กระบอกลมนิวเมติก (Air Cylinder) แต่ละประเภทใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
กระบอกลมนิวเมติกส์ ( Air Cylinder ) แต่ละประเภทใช้งานแตกต่างกัน
กระบอกลมนิวเมติก (Pneumatic Cylinder) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยลมอัด การเลือกใช้งานกระบอกลมนิวเมติกส์นั้นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลายประการ เพื่อให้การนำกระบอกลมนิวเมติกส์ไปใช้งานอย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหาย จะมีข้อพิจารณาอะไรบ้าง มาดูกันเลยครับผห
การเลือกใช้งานกระบอกลมนิวเมติกส์ ( Air Cylinder ) นั้นต้องพิจารณาถึงปัจจัย ดังนี้
- น้ำหนักของวัตถุที่จะยกหรือเคลื่อนที่
- ระยะทางที่วัตถุต้องเคลื่อนที่
- ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
- สภาพแวดล้อมในการทำงาน
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะสามารถเลือกกระบอกลมนิวเมติกส์ที่เหมาะสมกับงานได้ เช่น
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบไม่มีก้านสูบ (Short Stroke Cylinder) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการยกหรือเคลื่อนที่วัตถุในระยะทางสั้นๆ
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบมีก้านสูบ (Long Stroke Cylinder) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการยกหรือเคลื่อนที่วัตถุในระยะทางไกล
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบความเร็วสูง (High Speed Cylinder) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการเคลื่อนที่วัตถุด้วยความเร็วสูง
- กระบอกลมนิวเมติกส์แบบทนทาน (Durable Cylinder) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการใช้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น อุณหภูมิสูง ความชื้นสูง หรือฝุ่นละอองมาก
ตัวอย่างของงานที่ใช้กระบอกลมนิวเมติกส์ ได้แก่
- การเปิดและปิดประตูหน้าต่าง
- การยกและเคลื่อนที่ของเครื่องจักร
- การจัดเรียงสินค้าในคลังสินค้า
- การขนส่งสินค้า
- การผลิตสินค้า
กระบอกลมนิวเมติกส์เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ สามารถใช้ในงานอุตสาหกรรมและงานทั่วไปได้หลากหลาย การเลือกใช้งานกระบอกลมนิวเมติกส์ที่เหมาะสมกับงานจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น หากคุณกำลังมองหากระบอกลมนิวเมติกส์ทางเดียว กระบอกลมนิวเมติกส์สองทาง กระบอกลมนิวเมติกส์สั่งทำ กรองลม วาล์วควบคุมทิศทางลม Pneumax เราเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในระบบนิวเมติกส์รายใหญ่ในประเทศไทย ที่ลูกค้าไว้วางใจมาอย่างยาวนาน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กระบอกลมนิวเมติกส์ THAI-A รุ่น 1300 SERIES
- เหตุผลดี ๆ ของการใช้ชุดกรองลมในระบบนิวเมติกส์
- ข้อควรระวังของการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม
สนใจสอบถามได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@teacgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
การเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์ มอก.
แผง มอก. พลังงานสะอาดเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
แผง มอก. ในยุคที่การอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนเป็นเรื่องสำคัญ การเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ มอก. จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีเยี่ยม เพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับแผงโซล่าเซลล์ให้มากขึ้น พร้อมกับเหตุผลที่คุณควรลงทุนในเทคโนโลยีนี้
แผงโซล่าเซลล์มอก. คืออะไร?
แผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Panel คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น และสามารถนำมาใช้ในการจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในบ้านหรือที่ทำงานได้
ประโยชน์ของแผงโซล่าเซลล์ มอก.
- ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน : การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากพลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการผลิต
- พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม : แผงโซล่าเซลล์ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และสารพิษอื่น ๆ ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้โลกของเราสะอาดขึ้น
- เพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สิน : บ้านหรืออาคารที่ติดตั้งแผง มอก. จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อในอนาคตอาจเห็นถึงประโยชน์ในการประหยัดค่าไฟฟ้า
- การลงทุนที่คุ้มค่า : แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มอก . ในครั้งแรกอาจจะสูง แต่การคืนทุนจากการประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวนั้นถือว่าคุ้มค่า
การเลือกซื้อแผง มอก.
- คุณภาพของแผง มอก. : การเลือกแผงโซล่าเซลล์ มอก. ที่มีคุณภาพสูง จะช่วยให้สามารถผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- การรับประกัน: เลือกซื้อแผงโซล่า มอก. ที่มีการรับประกันจากผู้ผลิต เพื่อให้คุณมั่นใจในคุณภาพและการบริการหลังการขาย
- การติดตั้งและบริการ: การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มอก. ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐาน และสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์
- การทำความสะอาด: ควรทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์ มอก .สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ และผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การตรวจสอบระบบ: ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าและการทำงานของแผงโซล่าเซลล์เป็นประจำ เพื่อป้องกันการเสียหายและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น
สรุป
แผงโซล่าเซลล์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การลงทุนในแผงโซล่าเซลล์ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้า แต่ยังเป็นการช่วยลดภาระการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถทดแทนได้ และเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพย์สินของคุณ
หากคุณกำลังมองหาแผง มอก. คุณภาพสูง ที่มาพร้อมกับการรับประกันและการบริการที่ดีเยี่ยม บริษัท ไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด พร้อมให้คำปรึกษาและบริการที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งและเป็นผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.61215 เล่ม1(1)-2561 และ มอก.2580 เล่ม 2-2562 สำหรับงานทุกประเภท แผงโซล่าเซลล์ รับประกัน 10 ปี และ รับประกันคุณภาพ 25ปี
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม
ข้อควรรู้ ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งระบบนิวเมติกส์อย่างไม่เหมาะสม ระบบนิวเมติกส์พูดได้ว่าเป็นระบบที่หลาย ๆ โรงงานอุตสาหกรรมเกือบจะทุกที่ต้องใช้ แต่หากติดตั้งไม่ถูกต้องก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน ทีนี้ตามมาดูกันค่ะว่าหลัก ๆ ปัญหาจะเกิดจากอะไรบ้าง
1. การตอบสนองของกระบอกนิวเมติกส์ผิดปกติ (ล่าช้าหรือทำงานผิดพลาด)
- ความฝืดของชิ้นส่วนสไลด์ภายในเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากทำให้การเคลื่อนที่ติดขัด (เห็นผลชัดเจนในช่วงรอบกำลังต่ำ)
- มีสิ่งสกปรกกีดขวางเส้นทางไหลของอากาศภายในโซลินอยด์วาล์ว ทำให้ตอบสนองการทำงานไม่ได้
- อุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากมีกระแสไฟฟ้าไหลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนสไลด์เกิดการแห้งและยึดจับแน่นจนการทำงานผิดปกติ
แก้ไขอย่างไร ?
ควรติดตั้งโดยหลีกเลี่ยงการสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทก และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับหยดน้ำหรือไอน้ำ หยดน้ำมัน เศษตัด ฯลฯ โดยติดตั้งกรองอากาศและหมั่นตรวจสอบเรื่องการระบายความร้อนให้เหมาะสม
2. ปัญหาของวาล์วควบคุมความเร็ว ควบคุมความเร็วของแอคชูเอเตอร์ไม่ได้
- พบเจอหรือมีสิ่งแปลกปลอม (เช่น เศษซีล สนิม) ติดที่ส่วนขับวาล์วภายในบีบให้วาล์วเคลื่อนที่ไม่เสถียร
แก้ไขอย่างไร ?
ก่อนการติดตั้งหรือเชื่อมต่อควรทำการฟลัชชิ่งเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในด้วยลมและตัวท่อ
3. ปัญหาของวาล์วควบคุมความเร็ว ความเร็วของแอคชูเอเตอร์เกิดการล่าช้าชั่วขณะ
- เข็มของวาล์วควบคุมความเร็วมีเดรน หรือน้ำมันติดเข้ามาชั่วขณะทำให้ความต้านทานสูงขึ้นจนเกิดสภาพล็อค
แก้ไขอย่างไร ?
หมั่นกำจัดคราบเดนหรือน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตั้งวาล์วควบคุมความเร็วในที่สูงเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม
4. แรงดันตกหรือปริมาณอากาศไม่เพียงพอ เนื่องจากกรองอากาศอุดตัน
- ตัวกรองอากาศสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ เช่น หยดน้ำ หยดน้ำมัน สนิม ฯลฯ แต่ไม่สามารถกรองไอน้ำหรือละอองน้ำมันได้ เมื่อสิ่งเหล่านี้ผ่านเข้าไปจะทำปฏิกิริยากับอากาศกลายเป็นคาร์บอนหรือทาร์
- การสะสมของสารปนเปื้อนทำให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้อัตราการไหลของอากาศลดลง
แก้ไขอย่างไร ?
ควรติดตั้งกรองอากาศใกล้กับกระบอกลมเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในท่อหลังจุดเชื่อมต่อ เพราะหากปล่อยให้อุณหภูมิลดลงจะทำให้เกิดไอน้ำจากความชื้น
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินค้าเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ ไม่ว่าจะเป็น กระบอกลมนิวเมติกส์ วาล์วนิวเมติกส์ และปั๊มลมนิวเมติกส์ Thai-A เราเป็นโรงงานผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์มายาวนานกว่า 50 ปี เรายินดีรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ และรับผลิตกระบอกลมนิวเมติกส์ตามสั่ง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด
การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพและผลผลิตสูงสุด
ในปัจจุบัน รถตัดอ้อยราคา เท่าไรขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และแบรนด์ แต่การใช้รถตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ มีปัจจัยด้านสภาพพื้นที่ แปลงปลูกอ้อยที่เอื้ออำนวยต่อการใช้รถตัดมีความสำคัญมาก จากการศึกษาเรื่องต้นทุนของการเก็บเกี่ยวอ้อย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในรถตัดอ้อย เพื่อรับจ้างเชิงพาณิชย์พบว่าปัจจัยที่ เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยมีดังนี้
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม
- ในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยรถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3% มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีก้อนหิน ตอไม้ และต้นไม้ในแปลงอ้อย เนื่องจากจะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรถตัดอ้อยในสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเอียงสูงๆ หรือไม่มีการระบายน้ำที่ดีจะทำให้รถตัดอ้อยกับการใช้รถตัดอ้อยในการเก็บเกี่ยวควรจะเป็นพื้นที่ราบ หรืออาจจะเป็นพื้นที่เนินเขาที่มีความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 3%
ขนาดแปลงอ้อย
- ขนาดแปลงอ้อยที่เหมาะสมกับการใช้รถตัดอ้อยควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของพื้นที่ควรมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป มีความยาวของแถวอ้อยหรือแนวปลูกอ้อยยาวกว่า 100 เมตรขึ้นไป หรือยิ่งยาวมากเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากรถตัดอ้อยและรถบรรทุกสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ถนนหัวแปลงและท้ายแปลงอ้อย
- ควรมีความกว้างของถนนมากกว่า 3 เมตร เพื่อความสะดวกในการกลับรถ สำหรับแปลงอ้อยที่ไม่มีถนนหัวแปลงและท้ายแปลง จำเป็นต้องให้รถตัดอ้อยทำการเปิดหัวแปลงและท้ายแปลงโดยการตัดอ้อยในแปลงเพื่อให้สามารถกลับหัวรถได้ แต่จะส่งผลให้คือ ตออ้อยบริเวณหัวแปลงและท้ายแปลงถูกรถตัดอ้อยและรถบรรทุกทับเสียหาย อีกทั้งการกลับหัวรถภายในแปลงอ้อยอาจส่งผลต่อความเสียหายของรถตัดอ้อยและรถบรรทุกได้
ถนนข้างแปลงอ้อย
- เนื่องจากรถตัดอ้อยต้องทำงานควบคู่ไปกับรถบรรทุก จึงควรมีพื้นที่ขนาด 3 เมตรขึ้นไปบริเวณข้างใดข้างหนึ่งสำหรับรถตัดอ้อยและรถบรรทุก เพื่อให้รถทั้ง 2 สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ แต่หากไม่มีถนนข้างแปลงรถตัดอ้อย จะต้องตัดอ้อยในแถวแรกหรือร่องแรกแล้วเก็บไว้ในกระพ้อเก็บอ้อย
ระยะห่างระหว่างแถว
- การใช้รถตัดอ้อยคุณภาพดีควรมีระยะประมาณ 1.5 – 4 เมตร หากระยะห่างระหว่างแถวอ้อยน้อยกว่า 1.4 เมตรจะส่งผลให้อ้อยในแถวถัดไปเกิดความเสียหายจากรถตัดอ้อยแต่ในขณะเดียวกันหากมีระยะห่างระหว่างแถวอ้อยมากกว่า 1.5 เมตร
สันร่องหรือสันแถวอ้อย
- การใช้รถตัดอ้อยควรมีลักษณะโค้งมน บริเวณยอดสันแบนราบเล็กน้อย มีความสูงของสันร่องประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยสามารถที่จะตัดอ้อยได้ชิดพื้นดินพอดีและส่งผลให้ตออ้อยมีความสม่ำเสมอกับพื้นดิน แต่ในกรณีที่สันร่องมีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ส่งผลให้รถตัดอ้อยยกช่องล้อสูงขึ้นและใบมีดตัดโคนอ้อยสัมผัสดินมากเกินไปทำให้ใบมีดตัดโคนอ้อยเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากสันร่องมีความสูงต่ำกว่า 15 เซนติเมตรหรือมีสันร่องในระดับเดียวกันกับพื้นดิน ใบมีดตัดโคนอ้อยของรถตัดอ้อยจะไม่สามารถตัดอ้อยได้หมดและหากสันร่องอยู่ต่ำกว่า
Thai-A เรามีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องของเครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืช เช่น รถตัดอ้อย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การเพิ่มคุณภาพ การแปรสภาพผลผลิตเกษตร สนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถตัดอ้อย สามารถสอบถามได้ที่
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
Swing damper ปากคีบไม้ ดีอย่างไร
Swing Damper ปากคีบไม้ หัวคีบไม้
Swing Damper หรือที่เรียกว่า ระบบลดการสั่นสะเทือน เป็นอุปกรณ์ที่มีเป้าหมายในการควบคุมการสั่นสะเทือน ทำให้ปากคีบไม้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ช่วยให้ปากคีบไม้หรือหัวคีบไม้ ทำการคีบไม้ได้ไวขึ้น และเพิ่มความเสถียรในการคีบไม้ ทำให้การวางตำแหน่งปากคีบแม่นยำขึ้นทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ถ้าท่านใดสนใจทางบริษัท Thai-A เรายินดีให้คำปรึกษาและแนะนำโดยทีมงานมืออาชีพ
มีข้อดีของ Swing Damper
1. เพิ่มความเสถียรในการคีบไม้ ทำให้การวางตำแหน่งปากคีบแม่นยำขึ้น
2. ทำให้รถไม่ส่ายไม่แกว่ง เมือคีบไม้ยกไม้
3. ทำให้รถวิ่งได้นิ่งขึ้น ขณะคีบขนย้ายไม้
4. ยืดอายุการใช้งาน BOOM เพราะลดการสั่นและเหวี่ยงของปากคีบขณะคีบไม้
5. ยึดอายุการใช้งานปากคีบ และกระบอกไฮดรอลิค เพราะจะช่วยไม่ให้ปากคีบแกว่ง กระแทกเสียหาย
6. คีบไม้ได้ไวขึ้น เนื่องจากปากคีบ นิ่งไม่แกว่ง เพิ่มยอดผลผลิตในการคีบของแต่ละวัน
7. เมื่อต้องคีบไม้เพื่อขนส่งระยะไกล จะทำให้รถนิ่งไม่ส่าย สร้างความมั่นใจให้คนขับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รถคีบไม้ MAX Logger ดีอย่างไร
- รถคีบอ้อย MAX Cane Loader ที่เกษตรกรเลือกใช้
- หัวคีบไม้ ปากคีบไม้ มีทั้งหมดกีขนาด
THAI-A เราเป็นศูนย์รวมเครื่องจักรกลการเกษตร ผู้ผลิตและจำหน่ายรถคีบไม้ รถคีบอ้อย รถตัดอ้อย รถคีบอเนกประสงค์ และรับผลิตหัวคีบไม้ หัวคีบอ้อย ขนาดอ้ากว้าง 1.2 เมตร , 1.5 เมตร , 1.8 เมตร และ 2 เมตร รวมทั้งอะไหล่รถคีบ รถเกี่ยวข้าว และอุปกรณ์ไฮดรอลิคเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร สินค้ามีคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน มีความคล่องตัว ดูแลง่าย ราคาเป็นมิตรกับเกษตรกรไทย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
Line ID : @thaiagency
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
SOLAR CELL คืออะไร วิธีเลือกแผงโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่าที่สุด
Solar Cell คืออะไร เลือกแผงโซล่าเซลล์ แบบไหนดี ?
Solar Cell เป็นที่นิยมอย่างมากในการลดค่าไฟฟ้าในครัวเรือน และอุตสาหกรรม แต่แผงโซล่าเซล์ไม่ได้มีอยู่แค่ชนิดเดียว แผงโซล่าเซลล์ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ก็คือ แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline) และ โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline) แล้วเราควรเลือกซื้อแผงแบบไหนดี ? และการคำนวณกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมต้องเป็นอย่างไร วันนี้ Thai-A มีคำตอบค่ะ
ก่อนอื่นทำความรู้จัก Solar Cell ในระบบ On-Grid / Off- Grid ที่สรุปมาง่าย ๆ กันก่อน
On-Grid : เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่มีการเชื่อมโยงกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แล้วส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นกระแสสลับ และเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ
ข้อดี ลดค่าไฟฟ้าได้ดีในตอนกลางวัน และสามารถขายกระแสไฟฟ้าส่งคืนต่อการไฟฟ้าได้ (ในกรณีที่ใช้ไม่หมด) นอกจากนี้ยังไม่ต้องมีระบบสำรองไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ แต่ระบบจะมีการดึงไฟฟ้าจากระบบสายส่งของการไฟฟ้ามาใช้แทนในกรณีที่โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ เป็นระบบที่ประหยัดต้นทุน และเหมาะต่อการใช้งานในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึง
ข้อเสีย ต้องมีการขออนุญาติเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้ากับการไฟฟ้า และหน่วยงานของรัฐหลายขั้นตอน
Off-Grid : เป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบปิด ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบการไฟฟ้า ไม่มีการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้า จำเป็นต้องมีระบบสำรองไฟฟ้าเพิ่ม เช่นแบตเตอรี่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของระบบสูงขึ้น ซึ่งระบบนี้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ระบบสายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ข้อดี ผลิตกระแสไฟฟ้าเองได้และสามารถกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลากลางคืนได้ ไม่ต้องมีระบบสายส่งไฟฟ้ามารองรับ
ข้อเสีย มีราคาสูง เนื่องจากต้องมีระบบสำรองไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่เข้ามาสำรองไฟฟ้าให้กับระบบ ทำให้ต้นทุนของระบบสูงขึ้น
1. แผงโซล่าเซลล์แบบ Mono
แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรืออีกชื่อที่เรียกว่า single crystalline (single-Si) วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางเรียงกันในแนวราบคล้ายการปูกระเบื้อง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม เหมือนกันทุกแผ่นเซลล์ ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นโซล่าเซลล์ชนิดแรกที่ถูกสร้างขึ้น แม้จะมีราคาแพงแต่ก็มีประสิทธิภาพสูงในการส่งพลังงานไฟฟ้า
ข้อดี แผงโซล่าเซลล์แบบโมโนนี้จะมีความไวต่อแสง และมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ติดตั้งมากกว่าแผงแบบโพลี ปัจจุบันสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เกินกว่า 600 วัตต์ขึ้นไป ในขณะที่แผงโพลี่ผลิตได้เพียง 360 วัตต์ ต่อขนาดแผงที่เท่ากัน
ข้อเสีย แผงโมโนมีข้อเสียคือเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแดดร้อนจัด ประสิทธิภาพการทำงานของแผงจะลดลงมากกว่าแผงแบบโพลี และมีราคาสูงกว่า
2. แผงโซล่าเซลล์แบบ Poly
แผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่คุณภาพเกือบเทียบเท่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ โดยผลิตจากซิลิคอนที่มีการนำมาหลอมละลายและเข้ารูป ด้วยวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน รวดเร็ว และมีการใช้ซิลิคอนน้อยกว่า แต่ด้วยวิธีนี้โครงสร้างที่ได้จะมีผลึกที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าในแบบแรก ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีมีราคาประหยัดกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโน
ข้อดี มีราคาถูกกว่าแผงโมโน และประสิทธิภาพในขณะทีอุณหภูมิสูงทำได้ดีกว่าแผงโมโน
ข้อเสีย ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าแผงแบบโมโน สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าในกำลังการผลิตที่เท่ากัน
เหตุผลทำไมต้องใช้โซล่าเซลล์ของ THAI-A
โซล่าเซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียน ที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลพิษ และโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง สามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ นอกเหนือจากนี้ยังนำไปใช้งานได้หลากหลาย ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เล็กจนถึงขนาดใหญ่ และช่วยให้การนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้ง่ายขึ้นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
ทำไมต้องใช้ Solar Cell ของไทยเอ
- มีประสบการณ์ยาวนาน เป็นเจ้าแรกที่ติดตั้งในไทย
- เทคโนโลยีล้ำสมัย ออกแบบติดตั้งโซล่าเซลล์โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เน้นความถูกต้องแม่นยำโดยมาตรฐาน มอก.
- รับประกันงานติดตั้ง 1 ปี พร้อมถ่ายเทเทคโนโลยีและ Maintenance ระบบ
- ดำเนิดการขออนุมัติการติดตั้งโซล่าเซลล์ผ่านมาตรฐาน PPA กับหน่วยงานราชการ
หลักการทำงานของ Solar Cell
การทำงานของโซล่าเซลล์เป็นกระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง โดยเมื่อแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงานไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานจากแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าขึ้นในสารกึ่งตัวนำ เราจึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้
ข้อดีของการใช้ โซล่าเซลล์
- โซล่าเซลล์เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด
- โซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้จากทั่วทุกมุมโลก เพียงแค่มีแสงอาทิตย์
- โซล่าเซลล์เป็นพลังงานสะอาด เพราะได้มาจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง
- โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด ไม่ว่าจะเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้ได้ด้วยการใช้แผ่นโซล่าเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนกัน
ขั้นตอนการติดตั้ง Solar Cell
- เราสำรวจพื้นที่หน้างานด้วยพิกัด GPS
- ออกแบบวางระบบโซล่าเซลล์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อความถูกต้องแม่นยำ
- คำนวนระบบไฟฟ้าที่ผลิต เพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าสูงสุด
- เสนอราคาโครงการโซล่าเซลล์
- ติดตั้งตามระบบ EPC
- ประกันงานติดตั้ง 1 ปี พร้อมถ่ายเทเทคโนโลยีให้ลูกค้า
- ออกแบบวางระบบ Maintenance โซล่าเซลล์
ใช้บริการโซล่าเซลล์ Thai-A จะได้อะไรบ้าง
- ออกแบบและจำลองประสิทธิภาพของระบบโซล่าเซลล์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ดำเนินการขออนุญาตจากราชการอย่างถูกต้อง
- บริการติดตั้งครบวงจร
- อุปกรณ์ได้มาตรฐาน คุณภาพสูงตามมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ
- คุ้มค่าแก่การลงทุน ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- การต่อแผงโซล่าเซลล์มีกี่รูปแบบ
- สิ่งที่ต้องรู้ในการออกแบบระบบปั๊มน้ำโซล่าเซลล์
- โซล่ารูฟท็อป (SOLAR ROOFTOP) คืออะไร ติดตั้งโซล่าเซลล์ยังไงให้คุ้มค่า
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้แผงโซล่าเซลล์
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้แผงโซล่าเซลล์ เนื่องจากกระแสการลดโลกร้อน แผงโซล่าเซลล์จึงเริ่มกลายมาเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ผลิตไฟฟ้าหลายที่ได้เริ่มมีการนำแผงโซล่าเซลล์มาแทนที่การผลิตไฟฟ้าแบบเดิมในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการผลิต นอกจากนี้ แผงโซล่าเซลล์ยังเป็นที่แพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็กจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แม้กระทั่งการใช้โซล่าเซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองภายในครัวเรือน
เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันที่ก้าวกระโดด ทำให้ราคาการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มีราคาที่ถูกลง และสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน การลงทุนหลักแสนกลาง ๆ จนถึงสองแสน สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตไฟได้ 3-5 กิโลวัตต์/ชั่วโมง ) และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน (ทั้งนี้ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงเวลา, ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์จะลดลงโดยเฉลี่ย 8-10% ภายในระยะเวลา 10 ปี)
ถ้าพูดถึงเรื่องความประหยัด แน่นอนว่าการใช้พลังงานฟรียังไงก็ประหยัด แต่ถ้าพูดถึงเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน ณ ปัจจุบัน ความคุ้มค่านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละสถานที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นบ้านหรือโฮมออฟฟิศที่ต้องเปิดไฟ เปิดแอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ทั้งวัน แน่นอนว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ก็เป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยให้เราประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว แต่ในทางกลับกันถ้าเป็นบ้านที่ไม่ค่อยได้ใช้ไฟฟ้าซักเท่าไหร่ก็คงจะไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป
แผงโซล่าเซลล์ Mono-Crystalline PV Module ขนาด 400w , 550w , 600w , 660w
พร้อมส่งราคาพิเศษ !! ยิ่งซื้อเยอะยิ่งถูกลง
สูตรคำนวณกำลังไฟฟ้า
Thai-A เราเป็นผู้นำด้านบริการ และจัดจำหน่าย อุปกรณ์ระบบโซล่าเซลล์ โซล่าฟาร์ม โซล่ารูฟทอป พลังงานทดแทนแบบครบวงจร อาทิ ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ ปั๊มหอยโข่งโซล่าเซลล์ สินค้าคุณภาพดีพร้อมให้บริการ และติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษาทุกท่านในเรื่องโซล่าเซลล์
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook : thaiagency
Line ID : @thaiagency
รถคีบอ้อยสามารถนำไปคีบไม้ได้ไหม?
รถคีบอ้อยสามารถนำไปคีบไม้ได้ไหม?
รถคีบอ้อยโดยทั่วไปจะมีปากคีบขนาดใหญ่ที่สามารถคีบลำอ้อยได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับการขนย้ายอ้อยในไร่อ้อย อย่างไรก็ตาม คีบรถคีบอ้อยอาจไม่แข็งแรงพอที่จะคีบไม้ที่มีน้ำหนักมากขนาดใหญ่หรือมีกิ่งก้านหนา นอกจากนี้ ไม้ยังมีน้ำหนักมากกว่าอ้อย ดังนั้นรถคีบอ้อยอาจไม่เพียงพอที่จะยกไม้ขึ้นได้ หากต้องการคีบไม้ด้วยรถคีบอ้อย จึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาหากต้องการทำรถคีบอ้อยไปคีบไม้
- น้ำหนักของไม้
- ขนาดของไม้
- ความแข็งแรงของคีบ
- กำลังของเครื่องยนต์
หากไม้มีน้ำหนักมากหรือมีกิ่งก้านหนา รถคีบอ้อยอาจไม่เพียงพอที่จะยกขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรใช้รถคีบขนาดใหญ่ที่มีกำลังและแรงยกมากกว่า หรือใช้รถเครนในการยกไม้ ในทางกลับกัน หากไม้มีน้ำหนักเบาหรือมีขนาดเล็ก รถคีบอ้อยอาจสามารถยกขึ้นได้ แต่อาจต้องระมัดระวังไม่ให้ปากคีบหลุดหรือเสียหาย
นอกจากการประยุกต์ใช้งานรถคีบอ้อยนำไปคีบท่อนไม้ขนาดเล็ก รถคีบอ้อยยังสามารถขนย้ายสินค้า หรือคีบเศษขยะได้อีกด้วย แต่ถ้าหากนำรถคีบอ้อยไปใช้งานอาจจะต้องพิจารณาในเรื่องของกำลัง ขนาด ของรถคีบอ้อย หากใช้งานเกินกำลังของรถคีบอ้อยอาจจะทำให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายได้ สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาโรงงานผลิตรถคีบอ้อย จำหน่ายรถคีบอ้อย Thai-A เราเป็นผู้จำหน่าย รับซ่อม รถคีบอ้อยที่ได้มาตรฐาน นำทีมโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์
บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID :@thaiagency
มาตรการป้องกันอันตรายจากระบบไฮดรอลิค
มาตรการป้องกันอันตรายจากระบบไฮดรอลิค
อันตรายจากระบบไฮดรอลิคอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แรงดันสูง ความร้อนสูง และการรั่วไหล อันตรายเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ จึงควรมีมาตรการป้องกันอันตรายจากระบบไฮดรอลิคอย่างเหมาะสม
มาตรการป้องกันอันตรายจากระบบไฮดรอลิค
- ตรวจสอบสภาพของระบบไฮดรอลิคอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบไฮดรอลิคอยู่ในสภาพดี ไม่เกิดการรั่วไหล หรือมีรอยแตกร้าว หากพบความผิดปกติควรทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุดทันที
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตานิรภัย ถุงมือ และรองเท้านิรภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากกระบอกลมหรืออุปกรณ์อื่นๆ ในระบบไฮดรอลิค
- ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัยที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานระบบไฮดรอลิคอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
นอกจากนี้ ควรฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิคและวิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
สำหรับท่านใดที่ต้องการสินค้าไฮดรอลิค Thai-A เราเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าในระบบไฮดรอลิคทุกชนิด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่างที่แสดง
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ดูแลชิ้นส่วนในระบบไฮดรอลิค
- ขณะใช้งานไฮดรอลิคต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ
- ไฮดรอลิคแบบไหนที่ไม่ควรนำมาใช้งาน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID : @thaiagency
สัญญาณเตือน Solar Rooftop กำลังมีปัญหา
สัญญาณเตือน Solar Rooftop กำลังมีปัญหา
Solar Rooftop มีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยประหยัดค่าไฟ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม Solar Rooftop ก็อาจมีปัญหาได้เช่นกัน ซึ่งสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่า Solar Rooftop กำลังมีปัญหา วันนี้แอดมินได้รวบรวมสัญญาณเตือนของ Solar Rooftop มาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ตามแอดมินมาดูกันเลยค่ะ
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า Solar Rooftop กำลังมีปัญหา
- แผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง หากแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงกว่าปกติ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น แผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพ ฝุ่นละอองเกาะติด หรือการชำรุดของอุปกรณ์ต่าง ๆ
- อินเวอร์เตอร์ทำงานผิดปกติ หากอินเวอร์เตอร์ทำงานผิดปกติ อาจทำให้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ หรืออาจทำให้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ปลอดภัย
- ระบบสายไฟชำรุด หากระบบสายไฟชำรุด อาจทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหล หรืออาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
- ระบบป้องกันฟ้าผ่าทำงานผิดปกติ หากระบบป้องกันฟ้าผ่าทำงานผิดปกติ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อแผงโซลาร์เซลล์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ
หากพบสัญญาณเตือนเหล่านี้ ควรรีบตรวจสอบและแก้ไขโดยช่างผู้ชำนาญ เพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามจนเกิดความเสียหายรุนแรง สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาทีมงานรับติดตั้ง ออกแบบ Solar Rooftop Thai-A เราเป็นผู้ให้บริการที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ข้อควรระวังในการทำความสะอาด SOLAR ROOFTOP
- หากฟ้าผ่า SOLAR ROOFTOP จะต้องทำอย่างไรต่อ?
- ขณะติดตั้ง SOLAR ROOFTOP ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โทร : 02-026-3854
E-mail : webmaster@taecgroup.com
Facebook :thaiagency
Line ID :@thaiagency