยู่ในเขตที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

จะดีกว่าไหม หากใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์สูบน้ำเข้านา



และอุปกรณ์ในภาคการเกษตรที่สามารถประยุกต์เข้ากับพลังงานแสงอาทิตย์ได้นั่นก็คือ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานด้านการเกษตรอย่างมากเช่น การทำไร่ทำสวน ทำนา สูบน้ำเลี้ยงบ่อปลาบ่อกุ้งต่างๆ หรือพื้นที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์จะช่วยให้เข้าถึงแหล่งน้ำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องง้อสายไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟแต่อย่างใด ซึ่งปั๊มน้ำโซล่าเซลล์นั้นมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มน้ำสำหรับใช้กับบ่อน้ำ (ปั๊มน้ำหอยโข่งโซล่าเซลล์ /Centrifugal Pump)

หากต้องการสูบน้ำจากผิวดินการใช้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบหอยโข่งจะเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเหมาะต่อการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไปจนถึง ระบบอาคาร ปั๊มดับเพลิง ระบบน้ำร้อน ปั๊มน้ำหอยโข่ง เหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง อ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เยอะมากนัก คือลึกไม่เกิน 10 เมตร และปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ประเภทนี้สามารถสูบน้ำได้ปริมาณมากนั่นเอง

ปั๊มน้ำสำหรับใช้กับน้ำบาดาล (ปั๊มน้ำซับเมอร์ส /Submersible Pump)

ส่วนปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์สเป็นปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่ใช้จุ่มใต้น้ำในบ่อ หรือใต้ผิวดิน เหมาะสำหรับสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อที่ขุดลึกลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะของบ่อจะเป็นไปตามขนาดของปั๊ม ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรืออาจจะแล้วแต่การออกแบบ บ่ออาจจะมีขนาด 4 – 8 นิ้ว เป็นรูลงไปใต้ดินเพื่อสูบน้ำขึ้นมาด้านบน

นอกจากนี้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ยังสามารถสูบน้ำนำไปยังถังเก็บน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน เป็นการหมุนเวียนพลังงานที่ดีอีกเช่นกัน


วิธีการคำนวณขนาดปั๊มน้ำให้พอดีกับแผงโซล่าเซลล์

วิธีการคำนวณขนาดปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ตัวอย่างเช่น

ปั๊มสูบน้ำแบบ SUBMERSIBLE PUMP ขนาด1 แรงม้า 220V/3Ph ( 1 แร้งม้าเท่ากับ 745.7วัตต์ หรือ เท่ากับ 746 วัตต์) แรงดังไฟฟ้า 60-400Vdc 

การคำนวณการใช้งานเลือกขนาดแผง Solar Cell เบื้องต้น

                                = 1 แรงม้า x 746 วัตต์

                                =  746 วัตต์

                กำลังไฟฟ้าของปั๊มที่ต้องการ =  746 วัตต์ ที่แรงดัน 60-400 Vdc

                เลือกขนาดแผง Solar Cell ที่ 320 วัตต์ แรงดันที่ 45 Vdc

                                = 320 วัตต์ x 3 แผง (ต่ออนุกรม)

                                = 960 วัตต์

สรุป

                ปั๊มขนาด 1 แรงม้า 220V / 3Ph

                ใช้แผง Solar Cell 320 วัตต์ 3 แผง ต่ออนุกรม ได้ 960 วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า 135 Vdc (การเลือกใช้แผง Solar Cell จะต้องมีกำลังวัตต์มากกว่าปั๊ม และแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปั๊มสามารถทำงานได้ คือ 60-400 Vdc)

สำหรับชาวเกษตรกรท่านใดที่สนใจปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย แผงโซล่าเซลล์ แผงโซล่าเซลล์ มอก อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ครบวงจร อาทิ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจร สินค้าคุณภาพดีพร้อมให้บริการ และติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องโซล่าเซลล์

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency


Read More
ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร

ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ระบบนิวเมติกส์ได้มีบทบาทชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมน้ำมัน, อุตสาหกรรมการแปรรูป ผลิตเครื่องจักร บรรจุหีบห่อ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือกล ระบบหุ่นยนต์ เป็นต้น

ระบบนิวเมติกส์

คือ การนำเอาพลังงานจากลมอัดมาใช้ในการขับเคลื่อนอุปกรณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบนิวเมติกส์ และการนำลมอัดของระบบนิวเมติกส์มาใช้งานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลลมอัดให้มีความบริสุทธิ์ที่สุด (Compressed Air Purification System) ด้วยการทำให้ลมอัดมีความแห้งสะอาด และมีอุณหภูมิที่ต่ำ ปราศจากฝุ่น ความชื้น ละอองน้ำ น้ำมัน และกลิ่นต่างๆ นั่นเอง

แม้กระทั่งวงการแพทย์ที่มีการใช้งานของระบบนิวเมติกส์ในการรักษาคนไข้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาการอัดลมที่บริสุทธิ์ที่สุด ปราศจากกลิ่น น้ำมันเพื่อความปลอดภัยของคนไข้

ในระบบนิวเมติกส์การเตรียมลมอัดมีความสำคัญอย่างไร ?


ก่อนมีการทำการเตรียมลมอัดที่สะอาดเพื่อนำไปใช้งานนั้น จะต้องพิจารณาขอบเขตของงานที่จะนำลมอัดไปใช้ ตามที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนการจัดซื้ออุปกรณ์ในระบบนิวเมติกส์ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นตามความเหมาะสม จะเห็นว่าหากทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบนิวเมติกส์ภายในหน่วยงานหรือโรงงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมลมอัดให้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้งาน เปรียบเสมือนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอุปกรณ์นิวเมติกส์ไปในตัว เนื่องจากลมอัดที่สะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ให้สูงขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิตลงอีกทางด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราได้แนะนำไปข้างต้น และเราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านกันนะคะ และในครั้งหน้าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์แบบไหนอย่าลืมติดตามกันนะคะ

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

Email : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด ช่วงเศรษฐกิจแบบนี้การประหยัดคงจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้หลายชีวิตดำเนินอยู่รอด อย่างเช่น การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพราะพลังงานไฟฟ้า เป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต และปัจจุบันในหลายๆ ภาคส่วนนิยมนำระบบโซล่าเซลล์ไปใช้เพื่อช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าไฟฟ้า และสำรองพลังงานไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไม่เว้นแม้แต่ในภาคการเกษตรที่ก็เริ่มได้รับความนิยมไม่แพ้กัน และได้มีการนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้กับปั๊มน้ำอีกด้วย

ข้อดี ข้อเสีย ของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิด


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ (Solar Water Pump) คือการที่นำปั๊มน้ำมาประยุกต์ใช้กับระบบโซล่าเซลล์ โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้กับปั๊มน้ำโซลาเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์มีหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงข้อดีข้อเสียของปั๊มโซล่าเซลล์แต่ละชนิดให้ทุกๆท่าน ได้ตัดสินใจในการเลือกใช้ปั๊มโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

รูปแบบที่1: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์หอยโข่ง [Solar Water Pumping System (Centrifugal Pump)] 

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบหอยโข่ง นี้ มาจากรูปร่างลักษณะของตัวปั๊มที่ลักษณะคล้ายขดของหอยโข่ง เป็นปั๊มที่คนนิยมใช้กันมาก เป็นปั๊มชนิดแรงเหวี่ยง ระบบการทำงานของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์หอยโข่งคือจะมีใบพัดอยู่ภายใน และเมื่อใบพัดหมุนจะเกิดแรงเหวี่ยงน้ำส่งน้ำจากส่วนปลายใบพัดเข้าในโพรงหอยโข่ง เหมาะกับงานสูบน้ำสะอาดทั่วไปที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลางถึงมาก โดยที่ความลึกไม่เกิน 8 เมตร และสูบส่งได้สูง เหมาะสำหรับงานสูบน้ำในสวนหย่อมหรือสวนผัก งานระบบบำบัดน้ำ ชลประทาน รดน้ำ งานสูบส่งเคมีบางชนิด

ข้อดี

  • มีราคาถูก และหาซื้อง่าย
  • สามารถสูบน้ำได้ปริมาณน้ำมากประมาณ 1500-3000 ลิตร / ชั่วโมง
  • ดูแลรักษาได้ง่าย อะไหล่หาซื้อง่าย

ข้อเสีย

ดูดบ่อลึกได้ไม่เกิน 8 เมตร ยกเว้นเครื่องปั้มน้ำหอยโข่งชนิดเจ็ตคู่ที่สามารถสูบได้ลึกกว่า และกินพลังงานค่อนข้างสูง หากนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้งานร่วมกันอาจจะต้องใช้แผงโซล่าเซลล์หลายแผงเพื่อให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอ

รูปแบบที่ 2: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบซับเมอร์ส ปั๊มน้ำบาดาล [Solar Water Pumping System (Submersible Pump)]   

เป็นปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ที่ใช้จุ่มใต้น้ำในบ่อ หรือใต้ผิวดิน เหมาะสำหรับสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อที่ขุดลึกลงไปค่อนข้างมาก ลักษณะของบ่อจะเป็นไปตามขนาดของปั๊ม ขั้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรืออาจจะแล้วแต่การออกแบบ บ่ออาจจะมีขนาด 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว เป็นรูลงไปใต้ดินเพื่อสูบน้ำขึ้นมาด้านบน

ข้อดี

  • ดูดได้ลึกมากๆ มีหลายขนาดให้เลือก
  • ได้ปริมาณน้ำเยอะ
  • ใช้สูบน้ำขึ้นที่สูง สูบน้ำขึ้นแท้งค์น้ำสูงๆ ได้

ข้อเสีย

มีราคาแพง ยิ่งระบบ AC แพงกว่า DC มาก หากการใช้งานที่ใช้น้ำน้อยทุนไม่เยอะอาจไม่คุ้ม หากมอเตอร์เสียหายจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ และใช้กำลังไฟเยอะจึงอาจจะต้องใช้แผงโซล่าเซลล์เพิ่มมากขึ้น

รูปแบบที่ 3: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แบบไดโว DC [Solar Water Pumping System (Divo Pump)] 

ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีหลากหลายขนาด สามารถสูบได้น้ำเยอะ แต่กำลังส่งของปริมาณน้ำอาจจะด้วยกว่าปั้มน้ำ แบบ AC การใช้งานง่าย เพียงต่ออุปกรณ์เข้ากับตัวปั้มไปจุ่มน้ำและทำการต่อท่อ ก็จะสามารถใช้งานได้เลย ปั้มไดโวเป็นปั๊มที่มีการใช้ง่าย นิยมใช้ส่งน้ำในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง เพราะแนวดิ่งจะสูบน้ำขึ้นได้ไม่เกิน 5 เมตร ในแนวราบส่งได้ถึง 100 เมตรก็มี (ขึ้นอยู่กับรุ่น)

ข้อดี

  • ราคาถูก
  • ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
  • สูบน้ำได้ปริมาณเยอะ ขนาดเล็กสามารถพกพาได้ง่าย

ข้อเสีย

สามารถสูบน้ำได้ในความลึกที่ไม่มากนัก (ไม่เกิน 10 เมตร)

รูปแบบที่ 4: ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ปั๊มชัก พร้อมมอเตอร์ DC

เป็นปั๊มน้ำที่ตัวปั๊มจะประกอบรวมเข้ากับมอเตอร์ DC และส่งกำลังด้วยสายพาน เวลาต่อใช้งานจะต่อท่อดูดลงน้ำ

และต่อท่อส่งไปยังที่ๆ ใช้งาน ความแรงจะขึ้นกับรอบของมอเตอร์และสายพาน สามารถประกอบตัวเครื่องเองได้ และมีราคาถูกอีกด้วย

ข้อดี

  • ดูดได้ลึกประมาณ 10 เมตร ส่งได้สูงกว่า 10 เมตร
  • ตัวปั้มหาซื้อง่าย ราคาถูก หาซื้ออะไหล่ได้ง่าย ตัวมอเตอร์ DC ราคาจะค่อนข้างสูง
  • ใช้รอบต่ำ 400 rpm สูบน้ำได้ปริมาณคุ้มกับพลังงานที่เสียไป

ข้อเสีย

มักมีปัญหาเรื่องความร้อนในเครื่องที่มีขนาดเล็ก ชิ้นส่วนสึกหรอง่าย มีน้ำหนักเยอะเคลื่อนย้ายยาก ต้องซ่อมบำรุงบ่อยๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ทั้ง 4 ชนิด นี้ เมื่อรู้ข้อดี-ข้อเสียของปั๊มน้ำโซล่าเซลล์แต่ละชนิดนี้แล้ว ก็สามารถตัดสินใจเลือกซื้อปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ตามความเหมะสมได้เลยค่ะ หากเกษตรกรท่านใด หรือใครที่กำลังสนใจระบบโซล่าเซลล์ สามารถติดต่อเราได้ที่ Thai-A เราผลิตและจำหน่ายสินค้าโซล่าเซลล์ครบวงจร อาทิ แผงโซล่าเซลล์ ปั๊มโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ ปั๊มน้ำซับเมอร์ส พร้อมทั้งติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟท็อป เรามีประสบการณ์ยาวนาน เจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาตรฐาน มอก.พร้อมรับประกันงานติดตั้ง 1 ปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เตรียมรถตัดอ้อยและแปลงอ้อยอย่างไร ให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว ชาวเกษตรกรจะต้องทำการเตรียมแปลงอ้อยที่ เพื่อรองรับการทำงานของรถตัดอ้อย

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว

รถตัดอ้อย max
รถตัดอ้อย max

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว

How to ในการเตรียมรถตัดอ้อยให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยว เดือนธันวาคม นับว่าเป็นเดือนสำคัญของชาวเกษตรกรไร่อ้อยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวอ้อยหรือที่เขามักจะเรียกกันว่า ฤดูกาลหีบอ้อย นั่นเองค่ะ ซึ่งในวันนี้แอดมินจะพาผู้อ่านทุกท่าน มาศึกษาถึงวิธีการเตรียมรถตัดอ้อยและแปลงอ้อยอย่างไร ให้พร้อมต่อการเก็บเกี่ยวของชาวเกษตรกรไร่อ้อยกันค่ะ ว่าจะมีการเตรียมรถตัดอ้อยและไร่อ้อยอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ


ความบทที่เกี่ยวข้อง

รถตัดอ้อย เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเกษตรที่มีความสำคัญต่อการทำไร่อ้อยอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวของรถตัดอ้อยที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ สามารถลดฝุ่นควันจากการเผาไหม้ได้ ทั้งยังสามารถทุ่นแรงงานคนได้อีกด้วยค่ะ

ดังนั้น เพื่อให้รถตัดอ้อยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวเกษตรกรจะต้องทำการเตรียมแปลงอ้อยที่จะเก็บเกี่ยวให้ได้มารตฐาน เพื่อรองรับการทำงานของรถตัดอ้อยดังนี้ค่ะ

  • เตรียมแปลงด้วยการปรับพื้นให้มีความสม่ำเสมอ
  • เตรียมแปลงสำหรับกลับรถตัดอ้อย เพื่อไม่ให้รถตัดอ้อยเหยียบตออ้อยหัวแปลงท้ายแปลง
  • ให้ตัดร่องอ้อยมีระยะห่างอยู่ที่ 1.5 เมตร ตามมาตรฐานของรถตัดอ้อย
  • กำจัดต้นไม้ ตอไม้ ก้อนหิน และสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ออกจากแปลงอ้อย เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยได้ค่ะ ลดปัญหารถตัดอ้อยเสียหาย
  • ควรปลูกอ้อยให้มีความลึกอยู่ที่ 20-25 เซนติเมตร ตามชนิดดินเหนียวหรือดินทรายค่ะ
  • ทำการ ยกร่อง หรือ พูนโคน เพื่อให้ต้นอ้อยอยู่บนสันร่องสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยให้ชุดจานตัดโคนของรถตัดอ้อยนั้นตัดได้ชิดดิน สามารถทำให้รถตัดอ้อยเก็บเกี่ยวเอาส่วนโคนที่หวานที่สุดของต้นอ้อยได้ โดยไม่ทำให้อ้อยแตกและเสียหายได้ค่ะ

Thai-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร และอะไหล่ ตัวเเทนผู้ผลิตและจำหน่ายรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถคีบไม้ รถคีบอเนกประสงค์ หัวคีบอ้อย อะไหล่รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย และมีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@teacgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More
เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

เทคนิคการดูแลและรักษาระบบนิวเมติกส์

ในปัจจุบัน ระบบนิวเมติกส์ ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย และมักจะพบกันอยู่เป็นประจำว่า มีการใช้งานที่ผิดวิธีหรือขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์นิวเมติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่ออายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย

การบำรุงรักษาอุปกรณ์นิวเมติกส์

ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น เราสามารถดำเนินการได้เบื้องต้น โดยสามารถหาได้จากเอกสารคำอธิบายที่ผู้จัดจำหน่ายมักหรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์นิวเมติกส์เหล่านั้นจะจัดเตรียมมาให้พร้อมกับสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดพร้อมข้อควรระวังอยู่ด้วย

ในบทนี้จะกล่าวถึงภาพรวมในการบำรุงรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมของระบบนิวเมติกส์ โดยแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น ปั้มลม (Air Compressor) ชุดปรับคุณภาพลม (Air Service Unit) ระบบท่อทาง (Pipe Lines) อุปกรณ์ทำงาน เช่น กระบอกลม (Air cylinder) วาล์วควบคุมทิศทาง (Directional Control Valves) และอื่น ๆ เป็นต้น

ข้อควรจำเพื่อความปลอดภัย (Always Remember Safety First)

ระบบลมอัดเป็นระบบต้นกำลังที่มีพื้นฐานด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราให้ความเอาใจใส่ดูแลระบบอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่างการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระบบ มีข้อพึงระวังที่ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องมั่นใจว่าทำการปิดระบบและถ่ายลมอัดออกจากระบบจนหมดก่อนดำเนินการถอมท่อลมอัดหรือข้อต่อ
  2. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ทำงานทุกชนิด เช่น กระบอกลม อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย ก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการกระแทกและก่อให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหาย
  3. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ข้อต่อ และสายลมอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนเปิดวาล์วให้ลมอัดเข้าสู่ระบบ
  4. ควรระมัดระวังการทำงานของกระบอกลม ขณะกำลังเคลื่อนที่ออกหรือเข้าจนเกือบสุดระยะชักแล้ว เพราะถ้ายังไม่หยุดนิ่งก็ยังอาจเป็นอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้
  5. อย่าคิดว่ากระบอกลมจะมีความเร็วที่สม่ำเสมอตลอดเวลา คงไม่เป็นปัญหา
  6. อย่าคิดว่าขั้นตอนการทำงาน (Sequence) จะทำซ้ำเหมือนเดิมทุกครั้งไป

ในกรณีทีมีการดำเนินการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมระหว่างการทำงานโดยใช้ปุ่มสัญญาณฉุกเฉินหยุดเครื่องจักรควรคำนึงถึงความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • 1.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงของชิ้นงาน
  • 2.กระบอกลมอาจเคลื่อนที่ได้ เมื่อมีการถอดสายลมสัญญาณ
  • 3.การทำงานหยุดชั่วขณะอันเป็นผลมาจากการสูญเสียแรงดันลม

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่กล่าวมาข้างต้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบความปลอดภัยในเครื่องจักรบางเครื่อง อาจกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัย โดยการควบคุมแรงดันลม พนักงานที่ปฏิบัติงาน และช่างซ่อมบำรุงควรมีความรู้และความคุ้นเคยเกี่ยวกับลักษณะของการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรรุ่นต่าง ๆ อย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อคนทำงานจนได้รับบาดเจ็บ หรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ เป็นต้น Thai-A เราคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @pneumaxthailand

Read More
หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

หลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิค

ปั๊มไฮดรอลิค คือ

ปั๊มไฮดรอลิค คือ อุปกรณ์สร้างอัตราการไหลและเมื่อของไหลถูกกีดขวางจะทำให้เกิดความดัน โดยหลักการทำงานของปั๊มไฮดรอลิคจะเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานของไหล

ปั้มไฮดรอลิค

หลักการเลือกปั๊มไฮดรอลิค

ปั๊มไฮดรอลิคแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. เกียร์ปั๊ม (Gear Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะกับงาน mobile งานการเกษตร ทนความสกปรกได้ดี ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับไม่สูงมาก

2. ปั๊มไฮดรอลิคแบบใบพัด (Vane Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง


3. ปั๊มไฮดรอลิคแบบลูกสูบ (Piston Pump)

ปั๊มไฮดรอลิค คือ
ภาพจาก Eaton Corporation

เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรม (industrial) และงานโมบาย (mobile) ความสามารถในการสร้างความดันน้ำมันสูง


ปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ปั๊มไฮดรอลิค

  1. ความสามารถในการสร้างอัตราการไหล สูงถึง 500cc/rev. สูงสุด 1000 cc/rev.
  2. ความสามารถในการสร้างความดัน สูงถึงสูงมาก
  3. อัตราการไหลแบบคงที่หรือปริมาตรความจุปรับได้
  4. นำไปใช้งานในระบบเปิด (opened-loop) หรือระบบปิด (closed-loop)
  5. ระดับเสียงในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง
  6. 6. ความเหมาะสมระหว่างตัวปั๊มไฮดรอลิคและน้ำมันที่ใช้


บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค ไม่ว่าจะเป็น กระบอกสูบไฮดรอลิค วาล์วไฮดรอลิค และปั๊มไฮดรอลิค เป็นต้น Thai-A เราคือผู้นำด้านอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิคมายาวนานกว่า 50 ปี และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคอีกด้วย

สนใจสอบถามได้ที่

โทร : 02-026-3854

E-mail : webmaster@taecgroup.com

Facebook : thaiagency

Line ID : @thaiagency

Read More